สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) หน่วยงานหลักในการวางแผนระบบรางของประเทศ ทั้งโครงการรถไฟฟ้า 10 สายและรถไฟความเร็วสูง ได้พาสื่อมวลชนศึกษาการพัฒนารถไฟของประเทศญี่ปุ่นซึ่งพบว่าประสบความสำเร็จทั้งในด้านการให้บริการและความคุ้มค่าในการลงทุน โดยพบว่าหลักการพัฒนารถไฟของญี่ปุ่นจะให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เช่น รถไฟสายใหม่เพื่อเชื่อมไปยังเมืองใหม่ (อะกิฮาบาระ-ทึกุบะ) ระยะทาง58.3 กม.ใช้เวลา45นาที มีเอกชนเป็นผู้ลงทุนโดยร่วมทุนกับเมืองที่อยู่รายทาง
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า การพัฒนาระบบรางของประเทศไทยโดยเฉพาะรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงให้ประสบความสำเร็จควรยึดหลักของญี่ปุ่นที่มีการร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อให้มีการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการก่อสร้างซึ่งในการออกแบบรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทางของสนข.คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่,กรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคายและกรุงเทพ-หัวหิน-สุไหงโกลก จะมีการศึกษาเพิ่มในส่วนของการกำหนดจุดสถานีโดยเน้นการเปิดพื้นที่ใหม่ซึ่งอาจจะอยู่นอกเขตเมืองที่ปัจุบันมีความหนาแน่นแล้ว
ตามแผนแผนรถไฟความเร็วสูงจะเปิดในปี 2562 ซึ่งส่วนใหญ่จะใล้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีการเวนคืนเล็กน้อย ดังนั้นจะต้องคุยกับร.ฟ.ท.ในการจัดผังพื้นที่และการใช้ประโยชน์ โดยสถานีบางซื่อถือเป็นสถานีกลางเชื่อมรถไฟฟ้า10 สาย รถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูง อยู่บนที่ดินร.ฟ.ท.เบื้องต้นไม่ต้องเวนคืน อยู่ที่จะจัดผังการพัฒนาพื้นที่ทัวหมดตั้งแต่บางซืิ่อ จตุจักร ตลาดอ.ต.ก.อย่างไร
" ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการก่อสร้างรถไฟพร้อมกับการเปิดพื้นที่ใหม่ของเมืองเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ที่ดิน ไม่มองพื้นที่เดิมที่เติบโตอยู่แล้วอย่างเดียวเพราะรถไฟจะสามารถดึงให้เกิดการเดินทาง ส่วนการพัฒนาเมืองรอบสถานีโดยการสร้างกิจกรรม และสร้างให้สถานีนั้นๆ เป็นจุดเปลี่ยนรถของเมืองที่อยู่ใกล้เคียง เช่น พัฒนาสถานีโคราช
ก็จะต้องทำให้คนที่อยู่จังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้รถไฟความเร็วสูงที่สถานีโคราชได้สะดวก"
โดยต้นแบบการพัฒนารถไฟไปพร้อมกับเมืองของญี่ปุ่นเช่น รถไฟชินคันเซ็น ที่สถานีซาคุไดระ อำเภอซากุ จังหวัด นากาโนะ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของโตเกียวระยะทาง 150 กิโลเมตรเดิมรถไฟธรรมดาใช้เวลา 3ชั่วโมง30นาที แต่ชินคันเซ็นเหลือ 1ชั่วโมง20นาที โดยเทศบาลได้จัดเตรียมพื้นที่รอบสถานีก่อนเป็นเวลา 8 ปี โดยการจัดรูปที่ดิน วางผังการใช้ประโยชน์ หลักการคือที่ดินของประชาชนยังมีอยู่แต่จะเล็กลง โดยได้มูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาตอบแทน ในขณะที่เทศบาลจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่สามารถขายเพื่อนำรายได้มาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง ตอบแทนกับสังคมได้อีก
นอกจากนี้การพัฒนาต้องมองไปถึงอนาคตอย่างน้อย10 ปีข้างหน้าด้วย สำหรับไทยนั้น การจัดรูปที่ดินเคยนำเสนอเป็นกฎหมายแต่ไม่สำเร็จ การพัฒนาอาจต้องดูเป็นกรณี เพื่อให้สอดคล้องกัข้อกฎหมาย ที่สำคัญต้องนำหลักคิดขอวญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมได้รับประโยชย์ของทั้งท้องถิ่นและประชาชยเพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้าน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า การพัฒนาระบบรางของประเทศไทยโดยเฉพาะรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงให้ประสบความสำเร็จควรยึดหลักของญี่ปุ่นที่มีการร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อให้มีการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการก่อสร้างซึ่งในการออกแบบรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทางของสนข.คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่,กรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคายและกรุงเทพ-หัวหิน-สุไหงโกลก จะมีการศึกษาเพิ่มในส่วนของการกำหนดจุดสถานีโดยเน้นการเปิดพื้นที่ใหม่ซึ่งอาจจะอยู่นอกเขตเมืองที่ปัจุบันมีความหนาแน่นแล้ว
ตามแผนแผนรถไฟความเร็วสูงจะเปิดในปี 2562 ซึ่งส่วนใหญ่จะใล้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีการเวนคืนเล็กน้อย ดังนั้นจะต้องคุยกับร.ฟ.ท.ในการจัดผังพื้นที่และการใช้ประโยชน์ โดยสถานีบางซื่อถือเป็นสถานีกลางเชื่อมรถไฟฟ้า10 สาย รถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูง อยู่บนที่ดินร.ฟ.ท.เบื้องต้นไม่ต้องเวนคืน อยู่ที่จะจัดผังการพัฒนาพื้นที่ทัวหมดตั้งแต่บางซืิ่อ จตุจักร ตลาดอ.ต.ก.อย่างไร
" ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการก่อสร้างรถไฟพร้อมกับการเปิดพื้นที่ใหม่ของเมืองเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ที่ดิน ไม่มองพื้นที่เดิมที่เติบโตอยู่แล้วอย่างเดียวเพราะรถไฟจะสามารถดึงให้เกิดการเดินทาง ส่วนการพัฒนาเมืองรอบสถานีโดยการสร้างกิจกรรม และสร้างให้สถานีนั้นๆ เป็นจุดเปลี่ยนรถของเมืองที่อยู่ใกล้เคียง เช่น พัฒนาสถานีโคราช
ก็จะต้องทำให้คนที่อยู่จังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้รถไฟความเร็วสูงที่สถานีโคราชได้สะดวก"
โดยต้นแบบการพัฒนารถไฟไปพร้อมกับเมืองของญี่ปุ่นเช่น รถไฟชินคันเซ็น ที่สถานีซาคุไดระ อำเภอซากุ จังหวัด นากาโนะ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของโตเกียวระยะทาง 150 กิโลเมตรเดิมรถไฟธรรมดาใช้เวลา 3ชั่วโมง30นาที แต่ชินคันเซ็นเหลือ 1ชั่วโมง20นาที โดยเทศบาลได้จัดเตรียมพื้นที่รอบสถานีก่อนเป็นเวลา 8 ปี โดยการจัดรูปที่ดิน วางผังการใช้ประโยชน์ หลักการคือที่ดินของประชาชนยังมีอยู่แต่จะเล็กลง โดยได้มูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาตอบแทน ในขณะที่เทศบาลจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่สามารถขายเพื่อนำรายได้มาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง ตอบแทนกับสังคมได้อีก
นอกจากนี้การพัฒนาต้องมองไปถึงอนาคตอย่างน้อย10 ปีข้างหน้าด้วย สำหรับไทยนั้น การจัดรูปที่ดินเคยนำเสนอเป็นกฎหมายแต่ไม่สำเร็จ การพัฒนาอาจต้องดูเป็นกรณี เพื่อให้สอดคล้องกัข้อกฎหมาย ที่สำคัญต้องนำหลักคิดขอวญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมได้รับประโยชย์ของทั้งท้องถิ่นและประชาชยเพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้าน