ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วานนี้ (8พ.ย.) ช่วงก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอหารือต่อที่ประชุม ว่า ตามที่มีกระแสข่าวมีบุคคลอ้างตัวว่าเป็นคนของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกเงิน 20 เปอร์เซ็นต์ จากผู้รับเหมาก่อสร้าง 2 บริษัท ที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเข้าประมูลก่อสร้างอาคารภายในรัฐสภาแห่งใหม่ และให้จ่าย 10 เปอร์เซ็นต์ ก่อนในวันเซ็นสัญญา รวมถึงยังขอให้ช่วยบริจาคทอดกฐินส่วนตัวของประธาน คนละ 3 แสนบาท และได้จ่ายไปแล้ว ซึ่งเป็นงานทอดกฐินสามัคคีที่จะมีขึ้นในวันที่ 10-11 พ.ย. โดยนายสมศักดิ์ เป็นประธานอำนวยการทอดถวายที่ วัดแจ้งสว่างนอก บ้านโนนหัน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ซึ่งมีการอ้างชื่อ ประธานสภาฯ และยังบังคับร่วมทำบุญอีก จะชี้แจงเรื่องนี้อย่างไร
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้ชี้แจงว่า เรื่องนี้เป็นการกล่าวหาที่ยังไม่มีการพิสูจน์เพราะยังไม่มีมูลเเละไม่น่าจะเป็นไปได้ ในเมื่อยังไม่มีการประมูลจากทั้งหมด 4 บริษัท และตนในฐานะได้รับมอบหมายจากประธานสภาฯให้ดูแลความถูกต้อง เรียบร้อยในการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด และข้อเท็จจริงตนเป็นคนทักท้วงเองว่า การที่รัฐสภาจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้กับพื้นที่ทหาร เพื่อดำเนินการก่อสร้างพื้นที่ใหม่แทนที่ถูกรื้อถอน ทำไมรัฐสภาไม่ดำเนินการเอง
“ถ้าท่านเป็นนักกฎหมายจะเข้าใจว่า เมื่อเรามอบเงินไปให้กับคู่สัญญาตามที่กำหนดแล้ว คู่สัญญาก็จะขอขยายเวลา รัฐสภาเองก็ได้แต่นั่งดูเฉยๆ ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น ผมจึงได้แก้ปัญหาโดยคุยกับทางทหารว่า ในวันที่ 5 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งถือเป็นวันดี จะได้ลงนามระหว่างรัฐสภากับทหาร ในการส่งมอบพื้นที่ซึ่งจะต้องขนย้ายพร้อมรื้อถอนอาคารด้วย แต่สิ่งที่เรากลับต้องมานั่งเร่งรัดอยู่ทุกเดือน ทุกวันขณะนี้ในการก่อสร้างอาคารทหารทดแทนที่ย้ายไปบริเวณปากเกร็ดก็ยังไม่แล้วเสร็จ ถูกขอขยายเวลาออกไป 3-5 เดือน ดังนั้น การที่ระบุว่ามีการเรียกเงินจากผู้รับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะยังมีการประมูลใดๆ ทั้งสิ้น”
นอกจากนี้ตนยังเป็นผู้ให้ความเห็นต่อประธานรัฐสภาเองว่า หากประมูลในเวลานี้อาจเกิดปัญหาเหมือนส่วนราชการอื่นคือประมูลไป ก่อสร้างไป เมื่อถึงเวลาไม่มีการส่งมอบพื้นที่ รัฐสภาเองจะเป็นผู้ผิดสัญญา ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ขณะเดียวกันตนก็ได้ประสานกับ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ วอนให้ช่วยหารือกับทางกทม. เช่นกัน เพราะมีพื้นที่เดียวคือ ห้องสมุดของกทม. ที่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้เมื่อไหร่ ทั้งที่รัฐสภาได้ชดเชยความเสียหาย 140 ล้านบาทไปแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จึงอยากให้เข้าใจว่า ขณะนี้การกำหนดราคากลาง 240 ล้านบาทเสร็จสิ้นแล้ว เหลือแต่การประมูล โดยทุกพื้นที่ต้องส่งมอบพื้นที่ได้อย่างชัดเจน จึงจะเริ่มการประมูลได้
ด้านนายวัชระ แย้งว่า ประเด็นที่เกิดขึ้นคือ มีบุคคลแอบอ้างชื่อนายสมศักดิ์ ไม่ได้แอบอ้างชื่อ นายเจริญ รองประธานสภาฯ แต่ประการใด จึงอยากเรียนว่า เมื่อมีบุคคลเอบอ้างชื่อการเรียกเงินจัดจ้าง 20 เปอร์เซ็นต์ รัฐสภาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยได้ยินแต่การคอร์รัปชันในฝ่ายบริหาร แต่ไม่เคยได้ยินการคอร์รัปชันในฝ่ายนิติบัญญัติมาก่อน ตนจึงมีความวิตกกังวลแทนเกียรติภูมิรัฐสภาไทย ก็ขอให้ประธานสภาฯ ได้ชี้แจงในเรื่องนี้ด้วยว่ามีข้อเท็จจริงเรื่องนี้อย่างไร และให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบต่อไป
**"วัฒนา"รีบแก้ข่าวให้ลูกพี่่
ต่อมานายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกส่วนตัวประธานสภาฯ ได้แถลงข่าวถึงเรื่องนี้ว่า การก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีคณะกรรมการที่ดูแลจำนวน 2 ชุด คือ 1.คณะกรรมการอำนวยการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ทำหน้าที่เป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย ทั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร, รองประธานรัฐสภา, ปลัดกระทรวงต่างๆ รวมถึง ผบ.ตร., ผบ.ทร. , ผบ.ทบ. คงไม่มีใครกล้าเอาตำแหน่งหน้าที่มาหาผลประโยชน์ 2. คณะกรรมการให้คำปรึกษาและประสานงานในการกำกับดูแลโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งมีนายนิคม ไวชรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธาน ถ้าจะมีการทุจริต คงจะเป็นในส่วนของกรรมการชุดดังกล่าว เพราะ มีหน้าที่เข้าไปดูแลการก่อสร้าง
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ ส.ส.ปชป. ให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า คนใกล้ชิดของนายสมศักดิ์ เรียกหัวคิวงานนั้น ขอให้นายวิลาศ ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ร้องเรียน ผ่านกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ใช่แค่คนมากล่าวอ้างแล้วก็นำมาแถลงข่าว ซึ่งประเด็นกรณีที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำมาเผยแพร่ นั้นได้สร้างความเสียหายต่อนายสมศักดิ์ ฐานะประมุขนิติบัญญัติ และองค์กรรัฐสภา อีกทั้งประเด็นที่บอกว่ามีทุจริต แต่ไม่กล้าจะเปิดเผยชื่อ คนใกล้ชิด หรือ บริษัทที่มาร้องเรียน ถือว่าไม่ให้ความเป็นธรรม ซึ่งนายวิลาศ ในฐานะประธานที่ปรึกษา กมธ. ป.ป.ช. ควรมีวุฒิภาวะ และวิจารณญาณที่จะพูดถึงประเด็นนี้
"หากคุณวิลาศมีข้อมูลขอให้นำไปตรวจสอบในชั้นกรรมาธิการฯ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงก่อน และหากว่าพบคนผิด ขอให้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย ส่วนประเด็นที่ระบุว่า มีการเกณฑ์ข้าราชการรัฐสภาไปร่วมงานทอดกฐินส่วนตัวในพื้นที่ จ.ขอนแก่นนั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการเกณฑ์คน" นายวัฒนา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเด็นคนใกล้ชิดทำทุจริต ได้มีการตรวจสอบแล้วหรือไม่ อีกทั้งการันตีหรือไม่ว่า มี หรือไม่มีจริง นายวัฒนา กล่าวว่า ใครจะกล้าการันตี แต่คนที่ออกมาเปิดเผยควรเอาเรื่องนี้ไปสอบก่อน แล้วจึงมาแถลงผ่านสื่อมวลชน ส่วนที่มีการเรียกร้องให้สภาฯ ตั้งกรรมการสอบเรื่องนี้โดยตรงนั้น ตนคิดว่าเป็นแค่ข้อกล่าวหาลอยๆ ไม่จำเป็นต้องตั้งกรรมการสอบ และประธานสภาฯ ไม่เคยที่จะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเป็นคนที่ไม่อยากเอาเรื่องส.ส.
เมื่อถามต่อว่าประเด็นเรื่องเรียกหัวคิว จะเป็นไปได้ไหมว่ามีกระบวนการล็อกสเปก บริษัทรับจ้างก่อสร้าง เหมือนอย่างที่เคยผ่านมา นายวัฒนา กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าจะเป็นการล็อกสเปก เพราะดูรายชื่อของกรรมการที่เกี่ยวข้องแล้ว ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ส่วนเรื่องอดีตที่มีการจัดหาบริษัทรับจ้างก่อสร้างเตรียมไว้แล้ว เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะทำงานชุดปัจจุบัน ทั้งนี้ตนขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ให้ดี ก่อนให้ข่าว
**"นิคม"ปัดข่าวงาบหัวคิวสร้างสภาใหม่
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการให้คำปรึกษา และประสานงานในการกำกับดูแลโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ปฏิเสธไม่ทราบข่าวกรณีที่ นายวิลาศ ระบุว่า มีคนใกล้ชิดนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้เเทนราษฎร ไปเรียกรับเงินค่าหัวคิวงานก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ จากราคากลางก่อสร้างจำนวน 240 ล้านบาท ว่า ในข้อเท็จจริงกระบวนการก่อสร้างรัฐสภาใหม่ ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุง ร่างทีโออาร์ เพื่อหาผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง จึงยังไม่มีการจัดประมูลในส่วนการก่อสร้างใดๆในโครงการ และตามระเบียบ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการจัดทำราคากลางก่อสร้างอาคารแล้ว จำเป็นต้องตั้งกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการประมูลมาดำเนินการ เช่น กรรมการเปิดซอง เป็นต้น
นายนิคม กล่าวต่อว่า สำหรับรายละเอียดการก่อสร้างตัวอาคาร ไม่ได้มีการแยกส่วนตัวอาคารเพื่อก่อสร้าง โดยรายละเอียด การก่อสร้างจะมีตัวอาคารใหญ่ 1 สัญญา, อาคารปฏิบัติการวิทยุ และโทรทัศน์รัฐสภา 1 สัญญา และ อาคารโรงไฟฟ้า 1 สัญญา โดยทั้งหมดยังไม่เข้าสู่กระบวนการหาผู้รับจ้างแต่อย่างใด ประเด็นที่จะมีคนภายในรัฐสภา ไปล็อคบริษัทที่จะเข้าประมูล ตามที่สงสัย ผมไม่ทราบเรื่องว่าจะมีจริงหรือไม่ แต่ตามระเบียบพัสดุ ไม่สามารถทำได้
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้ชี้แจงว่า เรื่องนี้เป็นการกล่าวหาที่ยังไม่มีการพิสูจน์เพราะยังไม่มีมูลเเละไม่น่าจะเป็นไปได้ ในเมื่อยังไม่มีการประมูลจากทั้งหมด 4 บริษัท และตนในฐานะได้รับมอบหมายจากประธานสภาฯให้ดูแลความถูกต้อง เรียบร้อยในการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด และข้อเท็จจริงตนเป็นคนทักท้วงเองว่า การที่รัฐสภาจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้กับพื้นที่ทหาร เพื่อดำเนินการก่อสร้างพื้นที่ใหม่แทนที่ถูกรื้อถอน ทำไมรัฐสภาไม่ดำเนินการเอง
“ถ้าท่านเป็นนักกฎหมายจะเข้าใจว่า เมื่อเรามอบเงินไปให้กับคู่สัญญาตามที่กำหนดแล้ว คู่สัญญาก็จะขอขยายเวลา รัฐสภาเองก็ได้แต่นั่งดูเฉยๆ ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้น ผมจึงได้แก้ปัญหาโดยคุยกับทางทหารว่า ในวันที่ 5 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งถือเป็นวันดี จะได้ลงนามระหว่างรัฐสภากับทหาร ในการส่งมอบพื้นที่ซึ่งจะต้องขนย้ายพร้อมรื้อถอนอาคารด้วย แต่สิ่งที่เรากลับต้องมานั่งเร่งรัดอยู่ทุกเดือน ทุกวันขณะนี้ในการก่อสร้างอาคารทหารทดแทนที่ย้ายไปบริเวณปากเกร็ดก็ยังไม่แล้วเสร็จ ถูกขอขยายเวลาออกไป 3-5 เดือน ดังนั้น การที่ระบุว่ามีการเรียกเงินจากผู้รับเหมาก่อสร้าง จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะยังมีการประมูลใดๆ ทั้งสิ้น”
นอกจากนี้ตนยังเป็นผู้ให้ความเห็นต่อประธานรัฐสภาเองว่า หากประมูลในเวลานี้อาจเกิดปัญหาเหมือนส่วนราชการอื่นคือประมูลไป ก่อสร้างไป เมื่อถึงเวลาไม่มีการส่งมอบพื้นที่ รัฐสภาเองจะเป็นผู้ผิดสัญญา ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ขณะเดียวกันตนก็ได้ประสานกับ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ วอนให้ช่วยหารือกับทางกทม. เช่นกัน เพราะมีพื้นที่เดียวคือ ห้องสมุดของกทม. ที่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้เมื่อไหร่ ทั้งที่รัฐสภาได้ชดเชยความเสียหาย 140 ล้านบาทไปแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จึงอยากให้เข้าใจว่า ขณะนี้การกำหนดราคากลาง 240 ล้านบาทเสร็จสิ้นแล้ว เหลือแต่การประมูล โดยทุกพื้นที่ต้องส่งมอบพื้นที่ได้อย่างชัดเจน จึงจะเริ่มการประมูลได้
ด้านนายวัชระ แย้งว่า ประเด็นที่เกิดขึ้นคือ มีบุคคลแอบอ้างชื่อนายสมศักดิ์ ไม่ได้แอบอ้างชื่อ นายเจริญ รองประธานสภาฯ แต่ประการใด จึงอยากเรียนว่า เมื่อมีบุคคลเอบอ้างชื่อการเรียกเงินจัดจ้าง 20 เปอร์เซ็นต์ รัฐสภาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยได้ยินแต่การคอร์รัปชันในฝ่ายบริหาร แต่ไม่เคยได้ยินการคอร์รัปชันในฝ่ายนิติบัญญัติมาก่อน ตนจึงมีความวิตกกังวลแทนเกียรติภูมิรัฐสภาไทย ก็ขอให้ประธานสภาฯ ได้ชี้แจงในเรื่องนี้ด้วยว่ามีข้อเท็จจริงเรื่องนี้อย่างไร และให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบต่อไป
**"วัฒนา"รีบแก้ข่าวให้ลูกพี่่
ต่อมานายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกส่วนตัวประธานสภาฯ ได้แถลงข่าวถึงเรื่องนี้ว่า การก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีคณะกรรมการที่ดูแลจำนวน 2 ชุด คือ 1.คณะกรรมการอำนวยการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ทำหน้าที่เป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย ทั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร, รองประธานรัฐสภา, ปลัดกระทรวงต่างๆ รวมถึง ผบ.ตร., ผบ.ทร. , ผบ.ทบ. คงไม่มีใครกล้าเอาตำแหน่งหน้าที่มาหาผลประโยชน์ 2. คณะกรรมการให้คำปรึกษาและประสานงานในการกำกับดูแลโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งมีนายนิคม ไวชรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธาน ถ้าจะมีการทุจริต คงจะเป็นในส่วนของกรรมการชุดดังกล่าว เพราะ มีหน้าที่เข้าไปดูแลการก่อสร้าง
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นที่นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ ส.ส.ปชป. ให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า คนใกล้ชิดของนายสมศักดิ์ เรียกหัวคิวงานนั้น ขอให้นายวิลาศ ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ร้องเรียน ผ่านกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ใช่แค่คนมากล่าวอ้างแล้วก็นำมาแถลงข่าว ซึ่งประเด็นกรณีที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำมาเผยแพร่ นั้นได้สร้างความเสียหายต่อนายสมศักดิ์ ฐานะประมุขนิติบัญญัติ และองค์กรรัฐสภา อีกทั้งประเด็นที่บอกว่ามีทุจริต แต่ไม่กล้าจะเปิดเผยชื่อ คนใกล้ชิด หรือ บริษัทที่มาร้องเรียน ถือว่าไม่ให้ความเป็นธรรม ซึ่งนายวิลาศ ในฐานะประธานที่ปรึกษา กมธ. ป.ป.ช. ควรมีวุฒิภาวะ และวิจารณญาณที่จะพูดถึงประเด็นนี้
"หากคุณวิลาศมีข้อมูลขอให้นำไปตรวจสอบในชั้นกรรมาธิการฯ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงก่อน และหากว่าพบคนผิด ขอให้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมาย ส่วนประเด็นที่ระบุว่า มีการเกณฑ์ข้าราชการรัฐสภาไปร่วมงานทอดกฐินส่วนตัวในพื้นที่ จ.ขอนแก่นนั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการเกณฑ์คน" นายวัฒนา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเด็นคนใกล้ชิดทำทุจริต ได้มีการตรวจสอบแล้วหรือไม่ อีกทั้งการันตีหรือไม่ว่า มี หรือไม่มีจริง นายวัฒนา กล่าวว่า ใครจะกล้าการันตี แต่คนที่ออกมาเปิดเผยควรเอาเรื่องนี้ไปสอบก่อน แล้วจึงมาแถลงผ่านสื่อมวลชน ส่วนที่มีการเรียกร้องให้สภาฯ ตั้งกรรมการสอบเรื่องนี้โดยตรงนั้น ตนคิดว่าเป็นแค่ข้อกล่าวหาลอยๆ ไม่จำเป็นต้องตั้งกรรมการสอบ และประธานสภาฯ ไม่เคยที่จะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเป็นคนที่ไม่อยากเอาเรื่องส.ส.
เมื่อถามต่อว่าประเด็นเรื่องเรียกหัวคิว จะเป็นไปได้ไหมว่ามีกระบวนการล็อกสเปก บริษัทรับจ้างก่อสร้าง เหมือนอย่างที่เคยผ่านมา นายวัฒนา กล่าวว่า ไม่เชื่อว่าจะเป็นการล็อกสเปก เพราะดูรายชื่อของกรรมการที่เกี่ยวข้องแล้ว ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ส่วนเรื่องอดีตที่มีการจัดหาบริษัทรับจ้างก่อสร้างเตรียมไว้แล้ว เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะทำงานชุดปัจจุบัน ทั้งนี้ตนขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ให้ดี ก่อนให้ข่าว
**"นิคม"ปัดข่าวงาบหัวคิวสร้างสภาใหม่
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการให้คำปรึกษา และประสานงานในการกำกับดูแลโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ปฏิเสธไม่ทราบข่าวกรณีที่ นายวิลาศ ระบุว่า มีคนใกล้ชิดนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้เเทนราษฎร ไปเรียกรับเงินค่าหัวคิวงานก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ จากราคากลางก่อสร้างจำนวน 240 ล้านบาท ว่า ในข้อเท็จจริงกระบวนการก่อสร้างรัฐสภาใหม่ ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุง ร่างทีโออาร์ เพื่อหาผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง จึงยังไม่มีการจัดประมูลในส่วนการก่อสร้างใดๆในโครงการ และตามระเบียบ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการจัดทำราคากลางก่อสร้างอาคารแล้ว จำเป็นต้องตั้งกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการประมูลมาดำเนินการ เช่น กรรมการเปิดซอง เป็นต้น
นายนิคม กล่าวต่อว่า สำหรับรายละเอียดการก่อสร้างตัวอาคาร ไม่ได้มีการแยกส่วนตัวอาคารเพื่อก่อสร้าง โดยรายละเอียด การก่อสร้างจะมีตัวอาคารใหญ่ 1 สัญญา, อาคารปฏิบัติการวิทยุ และโทรทัศน์รัฐสภา 1 สัญญา และ อาคารโรงไฟฟ้า 1 สัญญา โดยทั้งหมดยังไม่เข้าสู่กระบวนการหาผู้รับจ้างแต่อย่างใด ประเด็นที่จะมีคนภายในรัฐสภา ไปล็อคบริษัทที่จะเข้าประมูล ตามที่สงสัย ผมไม่ทราบเรื่องว่าจะมีจริงหรือไม่ แต่ตามระเบียบพัสดุ ไม่สามารถทำได้