ASTVผู้จัดการรายวัน - ไร้เงานายกฯปู! ครม.ที่มี"เหลิม"นั่งหัวโต๊ะ แอบลักไก่ผ่านสัญญาจีทูจีขายข้าวให้ “จีน” พณ.อ้างเกรงไม่ทัน “นายกฯจีน” เยือนไทย 21 พ.ย.นี้ ด้านภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นเผยป.ป.ช.รับลูก สอบทุจริตโครงการรับจำนำข้าวแล้ว รอชงบอร์ดชุดใหญ่พิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ (6 พ.ย.) ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เสนอให้พิจารณาเป็นวาระจรในการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2556-2558 จากเดิมที่มีการซื้อขายปีละ 3 แสนตัน จะเพิ่มขึ้นไม่เกินปีละ 5 ล้านตัน เนื่องจากขณะนี้ทางการจีนต้องการข้าวเพิ่ม และประเทศไทยมีความต้องการที่จะระบายข้าวออก อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องสำคัญแบบนี้ ทำไมกระทรวงพาณิชย์จึงเสนอเป็นวาระจร ที่สำคัญนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นประธานการประชุม ครม.ด้วย
ซึ่งผู้อำนวยการกรมการค้าต่างประเทศได้อ้างเหตุผลที่ต้องเสนอเป็นวาระจรว่า เนื่องจากต้นเดือนธ.ค.ตัวแทนจากรัฐบาลจีนจะเดินทางมาไทยเพื่อหารือเรื่องข้าว ดังนั้นจะต้องเร่งทำลงนามบันทึกนามข้อตกลง (เอ็มโอยู) ทำให้ไม่สามารถรอเข้าประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้าได้ ทั้งนี้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดีโครงการรับจำนำข้าวจะได้ต่อเนื่อง ส่วนเรื่องของราคาจะซื้อขายในราคา ณ ขณะนั้น คาดการณ์ว่าราคาข้าวจะสูงขึ้น และจีนถือเป็นคู่ค้าข้าวที่สำคัญของไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในวันที่ 21 พ.ย.
**ศาลฯพิจารณารับไม่รับตีความจีทูจีวันนี้
วานนี้ ( 6 พ.ย. ) นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ(ศาลรธน.) กล่าว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรธน.วันนี้ ( 7 พ.ย. ) จะมีการพิจารณารับหรือไม่รับ คำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของ 67 ส.ว.ขอให้ศาลฯวินิจฉัยว่า สัญญาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี ) จำนวน 7.32 ล้านตัน ของรัฐบาล เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาก่อนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสองหรือไม่ ไว้พิจารณาวินิจฉัย
***ป.ป.ช.รับสอบโกงจำนำ
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีนายประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นประธาน ได้เสนอเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับพิจารณาและตรวจสอบการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว เพราะเห็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ล่าสุดทางป.ป.ช.ได้รับเรื่องไว้แล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการเสนอให้บอร์ดป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อตรวจสอบในเรื่องนี้ต่อไป
" เอกชนเป็นห่วงในเรื่องการใช้นโยบายการรับจำนำข้าว เพราะใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 4 แสนล้านบาท หากใช้ต่อไปเรื่อยๆ รัฐบาลจะไม่มีเงินไปพัฒนาอย่างอื่น และส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มมากขึ้น แต่หากรัฐบาลนำเงินเพียงบางส่วนจากงบประมาณที่ใช้ในการรับจำนำ ไปหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ หาทางลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินอย่างมากปีละ 2 หมื่นล้านบาท ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรได้ 50-60 ปี เมื่อเทียบกับการรับจำนำแค่ 3 ปี ที่จะใช้เงินสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท"
นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่ 60-70% ได้เช่าที่นาจากนายทุนปลูกข้าว เมื่อรัฐบาลใช้นโยบายรับจำนำ เจ้าของที่นาก็ขึ้นค่าเช่าทันที บางรายถูกเพิ่มค่าเช่าเป็น 100-200% ก็มี ทำให้ชาวนาไม่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำ เพราะปลูกข้าว ได้เงินมา ก็ต้องไปจ่ายค่าเช่าที่หมด
“เอกชนไม่ได้ขัดขวางการใช้นโยบายรับจำนำข้าว แต่เห็นว่าควรจะทำเท่าที่จำเป็น และหาทางช่วยเหลือชาวนาด้วยวิธีการอื่นๆ ด้วย อย่างการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ถ้าทำได้ ก็จะช่วยให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น”นายวิชัยกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ (6 พ.ย.) ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เสนอให้พิจารณาเป็นวาระจรในการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2556-2558 จากเดิมที่มีการซื้อขายปีละ 3 แสนตัน จะเพิ่มขึ้นไม่เกินปีละ 5 ล้านตัน เนื่องจากขณะนี้ทางการจีนต้องการข้าวเพิ่ม และประเทศไทยมีความต้องการที่จะระบายข้าวออก อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องสำคัญแบบนี้ ทำไมกระทรวงพาณิชย์จึงเสนอเป็นวาระจร ที่สำคัญนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นประธานการประชุม ครม.ด้วย
ซึ่งผู้อำนวยการกรมการค้าต่างประเทศได้อ้างเหตุผลที่ต้องเสนอเป็นวาระจรว่า เนื่องจากต้นเดือนธ.ค.ตัวแทนจากรัฐบาลจีนจะเดินทางมาไทยเพื่อหารือเรื่องข้าว ดังนั้นจะต้องเร่งทำลงนามบันทึกนามข้อตกลง (เอ็มโอยู) ทำให้ไม่สามารถรอเข้าประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้าได้ ทั้งนี้เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดีโครงการรับจำนำข้าวจะได้ต่อเนื่อง ส่วนเรื่องของราคาจะซื้อขายในราคา ณ ขณะนั้น คาดการณ์ว่าราคาข้าวจะสูงขึ้น และจีนถือเป็นคู่ค้าข้าวที่สำคัญของไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีน จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยในวันที่ 21 พ.ย.
**ศาลฯพิจารณารับไม่รับตีความจีทูจีวันนี้
วานนี้ ( 6 พ.ย. ) นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ(ศาลรธน.) กล่าว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรธน.วันนี้ ( 7 พ.ย. ) จะมีการพิจารณารับหรือไม่รับ คำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของ 67 ส.ว.ขอให้ศาลฯวินิจฉัยว่า สัญญาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ(จีทูจี ) จำนวน 7.32 ล้านตัน ของรัฐบาล เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาก่อนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสองหรือไม่ ไว้พิจารณาวินิจฉัย
***ป.ป.ช.รับสอบโกงจำนำ
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีนายประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นประธาน ได้เสนอเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับพิจารณาและตรวจสอบการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว เพราะเห็นว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ล่าสุดทางป.ป.ช.ได้รับเรื่องไว้แล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการเสนอให้บอร์ดป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อตรวจสอบในเรื่องนี้ต่อไป
" เอกชนเป็นห่วงในเรื่องการใช้นโยบายการรับจำนำข้าว เพราะใช้งบประมาณสูงถึงปีละ 4 แสนล้านบาท หากใช้ต่อไปเรื่อยๆ รัฐบาลจะไม่มีเงินไปพัฒนาอย่างอื่น และส่งผลกระทบต่อหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มมากขึ้น แต่หากรัฐบาลนำเงินเพียงบางส่วนจากงบประมาณที่ใช้ในการรับจำนำ ไปหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ หาทางลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินอย่างมากปีละ 2 หมื่นล้านบาท ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรได้ 50-60 ปี เมื่อเทียบกับการรับจำนำแค่ 3 ปี ที่จะใช้เงินสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท"
นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบพบว่า ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่ 60-70% ได้เช่าที่นาจากนายทุนปลูกข้าว เมื่อรัฐบาลใช้นโยบายรับจำนำ เจ้าของที่นาก็ขึ้นค่าเช่าทันที บางรายถูกเพิ่มค่าเช่าเป็น 100-200% ก็มี ทำให้ชาวนาไม่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำ เพราะปลูกข้าว ได้เงินมา ก็ต้องไปจ่ายค่าเช่าที่หมด
“เอกชนไม่ได้ขัดขวางการใช้นโยบายรับจำนำข้าว แต่เห็นว่าควรจะทำเท่าที่จำเป็น และหาทางช่วยเหลือชาวนาด้วยวิธีการอื่นๆ ด้วย อย่างการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ถ้าทำได้ ก็จะช่วยให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น”นายวิชัยกล่าว