ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (31ต.ค.) มีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ได้เสนอชื่อนายอุดม มั่งมีดี อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา จากนั้นได้ให้สมาชิกอภิปราย โดยนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การตั้งกรรมการปปท.ครั้งนี้ ควรจะมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เพราะนายอุดม ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่เกษียณอายุธรรมดา แต่เป็นใคร ตนเชื่อว่าพี่น้องผู้พิพากษาคงทราบกันดี โดยเฉพาะกลุ่มคนเสิ้อแดง ทำให้พล.ต.อ.ประชา ลุกขึ้นเสนอให้มีการประชุมลับทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงประชุมลับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนใหญ่ได้อภิปรายท้วงติงว่า นายอุดม ไม่มีความเหมาะสม ที่จะเป็นกรรมการ ปปท. เนื่องจากไม่เป็นกลางทางการเมือง เคยขึ้นเวที เสื้อแดง และมีชื่อเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบคดีสั่งฆ่าประชาชน 92 ศพ ที่มี นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. เป็นประธาน
นอกจากยังเป็นพยานให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดงในคดีหมื่นเบื้องสูง จึงเกรงว่าเมื่อเข้าไปทำหน้าที่แล้วจะต้องใช้อำนาจหน้าที่ทำลายฝ่ายตรงข้าม จึงเสนอให้ที่ประชุมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อตรวจสอบประวัติ ของนายอุดม ปรากฏว่า มีผู้เห็นด้วย 57 เสียง ไม่เห็นด้วย 273 เสียง ทำให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ไม่พอใจ
โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นอภิปรายว่า ขอให้พล.ต.อ.ประชา หาตำแหน่งอื่นให้นายอุดม ได้หรือไม่ เพราะตำแหน่ง กรรมการปปท. ต้องมีความเป็นกลาง ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า การแต่งตั้งนายอุดม เป็นการกระทำตามขึ้นตอน เหมือนกับสมัยที่นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรมว.ยุติธรรม แต่ส.ส.ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังคงถกเถียงกันใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที ยังไม่ได้ข้อยุติ จนนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ เสนอว่า ไม่อยากให้สภาเป็นเพียงตรายางที่จะเลือกใครมาทำหน้าที่ก็ได้ โดยใช้เสียงข้างมากตัดสิน ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ร่วมในการลงมติด้วย และได้พากันวอล์กเอาต์ ออกจากห้องประชุมไป และเมื่อมีการเปิดประชุมตามปกติ ประธาน ได้สั่งให้มีการลงคะแนนรับรองนายอุดม โดยไม่มีส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมลงคะแนนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงประชุมลับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่วนใหญ่ได้อภิปรายท้วงติงว่า นายอุดม ไม่มีความเหมาะสม ที่จะเป็นกรรมการ ปปท. เนื่องจากไม่เป็นกลางทางการเมือง เคยขึ้นเวที เสื้อแดง และมีชื่อเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบคดีสั่งฆ่าประชาชน 92 ศพ ที่มี นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. เป็นประธาน
นอกจากยังเป็นพยานให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดงในคดีหมื่นเบื้องสูง จึงเกรงว่าเมื่อเข้าไปทำหน้าที่แล้วจะต้องใช้อำนาจหน้าที่ทำลายฝ่ายตรงข้าม จึงเสนอให้ที่ประชุมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อตรวจสอบประวัติ ของนายอุดม ปรากฏว่า มีผู้เห็นด้วย 57 เสียง ไม่เห็นด้วย 273 เสียง ทำให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ไม่พอใจ
โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นอภิปรายว่า ขอให้พล.ต.อ.ประชา หาตำแหน่งอื่นให้นายอุดม ได้หรือไม่ เพราะตำแหน่ง กรรมการปปท. ต้องมีความเป็นกลาง ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา ชี้แจงว่า การแต่งตั้งนายอุดม เป็นการกระทำตามขึ้นตอน เหมือนกับสมัยที่นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรมว.ยุติธรรม แต่ส.ส.ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังคงถกเถียงกันใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที ยังไม่ได้ข้อยุติ จนนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ เสนอว่า ไม่อยากให้สภาเป็นเพียงตรายางที่จะเลือกใครมาทำหน้าที่ก็ได้ โดยใช้เสียงข้างมากตัดสิน ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ร่วมในการลงมติด้วย และได้พากันวอล์กเอาต์ ออกจากห้องประชุมไป และเมื่อมีการเปิดประชุมตามปกติ ประธาน ได้สั่งให้มีการลงคะแนนรับรองนายอุดม โดยไม่มีส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมลงคะแนนด้วย