บิ๊กKBANKห่วงวิกฤตยุโรป-อเมริกา ฉุดเศรษฐกิจไทย คาดปีหน้าจีดีพี 5% แนะจับตาเลือกตั้งสหรัฐฯ-จีน จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจโลก ขณะที่คลังห่วงส่งออกยังหืดจับ 3 ไตรมาส ติดลบ 3.8% ลุ้นไตรมาสสุดท้ายพลิกเป็นบวก 14.7% ทั้งปีขยายตัวได้ 4.5% ช่วยดันเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ตามเป้า 5.5%
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้า ก็จะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก เนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของยุโรป และสหรัฐอเมริกาจะยังมีอยู่ ซึ่งจะมีผลต่อธุรกรรมทางการค้าไปทั่วโลก รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่เติบโตชะลอตัวลงด้วย โดยคาดว่าจีดีพีของไทยในปีหน้าจะเติบโตได้ประมาณ 5%
สำหรับการเปลี่ยนผู้นำของ 2 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 และ 2 อย่างสหรัฐฯและจีนนั้น ในส่วนของสหรัฐฯก็คงต้องรอดูอีกไม่กี่วันว่าจะเปลี่ยนหรือไม่ แต่นโยบายที่จะต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น เป็นเรื่องที่เห็นพ้องกันว่าต้องแก้ไข แต่วิธีการจะต่างกัน ซึ่งก็ต้องรอดูผล ขณะที่จีนนั้น ต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้นำแน่ แต่นโยบายหลักไม่เปลี่ยน สิ่งที่ต้องรอดูคือ มุมมองของผู้นำใหม่จะตีโจทย์ของโลกแตกต่างจากเดิมหรือไม่
"ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้เสี่ยงมากไปกว่าประเทศอื่นๆ เศรษฐกิจโลกไม่ดี ก็แป๊กด้วยกันทุกคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปรับตัวกัน ปัญหามันมีอยู่ตลอด เปลี่ยนไปทุกวัน ก็ต้องแก้กันไปทุกวัน ไม่มีวันจบ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครมองทะลุปรุโปร่งได้ 100%ในครั้งเดียว แต่นอกจากเรื่องเศรษฐกิจโลกแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีการพัฒนาอีกในหลายๆด้าน อาทิ กระจายความมั่งคง ซึ่งเป็นโจทย์ของทุกประเทศต้องแก้ การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ยังไม่รวมถึงโครงสร้างด้านการศึกษา ที่จะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน"
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตามยอมรับว่าวิกฤติเศรษฐกิจยูโรโซนและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยโดยไตรมาส 3 หดตัวที่ -3.8% ขณะที่ยอดรวมทั้ง 3 ไตรมาส ยังหดตัว -1.1%
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังคาดการณ์การส่งออกในปีนี้ที่ขยายตัว 4.5% ใกล้เคียงกับตัวเลขใหม่ที่กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ โดยดูจากตัวเลขเดือนก.ย.ที่เริ่มดีขึ้นหรือขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อย เชื่อว่าไตรมาสสุดท้ายปีนี้ก็ยังมีความเป็นไปได้ แต่การส่งออกแต่ละเดือนต้องอยู่ที่ระดับ 2 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ หรือรวมแล้วไตรมาส 4 ต้องมีการขยายตัวของการส่งออกถึง 14.7% จึงจะทำให้การส่งออกทั้งปีขยายตัวได้ 4.5% ตามเป้าหมาย
“มองว่าการส่งออกทั้งปียังมีโอกาสขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนตัวเลขติดลบจึงเป็นฐานที่ต่ำมากและเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็น่าจะส่งออกได้ถึงระดับ 2 หมื่นกว่าล้านเหรียญโดยตลาดที่ยังไปได้ดีคืออินเดีย ฮ่องกง ออสเตรเลียและแอฟริกา”นางสาวกุลยา กล่าว
สำหรับการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัวได้ดีสะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือนกันยายนที่ขยายตัวถึง 67.8% ส่วน 3 ไตรมาสขยายตัว 78.6% ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิตยังขยายตัวต่อเนื่องเช่นเดียวกน ส่งผลให้กระทรวงการคลังยังคงตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 ในระดับเดิมขยายตัว 5.5% โดยไตมาส 3 น่าจะขยายตัวได้ 3.5-4% และไตรมาส 4 ที่เหลือน่าจะโตได้ถึง 14% เพื่อให้ตัวเลขเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งแม้ตัวเลขจะสูงแต่หากเทียบกับไตรสสุดท้ายของปีก่อนที่ติดลบค่อนข้างมากก็ยังมีความเป็นไปได้สูง แต่หากตัวเลขไม่เป้ฯไปตามเป้าหมายก็จะมีการประเมินและทบทวนใหม่อีกครั้งในเดือนธันวาคมนี้
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีแต่ไตรมาส 4 นี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา โดยเฉพาะการติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของยุโรป ซึ่งแม้จะมีมาตรการออกมาแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมเมื่อใด อีกทั้งต้องจับตาดุการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ เพราะนโยบายด้านเศรษฐกิจอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยตามมาด้วยเช่นเดียวกัน.
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้า ก็จะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก เนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของยุโรป และสหรัฐอเมริกาจะยังมีอยู่ ซึ่งจะมีผลต่อธุรกรรมทางการค้าไปทั่วโลก รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่เติบโตชะลอตัวลงด้วย โดยคาดว่าจีดีพีของไทยในปีหน้าจะเติบโตได้ประมาณ 5%
สำหรับการเปลี่ยนผู้นำของ 2 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 และ 2 อย่างสหรัฐฯและจีนนั้น ในส่วนของสหรัฐฯก็คงต้องรอดูอีกไม่กี่วันว่าจะเปลี่ยนหรือไม่ แต่นโยบายที่จะต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น เป็นเรื่องที่เห็นพ้องกันว่าต้องแก้ไข แต่วิธีการจะต่างกัน ซึ่งก็ต้องรอดูผล ขณะที่จีนนั้น ต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้นำแน่ แต่นโยบายหลักไม่เปลี่ยน สิ่งที่ต้องรอดูคือ มุมมองของผู้นำใหม่จะตีโจทย์ของโลกแตกต่างจากเดิมหรือไม่
"ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยก็ไม่ได้เสี่ยงมากไปกว่าประเทศอื่นๆ เศรษฐกิจโลกไม่ดี ก็แป๊กด้วยกันทุกคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปรับตัวกัน ปัญหามันมีอยู่ตลอด เปลี่ยนไปทุกวัน ก็ต้องแก้กันไปทุกวัน ไม่มีวันจบ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครมองทะลุปรุโปร่งได้ 100%ในครั้งเดียว แต่นอกจากเรื่องเศรษฐกิจโลกแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีการพัฒนาอีกในหลายๆด้าน อาทิ กระจายความมั่งคง ซึ่งเป็นโจทย์ของทุกประเทศต้องแก้ การบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ยังไม่รวมถึงโครงสร้างด้านการศึกษา ที่จะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน"
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนและไตรมาส 3 ที่ผ่านมาว่า ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตามยอมรับว่าวิกฤติเศรษฐกิจยูโรโซนและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยโดยไตรมาส 3 หดตัวที่ -3.8% ขณะที่ยอดรวมทั้ง 3 ไตรมาส ยังหดตัว -1.1%
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังคาดการณ์การส่งออกในปีนี้ที่ขยายตัว 4.5% ใกล้เคียงกับตัวเลขใหม่ที่กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ โดยดูจากตัวเลขเดือนก.ย.ที่เริ่มดีขึ้นหรือขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อย เชื่อว่าไตรมาสสุดท้ายปีนี้ก็ยังมีความเป็นไปได้ แต่การส่งออกแต่ละเดือนต้องอยู่ที่ระดับ 2 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ หรือรวมแล้วไตรมาส 4 ต้องมีการขยายตัวของการส่งออกถึง 14.7% จึงจะทำให้การส่งออกทั้งปีขยายตัวได้ 4.5% ตามเป้าหมาย
“มองว่าการส่งออกทั้งปียังมีโอกาสขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนตัวเลขติดลบจึงเป็นฐานที่ต่ำมากและเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็น่าจะส่งออกได้ถึงระดับ 2 หมื่นกว่าล้านเหรียญโดยตลาดที่ยังไปได้ดีคืออินเดีย ฮ่องกง ออสเตรเลียและแอฟริกา”นางสาวกุลยา กล่าว
สำหรับการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัวได้ดีสะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งเดือนกันยายนที่ขยายตัวถึง 67.8% ส่วน 3 ไตรมาสขยายตัว 78.6% ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิตยังขยายตัวต่อเนื่องเช่นเดียวกน ส่งผลให้กระทรวงการคลังยังคงตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 ในระดับเดิมขยายตัว 5.5% โดยไตมาส 3 น่าจะขยายตัวได้ 3.5-4% และไตรมาส 4 ที่เหลือน่าจะโตได้ถึง 14% เพื่อให้ตัวเลขเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งแม้ตัวเลขจะสูงแต่หากเทียบกับไตรสสุดท้ายของปีก่อนที่ติดลบค่อนข้างมากก็ยังมีความเป็นไปได้สูง แต่หากตัวเลขไม่เป้ฯไปตามเป้าหมายก็จะมีการประเมินและทบทวนใหม่อีกครั้งในเดือนธันวาคมนี้
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีแต่ไตรมาส 4 นี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา โดยเฉพาะการติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาของยุโรป ซึ่งแม้จะมีมาตรการออกมาแล้วแต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมเมื่อใด อีกทั้งต้องจับตาดุการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ เพราะนโยบายด้านเศรษฐกิจอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยตามมาด้วยเช่นเดียวกัน.