นายชวน ศิรินันท์พร อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก กระจายโดยทั่วไป เป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำท่วมขัง น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในหลายจังหวัด ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร ตลอดจนพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่การเกษตรเป็นจำนวนมาก
เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กรมการปกครองในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 จึงพิจารณาให้ยกเว้น หรือลดภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี 2555 ซึ่งกำหนดชำระภายในเดือนเมษายน2556 ในพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบอุทกภัย
ทั้งนี้ ได้แจ้งทุกจังหวัดดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยแล้ว ซึ่งหากพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ให้พิจารณาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยดำเนินการตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 และตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่
พ.ศ.2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกนั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ จากปัญหาอุทกภัยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณายกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ให้แก่ราษฎรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
2) หลักเกณฑ์ในการยกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ การที่ผู้เสียบำรุงท้องที่รายใดเสียหายเกินกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนเนื้อที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ให้ยกเว้นภาษีทั้งหมด และที่เสียหายเกินกว่า 1ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ของจำนวนเนื้อที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ให้ลดภาษีตามส่วนที่เสียหาย
อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวด้วยว่า จากการดำเนินการตามมาตรการฯ ดังกล่าว จะทำให้พี่น้องเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร อันเนื่องจากอุทกภัย ได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สามารถบรรเทาความเดือดร้อนและมีเงินทุนเพียงพอสำหรับลงทุนทำการเกษตรครั้งต่อไปได้
เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กรมการปกครองในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 จึงพิจารณาให้ยกเว้น หรือลดภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี 2555 ซึ่งกำหนดชำระภายในเดือนเมษายน2556 ในพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบอุทกภัย
ทั้งนี้ ได้แจ้งทุกจังหวัดดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยแล้ว ซึ่งหากพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ให้พิจารณาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนโดยดำเนินการตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 และตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่
พ.ศ.2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกนั้นเสียหายมากผิดปกติ หรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ จากปัญหาอุทกภัยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณายกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ให้แก่ราษฎรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน
2) หลักเกณฑ์ในการยกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ การที่ผู้เสียบำรุงท้องที่รายใดเสียหายเกินกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนเนื้อที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ให้ยกเว้นภาษีทั้งหมด และที่เสียหายเกินกว่า 1ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ของจำนวนเนื้อที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ให้ลดภาษีตามส่วนที่เสียหาย
อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวด้วยว่า จากการดำเนินการตามมาตรการฯ ดังกล่าว จะทำให้พี่น้องเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร อันเนื่องจากอุทกภัย ได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สามารถบรรเทาความเดือดร้อนและมีเงินทุนเพียงพอสำหรับลงทุนทำการเกษตรครั้งต่อไปได้