ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกใบนี้ ถึงกระนั้นก็ดี การรักษาโรคเพื่อมิให้ต้องมีอันเจ็บป่วยหรือทุกข์ทรมานก่อนเวลาอันควร ก็น่าจะเป็นเครื่องเตือนสติให้มนุษย์เร่งทำความดี ทำบุญกุศล ให้มากก่อนที่จะสิ้นอายุขัยของตัวเอง
พระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 157 "อินทรียวรรคที่ 1" พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า:
"โรค 2 อย่างนี้ คือ 1. โรคทางกาย 2 โรคทางใจ ชนทั้งหลายให้คำมั่นสัญญา ถึงความไม่มีโรคทางกายตลอด 1 ปีมีปรากฏอยู่ ตลอด 10 ปี มีปรากฏอยู่ ตลอด 50 ปี มีปรากฏอยู่ แม้ตลอดยิ่งกว่า 100 ปี ก็ยังมีปรากฏได้ แต่เหล่าชนใดให้คำมั่นสัญญา ถึงความไม่มีโรคทางใจ แม้สักครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระอรหันต์เท่านั้น"
แม้พระพุทธเจ้าจะไม่มีโรคทางใจใดๆ แต่ก็ยังมีโรคทางกายเกิดขึ้น เพราะทรงเคยไปสร้าง "วิบากกรรมอันเป็นบาป" เอาไว้ในอดีต จึงต้องรับผลกำรรมเจ็บป่ายทางกายได้อีก เช่นการปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 32 ข้อ 392 "พุทธปทาน" ว่า
ถูกไฟไหม้ผิวหนัง เพราะในอดีตชาติเคยฆ่าคนตายเป็นจำนวนมาก ต้องปวดศีรษะ เพราะเคยเห็นผู้คนพากันฆ่าปลา แล้วเกิดความยินดีพอใจ เจ็บปวดหลังเพราะเคยทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บ เป็นโรคบิดท้องร่วง เพราะเคยลงมือถ่ายยาให้บุตรเศรษฐีแต่ทำให้เขาถึงแก่ความตาย
พระพุทธองค์ตรัสถึงคนไข้ในโลกนี้ ว่ามีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ดังปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ข้อ 461 "คิลานสูตร" ดังนี้
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ 3 จำพวก คือ
1.คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะ (อาหาร) ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัช (ยา)ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐาก (คนดูแลหรือหมอ) ที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมไม่หายจากอาพาธ (เจ็บป่วย) นั้นได้เลย
2.คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐานที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้
3.คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐานที่สมควรจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย
ก็เพราะคนไข้จำพวกสุดท้ายนี้เอง เราจึงอนุญาตคิลานภัต(อาหารรักษาผู้ป่วย) อนุญาตคิลานเภสัช (ยารักษาผู้ป่วย) อนุญาตคิลานุปัฏฐาก (หมอหรือผู้ดูแลพยาบาลคนไข้)เอาไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และก็เพราะอาศัยคนไข้เช่นนี้ ถึงคนไข้อื่นก็ควรได้รับการบำรุงด้วย
ในพระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 87 "ปุตตสูตร" ทรงกล่าวถึงเหตุที่ทำให้คนเราต้องเจ็บป่วย มีอยู่ 8 ประการด้วยกันคือ
1. ดี (อวัยวะภายใน) เป็นสมุฏฐาน 2.เสมหะ (เมือกจากลำคอหรือลำไส้) เป็นสมุฏฐาน 3. ลม (ภายในกาย) เป็นสมุฏฐาน 4. ประชุมกันเกิดขึ้น 5. ฤดูแปรปรวน 6. การบริหารไม่สม่ำเสมอ 7.การบาดเจ็บ 8.เกิดจากผลกรรม (บาป)
ในพระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 584 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งโรคมากเอาไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ ท่อนดิน ท่อนไม้ ของมีคม หากเขาตายไปจะเข้าถึงนรก (ความเร่าร้อนใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีโรคมาก"
ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 585 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งโรคน้อยเอาไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วย ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ของมีคม หากเขาตายไปจะเข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์ (ความเย็นใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีโรคน้อย"
ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 582 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งอายุสั้นเอาไว้ว่า "การเป็นผู้มักทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วงไป เป็นคนเหี้ยมโหดมีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นอยู่ในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต หากเข้าตายไปจะเข้าถึงนรก (ความเร่าร้อนใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอายุสั้น"
ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 583 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งอายุยืนเอาไว้ว่า "การเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) วางอาชญา (โทษภัย) วางศาสตรา (ของมีคม) ได้ มีความละอาย (ที่จะทำบาป) เข้าถึงความเอ็นดู ช่วยเหลือด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูต (วิญญาณที่แสวงหาที่เกิด)อยู่ หากเขาตายไปจะเข้าถึงสุขคติในโลกสวรรค์ (ความเย็นใจ) ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอายุยืน"
นอจากนี้ยังปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 94 "มหาปรินิพพานสูตร" ได้กล่าวถึงอำนาจของอิทธิบาท 4 เอาไว้ว่า:
เมื่อคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำพรรษาที่บ้านเวฬุวคาม ทรงประชวรหนัก เกิดทุกข์ทรมานอย่างรุนแรงใกล้จะปรินิพพาน ทรงมีสติสัมปชัญญะ อดทนอดกลั้น ไม่พรั่นพรึ่ง แล้วทรงพระดำริว่า
"การที่เราจะไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก (ผู้คอยดูแลรับใช้) ไม่อำลาภิกษุสงฆ์ แล้วปรินิพพานนั้นเสีย เป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ถ้ากระไรเราพึงใช้ความเพียร (อิทธิบาท 4) ขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตร่างกายให้อยู่เถิด"
แล้วทรงใช้ความเพียรนั้น ขับไล่ความเจ็บป่วยไป ทรงหายประชวร หายจากความเป็นไข้ในเวลานั้นเอง
ต่อมาเสด็จไปยังปาวาสเจดีย์กับพระอานนท์ แล้วตรัสแสดงถึงอำนาจของอิทธิบาท 4 ให้แก่พระอานนท์ว่า:
"ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาท 4 (1. ฉันทะ คือความยินดี 2. วิริยะ คือ ความเพียร 3. จิตตะคือความตั้งใจจริง 4. วิมังสาคือความพิจารณาไตร่ตรอง) อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้วปรารถนาดีแล้ว ผุ้นั้นเมื่อตั้งใจมีชีวิตอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป (ชั่วอายุของคนซึ่งในขณะนั้นประมาณ 100 ปี) หรือเกินกว่ากัปก็ได้"
พระตถาคตตรัสแล้ว แต่พระอานนท์ไม่อาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงงอนพระผู้มีพระภาค ให้ทรงใช้อิทธิบาท 4 ดำรงอยู่ต่อไปให้ถึง 100 ปี ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้ปรินิพพาน เมื่อทรงมีอายุได้ 80 ปี นั่นเอง
ในพระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 265 "กกจูปมสูตร" ได้กล่าวถึงการรับประทานอาหารเอาไว้ว่า
"เราฉันอาหาร ณ ที่นั่งแห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่ รู้สึกว่า 1.มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุก ดูก่อนถึงพวกเธอทั้งหลายก็จงฉันหนเดียวเถิด แม้พวกเธอก็จะรู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุก
ในพระไตรปิฎกเล่ม 4 ข้อ 87 "มหาขันธกะ" พระพุทธเจ้าทรงถือว่าน้ำมูตร หรือ น้ำมูตรเน่า ซึ่งก็คือน้ำปัสสาวะเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ และต้องเป็นนิสสัย 1 ใน 4 ของภิกษุ โดยพระพุทธองค์ตรัสสอนนิสสัยเอาไว้ว่า
"เธอจงอาศัยน้ำมูตรเน่า (ปัสสาวะสด หรือปัสสาวะที่ผสมของดองอื่น) เธอพึงทำความอุตสาหะในสิ่งนี้ตลอดชีวิต ส่วนอดิเรกลาภอื่นคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เธอจะปฏิเสธเสียก็ได้"
อีกทั้งปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม 12 ข้อ 532 "มหาธรรมสมาทานสูตร" ยังได้กล่าวถึงคำตรัสของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับน้ำมูตร (ปัสสาวะ)ว่า
เรากล่าวข้อที่ถือเอารับเอาปฏิบัติ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบาก (ผลต่อไป) เปรียบเสมือน... มีน้ำมูตรเน่าอันระคนด้วยยาอยู่ ได้มีผู้ที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเขา จึงมีคนบอกแก่เขาว่า
ท่านผู้เจริญ น้ำมูตรเน่าอันระคนด้วยยานี้ ถ้าท่านหวังจะดื่มก็ดื่มเถิด น้ำมูตรเน่าจะไม่ชอบใจแก่ท่าน ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส แต่ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้วจะมีความสุข ผู้เป็นโรคผมเหลืองฟังแล้ว ก็พิจารณาน้ำมูตรเน่านั้นแล้วจึงดื่มมิได้วาง เขาก็ไม่ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรสของน้ำมูตรเน่าระคนยา แต่ครั้นดื่มแล้วก็มีสุขในเวลาต่อมา
ในพระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 78 "ขุททกวัตถุขันธกะ" หมอชีวกโกมาภัจจ์ ได้มาทำกิจจำเป็นอย่างหนึ่งที่นครเวสารี เห็นภิกษุทั้งหลายอาพาธกันเป็นจำนวนมากเพราะ อุบาสก อุบาสิกา ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้ถวายภัตตาหารที่ตกแต่งอย่างประณีตแต่กลับมีพิษและมีโทษมาก จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อของให้ทรงอนุญาตสถานที่จงกรมและเรือนไฟ (ยุคนี้น่าจะเทียบได้กับการอบตัว) โดยได้กล่าวว่า
"พระพุทธเจ้าข้า บัดนนี้ภิกษุทั้งหลายมีร่างกายสั่งสมโทษไว้มาก มีอาพาธมาก ข้าพระพุทธเจ้าขึงขอประทานพระวโรกาส ขอให้พระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงอนุญาต ที่จงกรมและเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ได้ ภิกษุทั้งหลายจะมีอาพาธน้อยพระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคได้ทรงฟังคำแนะนำวิธีระบายพิษออกจากร่างกายและวิธีป้องกันรักษาโรคแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายตั้งเรือนไฟแล้วมีที่จงกรมได้
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 135 "จีวระขันธกะ" ได้กล่าวถึงการระบายพิษออกจากร่างกายด้วยยาถ่ายเอาไว้ว่า
"ดูก่อนอานนท์ กายของเราตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษเราต้องการจะฉันยาถ่าย"
พระอานนท์จึงไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แจ้งเรื่องให้ทราบ หมอชีวกขอให้พระพุทธเจ้าทรงทำร่างกายให้ชุ่มชื่นมีกำลังก่อนสัก 2-3 วัน จากนั้นจึงถวายพระโอสถถ่าย (ยาถ่าย) ที่ทำอย่างประณีตคือ อบก้านอุบล (ดอกบัว) ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงสูดดมก้านอุบลทีละก้าน ซึ่ง 1 ก้าน จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง 10 ครั้ง เมื่อรวม 3 ก้าน จึงทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง ในการระบายพิษที่หมักหมมออกจากร่างกาย แต่ก่อนที่จะทรงถ่ายครั้งที่ 30 นั้น หมอชีวกให้พระผู้มีพระภาคสรงพระกายด้วยน้ำอุ่น แล้วจึงถ่ายล้างท้องได้ครบ 30 ครั้ง
เมื่อทรงระบายพิษออกครบ 30 ครั้งแล้ว หมอชีวกได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า "พระพุทธเจ้า ขณะนี้พระผู้มีพระภาคยังทรงมีพระกายอ่อนเพลีย ไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ จนกว่าจะทรงมีพระกายเป็นปกติพระเจ้าข้า" ซึ่งต่อมาไม่กี่วัน พระกายของพระผู้มีพระภาคก็เป็นปกติแล้ว
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 44 "เภสัชชขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "ภิกษุป่วยเป็นพรรดึก (อุจจาระคั่งค้างแข็งเป็นก้อนในลำไส้ใหญ่ ทำให้ท้องผูก) ทรงอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างอามิส
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 45 "เภสัชชขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า พระสารีบุตรป่วยเป็นไข้ตัวร้อน รักษาให้หายได้ด้วยรากบัวและเง่าบัว
ในพระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 188 "ขุททกวัตถุขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "พระสารีบุตรป่วยเป็นลมเสียดท้อง รักษาให้หายได้ด้วยกระเทียม
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 134 "จีวรขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "พระเจ้าปัชโชต ราชาในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรเป็นโรคผอมเหลือง หมอชีวกรักษาหายด้วยการหุงเนยใสให้เสวย
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนในการรักษาโรคในสมัยพุทธกาลที่บัญญัติเอาไว้เป็นหลักฐานในพระไตรปิฎกเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเอาไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 13 ข้อ 287-290 "มาคัณฑิยสูตร" เกี่ยวข้อกับความไม่มีโรค และการนิพพานว่า
ร่างกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร (กิเลส) เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ดังนั้นเธอจึงจะละความกำหนัดได้ ละความพอใจในรูปกายได้ ละความพอใจในเวทนา (ความรู้สึก) ได้ ละความพอใจในสัญญา (ความจำ)ได้ ละความพอใจในสังขาร (ความคิดปรุงแต่งได้) ละความพอใจในวิญญาณ(ความรู้)ได้"
ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้ ถ้าเธอพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกใบนี้ ถึงกระนั้นก็ดี การรักษาโรคเพื่อมิให้ต้องมีอันเจ็บป่วยหรือทุกข์ทรมานก่อนเวลาอันควร ก็น่าจะเป็นเครื่องเตือนสติให้มนุษย์เร่งทำความดี ทำบุญกุศล ให้มากก่อนที่จะสิ้นอายุขัยของตัวเอง
พระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 157 "อินทรียวรรคที่ 1" พระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า:
"โรค 2 อย่างนี้ คือ 1. โรคทางกาย 2 โรคทางใจ ชนทั้งหลายให้คำมั่นสัญญา ถึงความไม่มีโรคทางกายตลอด 1 ปีมีปรากฏอยู่ ตลอด 10 ปี มีปรากฏอยู่ ตลอด 50 ปี มีปรากฏอยู่ แม้ตลอดยิ่งกว่า 100 ปี ก็ยังมีปรากฏได้ แต่เหล่าชนใดให้คำมั่นสัญญา ถึงความไม่มีโรคทางใจ แม้สักครู่หนึ่งนั้น หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระอรหันต์เท่านั้น"
แม้พระพุทธเจ้าจะไม่มีโรคทางใจใดๆ แต่ก็ยังมีโรคทางกายเกิดขึ้น เพราะทรงเคยไปสร้าง "วิบากกรรมอันเป็นบาป" เอาไว้ในอดีต จึงต้องรับผลกำรรมเจ็บป่ายทางกายได้อีก เช่นการปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 32 ข้อ 392 "พุทธปทาน" ว่า
ถูกไฟไหม้ผิวหนัง เพราะในอดีตชาติเคยฆ่าคนตายเป็นจำนวนมาก ต้องปวดศีรษะ เพราะเคยเห็นผู้คนพากันฆ่าปลา แล้วเกิดความยินดีพอใจ เจ็บปวดหลังเพราะเคยทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บ เป็นโรคบิดท้องร่วง เพราะเคยลงมือถ่ายยาให้บุตรเศรษฐีแต่ทำให้เขาถึงแก่ความตาย
พระพุทธองค์ตรัสถึงคนไข้ในโลกนี้ ว่ามีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ดังปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ข้อ 461 "คิลานสูตร" ดังนี้
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ 3 จำพวก คือ
1.คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะ (อาหาร) ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัช (ยา)ที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐาก (คนดูแลหรือหมอ) ที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมไม่หายจากอาพาธ (เจ็บป่วย) นั้นได้เลย
2.คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐานที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้
3.คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐานที่สมควรจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย
ก็เพราะคนไข้จำพวกสุดท้ายนี้เอง เราจึงอนุญาตคิลานภัต(อาหารรักษาผู้ป่วย) อนุญาตคิลานเภสัช (ยารักษาผู้ป่วย) อนุญาตคิลานุปัฏฐาก (หมอหรือผู้ดูแลพยาบาลคนไข้)เอาไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และก็เพราะอาศัยคนไข้เช่นนี้ ถึงคนไข้อื่นก็ควรได้รับการบำรุงด้วย
ในพระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 87 "ปุตตสูตร" ทรงกล่าวถึงเหตุที่ทำให้คนเราต้องเจ็บป่วย มีอยู่ 8 ประการด้วยกันคือ
1. ดี (อวัยวะภายใน) เป็นสมุฏฐาน 2.เสมหะ (เมือกจากลำคอหรือลำไส้) เป็นสมุฏฐาน 3. ลม (ภายในกาย) เป็นสมุฏฐาน 4. ประชุมกันเกิดขึ้น 5. ฤดูแปรปรวน 6. การบริหารไม่สม่ำเสมอ 7.การบาดเจ็บ 8.เกิดจากผลกรรม (บาป)
ในพระไตรปิฎก เล่ม 14 ข้อ 584 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งโรคมากเอาไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ ท่อนดิน ท่อนไม้ ของมีคม หากเขาตายไปจะเข้าถึงนรก (ความเร่าร้อนใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีโรคมาก"
ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 585 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งโรคน้อยเอาไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วย ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ของมีคม หากเขาตายไปจะเข้าถึงสุคคติโลกสวรรค์ (ความเย็นใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีโรคน้อย"
ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 582 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งอายุสั้นเอาไว้ว่า "การเป็นผู้มักทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วงไป เป็นคนเหี้ยมโหดมีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นอยู่ในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต หากเข้าตายไปจะเข้าถึงนรก (ความเร่าร้อนใจ) ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอายุสั้น"
ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 583 "จูฬกัมมวิภังคสูตร" ได้กล่าวถึงเหตุแห่งอายุยืนเอาไว้ว่า "การเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต) วางอาชญา (โทษภัย) วางศาสตรา (ของมีคม) ได้ มีความละอาย (ที่จะทำบาป) เข้าถึงความเอ็นดู ช่วยเหลือด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูต (วิญญาณที่แสวงหาที่เกิด)อยู่ หากเขาตายไปจะเข้าถึงสุขคติในโลกสวรรค์ (ความเย็นใจ) ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์จะเป็นคนมีอายุยืน"
นอจากนี้ยังปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 94 "มหาปรินิพพานสูตร" ได้กล่าวถึงอำนาจของอิทธิบาท 4 เอาไว้ว่า:
เมื่อคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำพรรษาที่บ้านเวฬุวคาม ทรงประชวรหนัก เกิดทุกข์ทรมานอย่างรุนแรงใกล้จะปรินิพพาน ทรงมีสติสัมปชัญญะ อดทนอดกลั้น ไม่พรั่นพรึ่ง แล้วทรงพระดำริว่า
"การที่เราจะไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก (ผู้คอยดูแลรับใช้) ไม่อำลาภิกษุสงฆ์ แล้วปรินิพพานนั้นเสีย เป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ถ้ากระไรเราพึงใช้ความเพียร (อิทธิบาท 4) ขับไล่อาพาธนี้ ดำรงชีวิตร่างกายให้อยู่เถิด"
แล้วทรงใช้ความเพียรนั้น ขับไล่ความเจ็บป่วยไป ทรงหายประชวร หายจากความเป็นไข้ในเวลานั้นเอง
ต่อมาเสด็จไปยังปาวาสเจดีย์กับพระอานนท์ แล้วตรัสแสดงถึงอำนาจของอิทธิบาท 4 ให้แก่พระอานนท์ว่า:
"ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาท 4 (1. ฉันทะ คือความยินดี 2. วิริยะ คือ ความเพียร 3. จิตตะคือความตั้งใจจริง 4. วิมังสาคือความพิจารณาไตร่ตรอง) อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้วปรารถนาดีแล้ว ผุ้นั้นเมื่อตั้งใจมีชีวิตอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป (ชั่วอายุของคนซึ่งในขณะนั้นประมาณ 100 ปี) หรือเกินกว่ากัปก็ได้"
พระตถาคตตรัสแล้ว แต่พระอานนท์ไม่อาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงงอนพระผู้มีพระภาค ให้ทรงใช้อิทธิบาท 4 ดำรงอยู่ต่อไปให้ถึง 100 ปี ดังนั้นพระพุทธองค์จึงได้ปรินิพพาน เมื่อทรงมีอายุได้ 80 ปี นั่นเอง
ในพระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 265 "กกจูปมสูตร" ได้กล่าวถึงการรับประทานอาหารเอาไว้ว่า
"เราฉันอาหาร ณ ที่นั่งแห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่ รู้สึกว่า 1.มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุก ดูก่อนถึงพวกเธอทั้งหลายก็จงฉันหนเดียวเถิด แม้พวกเธอก็จะรู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุก
ในพระไตรปิฎกเล่ม 4 ข้อ 87 "มหาขันธกะ" พระพุทธเจ้าทรงถือว่าน้ำมูตร หรือ น้ำมูตรเน่า ซึ่งก็คือน้ำปัสสาวะเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ และต้องเป็นนิสสัย 1 ใน 4 ของภิกษุ โดยพระพุทธองค์ตรัสสอนนิสสัยเอาไว้ว่า
"เธอจงอาศัยน้ำมูตรเน่า (ปัสสาวะสด หรือปัสสาวะที่ผสมของดองอื่น) เธอพึงทำความอุตสาหะในสิ่งนี้ตลอดชีวิต ส่วนอดิเรกลาภอื่นคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เธอจะปฏิเสธเสียก็ได้"
อีกทั้งปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม 12 ข้อ 532 "มหาธรรมสมาทานสูตร" ยังได้กล่าวถึงคำตรัสของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับน้ำมูตร (ปัสสาวะ)ว่า
เรากล่าวข้อที่ถือเอารับเอาปฏิบัติ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบาก (ผลต่อไป) เปรียบเสมือน... มีน้ำมูตรเน่าอันระคนด้วยยาอยู่ ได้มีผู้ที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเขา จึงมีคนบอกแก่เขาว่า
ท่านผู้เจริญ น้ำมูตรเน่าอันระคนด้วยยานี้ ถ้าท่านหวังจะดื่มก็ดื่มเถิด น้ำมูตรเน่าจะไม่ชอบใจแก่ท่าน ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส แต่ครั้นท่านดื่มเข้าไปแล้วจะมีความสุข ผู้เป็นโรคผมเหลืองฟังแล้ว ก็พิจารณาน้ำมูตรเน่านั้นแล้วจึงดื่มมิได้วาง เขาก็ไม่ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรสของน้ำมูตรเน่าระคนยา แต่ครั้นดื่มแล้วก็มีสุขในเวลาต่อมา
ในพระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 78 "ขุททกวัตถุขันธกะ" หมอชีวกโกมาภัจจ์ ได้มาทำกิจจำเป็นอย่างหนึ่งที่นครเวสารี เห็นภิกษุทั้งหลายอาพาธกันเป็นจำนวนมากเพราะ อุบาสก อุบาสิกา ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงได้ถวายภัตตาหารที่ตกแต่งอย่างประณีตแต่กลับมีพิษและมีโทษมาก จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อของให้ทรงอนุญาตสถานที่จงกรมและเรือนไฟ (ยุคนี้น่าจะเทียบได้กับการอบตัว) โดยได้กล่าวว่า
"พระพุทธเจ้าข้า บัดนนี้ภิกษุทั้งหลายมีร่างกายสั่งสมโทษไว้มาก มีอาพาธมาก ข้าพระพุทธเจ้าขึงขอประทานพระวโรกาส ขอให้พระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงอนุญาต ที่จงกรมและเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ได้ ภิกษุทั้งหลายจะมีอาพาธน้อยพระพุทธเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคได้ทรงฟังคำแนะนำวิธีระบายพิษออกจากร่างกายและวิธีป้องกันรักษาโรคแล้ว ก็ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายตั้งเรือนไฟแล้วมีที่จงกรมได้
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 135 "จีวระขันธกะ" ได้กล่าวถึงการระบายพิษออกจากร่างกายด้วยยาถ่ายเอาไว้ว่า
"ดูก่อนอานนท์ กายของเราตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษเราต้องการจะฉันยาถ่าย"
พระอานนท์จึงไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แจ้งเรื่องให้ทราบ หมอชีวกขอให้พระพุทธเจ้าทรงทำร่างกายให้ชุ่มชื่นมีกำลังก่อนสัก 2-3 วัน จากนั้นจึงถวายพระโอสถถ่าย (ยาถ่าย) ที่ทำอย่างประณีตคือ อบก้านอุบล (ดอกบัว) ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วถวายให้พระผู้มีพระภาคทรงสูดดมก้านอุบลทีละก้าน ซึ่ง 1 ก้าน จะทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง 10 ครั้ง เมื่อรวม 3 ก้าน จึงทำให้พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง ในการระบายพิษที่หมักหมมออกจากร่างกาย แต่ก่อนที่จะทรงถ่ายครั้งที่ 30 นั้น หมอชีวกให้พระผู้มีพระภาคสรงพระกายด้วยน้ำอุ่น แล้วจึงถ่ายล้างท้องได้ครบ 30 ครั้ง
เมื่อทรงระบายพิษออกครบ 30 ครั้งแล้ว หมอชีวกได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า "พระพุทธเจ้า ขณะนี้พระผู้มีพระภาคยังทรงมีพระกายอ่อนเพลีย ไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่างๆ จนกว่าจะทรงมีพระกายเป็นปกติพระเจ้าข้า" ซึ่งต่อมาไม่กี่วัน พระกายของพระผู้มีพระภาคก็เป็นปกติแล้ว
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 44 "เภสัชชขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "ภิกษุป่วยเป็นพรรดึก (อุจจาระคั่งค้างแข็งเป็นก้อนในลำไส้ใหญ่ ทำให้ท้องผูก) ทรงอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างอามิส
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 45 "เภสัชชขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า พระสารีบุตรป่วยเป็นไข้ตัวร้อน รักษาให้หายได้ด้วยรากบัวและเง่าบัว
ในพระไตรปิฎกเล่ม 7 ข้อ 188 "ขุททกวัตถุขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "พระสารีบุตรป่วยเป็นลมเสียดท้อง รักษาให้หายได้ด้วยกระเทียม
ในพระไตรปิฎกเล่ม 5 ข้อ 134 "จีวรขันธกะ" ได้เขียนเอาไว้ว่า "พระเจ้าปัชโชต ราชาในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรเป็นโรคผอมเหลือง หมอชีวกรักษาหายด้วยการหุงเนยใสให้เสวย
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนในการรักษาโรคในสมัยพุทธกาลที่บัญญัติเอาไว้เป็นหลักฐานในพระไตรปิฎกเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสเอาไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 13 ข้อ 287-290 "มาคัณฑิยสูตร" เกี่ยวข้อกับความไม่มีโรค และการนิพพานว่า
ร่างกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร (กิเลส) เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ ดังนั้นเธอจึงจะละความกำหนัดได้ ละความพอใจในรูปกายได้ ละความพอใจในเวทนา (ความรู้สึก) ได้ ละความพอใจในสัญญา (ความจำ)ได้ ละความพอใจในสังขาร (ความคิดปรุงแต่งได้) ละความพอใจในวิญญาณ(ความรู้)ได้"
ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้ ถ้าเธอพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้