เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโพลดังสำนักหนึ่งได้ทำการสำรวจ และจากผลสำรวจมีข้อหนึ่งน่าสนใจคือ ผู้ตอบคำถาม 80% บอกว่าในปัจจุบันคนดีไม่มีที่ยืนในสังคม และผู้เขียนเห็นด้วยในประเด็นนี้ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ในปัจจุบันคนทุจริต คอร์รัปชันมีเงินมีทองได้รับการยอมรับนับถือจากผู้คนในสังคม ด้วยเหตุผลเพียงง่ายๆ คือไม่ถูกดำเนินคดี หรือถูดดำเนินคดีแต่หลุดรอดมาได้ด้วยอำนาจเงิน หรืออิทธิพลมืดทำให้ผู้คนเกรงกลัว ไม่มีใครกล้าออกมาเป็นพยานปรักปรำความผิด ไม่สามารถลงโทษตามกฎหมายได้ทั้งๆ ที่รู้กันทั่วไปว่ากระทำผิด
2. คนทุจริต คอร์รัปชันตามข้อ 1 ถึงแม้จะหลุดรอดเงื้อมมือกฎหมายได้ แต่ถ้าผู้คนในสังคมยึดมั่นในหลักแห่งศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยหลักแห่งกรรม หรือที่เรียกว่า กัมมาวาที คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คนทุจริตที่ว่านี้ก็จะตกเป็นจำเลยทางสังคม และถูกสังคมลงโทษด้วยการไม่คบหาสมาคม ไม่นิยมยกย่อง สุดท้ายก็จะเป็นคนโดดเดี่ยว พบกับความทุกข์ความเดือดร้อนใจ
แต่ผู้คนในสังคมไทยในยุควัตถุนิยมครอบงำอย่างเต็มรูปแบบหาเป็นเช่นนี้ไม่ คือนอกจากไม่แสดงอาการรังเกียจเดียดฉันท์แล้ว ยังแสดงอาการอยากคบหาสมาคมกับคนโกงอย่างออกนอกหน้า อยากคบหาสมาคมด้วย
3. ส่วนคนดีถึงแม้จะมีเงินส่วนใหญ่ก็ยึดหลักสันโดษ คืออยู่อย่างพอเพียง ไม่แสวงหาอำนาจ ไม่ผูกขาดศรัทธาด้วยการใช้เงินเป็นเครื่องมือในการดึงมวลชนมาเป็นพวก
ดังนั้น คนดีจึงมักจะไม่มีอำนาจรัฐ และไม่มีมวลชนมารับใช้ในทางสังคม
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ สังคมไทยจึงมีพื้นที่ให้คนดียืนน้อยลง โดยเฉพาะในสังคมข้าราชการประจำ และสังคมการเมือง ทั้งนี้น่าจะด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในระบบราชการประจำ ซึ่งมีโครงสร้างขององค์กรในรูปลักษณ์พีระมิดหรือสามเหลี่ยมหน้าจั่วซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับบริหารสูงสุด ระดับกลางหรือระดับต้น และระดับปฏิบัติการ
จากรูปแบบการบริหารในลักษณะนี้จะเห็นว่าระดับต้นจะมีจำนวนมากที่สุด ถัดขึ้นไปคือระดับกลาง และระดับสูงน้อยที่สุด
ดังนั้น การที่ข้าราชการจะเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ถ้าว่ากันตามระบบแล้วเป็นไปอย่างเชื่องช้าและต้องใช้เวลานาน และนี่เองคือจุดที่ทำให้ผู้ที่ต้องการได้ตำแหน่งเร็ว หรือแม้กระทั่งได้เลื่อนขั้นเงินเดือนสองขั้นบ่อย ต้องหาทางวิ่งเต้นเพื่อเข้าเป็นพวกเดียวกับผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาความดีความชอบ และในบางครั้งถึงกับยอมลดตัวรับใช้เจ้านาย ตลอดถึงคนในครอบครัวนาย และข้าราชการในรูปแบบนี้เองถ้าบังเอิญได้เจ้านายเป็นคนไม่ดี ก็มีโอกาสกลายเป็นคนรับใช้ให้ทำในสิ่งไม่ดีเพื่อนายเพื่อแลกกับความก้าวหน้า
ส่วนข้าราชการที่ดี มุ่งทำแต่งานไม่ยอมลดเกียรติยศของข้าราชการลงไปรับใช้นายทำในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร ไม่ถูกต้อง ก็หมดโอกาสได้รับความก้าวหน้า นี่คือเหตุประการหนึ่งที่ทำให้คนดีไม่มีที่ยืนในสังคมข้าราชการประจำ
2. ในวงการเมือง นักการเมืองจะก้าวหน้า และได้ตำแหน่งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ ก็จะต้องเริ่มด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
แม้เพียงตำแหน่งอันเป็นเบื้องต้นของการเข้าสู่ถนนการเมือง ก็มีเหตุให้ผู้ที่ต้องการได้รับเลือกตั้งวิ่งเต้นเข้าหานายทุนทางการเมือง และถ้าตนเองเป็นนายทุนก็ต้องแสวงหาผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้กรอบทุนของตนเองเพื่อหวังใช้เป็นฐานทางการเมืองในสภา หรือแม้กระทั่งในพรรคเพื่อให้ออกเสียงหนุนตนเองให้ได้ตำแหน่งทางการเมือง
เมื่อการเมืองตกอยู่ภายใต้อำนาจทุนเงิน หรือแม้กระทั่งทุนทางสังคมเช่นนี้ จะมีคนดีสักกี่คนได้รับเลือกตั้ง และสาเหตุที่ไม่ได้รับเลือกตั้งก็มีอยู่ประเด็นเดียวคือไม่มีเงินไปลงทุนทางการเมือง และที่สำคัญไม่มีนายทุนทางการเมืองคนใดที่ลงทุนแล้วจะไม่ถอนทุน ดังนั้นโอกาสที่คนดีมีอุดมการณ์จะได้รับการสนับสนุนจากนายทุนคงจะยาก ทั้งนี้เพราะคนดีจะไม่ยอมให้มีการถอนทุนในทางผิดๆ เป็นอันขาด นี่ก็ประการหนึ่งที่คนไม่มีที่ยืนในวงการเมือง
เมื่อทั้งในส่วนราชการและในส่วนของการเมืองคนดีไม่มีที่ยืนแล้ว มีอยู่ส่วนเดียวคือภาคประชาชนที่คนดีมีที่ยืน แม้กระนั้นคนดีที่มีจุดยืนตรงกันข้ามกับคนโกงในภาคส่วนทั้งราชการและการเมืองก็อยู่ในภาคเอกชนลำบาก เพราะจะได้รับผลกระทบจากบุคคลสองกลุ่มนี้มีลักษณะแสวงหา และสร้างความไม่ชอบธรรมให้แก่ภาคประชาชนซึ่งคนดีมีที่ยืนเหลืออยู่ เช่น ไปติดต่อราชการก็ไม่ได้รับความสะดวกเมื่อเทียบกับคนที่เป็นกลุ่มเดียวกันกับข้าราชการโกง และในบางรายได้รับผลกระทบจากบุคลากรทางการเมืองที่มีอำนาจรัฐกลั่นแกล้งก็มี จึงสรุปได้ว่าในปัจจุบันสังคมไทยคนดีมีที่ยืนน้อยลง และได้รับผลกระทบจากคนโกงมากขึ้น
เมื่อยอมรับว่าคนดีเดือดร้อนดังกล่าวแล้ว จะมีวิธีใดแก้ไขเรื่องนี้ได้บ้าง
ทางแรกที่ควรจะเริ่มต้นก็คือ คนดีซึ่งมีอยู่ในภาคประชาชนจะต้องทำแนวร่วมกับคนดีในส่วนราชการ และวงการเมืองเพื่อปิดล้อมให้คนโกงมีพื้นที่แสวงหา ทั้งในส่วนราชการและส่วนการเมืองน้อยลง
ส่วนจะทำอย่างไร ในครั้งต่อไปจะนำเสนอขั้นตอนและวิธีการโดยละเอียดอีกครั้ง
1. ในปัจจุบันคนทุจริต คอร์รัปชันมีเงินมีทองได้รับการยอมรับนับถือจากผู้คนในสังคม ด้วยเหตุผลเพียงง่ายๆ คือไม่ถูกดำเนินคดี หรือถูดดำเนินคดีแต่หลุดรอดมาได้ด้วยอำนาจเงิน หรืออิทธิพลมืดทำให้ผู้คนเกรงกลัว ไม่มีใครกล้าออกมาเป็นพยานปรักปรำความผิด ไม่สามารถลงโทษตามกฎหมายได้ทั้งๆ ที่รู้กันทั่วไปว่ากระทำผิด
2. คนทุจริต คอร์รัปชันตามข้อ 1 ถึงแม้จะหลุดรอดเงื้อมมือกฎหมายได้ แต่ถ้าผู้คนในสังคมยึดมั่นในหลักแห่งศีลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยหลักแห่งกรรม หรือที่เรียกว่า กัมมาวาที คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คนทุจริตที่ว่านี้ก็จะตกเป็นจำเลยทางสังคม และถูกสังคมลงโทษด้วยการไม่คบหาสมาคม ไม่นิยมยกย่อง สุดท้ายก็จะเป็นคนโดดเดี่ยว พบกับความทุกข์ความเดือดร้อนใจ
แต่ผู้คนในสังคมไทยในยุควัตถุนิยมครอบงำอย่างเต็มรูปแบบหาเป็นเช่นนี้ไม่ คือนอกจากไม่แสดงอาการรังเกียจเดียดฉันท์แล้ว ยังแสดงอาการอยากคบหาสมาคมกับคนโกงอย่างออกนอกหน้า อยากคบหาสมาคมด้วย
3. ส่วนคนดีถึงแม้จะมีเงินส่วนใหญ่ก็ยึดหลักสันโดษ คืออยู่อย่างพอเพียง ไม่แสวงหาอำนาจ ไม่ผูกขาดศรัทธาด้วยการใช้เงินเป็นเครื่องมือในการดึงมวลชนมาเป็นพวก
ดังนั้น คนดีจึงมักจะไม่มีอำนาจรัฐ และไม่มีมวลชนมารับใช้ในทางสังคม
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ สังคมไทยจึงมีพื้นที่ให้คนดียืนน้อยลง โดยเฉพาะในสังคมข้าราชการประจำ และสังคมการเมือง ทั้งนี้น่าจะด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในระบบราชการประจำ ซึ่งมีโครงสร้างขององค์กรในรูปลักษณ์พีระมิดหรือสามเหลี่ยมหน้าจั่วซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับบริหารสูงสุด ระดับกลางหรือระดับต้น และระดับปฏิบัติการ
จากรูปแบบการบริหารในลักษณะนี้จะเห็นว่าระดับต้นจะมีจำนวนมากที่สุด ถัดขึ้นไปคือระดับกลาง และระดับสูงน้อยที่สุด
ดังนั้น การที่ข้าราชการจะเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ถ้าว่ากันตามระบบแล้วเป็นไปอย่างเชื่องช้าและต้องใช้เวลานาน และนี่เองคือจุดที่ทำให้ผู้ที่ต้องการได้ตำแหน่งเร็ว หรือแม้กระทั่งได้เลื่อนขั้นเงินเดือนสองขั้นบ่อย ต้องหาทางวิ่งเต้นเพื่อเข้าเป็นพวกเดียวกับผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาความดีความชอบ และในบางครั้งถึงกับยอมลดตัวรับใช้เจ้านาย ตลอดถึงคนในครอบครัวนาย และข้าราชการในรูปแบบนี้เองถ้าบังเอิญได้เจ้านายเป็นคนไม่ดี ก็มีโอกาสกลายเป็นคนรับใช้ให้ทำในสิ่งไม่ดีเพื่อนายเพื่อแลกกับความก้าวหน้า
ส่วนข้าราชการที่ดี มุ่งทำแต่งานไม่ยอมลดเกียรติยศของข้าราชการลงไปรับใช้นายทำในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร ไม่ถูกต้อง ก็หมดโอกาสได้รับความก้าวหน้า นี่คือเหตุประการหนึ่งที่ทำให้คนดีไม่มีที่ยืนในสังคมข้าราชการประจำ
2. ในวงการเมือง นักการเมืองจะก้าวหน้า และได้ตำแหน่งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยได้ ก็จะต้องเริ่มด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.
แม้เพียงตำแหน่งอันเป็นเบื้องต้นของการเข้าสู่ถนนการเมือง ก็มีเหตุให้ผู้ที่ต้องการได้รับเลือกตั้งวิ่งเต้นเข้าหานายทุนทางการเมือง และถ้าตนเองเป็นนายทุนก็ต้องแสวงหาผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งภายใต้กรอบทุนของตนเองเพื่อหวังใช้เป็นฐานทางการเมืองในสภา หรือแม้กระทั่งในพรรคเพื่อให้ออกเสียงหนุนตนเองให้ได้ตำแหน่งทางการเมือง
เมื่อการเมืองตกอยู่ภายใต้อำนาจทุนเงิน หรือแม้กระทั่งทุนทางสังคมเช่นนี้ จะมีคนดีสักกี่คนได้รับเลือกตั้ง และสาเหตุที่ไม่ได้รับเลือกตั้งก็มีอยู่ประเด็นเดียวคือไม่มีเงินไปลงทุนทางการเมือง และที่สำคัญไม่มีนายทุนทางการเมืองคนใดที่ลงทุนแล้วจะไม่ถอนทุน ดังนั้นโอกาสที่คนดีมีอุดมการณ์จะได้รับการสนับสนุนจากนายทุนคงจะยาก ทั้งนี้เพราะคนดีจะไม่ยอมให้มีการถอนทุนในทางผิดๆ เป็นอันขาด นี่ก็ประการหนึ่งที่คนไม่มีที่ยืนในวงการเมือง
เมื่อทั้งในส่วนราชการและในส่วนของการเมืองคนดีไม่มีที่ยืนแล้ว มีอยู่ส่วนเดียวคือภาคประชาชนที่คนดีมีที่ยืน แม้กระนั้นคนดีที่มีจุดยืนตรงกันข้ามกับคนโกงในภาคส่วนทั้งราชการและการเมืองก็อยู่ในภาคเอกชนลำบาก เพราะจะได้รับผลกระทบจากบุคคลสองกลุ่มนี้มีลักษณะแสวงหา และสร้างความไม่ชอบธรรมให้แก่ภาคประชาชนซึ่งคนดีมีที่ยืนเหลืออยู่ เช่น ไปติดต่อราชการก็ไม่ได้รับความสะดวกเมื่อเทียบกับคนที่เป็นกลุ่มเดียวกันกับข้าราชการโกง และในบางรายได้รับผลกระทบจากบุคลากรทางการเมืองที่มีอำนาจรัฐกลั่นแกล้งก็มี จึงสรุปได้ว่าในปัจจุบันสังคมไทยคนดีมีที่ยืนน้อยลง และได้รับผลกระทบจากคนโกงมากขึ้น
เมื่อยอมรับว่าคนดีเดือดร้อนดังกล่าวแล้ว จะมีวิธีใดแก้ไขเรื่องนี้ได้บ้าง
ทางแรกที่ควรจะเริ่มต้นก็คือ คนดีซึ่งมีอยู่ในภาคประชาชนจะต้องทำแนวร่วมกับคนดีในส่วนราชการ และวงการเมืองเพื่อปิดล้อมให้คนโกงมีพื้นที่แสวงหา ทั้งในส่วนราชการและส่วนการเมืองน้อยลง
ส่วนจะทำอย่างไร ในครั้งต่อไปจะนำเสนอขั้นตอนและวิธีการโดยละเอียดอีกครั้ง