เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา ผมนั่งรถเมล์ฟรีสาย 18 ซึ่งผมมักใช้บริการทุกสัปดาห์หลังจากการประชุมอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภาข้างๆ เขาดิน ในวันนั้นกระเป๋ารถเมล์ได้นำฉีกตั๋วรถเมล์ให้ผม ผมรู้สึกงงมาก เพราะมันฟรีแล้วเอาตั๋วมาให้ผมทำไม แล้วผมก็ไม่ได้จ่ายสตางค์ วันก่อนๆ ก็ไม่เคยเป็นเช่นนี้ “เก็บไว้เถอะครับ เผื่อเขามาตรวจ” กระเป๋ารถเมล์ตอบ
“เอ๊ะ อย่างนี้มันก็โกงกันได้นะซิ” ผมสวนกลับไปในทันทีโดยแทบจะไม่ได้คิด เพราะผมรู้สึกว่ามันผิดปกติเอามากๆ ฟรีแล้วเอาตั๋วมาให้เราทำไม ทำไมต้องเสียเงินไปพิมพ์ตั๋วให้เสียเงินเพิ่มด้วยเล่า ผมขยายความไปว่า
“ถ้าผู้โดยสารขึ้นมาหนึ่งคน แล้วมีการฉีกตั๋วทิ้งไปสัก 10 ใบใครจะไปรู้”
“ถ้าทำอย่างนั้น แล้วผมได้อะไร เพราะมันเป็นตั๋วฟรี” กระเป๋าผู้แต่งตัวสะอาดสะอ้านไม่เหมือนสมัยที่ผมยังเป็นนักศึกษา
“น้องไม่ได้อะไรก็จริง แต่คนที่เขาใหญ่ เขาอาจจะได้ สร้างข้อมูลให้เกินจริง เพื่อรัฐบาลจะได้เอาไปอ้างเพื่อให้การสนับสนุนต่อ อะไรทำนองนี้”
สักพักหนึ่งกระเป๋าก็เดินมาที่ผมแล้วพูดว่า “เออ เป็นไปได้” แล้วเขาก็มานั่งใกล้ๆ ผมเนื่องจากรถว่างมากเพราะยังไม่ถึงเวลาเลิกงาน แล้วเราจึงนั่งคุยกัน ผมได้ข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ ผมจะขอสรุปให้ฟังแล้วตามด้วยข้อมูลของรัฐบาล (ซึ่งผมค้นในภายหลัง) มาเล่าสู่กันฟัง
ผมรู้สึกว่ามันคล้ายๆ กับการจำนำข้าว (ที่กำลังมีปัญหา) เพียงแต่มันเป็นโครงการที่เล็กกว่าและใครไม่สนใจเท่านั้น
กระเป๋ารถเมล์ผู้ใจดีและเรียนรู้เร็วคนนี้เล่าว่า รัฐบาลจ่ายให้รถเมล์ (ขสมก.) วันละ 9 พันบาทต่อวัน ในสาย 18 ซึ่งมีรถทั้งหมดประมาณ 30 คัน เข้าร่วมโครงการรถเมล์ฟรี 14 คัน
ผมถามว่า รถเมล์ปกติในสายนี้เก็บค่าโดยสารได้วันละเท่าใด เขาตอบว่า “ได้วันละ 5-6 พันบาท 7 พัน 8 พันนี่มากแล้ว มีเพียงบางวันและบางคันเท่านั้นที่ได้ประมาณ 9 พันบาท โดยออกบริการตั้งแต่ตี 4 ถึง 4 ทุ่มครึ่ง”
เริ่มเห็นปัญหาแล้วใช่ไหมครับ
“เวลารถเมล์ฟรีเสีย ก็ต้องนำรถเมล์ปกติมาชดเชย” กระเป๋าเล่าต่อ ผมตอบไปว่า “ก็ใช่นะซิ เพราะรายได้มากกว่านิ!”
ก่อนที่จะนำเรื่องนี้มาเขียน ผมได้ค้นคว้าข้อมูลจากสื่อในอินเทอร์เน็ต ผมขอสรุปดังนี้ครับ
โครงการรถเมล์ฟรีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใช้รถทั้งหมด 800 คัน ใน 73 เส้นทาง งบประมาณที่ใช้ในการต่อโครงการอีก 6 เดือน (ตุลาคมถึงมีนาคม 56) ต้องใช้งบ 1,512 ล้านบาท
คิดออกมาแล้วก็ตกคันละ 10,161 บาทต่อวัน มากกว่าที่น้องกระเป๋าเล่าให้ผมฟังเสียอีก ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นค่าอะไรที่เกินมาทั้งหมดวันละ 8.48 แสนบาท อาจจะเป็นค่าจอดรถ ค่าบริหารและค่าพิมพ์ตั๋วนี่ละมัง!
ปัจจุบัน ขสมก. มีทรัพย์สินทั้งหมด 7,252 ล้านบาท แต่มีหนี้สิน 78,000 ล้านบาท (แม่เจ้าโว้ย!)
ข้ออ้างของทางรัฐบาลชุดนี้ในการพิมพ์ตั๋วฟรีออกมาให้ผู้โดยสารถือเล่นก็คือ เพื่อจะได้เช็กสถิติจำนวนผู้โดยสารว่าคุ้มกับการลงทุนเพื่อเป็นสวัสดิการกับประชาชนหรือไม่
ผมเห็นด้วยว่าต้องมีการประเมินผล แต่วิธีการประเมินโดยเจ้าของโครงการเองเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง การแจกตั๋วให้ผู้โดยสารก็มีช่องโหว่ดังที่กล่าวแล้ว น่าจะหาวิธีอื่นที่ดีกว่านี้
ในแง่ของความเป็นธรรม เพื่อป้องกันข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลช่วยเหลือแต่คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล รัฐบาลก็ได้ให้บริการคนต่างจังหวัดด้วยโครงการรถไฟชั้น 3 ฟรี อีกจำนวน 555 ล้านบาท ดูสัดส่วนของตัวเลขแล้วพบว่าก็ไม่เป็นธรรมอยู่ดี เพราะคนต่างจังหวัดมีมากกว่าคนเมืองหลวงตั้งเยอะ แต่ได้รับการช่วยเหลือเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น อย่างไรก็ไม่เป็นธรรม
มันเป็นแค่โครงการประชานิยมที่ไม่เป็นธรรมกับคนยากจนที่มีอยู่ทั่วประเทศ การพยายามแก้ปัญหาอย่างลวกๆ นอกจากจะไม่ได้แก้ปัญหาอย่างแท้จริงแล้ว กลับนำไปสู่ปัญหาใหม่ที่มากกว่าเดิม เช่น การผลาญเงินของประชาชนและการคอร์รัปชันกันอย่างมโหฬาร เหมือนกับโครงการรับจำนำข้าว
มีที่ไหนครับที่ราคารับจำนำสูงกว่าสินค้าที่นำไปจำนำ
พูดถึงเรื่องจำนำข้าว ผมมีเรื่องมาเล่าครับ ผู้เล่าเป็นลูกสาวของชาวนา บ้านแม่เธออยู่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา แม่ของเธอนำข้าวไปจำนำ ตันละ 11,000 บาท (ไม่ใช่ 1.5 หมื่นบาท เพราะข้าวมีความชื้น) มูลค่าข้าวเปลือกที่จำนำเท่ากับ 2.7 หมื่นบาท แต่พอถึงตอนรับเงินที่ธนาคาร แม่ของเธองงมากเพราะยอดรับเงินเพิ่มเป็นสิบเท่าตัวคือ 2.7 แสนบาท เธอทำท่าจะโวยวาย แต่ปรากฏว่ามีคนมาสะกิดว่า “รับๆ ไปเถอะ”
เมื่อออกจากธนาคาร คนที่สะกิดเธอเมื่อสักครู่มาขอส่วนต่างไปทั้งหมด แม่ของเธอได้แค่ 2.7 หมื่นบาทเท่าเดิม เรื่องมันเป็นเช่นนี้แหละครับท่านประชาชน (ผู้อดทนได้ทุกอย่าง)
ขอแถมอีกสักเรื่องนะครับ หลังเกษียณอายุราชการ ผมย้ายบ้านมาอยู่จังหวัดนนทบุรี ผมทำงานแบบอาสาสมัคร ต้องออกจากบ้านสัปดาห์ละ 2-3 วัน เป็นอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติบ้าง อนุฯ วุฒิบ้าง และกรรมการองค์การคุ้มครองผู้บริโภค (จำลอง รัฐบาลไม่ยอมออกกฎหมายให้ทั้งๆ ที่เรียกร้องมา 14 ปีแล้ว) หมู่บ้านที่ผมอยู่ไม่มีรถเมล์ผ่าน ผมจึงต้องนั่งแท็กซี่บ่อยมาก ได้คุยกับพวกเขาบ่อยมาก
สิ่งหนึ่งที่เขาเล่าให้ฟังตรงกันทุกคัน คือ การต้องจ่ายค่าตรวจมิเตอร์ปีละ 2 ครั้ง ปกติค่าตรวจครั้งละ 50 บาท แต่เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ให้เสียเวลาทำมาหากิน พวกเขาต้องจ่ายครั้ง 300 บาท
ขอท่านผู้อ่านคิดดูซิครับ รถแท็กซี่กี่แสนคัน มันก็เป็นเช่นนี้เอง (อีกเรื่องหนึ่ง)ครับ
“เอ๊ะ อย่างนี้มันก็โกงกันได้นะซิ” ผมสวนกลับไปในทันทีโดยแทบจะไม่ได้คิด เพราะผมรู้สึกว่ามันผิดปกติเอามากๆ ฟรีแล้วเอาตั๋วมาให้เราทำไม ทำไมต้องเสียเงินไปพิมพ์ตั๋วให้เสียเงินเพิ่มด้วยเล่า ผมขยายความไปว่า
“ถ้าผู้โดยสารขึ้นมาหนึ่งคน แล้วมีการฉีกตั๋วทิ้งไปสัก 10 ใบใครจะไปรู้”
“ถ้าทำอย่างนั้น แล้วผมได้อะไร เพราะมันเป็นตั๋วฟรี” กระเป๋าผู้แต่งตัวสะอาดสะอ้านไม่เหมือนสมัยที่ผมยังเป็นนักศึกษา
“น้องไม่ได้อะไรก็จริง แต่คนที่เขาใหญ่ เขาอาจจะได้ สร้างข้อมูลให้เกินจริง เพื่อรัฐบาลจะได้เอาไปอ้างเพื่อให้การสนับสนุนต่อ อะไรทำนองนี้”
สักพักหนึ่งกระเป๋าก็เดินมาที่ผมแล้วพูดว่า “เออ เป็นไปได้” แล้วเขาก็มานั่งใกล้ๆ ผมเนื่องจากรถว่างมากเพราะยังไม่ถึงเวลาเลิกงาน แล้วเราจึงนั่งคุยกัน ผมได้ข้อมูลที่น่าสนใจมากครับ ผมจะขอสรุปให้ฟังแล้วตามด้วยข้อมูลของรัฐบาล (ซึ่งผมค้นในภายหลัง) มาเล่าสู่กันฟัง
ผมรู้สึกว่ามันคล้ายๆ กับการจำนำข้าว (ที่กำลังมีปัญหา) เพียงแต่มันเป็นโครงการที่เล็กกว่าและใครไม่สนใจเท่านั้น
กระเป๋ารถเมล์ผู้ใจดีและเรียนรู้เร็วคนนี้เล่าว่า รัฐบาลจ่ายให้รถเมล์ (ขสมก.) วันละ 9 พันบาทต่อวัน ในสาย 18 ซึ่งมีรถทั้งหมดประมาณ 30 คัน เข้าร่วมโครงการรถเมล์ฟรี 14 คัน
ผมถามว่า รถเมล์ปกติในสายนี้เก็บค่าโดยสารได้วันละเท่าใด เขาตอบว่า “ได้วันละ 5-6 พันบาท 7 พัน 8 พันนี่มากแล้ว มีเพียงบางวันและบางคันเท่านั้นที่ได้ประมาณ 9 พันบาท โดยออกบริการตั้งแต่ตี 4 ถึง 4 ทุ่มครึ่ง”
เริ่มเห็นปัญหาแล้วใช่ไหมครับ
“เวลารถเมล์ฟรีเสีย ก็ต้องนำรถเมล์ปกติมาชดเชย” กระเป๋าเล่าต่อ ผมตอบไปว่า “ก็ใช่นะซิ เพราะรายได้มากกว่านิ!”
ก่อนที่จะนำเรื่องนี้มาเขียน ผมได้ค้นคว้าข้อมูลจากสื่อในอินเทอร์เน็ต ผมขอสรุปดังนี้ครับ
โครงการรถเมล์ฟรีในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใช้รถทั้งหมด 800 คัน ใน 73 เส้นทาง งบประมาณที่ใช้ในการต่อโครงการอีก 6 เดือน (ตุลาคมถึงมีนาคม 56) ต้องใช้งบ 1,512 ล้านบาท
คิดออกมาแล้วก็ตกคันละ 10,161 บาทต่อวัน มากกว่าที่น้องกระเป๋าเล่าให้ผมฟังเสียอีก ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นค่าอะไรที่เกินมาทั้งหมดวันละ 8.48 แสนบาท อาจจะเป็นค่าจอดรถ ค่าบริหารและค่าพิมพ์ตั๋วนี่ละมัง!
ปัจจุบัน ขสมก. มีทรัพย์สินทั้งหมด 7,252 ล้านบาท แต่มีหนี้สิน 78,000 ล้านบาท (แม่เจ้าโว้ย!)
ข้ออ้างของทางรัฐบาลชุดนี้ในการพิมพ์ตั๋วฟรีออกมาให้ผู้โดยสารถือเล่นก็คือ เพื่อจะได้เช็กสถิติจำนวนผู้โดยสารว่าคุ้มกับการลงทุนเพื่อเป็นสวัสดิการกับประชาชนหรือไม่
ผมเห็นด้วยว่าต้องมีการประเมินผล แต่วิธีการประเมินโดยเจ้าของโครงการเองเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง การแจกตั๋วให้ผู้โดยสารก็มีช่องโหว่ดังที่กล่าวแล้ว น่าจะหาวิธีอื่นที่ดีกว่านี้
ในแง่ของความเป็นธรรม เพื่อป้องกันข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลช่วยเหลือแต่คนกรุงเทพฯ และปริมณฑล รัฐบาลก็ได้ให้บริการคนต่างจังหวัดด้วยโครงการรถไฟชั้น 3 ฟรี อีกจำนวน 555 ล้านบาท ดูสัดส่วนของตัวเลขแล้วพบว่าก็ไม่เป็นธรรมอยู่ดี เพราะคนต่างจังหวัดมีมากกว่าคนเมืองหลวงตั้งเยอะ แต่ได้รับการช่วยเหลือเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น อย่างไรก็ไม่เป็นธรรม
มันเป็นแค่โครงการประชานิยมที่ไม่เป็นธรรมกับคนยากจนที่มีอยู่ทั่วประเทศ การพยายามแก้ปัญหาอย่างลวกๆ นอกจากจะไม่ได้แก้ปัญหาอย่างแท้จริงแล้ว กลับนำไปสู่ปัญหาใหม่ที่มากกว่าเดิม เช่น การผลาญเงินของประชาชนและการคอร์รัปชันกันอย่างมโหฬาร เหมือนกับโครงการรับจำนำข้าว
มีที่ไหนครับที่ราคารับจำนำสูงกว่าสินค้าที่นำไปจำนำ
พูดถึงเรื่องจำนำข้าว ผมมีเรื่องมาเล่าครับ ผู้เล่าเป็นลูกสาวของชาวนา บ้านแม่เธออยู่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา แม่ของเธอนำข้าวไปจำนำ ตันละ 11,000 บาท (ไม่ใช่ 1.5 หมื่นบาท เพราะข้าวมีความชื้น) มูลค่าข้าวเปลือกที่จำนำเท่ากับ 2.7 หมื่นบาท แต่พอถึงตอนรับเงินที่ธนาคาร แม่ของเธองงมากเพราะยอดรับเงินเพิ่มเป็นสิบเท่าตัวคือ 2.7 แสนบาท เธอทำท่าจะโวยวาย แต่ปรากฏว่ามีคนมาสะกิดว่า “รับๆ ไปเถอะ”
เมื่อออกจากธนาคาร คนที่สะกิดเธอเมื่อสักครู่มาขอส่วนต่างไปทั้งหมด แม่ของเธอได้แค่ 2.7 หมื่นบาทเท่าเดิม เรื่องมันเป็นเช่นนี้แหละครับท่านประชาชน (ผู้อดทนได้ทุกอย่าง)
ขอแถมอีกสักเรื่องนะครับ หลังเกษียณอายุราชการ ผมย้ายบ้านมาอยู่จังหวัดนนทบุรี ผมทำงานแบบอาสาสมัคร ต้องออกจากบ้านสัปดาห์ละ 2-3 วัน เป็นอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติบ้าง อนุฯ วุฒิบ้าง และกรรมการองค์การคุ้มครองผู้บริโภค (จำลอง รัฐบาลไม่ยอมออกกฎหมายให้ทั้งๆ ที่เรียกร้องมา 14 ปีแล้ว) หมู่บ้านที่ผมอยู่ไม่มีรถเมล์ผ่าน ผมจึงต้องนั่งแท็กซี่บ่อยมาก ได้คุยกับพวกเขาบ่อยมาก
สิ่งหนึ่งที่เขาเล่าให้ฟังตรงกันทุกคัน คือ การต้องจ่ายค่าตรวจมิเตอร์ปีละ 2 ครั้ง ปกติค่าตรวจครั้งละ 50 บาท แต่เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ให้เสียเวลาทำมาหากิน พวกเขาต้องจ่ายครั้ง 300 บาท
ขอท่านผู้อ่านคิดดูซิครับ รถแท็กซี่กี่แสนคัน มันก็เป็นเช่นนี้เอง (อีกเรื่องหนึ่ง)ครับ