วานนี้ ( 4 ก.ย.) นายตรีทศ นิโครธางกูล ตุลาการศาลปกครอง มีคำสั่งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราว ก่อนการพิพากษาให้ผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งนำโดย นายสงวน ดำรงไทย และพวกรวม 789 คน ซึ่งถูกการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ดูแลตลาดนัดสวนจตุจักรบอกเลิกสัญญา และผู้ที่ยังไม่ถูกบอกเลิกสัญญามีสิทธิประกอบกิจการค้าในตลาดนัดจตุจักรต่อไป โดยให้ชำระค่าเช่าที่ค้างชำระ และค่าเช่าตั้งแต่เดือน ต.ค.55 เป็นต้นไปให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในอัตราเดิมที่เคยชำระให้กับทางกทม. เมื่อเดือน ธ.ค.54 จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้คดีดังกล่าว นายสงวน และพวก 789 ราย ซึ่งเป็นผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักร ฟ้องว่าทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีประกาศออกมา 5 ฉบับ ที่กำหนดให้ผู้ค้ากึ่งถาวร 27 โครงการ และแผงค้าไก่ชนเดิม ในพื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร รวมทั้งผู้ค้าแผงต้นไม้ แผงค้าสีเขียว และแผงค้าหนังสือ ไปทำสัญญาเช่า และชำระสัญญาเช่า ในประกาศลงวันที่ 12 มี.ค.55 และลงวันที่ 15 ก.ย. 55 กำหนดไว้ว่า เมื่อพ้นกำหนดแล้ว จะถือว่าผู้ค้าสละสิทธิหรือไม่ประสงค์จะทำสัญญา ซึ่งผู้ค้าและพวกเห็นว่า มีลักษณะบีบบังคับ และข่มขู่ เป็นการดำเนินการโดยไม่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งอัตราค่าเช่าสูงเกินสมควร จึงขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนประกาศของการรถไฟฯ ทั้ง 5 ฉบับ และห้ามไม่ให้การรถไฟฯ นายยุทธนา ทัพเจริญ และ นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย รบกวนการค้าขายและฟ้องร้องคดีกับผู้ค้าทั้ง 789 ราย และระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา ก็ขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวดังกล่าว
ส่วนที่ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ให้เหตุผลว่า พิจารณาแล้วเห็นว่าคำฟ้องของผู้ค้าทั้ง 789 รายมีมูล ทั้งการเรียกเก็บค่าเช่า และการบังคับตามสัญญาเช่าที่ทำขึ้น รวมทั้งยกเลิกสัญญาเช่า หรือตัดสิทธิไม่ให้ค้าทั้ง 789 ราย ไม่ให้ประกอบกิจการในตลาดนัดจตุจักรต่อไป อีกทั้งคำสัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า จะดำเนินการยกเลิกสัญญากับผู้ค้าแผงที่ไม่ชำระค่าเช่า การรถไฟแห่งประเทศไทยจะคัดเลือกผู้ที่ลงทะเบียนเช่าแผงไว้ให้ได้รับสิทธิทำสัญญา ซึ่งหากการรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการดังกล่าว ทั้งที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อโต้แย้ง และยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าการกระทำของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาที่ยากแก่การแก้ไขได้ หากในที่สุดศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าการกระทำของการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่ตัวแทนของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ถ้อยคำว่า หากมีการคุ้มครองชั่วคราว จะส่งผลให้ผู้ค้ารายอื่นกว่า ยื่นขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในทำนองเดียวกันอีก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงจากคำแถลงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ว่า มีผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักรประมาณ 8,000 ราย ส่วนใหญ่ยินยอมชำระค่าเช่าและค่าภาษีตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนด แสดงให้เห็นว่า ผู้ค้าส่วนใหญ่สามารถชำระค่าเช่าในอัตราใหม่ได้ และการรถไฟก็ยังมีรายได้เพียงพอต่อการบริหารจัดการตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งหากที่สุดศาลมีคำพิพากษาว่าการกำหนดค่าเช่าของการรถไฟแห่งประเทศไทยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิจะเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้ค้าทั้ง 789 ในภายหลังได้ จึงเห็นว่าหากจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวดังกล่าว โดยให้ผู้ค้าทั้ง 789 คนมีสิทธิประกอบการค้าในตลาดนัดจตุจักรโดยชำระค่าเช่าในอัตราที่ศาลกำหนดนั้นก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐและการรถไฟแห่งประเทศไทยแต่อย่างใด
ทั้งนี้คดีดังกล่าว นายสงวน และพวก 789 ราย ซึ่งเป็นผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักร ฟ้องว่าทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีประกาศออกมา 5 ฉบับ ที่กำหนดให้ผู้ค้ากึ่งถาวร 27 โครงการ และแผงค้าไก่ชนเดิม ในพื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร รวมทั้งผู้ค้าแผงต้นไม้ แผงค้าสีเขียว และแผงค้าหนังสือ ไปทำสัญญาเช่า และชำระสัญญาเช่า ในประกาศลงวันที่ 12 มี.ค.55 และลงวันที่ 15 ก.ย. 55 กำหนดไว้ว่า เมื่อพ้นกำหนดแล้ว จะถือว่าผู้ค้าสละสิทธิหรือไม่ประสงค์จะทำสัญญา ซึ่งผู้ค้าและพวกเห็นว่า มีลักษณะบีบบังคับ และข่มขู่ เป็นการดำเนินการโดยไม่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งอัตราค่าเช่าสูงเกินสมควร จึงขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนประกาศของการรถไฟฯ ทั้ง 5 ฉบับ และห้ามไม่ให้การรถไฟฯ นายยุทธนา ทัพเจริญ และ นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย รบกวนการค้าขายและฟ้องร้องคดีกับผู้ค้าทั้ง 789 ราย และระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา ก็ขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวดังกล่าว
ส่วนที่ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ให้เหตุผลว่า พิจารณาแล้วเห็นว่าคำฟ้องของผู้ค้าทั้ง 789 รายมีมูล ทั้งการเรียกเก็บค่าเช่า และการบังคับตามสัญญาเช่าที่ทำขึ้น รวมทั้งยกเลิกสัญญาเช่า หรือตัดสิทธิไม่ให้ค้าทั้ง 789 ราย ไม่ให้ประกอบกิจการในตลาดนัดจตุจักรต่อไป อีกทั้งคำสัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า จะดำเนินการยกเลิกสัญญากับผู้ค้าแผงที่ไม่ชำระค่าเช่า การรถไฟแห่งประเทศไทยจะคัดเลือกผู้ที่ลงทะเบียนเช่าแผงไว้ให้ได้รับสิทธิทำสัญญา ซึ่งหากการรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการดังกล่าว ทั้งที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อโต้แย้ง และยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าการกระทำของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาที่ยากแก่การแก้ไขได้ หากในที่สุดศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าการกระทำของการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่ตัวแทนของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ถ้อยคำว่า หากมีการคุ้มครองชั่วคราว จะส่งผลให้ผู้ค้ารายอื่นกว่า ยื่นขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในทำนองเดียวกันอีก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงจากคำแถลงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ว่า มีผู้ค้าในตลาดนัดสวนจตุจักรประมาณ 8,000 ราย ส่วนใหญ่ยินยอมชำระค่าเช่าและค่าภาษีตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนด แสดงให้เห็นว่า ผู้ค้าส่วนใหญ่สามารถชำระค่าเช่าในอัตราใหม่ได้ และการรถไฟก็ยังมีรายได้เพียงพอต่อการบริหารจัดการตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งหากที่สุดศาลมีคำพิพากษาว่าการกำหนดค่าเช่าของการรถไฟแห่งประเทศไทยชอบด้วยกฎหมายก็มีสิทธิจะเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้ค้าทั้ง 789 ในภายหลังได้ จึงเห็นว่าหากจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวดังกล่าว โดยให้ผู้ค้าทั้ง 789 คนมีสิทธิประกอบการค้าในตลาดนัดจตุจักรโดยชำระค่าเช่าในอัตราที่ศาลกำหนดนั้นก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐและการรถไฟแห่งประเทศไทยแต่อย่างใด