ASTVผู้จัดการรายวัน – สสปน. เล็ง หนุนตลาดอาเซียน บวกจัดไมซ์ในประเทศไทย พบว่าเป็นตลาดกำลังซื้อสูงเติบโตต่อเนื่อง พร้อมอัดงบ 90ล้านบาทจัด 2 แคมเปญใหญ่ ดันรายได้ปี 58 แตะ 1.8แสนล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวไมซ์ 3 ล้านคน
นายธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.)เปิดเผยว่า แผนการทำงานด้านตลาดอาเซียน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 นี้ ได้ตั้งไว้ว่า จะเร่งโปรโมตให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบวก 6 เดินทางเข้ามาจัดประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (MICE) ในประเทศไทย โดยกลุ่มประเทศนั้น ได้แก่ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และไทย
โดย เกือบทั้งหมดเป็นตลาดมีกำลังซื้อสูง และยังครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 63% มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในตลาดที่มีจำนวนผู้เดินทางมาประชุมสูงสุด 5 อันดับแรกของเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
ขณะเดียวกันจะรักษาฐานตลาดสหรัฐอเมริกาและกลุ่มยุโรป อาทิ สหพันธรัฐเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเอาไว้ เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากแม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ตลาดชะลอตัวลงไปบ้าง แต่ยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่
“การทำงานของ สสปน. จะสอดคล้องกับทิศทางการลงทุนของกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะเป็นตลาดที่มีแนวโน้มที่นักลงทุนจะเข้ามาทำธุรกิจ รวมถึงเป็นตลาดของการจัดงานไมซ์ เพราะ ภูมิภาคนี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง จากทั้งตลาดอินเดีย จีน และยังกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งจะรวมเป็นตลาดเดียวกันในปี2558”
ทั้งนี้ สสปน. ได้จัดสรรงบ 90 ล้านบาทกระตุ้นตลาดในระยะ 3 ปี สำหรับการส่งเสริมตลาด ในกลุ่มองค์กรธุรกิจผ่าน 2 แคมเปญ ได้แก่ การดึงงานขนาดใหญ่ 1,000 คนขึ้นไป (เมกกะอีเว้นท์)เข้า มาจัดในไทย และจะต้องมีวันพักในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 วัน ซึ่ง สสปน. จะให้เงินสนับสนุน กับกลุ่มประชุมที่มีคุณสมบัติดังกล่าว จำนวน 1 ล้านบาทสำหรับการจัดงาน
ส่วนอีกแคมเปญหนึ่งคือ การ สนับสนุนแบบขั้นบันได เพื่อให้งานระดับนานาชาติยังคงอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นจึงเชื่อว่า ทั้ง 2แคมเปญ จะมีส่วนช่วยให้เกิดการเดินทางเข้ามาประชุมของกลุ่มธุรกิจ ราว 81,200 คน สร้างรายได้5,330 ล้านบาท เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายดึงผู้เดินทางเข้ามาประชุมในเมืองไทยกว่า 3 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.8 แสนล้านบาท ภายในปี 2558
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ สสปน.จะให้การสนับสนุน มี 5 สาขาหลักได้แก่ บริษัทขายตรงอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ การเงินการธนาคาร และกลุ่มบริษัทประกันภัย โดยกลยุทธิ์ จะเจาะเข้าพบผู้มีอำนาจตัดสินใจในแต่ละประเทศเป้าหมาย และเพื่อสร้างการรับรู้ จึงได้ออกแคมเปญ “อาเซียน วิสิตเตอร์ โปรโมชั่น” สนับสนุนผู้จัดงาน ซึ่งอาจเป็น สมาคมบริษัทรับจัดงานประชุม หรือบริษัทนำเที่ยวที่ทำทัวร์กรุ๊ปสัมมนา หากสามารถนำผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศในกลุ่มนี้มาตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปมาประเทสไทย ก็จะได้รับเงินสนับสนุน 1,000 บาทต่อคน เบื้องต้น สสปน. เลือกงานที่จะมีผู้ร่วมประชุมจากต่างประเทศกว่า 300 คนไว้กว่า 30 งาน
ล่าสุดยังได้สนับสนุนการจัดงานไอที ซีเอ็มเอ แอนด์ ซีทีดับบลิว เอเชีย-แปซิฟิก 2012 ระหว่างวันที่ 2-4 ต.ค.นี้ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเป็นงานส่งเสริมการขายด้านการประชุมนานาชาติและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งไทยได้รับเลือกเป็นสถานที่จัดงานปีที่ 11 แล้ว คาดว่าปีนี้จะมีผู้ร่วมงานกว่า 2,600 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลก
สำหรับปีงบประมาณ 2556 สสปน. ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 870 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานตามภารกิจและกลยุทธ์ของ สสปน. .ในส่วนของการส่งเสริมตลาดประชุม ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 268 ล้านบาท ด้านเป้าหมายการดำเนินงานของปี 2555 สสปน. ตั้งเป้าดึงจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์เข้าสู่ประเทศไทยกว่า 750,000 คน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยกว่า 60,120 ล้านบาท คิดเป็นเป้าหมายผู้เดินทางกลุ่มอุตสาหกรรมการประชุม จำนวน 670,000 คน สร้างรายได้กว่า 52,000 ล้านบาท
นายธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน.)เปิดเผยว่า แผนการทำงานด้านตลาดอาเซียน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 นี้ ได้ตั้งไว้ว่า จะเร่งโปรโมตให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบวก 6 เดินทางเข้ามาจัดประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (MICE) ในประเทศไทย โดยกลุ่มประเทศนั้น ได้แก่ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และไทย
โดย เกือบทั้งหมดเป็นตลาดมีกำลังซื้อสูง และยังครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 63% มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในตลาดที่มีจำนวนผู้เดินทางมาประชุมสูงสุด 5 อันดับแรกของเอเชีย ได้แก่ อินเดีย จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
ขณะเดียวกันจะรักษาฐานตลาดสหรัฐอเมริกาและกลุ่มยุโรป อาทิ สหพันธรัฐเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเอาไว้ เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากแม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ตลาดชะลอตัวลงไปบ้าง แต่ยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่
“การทำงานของ สสปน. จะสอดคล้องกับทิศทางการลงทุนของกลุ่มอาเซียน ซึ่งจะเป็นตลาดที่มีแนวโน้มที่นักลงทุนจะเข้ามาทำธุรกิจ รวมถึงเป็นตลาดของการจัดงานไมซ์ เพราะ ภูมิภาคนี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง จากทั้งตลาดอินเดีย จีน และยังกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งจะรวมเป็นตลาดเดียวกันในปี2558”
ทั้งนี้ สสปน. ได้จัดสรรงบ 90 ล้านบาทกระตุ้นตลาดในระยะ 3 ปี สำหรับการส่งเสริมตลาด ในกลุ่มองค์กรธุรกิจผ่าน 2 แคมเปญ ได้แก่ การดึงงานขนาดใหญ่ 1,000 คนขึ้นไป (เมกกะอีเว้นท์)เข้า มาจัดในไทย และจะต้องมีวันพักในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 วัน ซึ่ง สสปน. จะให้เงินสนับสนุน กับกลุ่มประชุมที่มีคุณสมบัติดังกล่าว จำนวน 1 ล้านบาทสำหรับการจัดงาน
ส่วนอีกแคมเปญหนึ่งคือ การ สนับสนุนแบบขั้นบันได เพื่อให้งานระดับนานาชาติยังคงอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นจึงเชื่อว่า ทั้ง 2แคมเปญ จะมีส่วนช่วยให้เกิดการเดินทางเข้ามาประชุมของกลุ่มธุรกิจ ราว 81,200 คน สร้างรายได้5,330 ล้านบาท เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายดึงผู้เดินทางเข้ามาประชุมในเมืองไทยกว่า 3 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.8 แสนล้านบาท ภายในปี 2558
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ สสปน.จะให้การสนับสนุน มี 5 สาขาหลักได้แก่ บริษัทขายตรงอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ การเงินการธนาคาร และกลุ่มบริษัทประกันภัย โดยกลยุทธิ์ จะเจาะเข้าพบผู้มีอำนาจตัดสินใจในแต่ละประเทศเป้าหมาย และเพื่อสร้างการรับรู้ จึงได้ออกแคมเปญ “อาเซียน วิสิตเตอร์ โปรโมชั่น” สนับสนุนผู้จัดงาน ซึ่งอาจเป็น สมาคมบริษัทรับจัดงานประชุม หรือบริษัทนำเที่ยวที่ทำทัวร์กรุ๊ปสัมมนา หากสามารถนำผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศในกลุ่มนี้มาตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปมาประเทสไทย ก็จะได้รับเงินสนับสนุน 1,000 บาทต่อคน เบื้องต้น สสปน. เลือกงานที่จะมีผู้ร่วมประชุมจากต่างประเทศกว่า 300 คนไว้กว่า 30 งาน
ล่าสุดยังได้สนับสนุนการจัดงานไอที ซีเอ็มเอ แอนด์ ซีทีดับบลิว เอเชีย-แปซิฟิก 2012 ระหว่างวันที่ 2-4 ต.ค.นี้ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเป็นงานส่งเสริมการขายด้านการประชุมนานาชาติและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งไทยได้รับเลือกเป็นสถานที่จัดงานปีที่ 11 แล้ว คาดว่าปีนี้จะมีผู้ร่วมงานกว่า 2,600 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลก
สำหรับปีงบประมาณ 2556 สสปน. ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 870 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานตามภารกิจและกลยุทธ์ของ สสปน. .ในส่วนของการส่งเสริมตลาดประชุม ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 268 ล้านบาท ด้านเป้าหมายการดำเนินงานของปี 2555 สสปน. ตั้งเป้าดึงจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์เข้าสู่ประเทศไทยกว่า 750,000 คน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยกว่า 60,120 ล้านบาท คิดเป็นเป้าหมายผู้เดินทางกลุ่มอุตสาหกรรมการประชุม จำนวน 670,000 คน สร้างรายได้กว่า 52,000 ล้านบาท