ASTVผู้จัดการรายวัน-“ศิริราช” ทุ่มงบ 120 ล้านบาท ซื้อหุ่นผ่าตัด "ดาวินชี่" ตัวที่สอง หลังพบสถิติ 5 ปี ผ่าตัดรักษาผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์ มากสุดในอาเซียน ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดมะเร็งตับอ่อน ซึ่งซับซ้อนที่สุดในระบบทางเดินอาหาร จนได้รางวัลจากที่ประชุมกลุ่มศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดหุ่นยนต์ในประเทศสหรัฐ
วานนี้ (1 ต.ค.) ที่ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดแถลงข่าวเปิดตัวหุ่นยนต์ผ่าตัดตัวที่ 2 พร้อมถ่ายทอดสดการผ่าตัดผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์ทั้งสองตัวมายังห้องประชุมให้สื่อมวลชนได้รับชมด้วย ว่า เมื่อปี 2550 รพ.ศิริราช ได้สั่งซื้อหุ่นยนต์ผ่าตัด “ดาวินชี่” มาช่วยในการผ่าตัด พบว่า สามารถช่วยผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยผ่าตัดในจุดที่ซับซ้อนในร่างกายได้ จากสถิติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ที่รพ.ศิริราชมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น ในปี 2555 ทางรพ.ศิริราชจึงมีการสั่งซื้อหุ่นยนต์ดาวินชี่รุ่นใหม่อีก 1 ตัวเข้ามาช่วยในการผ่าตัด ราคาประมาณ 120 ล้านบาท
นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวเสริมว่า ช่วง 5 ปี ได้ทำการผ่าตัดผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์ไปกว่า 1,000 ราย ถือว่ามีจำนวนมากที่สุดในอาเซียน ได้แก่ การผ่าตัดศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ประกอบด้วย มะเร็งต่อมลูกหมาก 860 ราย มะเร็งไต 35 ราย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 5 ราย การศัลยกรรมทั่วไป 106 ราย อาทิ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ และมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
ด้าน นพ.ไชยยงค์ นวลยง หัวหน้าสาขาวิชาระบบทางเดินปัสสาวะ กล่าวว่า หุ่นยนต์ดาวินชี่ตัวที่สองต่างจากตัวแรกคือ มีชุดควบคุมภายนอกหุ่นยนต์ 2 ชุด ซึ่งช่วยให้แพทย์ใช้ในการสอนผ่าตัดได้ แต่ส่วนประกอบต่างๆ ยังคงเหมือนดาวินชี่ตัวแรก คือประกอบด้วยแขน 4 แขน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.8 เซนติเมตร โดยแขนที่ 1 เป็นกล้องที่ช่วยให้แพทย์ที่อยู่ที่ชุดควบคุมมองเห็นบริเวณที่จะทำการผ่าตัดเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งมีกำลังขยาย 10 เท่า ส่วนแขนหุ่นอีก 3 แขน จะทำหน้าที่ในการผ่าตัด ซึ่งมีความแม่นยำสูง แผลเล็ก เจ็บน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วจากเดิมต้องพักฟื้นหลังจากการผ่าตัด 7 วัน เหลือเพียง 3-4 วันเท่านั้น
ขณะที่ นพ.ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์ หัวหน้าสาขาวิชาศัลศาสตร์ทั่วไป กล่าวว่า การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์มีความแม่นยำสูงมาก ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ และการที่รพ.ศิริราชประสบความสำเร็จในการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดมะเร็งตับอ่อน ซึ่งถือว่าซับซ้อนมากที่สุดของระบบทางเดินอาหาร ต้องใช้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดถึง 3 คน จึงได้มีการนำเสนอผลงานการผ่าตัดนี้ไปยังที่ประชุมกลุ่มศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดหุ่นยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (ซีอาร์เอสเอ) เมื่อปี 2554 ซึ่งที่ประชุมให้ความสนใจมาก และมอบรางวัลให้กับผลงานความสำเร็จครั้งนี้ของรพ.ศิริราชด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์นั้นไม่ใช่ว่าแพทย์จะทำการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยทุกคน โดยแพทย์จะพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยในรายที่จำเป็นจะต้องผ่าตัดด้วยวิธีการที่ซับซ้อนเท่านั้น ก่อนที่จะประเมินว่าสมควรที่จะต้องใช้การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์หรือไม่
วานนี้ (1 ต.ค.) ที่ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดแถลงข่าวเปิดตัวหุ่นยนต์ผ่าตัดตัวที่ 2 พร้อมถ่ายทอดสดการผ่าตัดผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์ทั้งสองตัวมายังห้องประชุมให้สื่อมวลชนได้รับชมด้วย ว่า เมื่อปี 2550 รพ.ศิริราช ได้สั่งซื้อหุ่นยนต์ผ่าตัด “ดาวินชี่” มาช่วยในการผ่าตัด พบว่า สามารถช่วยผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยผ่าตัดในจุดที่ซับซ้อนในร่างกายได้ จากสถิติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ที่รพ.ศิริราชมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น ในปี 2555 ทางรพ.ศิริราชจึงมีการสั่งซื้อหุ่นยนต์ดาวินชี่รุ่นใหม่อีก 1 ตัวเข้ามาช่วยในการผ่าตัด ราคาประมาณ 120 ล้านบาท
นพ.อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวเสริมว่า ช่วง 5 ปี ได้ทำการผ่าตัดผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์ไปกว่า 1,000 ราย ถือว่ามีจำนวนมากที่สุดในอาเซียน ได้แก่ การผ่าตัดศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ประกอบด้วย มะเร็งต่อมลูกหมาก 860 ราย มะเร็งไต 35 ราย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 5 ราย การศัลยกรรมทั่วไป 106 ราย อาทิ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ และมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
ด้าน นพ.ไชยยงค์ นวลยง หัวหน้าสาขาวิชาระบบทางเดินปัสสาวะ กล่าวว่า หุ่นยนต์ดาวินชี่ตัวที่สองต่างจากตัวแรกคือ มีชุดควบคุมภายนอกหุ่นยนต์ 2 ชุด ซึ่งช่วยให้แพทย์ใช้ในการสอนผ่าตัดได้ แต่ส่วนประกอบต่างๆ ยังคงเหมือนดาวินชี่ตัวแรก คือประกอบด้วยแขน 4 แขน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.8 เซนติเมตร โดยแขนที่ 1 เป็นกล้องที่ช่วยให้แพทย์ที่อยู่ที่ชุดควบคุมมองเห็นบริเวณที่จะทำการผ่าตัดเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งมีกำลังขยาย 10 เท่า ส่วนแขนหุ่นอีก 3 แขน จะทำหน้าที่ในการผ่าตัด ซึ่งมีความแม่นยำสูง แผลเล็ก เจ็บน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วจากเดิมต้องพักฟื้นหลังจากการผ่าตัด 7 วัน เหลือเพียง 3-4 วันเท่านั้น
ขณะที่ นพ.ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์ หัวหน้าสาขาวิชาศัลศาสตร์ทั่วไป กล่าวว่า การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์มีความแม่นยำสูงมาก ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ และการที่รพ.ศิริราชประสบความสำเร็จในการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดมะเร็งตับอ่อน ซึ่งถือว่าซับซ้อนมากที่สุดของระบบทางเดินอาหาร ต้องใช้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดถึง 3 คน จึงได้มีการนำเสนอผลงานการผ่าตัดนี้ไปยังที่ประชุมกลุ่มศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดหุ่นยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา (ซีอาร์เอสเอ) เมื่อปี 2554 ซึ่งที่ประชุมให้ความสนใจมาก และมอบรางวัลให้กับผลงานความสำเร็จครั้งนี้ของรพ.ศิริราชด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์นั้นไม่ใช่ว่าแพทย์จะทำการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยทุกคน โดยแพทย์จะพิจารณาเฉพาะผู้ป่วยในรายที่จำเป็นจะต้องผ่าตัดด้วยวิธีการที่ซับซ้อนเท่านั้น ก่อนที่จะประเมินว่าสมควรที่จะต้องใช้การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์หรือไม่