(หมายเหตุ : หรินทร์ สุขวัจน์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว รับมอบหมายจากมูลนิธิเด็ก เชื้อเชิญศิลปินไทยบริจาคผลงานให้มูลนิธิแซนโทส ประเทศอิตาลี เพื่อจัดนิทรรศการศิลปะ ณ กรุงโรม ระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2555 เงินรายได้มอบให้แก่มูลนิธิเด็กเพื่อโครงการสร้างโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2 จังหวัดกาญจนบุรี)
อิตาลี อดีตจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันมีกรุงโรมเป็นเมืองหลวงนั้น คือศูนย์กลางศิลปะของโลกตะวันตกมากว่าสองพันปี มีอิทธิพลต่อโลกตราบจนปัจจุบัน
รูปปั้นเดวิด ชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ภาพวาดโมนาลิซาเจ้าของรอยยิ้มปริศนาที่ไม่มีสตรีใดเสมอเหมือนก็ดี มหาศิลปินผู้สร้างสรรค์ เช่น ดาวินชี ไมเคิลแอนเจโล ราฟาเอล ก็ดี มวลชิ้นงานจิตรกรรมอมตะ อาคารสถาปัตยกรรมอันงามสง่าน่าพิศวง และประติมากรรมกลางแจ้งอันวิจิตรบรรเจิดมากมายก็ดี ล้วนเป็นพยานได้
ในยามที่เราชอบพูดถึงสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่าว่าด้วย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรม งานครีเอทีฟ ฯลฯ ชนชาติที่ให้กำเนิดอัจฉริยบุคคลสร้างสรรค์นฤมิตกรรมที่โลกไม่มีวันลืมเช่นอิตาลีนี้ มีความหมายต่อแวดวงศิลปะบ้านเราเช่นไร ชีวิต และผลงานที่ปรากฏสร้างแรงบันดาลใจให้ศึกษาค้นคว้าหาปริศนาความนัยแห่งงานศิลป์ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นได้อย่างไรในโลกปัจจุบัน
เฉพาะอย่ายิ่ง ประติมากรชาวอิตาลี มร.คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Ferogi) ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันอุดมศึกษาด้านศิลปกรรมร่วมสมัยแห่งแรกของไทย ผู้เปิดโลกทรรศน์งานศิลป์ตะวันตกสู่สยามอย่างเป็นทางการเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว
คือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี “อาจารย์ฝรั่ง” จากเมืองฟลอเรนซ์ของชาวศิลปากร
นิทรรศการศิลปะ “หมู่บ้านเด็ก” ที่กรุงโรม เมื่อกลางปี 2555 แสดงผลงานของศิลปินนานาชาติโดยมีศิลปินไทยเป็นหลัก ด้านหนึ่งจึงเสมือนศิษยานุศิษย์ได้ไปอวดงานแด่อาจารย์ใหญ่ และอวดแก่ชาวอิตาลีผู้มีศิลปะในจิตใจอย่างแนบแน่น อีกด้านหนึ่งคือ บททดสอบฝีมือ รับรู้รสนิยมที่มีต่องานของศิลปินไทย 23 คน นำโดย 2 ศิลปินแห่งชาติ จิตต์ จงมั่นคง และ ประเทือง เอมเจริญ
นิทรรศการนี้ จัดเป็นครั้งที่สองต่อจากเมื่อปี 2550 ซึ่งมูลนิธิแซนโทส (Xanthos Onlas) โดย มร.อกาติโน อลัจโม ประธานมูลนิธิฯ จัดขึ้น ข้อตกลงเรียบง่ายคือ อกาติโนจะไปจัดนิทรรศการศิลปะขึ้นที่โรมเพื่อหารายได้ให้แก่โครงการ “โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2”
นิทรรศการครั้งแรกเป็นการแสดงภาพจิตรกรรมของศิลปินร่วมสมัยของอิตาลี ยุโรป เกาหลี และศิลปินไทย สุชาติ วงษ์ทอง ซึ่งมอบผลงานสีน้ำชุด “พุทธทาส” ไปร่วมด้วย 8 ภาพ ครั้งนั้น พิภพ และ รัชนี ธงไชย พ่อเปี๊ยก แม่แอ๊ว แห่งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กไปร่วมงาน
โดยสองคนนี้พบกับอกาติโนครั้งแรกในภารกิจขององค์กรพัฒนาเอกชนพึงกระทำตั้งแต่ราว ปี 2532 อกาติโนประทับใจการทำงานของแม่แอ๊ว และการดำเนินงานของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก โรงเรียนเพื่อการฟื้นฟูเยาวชนแนวประชาธิปไตยแห่งแรกของไทยที่เมืองกาญจน์ เมื่อพบกันอีก ณ พื้นที่การฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิ ที่จังหวัดพังงา ปี 2548 การพูดคุยถึงโครงการสร้างโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2 ระดับมัธยมศึกษาดังกล่าวก็เริ่มขึ้น โดยจะอาศัยงานศิลปกรรมหารายได้เป็นทุนก่อสร้าง
นิทรรศการครั้งแรกประสบความสำเร็จอย่างดี ขายภาพนำเงินมอบให้โรงเรียนหมู่บ้านเด็กได้ 4 ล้านบาท เกือบทั้งหมดมาจากภาพๆ เดียว ภาพของศิลปินไทยขายไม่ได้
ด้วยความรักแมวยิ่ง อกาติโนยังตั้งกองทุนน้อยดูแลแมว และหมาตามย่านชายหาดกะรน กะตะ ของภูเก็ตมาหลายปีแล้ว แกจะมาเยี่ยมเพื่อนที่ดีของมนุษย์เหล่านี้ปีละครั้งสองครั้ง ห้าหกปีมานี้ พิภพและรัชนีจึงมาภูเก็ตเพื่อหารือโครงการฯ กับอกาติโนเกือบทุกปี ผมซึ่งเคยเป็นลูกน้องเก่าพิภพก็ได้ร่วมโต๊ะอาหารกันทุกครั้ง
โรดแมปนิทรรศการจิตรกรรมไทยไปโรมที่มีผมร่วมอยู่ด้วยนั้น เหตุผลหนึ่งคงเพราะผมเคยโฉบเข้าไปเรียนที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว (แต่เรียนไม่จบเพราะความเก) พอจะรู้เรื่องศิลปะ และคุ้นเคยกับศิลปินไทยใหญ่น้อยจำนวนหนึ่ง (ผมเคยริอ่านเปิดแกลเลอรีศยามนฤมิตศิลปที่ภูเก็ต แต่ก็จบไปหลายปีแล้ว) พิภพคงเห็นว่าผมพอจะช่วยเชื้อเชิญศิลปินไทยให้ร่วมกิจกรรมการกุศลครั้งนี้ได้
รวมทั้งเพลงแซนตาลูเชียพากย์อิตาลีที่ผมร้องให้อกาติโนฟังหลังอาหาร และไวน์ในการเมามื้อหนึ่งคงถูกหูแกอยู่บ้าง ยิ่งอธิบายว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรอันผู้ประศาสน์การชาวอิตาลีชอบร้องจนถูกแปลงภาษาไทย กลายเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คงจะยิ่งเสริมให้อกาติโนผู้มีความรักในศิลปะประสาชาวอิตาลียอมรับให้ผมร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วยละมั้ง
ภารกิจการเชื้อเชิญ และรวบรวมผลงานจิตรกรรมของเหล่าศิลปินไทยไปแสดงที่โรมจึงเริ่มขึ้น พร้อมวาสนาของศิษย์เกของศิลปากรคนหนึ่ง นิทรรศการคราวนี้นอกจากแสดง และขายแล้ว จะมีการจัดประมูลด้วย
อิตาลี อดีตจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันมีกรุงโรมเป็นเมืองหลวงนั้น คือศูนย์กลางศิลปะของโลกตะวันตกมากว่าสองพันปี มีอิทธิพลต่อโลกตราบจนปัจจุบัน
รูปปั้นเดวิด ชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ภาพวาดโมนาลิซาเจ้าของรอยยิ้มปริศนาที่ไม่มีสตรีใดเสมอเหมือนก็ดี มหาศิลปินผู้สร้างสรรค์ เช่น ดาวินชี ไมเคิลแอนเจโล ราฟาเอล ก็ดี มวลชิ้นงานจิตรกรรมอมตะ อาคารสถาปัตยกรรมอันงามสง่าน่าพิศวง และประติมากรรมกลางแจ้งอันวิจิตรบรรเจิดมากมายก็ดี ล้วนเป็นพยานได้
ในยามที่เราชอบพูดถึงสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่าว่าด้วย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรม งานครีเอทีฟ ฯลฯ ชนชาติที่ให้กำเนิดอัจฉริยบุคคลสร้างสรรค์นฤมิตกรรมที่โลกไม่มีวันลืมเช่นอิตาลีนี้ มีความหมายต่อแวดวงศิลปะบ้านเราเช่นไร ชีวิต และผลงานที่ปรากฏสร้างแรงบันดาลใจให้ศึกษาค้นคว้าหาปริศนาความนัยแห่งงานศิลป์ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นได้อย่างไรในโลกปัจจุบัน
เฉพาะอย่ายิ่ง ประติมากรชาวอิตาลี มร.คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Ferogi) ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันอุดมศึกษาด้านศิลปกรรมร่วมสมัยแห่งแรกของไทย ผู้เปิดโลกทรรศน์งานศิลป์ตะวันตกสู่สยามอย่างเป็นทางการเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว
คือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี “อาจารย์ฝรั่ง” จากเมืองฟลอเรนซ์ของชาวศิลปากร
นิทรรศการศิลปะ “หมู่บ้านเด็ก” ที่กรุงโรม เมื่อกลางปี 2555 แสดงผลงานของศิลปินนานาชาติโดยมีศิลปินไทยเป็นหลัก ด้านหนึ่งจึงเสมือนศิษยานุศิษย์ได้ไปอวดงานแด่อาจารย์ใหญ่ และอวดแก่ชาวอิตาลีผู้มีศิลปะในจิตใจอย่างแนบแน่น อีกด้านหนึ่งคือ บททดสอบฝีมือ รับรู้รสนิยมที่มีต่องานของศิลปินไทย 23 คน นำโดย 2 ศิลปินแห่งชาติ จิตต์ จงมั่นคง และ ประเทือง เอมเจริญ
นิทรรศการนี้ จัดเป็นครั้งที่สองต่อจากเมื่อปี 2550 ซึ่งมูลนิธิแซนโทส (Xanthos Onlas) โดย มร.อกาติโน อลัจโม ประธานมูลนิธิฯ จัดขึ้น ข้อตกลงเรียบง่ายคือ อกาติโนจะไปจัดนิทรรศการศิลปะขึ้นที่โรมเพื่อหารายได้ให้แก่โครงการ “โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2”
นิทรรศการครั้งแรกเป็นการแสดงภาพจิตรกรรมของศิลปินร่วมสมัยของอิตาลี ยุโรป เกาหลี และศิลปินไทย สุชาติ วงษ์ทอง ซึ่งมอบผลงานสีน้ำชุด “พุทธทาส” ไปร่วมด้วย 8 ภาพ ครั้งนั้น พิภพ และ รัชนี ธงไชย พ่อเปี๊ยก แม่แอ๊ว แห่งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กไปร่วมงาน
โดยสองคนนี้พบกับอกาติโนครั้งแรกในภารกิจขององค์กรพัฒนาเอกชนพึงกระทำตั้งแต่ราว ปี 2532 อกาติโนประทับใจการทำงานของแม่แอ๊ว และการดำเนินงานของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก โรงเรียนเพื่อการฟื้นฟูเยาวชนแนวประชาธิปไตยแห่งแรกของไทยที่เมืองกาญจน์ เมื่อพบกันอีก ณ พื้นที่การฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิ ที่จังหวัดพังงา ปี 2548 การพูดคุยถึงโครงการสร้างโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2 ระดับมัธยมศึกษาดังกล่าวก็เริ่มขึ้น โดยจะอาศัยงานศิลปกรรมหารายได้เป็นทุนก่อสร้าง
นิทรรศการครั้งแรกประสบความสำเร็จอย่างดี ขายภาพนำเงินมอบให้โรงเรียนหมู่บ้านเด็กได้ 4 ล้านบาท เกือบทั้งหมดมาจากภาพๆ เดียว ภาพของศิลปินไทยขายไม่ได้
ด้วยความรักแมวยิ่ง อกาติโนยังตั้งกองทุนน้อยดูแลแมว และหมาตามย่านชายหาดกะรน กะตะ ของภูเก็ตมาหลายปีแล้ว แกจะมาเยี่ยมเพื่อนที่ดีของมนุษย์เหล่านี้ปีละครั้งสองครั้ง ห้าหกปีมานี้ พิภพและรัชนีจึงมาภูเก็ตเพื่อหารือโครงการฯ กับอกาติโนเกือบทุกปี ผมซึ่งเคยเป็นลูกน้องเก่าพิภพก็ได้ร่วมโต๊ะอาหารกันทุกครั้ง
โรดแมปนิทรรศการจิตรกรรมไทยไปโรมที่มีผมร่วมอยู่ด้วยนั้น เหตุผลหนึ่งคงเพราะผมเคยโฉบเข้าไปเรียนที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว (แต่เรียนไม่จบเพราะความเก) พอจะรู้เรื่องศิลปะ และคุ้นเคยกับศิลปินไทยใหญ่น้อยจำนวนหนึ่ง (ผมเคยริอ่านเปิดแกลเลอรีศยามนฤมิตศิลปที่ภูเก็ต แต่ก็จบไปหลายปีแล้ว) พิภพคงเห็นว่าผมพอจะช่วยเชื้อเชิญศิลปินไทยให้ร่วมกิจกรรมการกุศลครั้งนี้ได้
รวมทั้งเพลงแซนตาลูเชียพากย์อิตาลีที่ผมร้องให้อกาติโนฟังหลังอาหาร และไวน์ในการเมามื้อหนึ่งคงถูกหูแกอยู่บ้าง ยิ่งอธิบายว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรอันผู้ประศาสน์การชาวอิตาลีชอบร้องจนถูกแปลงภาษาไทย กลายเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คงจะยิ่งเสริมให้อกาติโนผู้มีความรักในศิลปะประสาชาวอิตาลียอมรับให้ผมร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วยละมั้ง
ภารกิจการเชื้อเชิญ และรวบรวมผลงานจิตรกรรมของเหล่าศิลปินไทยไปแสดงที่โรมจึงเริ่มขึ้น พร้อมวาสนาของศิษย์เกของศิลปากรคนหนึ่ง นิทรรศการคราวนี้นอกจากแสดง และขายแล้ว จะมีการจัดประมูลด้วย