เซ็นทรัลเตรียมปรับธุรกิจท็อปส์เดลี่ หลังฮุบหุ้นใหญ่แฟมิลี่มาร์ทสำเร็จ หวั่นซ้ำซ้อนกัน จ่อโละทิ้งเปลี่ยนเป็นแฟมิลี่มาร์ททั้งหมด คาดสรุปเร็วๆนี้ เก็บบแบนรนด์ท็อปส์เดลี่ไว้สวมโมเดลใหม่ต่อไป เซเว่นฯมองเซ็นทรัลรีเทลฮุบแฟมิลี่มาร์ท ส่งผลดีต่อตลาด
นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือซีอาร์ซี เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมเปิดเจรจากับแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นถึงการจะร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทย หลังจากที่กลุ่มเซ็นทรัลได้เข้าร่วมทุนและเป็นผู้บริหารร้านแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะประเด็นร้านท็อปส์เดลี่ที่เป็นคอนวีเนียนสโตร์เหมือนแฟมิลี่มาร์ท ที่กลุ่มเซ็นทรัลเพิ่งสร้างแบรนด์นี้มา 3 ปีเศษ และมีความซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทางเซ็นทรัลก็มีการเสนอกับทางแฟมิลี่มาร์ทแล้วเช่นกันว่า ถ้าหากจะสร้างแฟมิลี่มาร์ทให้แข็งแกร่งก็อาจจะเปลี่ยนแบรนด์ท็อปส์เดลี่เพื่อแปลงมาเป็นร้านแฟมิลี่มาร์ทก็ได้ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 1 – 2
เดือนจากนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นนี้อาจจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ทางแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นตัดสินใจเมื่อเดือนที่แล้วนี้เองในการเลือกกลุ่มเซ็นทรัลเข้ามาเป็นพันธมิตรถือหุ้นด้วย นอกจากการเสนอราคาที่ว่ากันว่าอยู่ในอันดับที่สอง จากผู้เข้าร่วมแข่งขันซื้อแฟมิลี่มาร์ทไม่น้อยกว่า 3-4 รายในไทย ด้วยราคาประมาณ 3,000 ล้านบาท หรือประมาณ 7,800 ล้านเยน
อย่างไรก็ตามนายทศยืนยันว่า บริษัทฯไม่ได้ทิ้งแบรนด์ท็อปส์เดลี่แต่จะเก็บไว้หากในอนาคตมีการพัฒนารูปแบบค้าปลีกโมเดลใหม่ขึ้นมาและมีความเหมาะสมก็จะนำแบรนด์นี้กลับมาใช้ใหม่ ปัจจุบันท็อปส์เดลี่มีประมาณ 100 กว่าสาขา และล่าสุดเพิ่งเป็นพันธมิตรกับปั๊มน้ำมันคาล์เท็กซ์ที่จะนำท็อปส์เดลี่ไปเปิดในปั๊มคาล์เท็กซ์ ซึ่งอาจจะนำเอาร้านแฟมิลี่มาร์ทไปเปิดแทนก็ได้
บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด จำนวน 50.29% ที่เหลือเป็นของ บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ญี่ปุ่น 48.20% และบริษัท อิโตชู และโรบินสัน ถือหุ้นรวมกัน 1.51% โดยแถลงข่าวเมื่อวานนี้ และเตรียมที่จะส่งทีมบริหารเข้าไปดูแลต้นเดือนหน้า โดยมีนายณัฐ วงศ์พานิช ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่
นายทศกล่าวว่า วางแผนลงทุนแฟมิลี่มาร์ทช่วง 5 ปีจากนี้ด้วยงบประมาณกว่า 2,000 – 3,000 ล้านบาท เปิดใหม่และการรีโนเวต ตั้งเป้าขยายครบ 1,500 สาขาภายใน 5 ปีนับจากนี้ และเพิ่มเป็น 3,000 สาขาในอีก 10 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีจำนวน 746 สาขา เน้นทั้งลงทุนเองกับขายแฟรนช์ไชส์ แต่ละสาขาลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท พื้นที่ราว 100-150 ตร.ม.
“ถึงแม้เราจะเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะไซส์ใหญ่แล้ว แต่ในส่วนของคอนวีเนียนสโตร์เราก็ไม่ได้คิดไปแข่งกับใคร เพราะผู้นำอันดับหนึ่งทิ้งห่างไปมากทั้งเรื่องจำนวนสาขาและรายได้ แต่เราก็จะเป็นผู้นำได้ในแง่ของชื่อเสียงและแบรนด์ ส่วนเราสนใจจะขอสิทธิ์ทำแฟมิลี่มาร์ทในต่างประเทศหรือไม่นั้น ตอนนี้ยังไม่ได้เจรจากันแต่เราก็สนใจทุกอย่าง”
บริษัทคาดว่าสิ้นปีนี้ายได้ซีอาร์ซีจะมีประมาณ 150,000 ล้านบาท จากเดิม 140,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มธุรกิจอาหารประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มเป็น 36,000 ล้านบาท หลังจากได้ธุรกิจแบรนด์แฟมิลี่มาร์ท เข้ามาเสริมซึ่งแฟมิลี่มาร์ทมีรายได้รวมเมื่อปีที่แล้วประมาณ 10,598 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2555 นี้แฟมิลี่มาร์ทจะมีรายได้รวม 12,000 ล้านบาท เติบโต 20%
นายอุเอะเดะ จุนจิ ประธานกรรมการบริษัท บริษัท แฟมิลี่มาร์ท(ประเทศญี่ปุ่น) กล่าวว่า ใช้เวลา 1 ปีในการเจรจากับทางกลุ่มเซ็นทรัล โดยดูที่มูลค่าการซื้อขาย และประวัติของกลุ่มนี้จึงมั่นใจในศักยภาพดเซ็นทรัล อีกทั้งตลาดคอนวีเนียนสโตร์ไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของจำนวนประชากรเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยญี่ปุ่นนมีประชากรประมาณ 2,800คนต่อ1ร้าน ไต้หวันประมาณ 2,500 คนต่อ1ร้าน เกาหลีใกล้เคียงกับไต้หวัน ส่วนไทยมีประมาณ 6,800 คนต่อ1ร้าน เท่ากับว่ายังมีโอกาสเปิดได้อีกมาก
โดยแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นตั้งเป้าหมาย จะมีสาขาครบ 20,000 สาขา ในปี 2554 ซึ่งบรรลุไปแล้วเพราะปัจจุบันมีถึง 21,222 สาขาทั่วโลก เป็นเบอร์สองของโลก เป้าหมายต่อไปในปี 2558 จะมีสาขาครบ 25,000 สาขาทั่วโลก และเพิ่มเป็น 40,000 สาขาในปี 2563 ซึ่งในเดือนหน้าก็จะเปิดสาขาแรกที่อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์สาขาแรกในปลายปีนี้ ส่วนตลาดพม่าและอินเดียจะขยายต่อไป
“กว่า 20 ปีที่แฟมิลี่มาร์ทเข้ามาในไทย ประสบกับความยากลำบากมามาก เช่นวิกฤติเศรษฐกิจปี 2541 และวิกฤติต่างๆในไทยเรื่อยมา รวมทั้งวิกฤติโลกด้วย ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทแม่ส่งทีมบริหารคนญี่ปุ่นเข้ามาเพื่อกระตุ้นธุรกิจ ซึ่งทำให้ขณะนี้เริ่มมีผลกำไรแล้ว และมีสาขา 746 แห่ง ขั้นที่สองจากนี้คือการหาพันธมิตรที่มีศักยภาพซึ่งเราก็ได้แล้วคือ กลุ่มเซ็นทรัล”
**เซเว่นฯไม่หวั่นเซ็นทรัลฮุบแฟมืลี่มาร์ท **
นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางเซ็นทรัลรีเทลเข้าถือหุ้นในแฟมิลี่มาร์ทอย่างเป็นทางการ มองว่าจะส่งผลดีต่อตลาดคอนวีเนียนสโตร์ ที่จะช่วยเพิ่มอำนาจสร้างความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
สำหรับร้านเซเว่นฯเอง ไม่ได้มองว่าต้องแข่งขันมากขึ้น เพราะหลังจากที่ปรับโพซิชั่นนิ่งจากร้านสะดวกซื้อมาเป็น อิ่มสะดวกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ทำให้เรามุ่งเน้นแข่งขันกับตัวเองเป็นหลัก ส่วนตลาดก็ยังมีช่องว่างในการเปิดร้านคอนวีเนียนสโตร์ตามสภาพความต้องการของสังคมเมืองที่เติบโตขึ้น และไลฟ์สไตล์ครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง ที่จะนิยมซื้อสินค้าไซซ์เล็ก
อย่างไรก็ตาม เซเว่นฯยังเดินหน้า ดำเนินตามกลยุทธ์ 7 มื้อ คือ เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ก่อนนอน และสำหรับลูกค้าที่ทำงานกะดึก ตามโพซิชั่นนิ่งของการเป็นร้านอิ่มสะดวก ล่าสุดทุ่มงบประมาณกว่า 20 ล้านบาท นำเสนอสินค้าสำหรับเทศกาลอาหารเจกว่า 300 เมนู เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 20 เมนู มั่นใจว่า 1.จะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าให้เข้าร้านถี่ขึ้นจาก 2-3ครั้ง เป็น 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ 2.ตอกย้ำภาพลักษณ์ร้านอิ่มสะดวก และ 3.สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 14-23 ต.ค.นี้ รวม 10 วัน เชื่อว่าจะมียอดขายจากกลุ่มอาหารเจกว่า 400 ล้านบาท เติบโตขึ้น 30% จากปีก่อนโตราว 20% คิดเป็นสัดส่วนรายได้เพียง 1% เทียบกับตลาดรวมอาหารเจมูลค่า 40,000 ล้านบาท ที่เติบโตขึ้นปีละ 5%
สำหรับสินค้ากลุ่มอาหารเจ ประกอบด้วย อาหารแช่แข็ง, อาหารกล่องแช่เย็น, ซาลาเปา, น้ำผลไม้, ขนมปังเจ, อาหารสำเร็จรูป, นมถั่วเหลืองยูเอชที, อาหารแห้ง/กระป๋อง และขนม เชื่อว่าในกลุ่มอาหารแช่แข็งและแช่เย็น จะมียอดขายรวมที่ 4.4 ล้านกล่อง ส่วนซาลาเปาและเบเกอรี่ ขนมปัง คาดว่าจะขายได้ 14 ล้านชิ้น ขณะนี้เมนูอาหารเจที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ข้าวกระเพราทรงเครื่องเจ
โดยปีนี้เพิ่มเมนูพิเศษขึ้นมาอีกหลายรายการ เช่น ข้างแกงเผ็ดเป็ดย่างเจ, ข้าวลาบเจ, เกี๊ยวซ่าไส้ผักเจ, ข้าวเหนียวลาบเจ ที่ยังคงวางราคาจำหน่ายเฉลี่ยที่ 29-35 บาท นอกจากนี้ยังมี บิ๊กเปาวุ้นเส้นสี่สหาย, เปาถั่วแดงงาดำ เพิ่มเข้ามาอีก เป็นต้น
นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือซีอาร์ซี เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมเปิดเจรจากับแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นถึงการจะร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทย หลังจากที่กลุ่มเซ็นทรัลได้เข้าร่วมทุนและเป็นผู้บริหารร้านแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทยแล้ว โดยเฉพาะประเด็นร้านท็อปส์เดลี่ที่เป็นคอนวีเนียนสโตร์เหมือนแฟมิลี่มาร์ท ที่กลุ่มเซ็นทรัลเพิ่งสร้างแบรนด์นี้มา 3 ปีเศษ และมีความซ้ำซ้อนกัน ซึ่งทางเซ็นทรัลก็มีการเสนอกับทางแฟมิลี่มาร์ทแล้วเช่นกันว่า ถ้าหากจะสร้างแฟมิลี่มาร์ทให้แข็งแกร่งก็อาจจะเปลี่ยนแบรนด์ท็อปส์เดลี่เพื่อแปลงมาเป็นร้านแฟมิลี่มาร์ทก็ได้ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 1 – 2
เดือนจากนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นนี้อาจจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ทางแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นตัดสินใจเมื่อเดือนที่แล้วนี้เองในการเลือกกลุ่มเซ็นทรัลเข้ามาเป็นพันธมิตรถือหุ้นด้วย นอกจากการเสนอราคาที่ว่ากันว่าอยู่ในอันดับที่สอง จากผู้เข้าร่วมแข่งขันซื้อแฟมิลี่มาร์ทไม่น้อยกว่า 3-4 รายในไทย ด้วยราคาประมาณ 3,000 ล้านบาท หรือประมาณ 7,800 ล้านเยน
อย่างไรก็ตามนายทศยืนยันว่า บริษัทฯไม่ได้ทิ้งแบรนด์ท็อปส์เดลี่แต่จะเก็บไว้หากในอนาคตมีการพัฒนารูปแบบค้าปลีกโมเดลใหม่ขึ้นมาและมีความเหมาะสมก็จะนำแบรนด์นี้กลับมาใช้ใหม่ ปัจจุบันท็อปส์เดลี่มีประมาณ 100 กว่าสาขา และล่าสุดเพิ่งเป็นพันธมิตรกับปั๊มน้ำมันคาล์เท็กซ์ที่จะนำท็อปส์เดลี่ไปเปิดในปั๊มคาล์เท็กซ์ ซึ่งอาจจะนำเอาร้านแฟมิลี่มาร์ทไปเปิดแทนก็ได้
บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ซื้อหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด จำนวน 50.29% ที่เหลือเป็นของ บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ญี่ปุ่น 48.20% และบริษัท อิโตชู และโรบินสัน ถือหุ้นรวมกัน 1.51% โดยแถลงข่าวเมื่อวานนี้ และเตรียมที่จะส่งทีมบริหารเข้าไปดูแลต้นเดือนหน้า โดยมีนายณัฐ วงศ์พานิช ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่
นายทศกล่าวว่า วางแผนลงทุนแฟมิลี่มาร์ทช่วง 5 ปีจากนี้ด้วยงบประมาณกว่า 2,000 – 3,000 ล้านบาท เปิดใหม่และการรีโนเวต ตั้งเป้าขยายครบ 1,500 สาขาภายใน 5 ปีนับจากนี้ และเพิ่มเป็น 3,000 สาขาในอีก 10 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีจำนวน 746 สาขา เน้นทั้งลงทุนเองกับขายแฟรนช์ไชส์ แต่ละสาขาลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท พื้นที่ราว 100-150 ตร.ม.
“ถึงแม้เราจะเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะไซส์ใหญ่แล้ว แต่ในส่วนของคอนวีเนียนสโตร์เราก็ไม่ได้คิดไปแข่งกับใคร เพราะผู้นำอันดับหนึ่งทิ้งห่างไปมากทั้งเรื่องจำนวนสาขาและรายได้ แต่เราก็จะเป็นผู้นำได้ในแง่ของชื่อเสียงและแบรนด์ ส่วนเราสนใจจะขอสิทธิ์ทำแฟมิลี่มาร์ทในต่างประเทศหรือไม่นั้น ตอนนี้ยังไม่ได้เจรจากันแต่เราก็สนใจทุกอย่าง”
บริษัทคาดว่าสิ้นปีนี้ายได้ซีอาร์ซีจะมีประมาณ 150,000 ล้านบาท จากเดิม 140,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มธุรกิจอาหารประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มเป็น 36,000 ล้านบาท หลังจากได้ธุรกิจแบรนด์แฟมิลี่มาร์ท เข้ามาเสริมซึ่งแฟมิลี่มาร์ทมีรายได้รวมเมื่อปีที่แล้วประมาณ 10,598 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2555 นี้แฟมิลี่มาร์ทจะมีรายได้รวม 12,000 ล้านบาท เติบโต 20%
นายอุเอะเดะ จุนจิ ประธานกรรมการบริษัท บริษัท แฟมิลี่มาร์ท(ประเทศญี่ปุ่น) กล่าวว่า ใช้เวลา 1 ปีในการเจรจากับทางกลุ่มเซ็นทรัล โดยดูที่มูลค่าการซื้อขาย และประวัติของกลุ่มนี้จึงมั่นใจในศักยภาพดเซ็นทรัล อีกทั้งตลาดคอนวีเนียนสโตร์ไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของจำนวนประชากรเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยญี่ปุ่นนมีประชากรประมาณ 2,800คนต่อ1ร้าน ไต้หวันประมาณ 2,500 คนต่อ1ร้าน เกาหลีใกล้เคียงกับไต้หวัน ส่วนไทยมีประมาณ 6,800 คนต่อ1ร้าน เท่ากับว่ายังมีโอกาสเปิดได้อีกมาก
โดยแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นตั้งเป้าหมาย จะมีสาขาครบ 20,000 สาขา ในปี 2554 ซึ่งบรรลุไปแล้วเพราะปัจจุบันมีถึง 21,222 สาขาทั่วโลก เป็นเบอร์สองของโลก เป้าหมายต่อไปในปี 2558 จะมีสาขาครบ 25,000 สาขาทั่วโลก และเพิ่มเป็น 40,000 สาขาในปี 2563 ซึ่งในเดือนหน้าก็จะเปิดสาขาแรกที่อินโดนีเซีย และฟิลิปินส์สาขาแรกในปลายปีนี้ ส่วนตลาดพม่าและอินเดียจะขยายต่อไป
“กว่า 20 ปีที่แฟมิลี่มาร์ทเข้ามาในไทย ประสบกับความยากลำบากมามาก เช่นวิกฤติเศรษฐกิจปี 2541 และวิกฤติต่างๆในไทยเรื่อยมา รวมทั้งวิกฤติโลกด้วย ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทแม่ส่งทีมบริหารคนญี่ปุ่นเข้ามาเพื่อกระตุ้นธุรกิจ ซึ่งทำให้ขณะนี้เริ่มมีผลกำไรแล้ว และมีสาขา 746 แห่ง ขั้นที่สองจากนี้คือการหาพันธมิตรที่มีศักยภาพซึ่งเราก็ได้แล้วคือ กลุ่มเซ็นทรัล”
**เซเว่นฯไม่หวั่นเซ็นทรัลฮุบแฟมืลี่มาร์ท **
นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางเซ็นทรัลรีเทลเข้าถือหุ้นในแฟมิลี่มาร์ทอย่างเป็นทางการ มองว่าจะส่งผลดีต่อตลาดคอนวีเนียนสโตร์ ที่จะช่วยเพิ่มอำนาจสร้างความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
สำหรับร้านเซเว่นฯเอง ไม่ได้มองว่าต้องแข่งขันมากขึ้น เพราะหลังจากที่ปรับโพซิชั่นนิ่งจากร้านสะดวกซื้อมาเป็น อิ่มสะดวกในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ทำให้เรามุ่งเน้นแข่งขันกับตัวเองเป็นหลัก ส่วนตลาดก็ยังมีช่องว่างในการเปิดร้านคอนวีเนียนสโตร์ตามสภาพความต้องการของสังคมเมืองที่เติบโตขึ้น และไลฟ์สไตล์ครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง ที่จะนิยมซื้อสินค้าไซซ์เล็ก
อย่างไรก็ตาม เซเว่นฯยังเดินหน้า ดำเนินตามกลยุทธ์ 7 มื้อ คือ เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ก่อนนอน และสำหรับลูกค้าที่ทำงานกะดึก ตามโพซิชั่นนิ่งของการเป็นร้านอิ่มสะดวก ล่าสุดทุ่มงบประมาณกว่า 20 ล้านบาท นำเสนอสินค้าสำหรับเทศกาลอาหารเจกว่า 300 เมนู เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 20 เมนู มั่นใจว่า 1.จะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าให้เข้าร้านถี่ขึ้นจาก 2-3ครั้ง เป็น 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ 2.ตอกย้ำภาพลักษณ์ร้านอิ่มสะดวก และ 3.สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 14-23 ต.ค.นี้ รวม 10 วัน เชื่อว่าจะมียอดขายจากกลุ่มอาหารเจกว่า 400 ล้านบาท เติบโตขึ้น 30% จากปีก่อนโตราว 20% คิดเป็นสัดส่วนรายได้เพียง 1% เทียบกับตลาดรวมอาหารเจมูลค่า 40,000 ล้านบาท ที่เติบโตขึ้นปีละ 5%
สำหรับสินค้ากลุ่มอาหารเจ ประกอบด้วย อาหารแช่แข็ง, อาหารกล่องแช่เย็น, ซาลาเปา, น้ำผลไม้, ขนมปังเจ, อาหารสำเร็จรูป, นมถั่วเหลืองยูเอชที, อาหารแห้ง/กระป๋อง และขนม เชื่อว่าในกลุ่มอาหารแช่แข็งและแช่เย็น จะมียอดขายรวมที่ 4.4 ล้านกล่อง ส่วนซาลาเปาและเบเกอรี่ ขนมปัง คาดว่าจะขายได้ 14 ล้านชิ้น ขณะนี้เมนูอาหารเจที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ข้าวกระเพราทรงเครื่องเจ
โดยปีนี้เพิ่มเมนูพิเศษขึ้นมาอีกหลายรายการ เช่น ข้างแกงเผ็ดเป็ดย่างเจ, ข้าวลาบเจ, เกี๊ยวซ่าไส้ผักเจ, ข้าวเหนียวลาบเจ ที่ยังคงวางราคาจำหน่ายเฉลี่ยที่ 29-35 บาท นอกจากนี้ยังมี บิ๊กเปาวุ้นเส้นสี่สหาย, เปาถั่วแดงงาดำ เพิ่มเข้ามาอีก เป็นต้น