ASTVผู้จัดการรายวัน-เตือนกรุงเทพฯ รับมือน้ำท่วม ระบุปลายสัปดาห์นี้ฝนจะตกหนักมากขึ้น กรมชลฯ จับมือกทม. เตรียมแผนระบายน้ำออกฝั่งตะวันตกและตะวันออก ตำรวจประกาศเตือน 21 จุดวิกฤต ช่วงฝนตกอย่าขับรถผ่าน ด้านคมนาคมเตรียมชงผลสรุปแก้ปัญหาฝนตกรถติดให้นายกฯ 2 ต.ค.นี้ เน้นเพิ่มความไวย้ายรถเสีย รถชน จัดระเบียบรถตู้ เพิ่มปั๊มน้ำ และแก้ปัญหาคอขวด
นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้ว่า เกิดจากฝนตกจากร่องมรสุมตามฤดูปกติที่พาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก ลักษณะของฝนตกไม่กระจาย แต่ตกเป็นหย่อมๆ ตกแช่อยู่เป็นชั่วโมงสองชั่วโมง ก็จะเกิดน้ำท่วมขัง เช่นที่เห็นในกรุงเทพฯ และ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งจะท่วมขังไม่นาน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่มาก ไม่เกิดผลกระทบจนทำให้ล้นตลิ่ง แม้จะมีน้ำทะเลหนุนสูง ก็จะไม่มีผลอะไร อีก7-10วันฝนจะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะร่องมรสุมเลื่อนลงภาคใต้
“ร่องมรสุมเวลาพาดผ่านภาคกลาง กรุงเทพฯ เป็นธรรมดาต้องเจอปัญหาน้ำท่วมขัง เพราะพื้นที่กรุงเทพฯ แบนราบ ไม่มีความลาดเอียง การระบายน้ำทำได้ยาก ต้องใช้การสูบออก ซึ่งเป็นปัญหาของกรุงเทพฯ ต้องตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มขึ้นตามจุดแอ่งกะทะจะช่วยได้มาก แต่จะคลี่คลายเร็ว เพราะอยู่ติดอ่าวไทย น้ำทะเลหนุนสูงเกี่ยวกับปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่มาก ไม่ส่งผลกระทบใดๆ”นายปราโมทย์กล่าว
วันเดียวกัน ที่ตึกสำนักงานนโยบายบริหารจัดการน้ำ (สบอช.) ทำเนียบรัฐบาล น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และนายพิพัฒน์ เรืองงาม ผู้อำนวยการ สบอช. ร่วมแถลงสถานการณ์น้ำว่า ตั้งแต่วันที่ 26-30 ก.ย. จะมีฝนตกหนักมากขึ้น และจะมากกว่าวันที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ เนื่องจากร่องมรุสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยประชาชนในพื้นที่ จ.ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงาและกระบี่ ในพื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลระวังน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม
ส่วนกรุงเทพฯ จะมีปริมาณฝนตกมากขึ้น อาจเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ที่เป็นทางไหลผ่านของน้ำ โดยมีการติดตั้งเรือผลักดันน้ำ เพื่อให้มีการระบายน้ำได้เร็วขึ้น แต่ยังคงมีขยะเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำและการระบายน้ำจากท่อลงไปยังคลองต่างๆ ทำได้ช้า เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ประสานกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเร่งระบายน้ำแล้ว ทั้งการผันน้ำไปพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า วานนี้ (26 ก.ย.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีประกาศเตือนผู้ใช้รถใช้ถนน โดยระบุว่า จากเหตุฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพฯ พบ 21 จุดวิกฤต ที่มีรถติดหนัก หากไม่จำเป็นไม่ควรผ่านในช่วงฝนตกหนัก ได้แก่
1.รัชดาภิเษก บริเวณหน้าห้างโรบินสัน 2.ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ แยกห้วยขวาง แยกหน้าเขต 3.ถนนศรีอยุธยา หน้าวังสวนผักกาด 4.ถนนประชาสุข แยกประชาสุข-แยกห้วยขวาง 5.หน้าโรงเรียนพิบูล-แยกด่วนดินแดง (คู่ขนาน) 6.หน้า สน.พญาไท-แยกศรีอยุธยา 7.รามคำแหงขาอกอ-เข้ารามคำแหง 21-26 ช่องทางซ้าย 8.รามคำแหงซอย 24 9.รามคำแหงซอย 26 10.ถนนรัชดาภิเษก ขาออก หน้าสถานทูตจีน 11.ถนนเพชรบุรีขาเข้า แยกเป๊ปซี่-อโศกเพชรบุรี 12.แยกอโศก-แยกอโศกเพชรบุรี 13.แยกแม่พระ-แยกพระราม 9 (ช่องทางซ้าย) 14.ถนนวิภาวดีรังสิต ขาออกหน้าร.1 รอ.-สโมสรทหารบก 15.หน้า NBT-ใต้ทางด่วนดินแดง 16.อโศกทางลัด ซอย31 ,33 และ 39 17.ถนนพลหโยธินขาออก ก่อนถึงแยกเกษตร (ช่องทางซ้าย) 18.ถนนนครชัยศรี บริเวณหน้ากรมสรรพสามิต 19.ถนนรัชดาภิเษก หน้าฟอร์จูนขาเข้า-แยกพระราม 9 20.ถนนพัฒนาการ ซ.9-ซ.17 21.ถนนพัฒนาการ ซ.13, ซ.15 , ซ.17 บริเวณตรงข้ามบริษัททรู
ที่กระทรวงคมนาคม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานการประชุมแก้ปัญหาจราจรในกทม. ร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร (กทม.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก 02) เพื่อสรุปสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาจราจรในช่วงที่ผ่านมา
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมว่า ปัญหาหลักของรถติดช่วงฝนตกน้ำท่วม คือ มีอุบัติเหตุหรือรถจอดเสียแล้วเคลื่อนย้ายออกจากถนนช้า ซึ่งมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ทำแผนการยกรถออกจากถนนให้เร็วที่สุด โดยให้เวลา 7 วัน ส่วนรถตู้ที่จอดกีดขวางไม่เป็นระเบียบถึง 12 จุด เช่น ดอนเมือง,สถานีรถไฟฟ้า BTS ให้ขบ.ส่งสายตรวจเข้าไปจัดระเบียบเป็นเวลา 2 เดือน ส่วนปัญหาน้ำท่วมขังพบใน5 จุดใหญ่ๆ เช่น ดินแดง,รัชดาภิเษก,สุขุมวิทเป็นต้น เบื้องต้นกรมโยธาธิการได้นำเครื่องปั๊มน้ำขนาด 0.5 คิวต่อวินาที จำนวน 20 ตัวจากอยุธยามาช่วยระบายน้ำ และอีก 20 ตัวจะถึงกทม.ในวันนี้ (27 ก.ย.) โดยให้กทม.ประเมินว่าจะนำปั๊มน้ำไปติดตั้งจุดไหนบ้าง
สำหรับการแก้ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการแก้จุดที่เป็นคอขวด เช่น ให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ขยายผิวจราจรของถนนราชพฤกษ์จุดเชื่อมกับถนนบรมราชชนนีอีก 1 ช่อง และให้กรมทางหลวง (ทล.) แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบนถนนวิภาวดี พหลโยธิน บริเวณห้างสรรพสินค้าเชียร์รังสิต โดยให้เพิ่มปั๊มเพื่อเตรียมระบายน้ำในจุดที่เป็นปัญหาให้มากยิ่งขึ้น ส่วนระยะกลางและระยะยาวนั้น เป็นเรื่องของระบบขนส่งมวลชนที่ต้องดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ จะรายงานผลสรุปทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีในวันที่ 2 ต.ค.นี้
ส่วนการให้ข้าราชการเหลื่อมเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร สามารถทำได้ มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับอยู่แล้ว ซึ่งเวลาที่กำหนดไว้มี 3 ช่วงเวลา คือ 1.ทำงานเวลา7.30 น. กลับ 15.30 น. 2.ทำงานเวลา 08.30 น. กลับ 16.30 น. และ3.ทำงานเวลา 09.30น. กลับ 17.30 น. แต่เห็นว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะไม่ช่วยแก้ปัญหาจราจรได้มากนัก เพราะมีข้าราชการประมาณ 3% เท่านั้นที่ใช้รถส่วนตัว แต่จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการที่ได้หลับบ้านเร็วขึ้น
นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้ว่า เกิดจากฝนตกจากร่องมรสุมตามฤดูปกติที่พาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก ลักษณะของฝนตกไม่กระจาย แต่ตกเป็นหย่อมๆ ตกแช่อยู่เป็นชั่วโมงสองชั่วโมง ก็จะเกิดน้ำท่วมขัง เช่นที่เห็นในกรุงเทพฯ และ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งจะท่วมขังไม่นาน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่มาก ไม่เกิดผลกระทบจนทำให้ล้นตลิ่ง แม้จะมีน้ำทะเลหนุนสูง ก็จะไม่มีผลอะไร อีก7-10วันฝนจะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะร่องมรสุมเลื่อนลงภาคใต้
“ร่องมรสุมเวลาพาดผ่านภาคกลาง กรุงเทพฯ เป็นธรรมดาต้องเจอปัญหาน้ำท่วมขัง เพราะพื้นที่กรุงเทพฯ แบนราบ ไม่มีความลาดเอียง การระบายน้ำทำได้ยาก ต้องใช้การสูบออก ซึ่งเป็นปัญหาของกรุงเทพฯ ต้องตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มขึ้นตามจุดแอ่งกะทะจะช่วยได้มาก แต่จะคลี่คลายเร็ว เพราะอยู่ติดอ่าวไทย น้ำทะเลหนุนสูงเกี่ยวกับปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่มาก ไม่ส่งผลกระทบใดๆ”นายปราโมทย์กล่าว
วันเดียวกัน ที่ตึกสำนักงานนโยบายบริหารจัดการน้ำ (สบอช.) ทำเนียบรัฐบาล น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และนายพิพัฒน์ เรืองงาม ผู้อำนวยการ สบอช. ร่วมแถลงสถานการณ์น้ำว่า ตั้งแต่วันที่ 26-30 ก.ย. จะมีฝนตกหนักมากขึ้น และจะมากกว่าวันที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ เนื่องจากร่องมรุสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยประชาชนในพื้นที่ จ.ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงาและกระบี่ ในพื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหลระวังน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม
ส่วนกรุงเทพฯ จะมีปริมาณฝนตกมากขึ้น อาจเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ที่เป็นทางไหลผ่านของน้ำ โดยมีการติดตั้งเรือผลักดันน้ำ เพื่อให้มีการระบายน้ำได้เร็วขึ้น แต่ยังคงมีขยะเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำและการระบายน้ำจากท่อลงไปยังคลองต่างๆ ทำได้ช้า เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ประสานกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อเร่งระบายน้ำแล้ว ทั้งการผันน้ำไปพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกและตะวันตก
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า วานนี้ (26 ก.ย.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีประกาศเตือนผู้ใช้รถใช้ถนน โดยระบุว่า จากเหตุฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพฯ พบ 21 จุดวิกฤต ที่มีรถติดหนัก หากไม่จำเป็นไม่ควรผ่านในช่วงฝนตกหนัก ได้แก่
1.รัชดาภิเษก บริเวณหน้าห้างโรบินสัน 2.ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ แยกห้วยขวาง แยกหน้าเขต 3.ถนนศรีอยุธยา หน้าวังสวนผักกาด 4.ถนนประชาสุข แยกประชาสุข-แยกห้วยขวาง 5.หน้าโรงเรียนพิบูล-แยกด่วนดินแดง (คู่ขนาน) 6.หน้า สน.พญาไท-แยกศรีอยุธยา 7.รามคำแหงขาอกอ-เข้ารามคำแหง 21-26 ช่องทางซ้าย 8.รามคำแหงซอย 24 9.รามคำแหงซอย 26 10.ถนนรัชดาภิเษก ขาออก หน้าสถานทูตจีน 11.ถนนเพชรบุรีขาเข้า แยกเป๊ปซี่-อโศกเพชรบุรี 12.แยกอโศก-แยกอโศกเพชรบุรี 13.แยกแม่พระ-แยกพระราม 9 (ช่องทางซ้าย) 14.ถนนวิภาวดีรังสิต ขาออกหน้าร.1 รอ.-สโมสรทหารบก 15.หน้า NBT-ใต้ทางด่วนดินแดง 16.อโศกทางลัด ซอย31 ,33 และ 39 17.ถนนพลหโยธินขาออก ก่อนถึงแยกเกษตร (ช่องทางซ้าย) 18.ถนนนครชัยศรี บริเวณหน้ากรมสรรพสามิต 19.ถนนรัชดาภิเษก หน้าฟอร์จูนขาเข้า-แยกพระราม 9 20.ถนนพัฒนาการ ซ.9-ซ.17 21.ถนนพัฒนาการ ซ.13, ซ.15 , ซ.17 บริเวณตรงข้ามบริษัททรู
ที่กระทรวงคมนาคม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานการประชุมแก้ปัญหาจราจรในกทม. ร่วมกับหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร (กทม.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก 02) เพื่อสรุปสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาจราจรในช่วงที่ผ่านมา
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมว่า ปัญหาหลักของรถติดช่วงฝนตกน้ำท่วม คือ มีอุบัติเหตุหรือรถจอดเสียแล้วเคลื่อนย้ายออกจากถนนช้า ซึ่งมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ทำแผนการยกรถออกจากถนนให้เร็วที่สุด โดยให้เวลา 7 วัน ส่วนรถตู้ที่จอดกีดขวางไม่เป็นระเบียบถึง 12 จุด เช่น ดอนเมือง,สถานีรถไฟฟ้า BTS ให้ขบ.ส่งสายตรวจเข้าไปจัดระเบียบเป็นเวลา 2 เดือน ส่วนปัญหาน้ำท่วมขังพบใน5 จุดใหญ่ๆ เช่น ดินแดง,รัชดาภิเษก,สุขุมวิทเป็นต้น เบื้องต้นกรมโยธาธิการได้นำเครื่องปั๊มน้ำขนาด 0.5 คิวต่อวินาที จำนวน 20 ตัวจากอยุธยามาช่วยระบายน้ำ และอีก 20 ตัวจะถึงกทม.ในวันนี้ (27 ก.ย.) โดยให้กทม.ประเมินว่าจะนำปั๊มน้ำไปติดตั้งจุดไหนบ้าง
สำหรับการแก้ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการแก้จุดที่เป็นคอขวด เช่น ให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ขยายผิวจราจรของถนนราชพฤกษ์จุดเชื่อมกับถนนบรมราชชนนีอีก 1 ช่อง และให้กรมทางหลวง (ทล.) แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบนถนนวิภาวดี พหลโยธิน บริเวณห้างสรรพสินค้าเชียร์รังสิต โดยให้เพิ่มปั๊มเพื่อเตรียมระบายน้ำในจุดที่เป็นปัญหาให้มากยิ่งขึ้น ส่วนระยะกลางและระยะยาวนั้น เป็นเรื่องของระบบขนส่งมวลชนที่ต้องดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ จะรายงานผลสรุปทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีในวันที่ 2 ต.ค.นี้
ส่วนการให้ข้าราชการเหลื่อมเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร สามารถทำได้ มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับอยู่แล้ว ซึ่งเวลาที่กำหนดไว้มี 3 ช่วงเวลา คือ 1.ทำงานเวลา7.30 น. กลับ 15.30 น. 2.ทำงานเวลา 08.30 น. กลับ 16.30 น. และ3.ทำงานเวลา 09.30น. กลับ 17.30 น. แต่เห็นว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะไม่ช่วยแก้ปัญหาจราจรได้มากนัก เพราะมีข้าราชการประมาณ 3% เท่านั้นที่ใช้รถส่วนตัว แต่จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของข้าราชการที่ได้หลับบ้านเร็วขึ้น