ศูนย์ข่าวภูมิภาค - น้ำท่วม "บางระกำ" ขยายวงกว้าง น้ำยมทะลักเพิ่มวันละ 10-15 ซม.ชาวบ้านโอดน้ำเริ่มเน่าจากเศษซากวัชพืชส่งกลิ่นเหม็น เช่นเดียวกับที่ "ชัยภูมิ-อ่างทอง" หลังจมน้ำมากว่า 2 สัปดาห์ทำให้น้ำเน่าเหม็นแล้ว และชาวบ้านป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าจำนวนมาก ขณะที่หลายจังหวัดสถานการณ์ยังอ่วม ศูนย์เตือนภัยพิบัติฯ จับตาเกิดพายุในทะเลจีนใต้ สั่งเฝ้าระวังภาคใต้ฝนตกหนักอาจเกิดดินสไลด์ปิดถนน
สถานการณ์น้ำท่วม จ.พิษณุโลก เริ่มมาหนักที่เขต อ.บางระกำ ในหลายตำบล มวลน้ำจากแม่น้ำยมสายหักและแม่น้ำยมสายเก่าได้มารวมกันที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำในแม่น้ำยมเกินกว่าจุดวิกฤตล้นตลิ่ง 7 เมตร โดยวานนี้ (20 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 8.19 เมตร หรือเพิ่มวันละ 10-15 ซ.ม.และแนวโน้มยังคงเพิ่มสูงต่อเนื่อง ส่วนน้ำจาก อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก อ.กงไกรลาศ และ อ.เมือง จ.สุโขทัยเริ่มลดระดับลงมา ส่งผลให้น้ำที่ท่วมขังทุ่งนาในเขต ต.ท่านางงาม ต.ชุมสงสงคราม ต.บางระกำ ต.คุยม่วง เริ่มขยายวงกว้างและเพิ่มระดับสูงขึ้นด้วยประมาณการว่ามีน้ำท่วมขังในเขต อ.บางระกำขณะนี้ประมาณ 50,000 ไร่
ที่บ้านวังแร่ ม.3 ต.ชุมแสงสงคราม อ.เมืองพิษณุโลก น้ำที่หลากท่วมทุ่งนาบริเวณนี้กว้างมากเหมือนทุกปี จนเหมือนทะเลสาบ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบกับผลผลิต เนื่องจากนาข้าวทั้งหมดได้เก็บเกี่ยวไปก่อนน้ำท่วมแล้ว ในทุ่งนาเต็มไปด้วยเรือประมงขนาดเล็กออกหาปลา วางข่าย ตั้งลอบ เป็นการกอบโกยรายได้เสริมในช่วงเวลาน้ำท่วม
อย่างไรก็ตาม น้ำท่วมบางระกำปี 2555 นี้ ชาวประมงพื้นบ้านบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ปีนี้หาปลาได้น้อยกว่าน้ำท่วมปี 2554 มาก เนื่องจากน้ำมาท่วมช้า และขณะน้ำที่ท่วมขังกำลังเริ่มเน่าเหม็นจากเศษวัชพืชที่ทับถมกันใต้น้ำแล้ว ทำให้ปลาหนีไปหาน้ำใหม่ที่ท้ายน้ำ
**ชาวบ้านพิจิตรสร้างเพิงพักริมถนน
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พิจิตร ได้ขยายวงกว้างและวิกฤตมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 9 ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง ชาวบ้านต้องลงทุนซื้อวัสดุ เช่น ไม้ ตะปู เพื่อใช้ในการก่อสร้างเพิงพัก บนถนน หลังจากน้ำจากแม่น้ำยมเพิ่มระดับสูงอย่างต่อเนื่องจนท่วมพื้นที่บ้านซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ ชาวบ้านจึงต้องสร้างเพิ่งพักเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และใช้เป็นที่เก็บของมีค่า เช่น รถจักรยานยนต์ และเครื่องมือทางการเกษตร
**น้ำชัยภูมิเน่าแล้ว-ชาวบ้านป่วยอื้อ
ส่วน จ.ชัยภูมิ สถานการณ์หลังน้ำชีทะลักล้นบึงละหาน ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 18,500 ไร่ ติดอันดับ 4 ของประเทศ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรใน 5 หมู่บ้าน ของ ต.ละหาน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ สูงต่อเนื่องกว่าเมตร ชาวบ้านกว่า 2,000 คน กว่า 512 หลังคาเรือนถูกตัดขาดนานกว่า 2 สัปดาห์ นักเรียนกว่า 312 คนต้องนั่งเรือมาเรียน ล่าสุดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 5 หมู่บ้านในหมู่ 2,10,13,16 และหมู่ 17 ของต.ละหาน เริ่มมีระดับลดลงกว่า 50 ซ.ม.แล้ว จากระดับกว่า 1.5 เมตร และยังมีพื้นที่บ้านเรือนราษฎรบางส่วนในหมู่ 2,16 และ 17 อีกกว่า 300 หลังคาเรือน ถูกน้ำท่วมขังมานานกว่า 2 สัปดาห์ มีระดับสูงเกือบ1เมตรอยู่ ซึ่งเริ่มเกิดปัญหาเกิดน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นมาก และมีประชาชน เด็กนักเรียนที่ต้องพากันลุยน้ำเข้าออกชุมชนบ่อยครั้งเกิดป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าแล้วจำนวนมากหลายร้อยคนด้วยเช่นกัน
**"โผงเผง"ตัดกล้วยทิ้งหลังจมน้ำเน่าเหม็น
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม จ.อ่างทอง ชาวบ้านในหมู่ที่ 5 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องตัดต้นกล้วยหลายร้อยต้นในสวนทิ้งจนเกือบหมด หลังน้ำในคลองโผงเผง คลองสาขาแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักล้นคันกั้นน้ำเข้าท่วมสวนกล้วย และบ้านเรือนตั้งแต่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สูงกว่า 60 ซม.ทำให้กล้วยเริ่มทยอยยืนต้นตาย และทำให้น้ำที่ท่วมขังบริเวณดังกล่าวเกิดการเน่าเสีย เนื่องจากยังไม่สามารถที่จะระบายออกได้
**อรัญฯน้ำเริ่มลดลง-รัฐเร่งช่วยปชช.
ด้านสถานการณ์น้ำท่วม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ที่บริเวณหน้า บขส.อรัญประเทศ ระดับน้ำได้ลดลง แต่รถเล็กยังไม่สามารถวิ่งผ่านไปมาได้ ส่วนที่บริเวณหอนาฬิกา หน่วยทหารและหน่วยกู้ภัย ได้นำรถของทหาร วิ่งบริการรับ-ส่งประชาชน นอกจากนี้ ต.บ้านใหม่หนองไทร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเช่นเดียวกัน ผู้บริหารท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ตั้งจุดบริการอาหารและน้ำดื่มให้กับเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ประสบอุทกภัยด้วย
**ปราจีนฯยังอ่วมหนักน้ำยังท่วมสูง
ส่วนที่ชาวชุมชนตลาดเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ชาวบ้านยังคงต้องใช้เรือในการเข้าออกพื้นที่และอาศัยอยู่บนชั้น 2 ของบ้าน เนื่องจากยังมีน้ำท่วมสูงอยู่ประมาณ 2 เมตรและยังไหลเข้าท่วมตลาดเทศบาลกบินทร์
สำหรับพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี ต้องรับน้ำจากเขาสอยดาว และจาก จ.สระแก้ว คลองพระสทึง และแควพระปรง ซึ่งขณะนี้ประสบภัยแล้ว 10 ตำบล 62 หมู่บ้าน ขณะเดียวกันมวลน้ำเริ่มไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ของ อ.ศรีมหาโพธิ์ ส่งผลให้ถนนในตลาดท่าตูม ถูกน้ำท่วม แต่รถยนต์ยังสามารถสัญจรได้ ส่วนในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ถูกน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรีไหลเข้าท่วมถนนบางจุด มีน้ำท่วมประมาณ 20 เซนติเมตร
**จับตาพายุลูกใหม่ในทะเลจีนใต้
ที่ตึกสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ทำเนียบรัฐบาล น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่า ภาพรวมในทุกพื้นที่ดีขึ้นแต่มีบางมีพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระวัง คือ จ.ปราจีนบุรี และลุ่มน้ำบางปะกง ซึ่งระดับน้ำใน อ.เมืองปราจีนบุรี ต่ำกว่าตลิ่ง 17 ซ.ม.ส่วนระดับน้ำของลุ่มน้ำปราจีนบุรีโดยเฉพาะ อ.อรัญประเทศ และ อ.เมืองสระแก้ว ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ อ.ศรีมหาโพธิ์ และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ยังมีระดับน้ำที่ทรงตัว แต่กำลังลดระดับตามการไหลของน้ำ ส่วนสถานการณ์ฝนในภาคตะวันออกลดลงและไม่มีผลกระทบ ซึ่งถ้าจากนี้ไปยังเป็นเช่นนี้อยู่ เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
สำหรับสภาพอากาศและฝนตอนนี้เบาบางลง และกำลังเคลื่อนตัวไปยังภาคเหนือ จึงมีฝนตกในบางพื้นที่ของ จ.สุโขทัย ทำให้ปริมาณน้ำใน จ.สุโขทัย อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก และ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ที่ได้ลดลงไป กลับเพิ่มขึ้นหรืออยู่ในระดับทรงตัว แต่ยังไม่ส่งผลกระทบใดๆเพราะฝนตกลงมาไม่มาก แต่ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด
น.อ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า พื้นที่ภาคกลางระดับน้ำในคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่าตลิ่งแล้ว แต่ยังเหลือคลองโผงเผง จ.อ่างทอง และคลองบางหลวง ที่มีปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ระบายน้ำที่ 1,600 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะที่น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯนั้นต่ำกว่าตลิ่ง 1 เมตรรวมถึงยังไม่มีน้ำทะเลหนุนในตอนนี้ แต่จะกลับมาหนุนอีกครั้งในวันที่ 26 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา มีฝนตกจำนวนมากในฝั่งธนบุรีขอกรุงเทพฯ จ.ราชบุรี รวมถึง อ.นครชัยศรี และ อ.บางเลน จ.นครปฐม ทำให้ปริมาณน้ำใน จ.นครปฐม ทรงตัว ทั้งนี้ กทม.จะมีฝนตกในปริมาณที่น้อยลง ในช่วงบ่ายถึงค่ำจนถึงวันที่ 22 ก.ย.นี้ก่อนที่ฝนจะเคลื่อนไปยังภาคเหนือและอีสาน จากนั้นจะมีฝนตกที่ กทม.อีกครั้งในวันที่ 25-26 ก.ย.ซึ่งเรากำลังจับตาการก่อตัวของพายุในทะเลจีนใต้ว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งถ้าพายุขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม เราก็ต้องเตรียมรับมือในภาคอีสานตอนล่าง เช่น จ.อุบลราชธานี นอกจากนี้ เราต้องเฝ้าระวังพื้นที่ภาคใต้ใน จ.พังงา ระนอง และ ชุมพร ที่เริ่มมีฝนตกจะทำให้ดินชุ่มน้ำอย่างมากส่งผลให้เกิดดินสไลด์ลงสู่ถนน จนไม่สามารถสัญจรได้
**"ปลอด"แนะ กทม.วางท่อบนถนนเพิ่ม
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณากระทู้ถามสดของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่ถาม รมว.ทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องวิกฤตการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยเห็นว่า น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นการท่วมเฉพาะกิจ จึงตั้งคำถามว่างบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาทที่ให้กรุงเทพฯ นำไปดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำได้ดำเนินการหรือไม่ และตั้งข้อสงสัย เรื่องการสร้างอุโมงค์ยักษ์ของกรุงเทพฯ ที่ไม่สามารถใช้ระบายน้ำได้จริง
ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเชื่อว่า กรุงเทพฯน่าจะนำไปดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำ โดยจะไปตรวจสอบอีกครั้ง แต่ปัญหาใหญ่คือเรื่องท่อระบายน้ำ จึงแนะนำกรุงเทพฯให้วางท่อบนถนน เพราะใต้ดินไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำ ซึ่งรัฐบาลยินดีและพร้อมร่วมมือช่วยเหลือกรุงเทพฯอย่างเต็มที่ รวมทั้งเห็นว่า ต้องปรับวิธีการเก็บเศษขยะในน้ำให้เหมาะสม
**กทม.ยันอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำได้
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสถานีสูบน้ำคลองเเสนเเสบ-คลองหนองจอกว่า สถานีสูบน้ำคลองแสนแสบ-หนองจอก ที่ทางกรมชลประทานอยู่ระหว่างการเร่งสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังเพิ่มเครื่องสูบน้ำที่บริเวณ อ.ท่าไข่ และ อ.บางขนาก จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเพิ่มการระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย ทั้งนี้ กทม. และกรมชลประทานร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และในวันที่ 21 ก.ย.นี้ จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ
"สถานการณ์ขณะนี้ยอมรับว่าระดับน้ำสูงมาก ทั้งในและนอกสถานี เนื่องจากที่ผ่านมามีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยระดับน้ำด้านนอกสถานีอยู่ที่ระดับ 1.68 เมตร จากระดับปกติ 1.30 เมตร ด้านในสถานีอยู่ที่ระดับ 1.06 เมตร จากระดับปกติ 90 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 30 เซนติเมตร "
ด้านนายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ยินดีที่จะให้รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอุโมงค์ยักษ์ แต่หากไปตรวจสอบก็จะเห็นแค่เครื่องดักขยะ เนื่องจากอุโมงค์อยู่ใต้ดิน
สถานการณ์น้ำท่วม จ.พิษณุโลก เริ่มมาหนักที่เขต อ.บางระกำ ในหลายตำบล มวลน้ำจากแม่น้ำยมสายหักและแม่น้ำยมสายเก่าได้มารวมกันที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำในแม่น้ำยมเกินกว่าจุดวิกฤตล้นตลิ่ง 7 เมตร โดยวานนี้ (20 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 8.19 เมตร หรือเพิ่มวันละ 10-15 ซ.ม.และแนวโน้มยังคงเพิ่มสูงต่อเนื่อง ส่วนน้ำจาก อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก อ.กงไกรลาศ และ อ.เมือง จ.สุโขทัยเริ่มลดระดับลงมา ส่งผลให้น้ำที่ท่วมขังทุ่งนาในเขต ต.ท่านางงาม ต.ชุมสงสงคราม ต.บางระกำ ต.คุยม่วง เริ่มขยายวงกว้างและเพิ่มระดับสูงขึ้นด้วยประมาณการว่ามีน้ำท่วมขังในเขต อ.บางระกำขณะนี้ประมาณ 50,000 ไร่
ที่บ้านวังแร่ ม.3 ต.ชุมแสงสงคราม อ.เมืองพิษณุโลก น้ำที่หลากท่วมทุ่งนาบริเวณนี้กว้างมากเหมือนทุกปี จนเหมือนทะเลสาบ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบกับผลผลิต เนื่องจากนาข้าวทั้งหมดได้เก็บเกี่ยวไปก่อนน้ำท่วมแล้ว ในทุ่งนาเต็มไปด้วยเรือประมงขนาดเล็กออกหาปลา วางข่าย ตั้งลอบ เป็นการกอบโกยรายได้เสริมในช่วงเวลาน้ำท่วม
อย่างไรก็ตาม น้ำท่วมบางระกำปี 2555 นี้ ชาวประมงพื้นบ้านบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ปีนี้หาปลาได้น้อยกว่าน้ำท่วมปี 2554 มาก เนื่องจากน้ำมาท่วมช้า และขณะน้ำที่ท่วมขังกำลังเริ่มเน่าเหม็นจากเศษวัชพืชที่ทับถมกันใต้น้ำแล้ว ทำให้ปลาหนีไปหาน้ำใหม่ที่ท้ายน้ำ
**ชาวบ้านพิจิตรสร้างเพิงพักริมถนน
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พิจิตร ได้ขยายวงกว้างและวิกฤตมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ที่ 9 ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง ชาวบ้านต้องลงทุนซื้อวัสดุ เช่น ไม้ ตะปู เพื่อใช้ในการก่อสร้างเพิงพัก บนถนน หลังจากน้ำจากแม่น้ำยมเพิ่มระดับสูงอย่างต่อเนื่องจนท่วมพื้นที่บ้านซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ ชาวบ้านจึงต้องสร้างเพิ่งพักเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย และใช้เป็นที่เก็บของมีค่า เช่น รถจักรยานยนต์ และเครื่องมือทางการเกษตร
**น้ำชัยภูมิเน่าแล้ว-ชาวบ้านป่วยอื้อ
ส่วน จ.ชัยภูมิ สถานการณ์หลังน้ำชีทะลักล้นบึงละหาน ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 18,500 ไร่ ติดอันดับ 4 ของประเทศ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรใน 5 หมู่บ้าน ของ ต.ละหาน อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ สูงต่อเนื่องกว่าเมตร ชาวบ้านกว่า 2,000 คน กว่า 512 หลังคาเรือนถูกตัดขาดนานกว่า 2 สัปดาห์ นักเรียนกว่า 312 คนต้องนั่งเรือมาเรียน ล่าสุดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 5 หมู่บ้านในหมู่ 2,10,13,16 และหมู่ 17 ของต.ละหาน เริ่มมีระดับลดลงกว่า 50 ซ.ม.แล้ว จากระดับกว่า 1.5 เมตร และยังมีพื้นที่บ้านเรือนราษฎรบางส่วนในหมู่ 2,16 และ 17 อีกกว่า 300 หลังคาเรือน ถูกน้ำท่วมขังมานานกว่า 2 สัปดาห์ มีระดับสูงเกือบ1เมตรอยู่ ซึ่งเริ่มเกิดปัญหาเกิดน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นมาก และมีประชาชน เด็กนักเรียนที่ต้องพากันลุยน้ำเข้าออกชุมชนบ่อยครั้งเกิดป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้าแล้วจำนวนมากหลายร้อยคนด้วยเช่นกัน
**"โผงเผง"ตัดกล้วยทิ้งหลังจมน้ำเน่าเหม็น
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม จ.อ่างทอง ชาวบ้านในหมู่ที่ 5 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องตัดต้นกล้วยหลายร้อยต้นในสวนทิ้งจนเกือบหมด หลังน้ำในคลองโผงเผง คลองสาขาแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักล้นคันกั้นน้ำเข้าท่วมสวนกล้วย และบ้านเรือนตั้งแต่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สูงกว่า 60 ซม.ทำให้กล้วยเริ่มทยอยยืนต้นตาย และทำให้น้ำที่ท่วมขังบริเวณดังกล่าวเกิดการเน่าเสีย เนื่องจากยังไม่สามารถที่จะระบายออกได้
**อรัญฯน้ำเริ่มลดลง-รัฐเร่งช่วยปชช.
ด้านสถานการณ์น้ำท่วม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ที่บริเวณหน้า บขส.อรัญประเทศ ระดับน้ำได้ลดลง แต่รถเล็กยังไม่สามารถวิ่งผ่านไปมาได้ ส่วนที่บริเวณหอนาฬิกา หน่วยทหารและหน่วยกู้ภัย ได้นำรถของทหาร วิ่งบริการรับ-ส่งประชาชน นอกจากนี้ ต.บ้านใหม่หนองไทร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมเช่นเดียวกัน ผู้บริหารท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้ตั้งจุดบริการอาหารและน้ำดื่มให้กับเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ประสบอุทกภัยด้วย
**ปราจีนฯยังอ่วมหนักน้ำยังท่วมสูง
ส่วนที่ชาวชุมชนตลาดเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ชาวบ้านยังคงต้องใช้เรือในการเข้าออกพื้นที่และอาศัยอยู่บนชั้น 2 ของบ้าน เนื่องจากยังมีน้ำท่วมสูงอยู่ประมาณ 2 เมตรและยังไหลเข้าท่วมตลาดเทศบาลกบินทร์
สำหรับพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี ต้องรับน้ำจากเขาสอยดาว และจาก จ.สระแก้ว คลองพระสทึง และแควพระปรง ซึ่งขณะนี้ประสบภัยแล้ว 10 ตำบล 62 หมู่บ้าน ขณะเดียวกันมวลน้ำเริ่มไหลเข้าท่วมหลายพื้นที่ของ อ.ศรีมหาโพธิ์ ส่งผลให้ถนนในตลาดท่าตูม ถูกน้ำท่วม แต่รถยนต์ยังสามารถสัญจรได้ ส่วนในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ถูกน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรีไหลเข้าท่วมถนนบางจุด มีน้ำท่วมประมาณ 20 เซนติเมตร
**จับตาพายุลูกใหม่ในทะเลจีนใต้
ที่ตึกสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ทำเนียบรัฐบาล น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดว่า ภาพรวมในทุกพื้นที่ดีขึ้นแต่มีบางมีพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระวัง คือ จ.ปราจีนบุรี และลุ่มน้ำบางปะกง ซึ่งระดับน้ำใน อ.เมืองปราจีนบุรี ต่ำกว่าตลิ่ง 17 ซ.ม.ส่วนระดับน้ำของลุ่มน้ำปราจีนบุรีโดยเฉพาะ อ.อรัญประเทศ และ อ.เมืองสระแก้ว ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ อ.ศรีมหาโพธิ์ และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ยังมีระดับน้ำที่ทรงตัว แต่กำลังลดระดับตามการไหลของน้ำ ส่วนสถานการณ์ฝนในภาคตะวันออกลดลงและไม่มีผลกระทบ ซึ่งถ้าจากนี้ไปยังเป็นเช่นนี้อยู่ เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
สำหรับสภาพอากาศและฝนตอนนี้เบาบางลง และกำลังเคลื่อนตัวไปยังภาคเหนือ จึงมีฝนตกในบางพื้นที่ของ จ.สุโขทัย ทำให้ปริมาณน้ำใน จ.สุโขทัย อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก และ อ.สามง่าม จ.พิจิตร ที่ได้ลดลงไป กลับเพิ่มขึ้นหรืออยู่ในระดับทรงตัว แต่ยังไม่ส่งผลกระทบใดๆเพราะฝนตกลงมาไม่มาก แต่ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด
น.อ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า พื้นที่ภาคกลางระดับน้ำในคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่าตลิ่งแล้ว แต่ยังเหลือคลองโผงเผง จ.อ่างทอง และคลองบางหลวง ที่มีปริมาณน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ระบายน้ำที่ 1,600 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะที่น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯนั้นต่ำกว่าตลิ่ง 1 เมตรรวมถึงยังไม่มีน้ำทะเลหนุนในตอนนี้ แต่จะกลับมาหนุนอีกครั้งในวันที่ 26 ก.ย.นี้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา มีฝนตกจำนวนมากในฝั่งธนบุรีขอกรุงเทพฯ จ.ราชบุรี รวมถึง อ.นครชัยศรี และ อ.บางเลน จ.นครปฐม ทำให้ปริมาณน้ำใน จ.นครปฐม ทรงตัว ทั้งนี้ กทม.จะมีฝนตกในปริมาณที่น้อยลง ในช่วงบ่ายถึงค่ำจนถึงวันที่ 22 ก.ย.นี้ก่อนที่ฝนจะเคลื่อนไปยังภาคเหนือและอีสาน จากนั้นจะมีฝนตกที่ กทม.อีกครั้งในวันที่ 25-26 ก.ย.ซึ่งเรากำลังจับตาการก่อตัวของพายุในทะเลจีนใต้ว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งถ้าพายุขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม เราก็ต้องเตรียมรับมือในภาคอีสานตอนล่าง เช่น จ.อุบลราชธานี นอกจากนี้ เราต้องเฝ้าระวังพื้นที่ภาคใต้ใน จ.พังงา ระนอง และ ชุมพร ที่เริ่มมีฝนตกจะทำให้ดินชุ่มน้ำอย่างมากส่งผลให้เกิดดินสไลด์ลงสู่ถนน จนไม่สามารถสัญจรได้
**"ปลอด"แนะ กทม.วางท่อบนถนนเพิ่ม
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณากระทู้ถามสดของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่ถาม รมว.ทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องวิกฤตการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยเห็นว่า น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นการท่วมเฉพาะกิจ จึงตั้งคำถามว่างบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาทที่ให้กรุงเทพฯ นำไปดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำได้ดำเนินการหรือไม่ และตั้งข้อสงสัย เรื่องการสร้างอุโมงค์ยักษ์ของกรุงเทพฯ ที่ไม่สามารถใช้ระบายน้ำได้จริง
ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเชื่อว่า กรุงเทพฯน่าจะนำไปดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำ โดยจะไปตรวจสอบอีกครั้ง แต่ปัญหาใหญ่คือเรื่องท่อระบายน้ำ จึงแนะนำกรุงเทพฯให้วางท่อบนถนน เพราะใต้ดินไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำ ซึ่งรัฐบาลยินดีและพร้อมร่วมมือช่วยเหลือกรุงเทพฯอย่างเต็มที่ รวมทั้งเห็นว่า ต้องปรับวิธีการเก็บเศษขยะในน้ำให้เหมาะสม
**กทม.ยันอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำได้
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสถานีสูบน้ำคลองเเสนเเสบ-คลองหนองจอกว่า สถานีสูบน้ำคลองแสนแสบ-หนองจอก ที่ทางกรมชลประทานอยู่ระหว่างการเร่งสูบน้ำอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังเพิ่มเครื่องสูบน้ำที่บริเวณ อ.ท่าไข่ และ อ.บางขนาก จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเพิ่มการระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย ทั้งนี้ กทม. และกรมชลประทานร่วมมือกันอย่างเต็มที่ และในวันที่ 21 ก.ย.นี้ จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ
"สถานการณ์ขณะนี้ยอมรับว่าระดับน้ำสูงมาก ทั้งในและนอกสถานี เนื่องจากที่ผ่านมามีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยระดับน้ำด้านนอกสถานีอยู่ที่ระดับ 1.68 เมตร จากระดับปกติ 1.30 เมตร ด้านในสถานีอยู่ที่ระดับ 1.06 เมตร จากระดับปกติ 90 เซนติเมตร ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 30 เซนติเมตร "
ด้านนายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวว่า ยินดีที่จะให้รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอุโมงค์ยักษ์ แต่หากไปตรวจสอบก็จะเห็นแค่เครื่องดักขยะ เนื่องจากอุโมงค์อยู่ใต้ดิน