ASTVผู้จัดการรายวัน-เหยื่อใช้บริการเสริมความงามหมอป๊อบเข้าร้องเรียนบช.น.เพิ่มอีก 3 ราย เตือนสาวอยากสวยนิยมฉีด “ฟิลเลอร์” โดยเฉพาะการเสริมจมูก เสี่ยง “ตาบอด-จมูกเน่า” ย้ำ “โพลีอะคริลาไมด์” เป็นสารไม่สลายตัว หากรั่วไหลเข้าเส้นเลือด มีสิทธิ์เป็นเจ้าหญิงนิทรา
วานนี้ (25 ก.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. พร้อมด้วย พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผกก.กก.ดส. และนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข นำตัวหญิงสาว 2 คน และชายหนุ่ม 1 คน อายุประมาณ 20 ปี ที่เคยเข้ารับการฉีดสารกลูต้าไธโอนเพื่อเสริมความงามกับนายธนัช ณัชวีระกุล หรือหมอป๊อบ ผู้ต้องหาอ้างตัวเองว่าเป็นหมอ เปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส โดยใช้สารฟิลเลอร์ ฉีดเข้าไปในร่างกายของน้องกระแต หรือน.ส.อาทิตยา เอี่ยมแย้ม พริตตี้สาวจนกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวว่า หลังจากที่มีการแถลงข่าวกรณีของหมอป๊อบ ได้มีผู้เสียหาย 3 คน แจ้งความประสงค์เข้ามาที่บช.น. ว่าต้องการที่จะตรวจร่างกาย เพราะกลัวว่าจะเกิดอันตราย ซึ่งทั้ง 3 คน ยืนยันว่าเคยเข้าไปฉีดสารเสริมความงามกับหมอป๊อบ ตนจึงมอบหมายให้พ.ต.อ.วิวัฒน์ นำตัวผู้เสียหายทั้ง 3 คนไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากข้อมูลพบว่ายังมีผู้ที่เข้าไปให้หมอป๊อบฉีดสารเสริมความงามอีก15 คน ซึ่งจะได้ติดตามให้มาตรวจร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเสริมความงามที่ไม่ได้มาตรฐานต่อไป
ที่สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวระหว่างการแถลงข่าว “อันตรายจากการฉีดสารเติมเต็ม หรือ ฟิลเลอร์” ว่า คนนิยมฉีดสารเติมเต็ม หรือฟิลเลอร์ที่ผิวหนังทดแทนคอลลาเจนที่สลายไปตามวัย เพื่อช่วยคืนความแข็งแรงและลดริ้วรอย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.แบบชั่วคราว จะมีอายุการใช้งาน 4-6 เดือน จากนั้นจะสลายตัวไปตามธรรมชาติ 2.แบบกึ่งถาวร จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี มีระดับความปลอดภัยปานกลาง และ 3.แบบถาวร ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปแล้วสารจะอยู่ในผิวหนังตลอดและมักมีผลข้างเคียง
นพ.จินดา กล่าวอีกว่า การฉีดฟิลเลอร์ถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย เพื่อใช้รักษาผิวพรรณให้ริ้วร้อยต่างๆ ตื้น และสภาพผิวดีขึ้น ทั้งนี้ ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนจากการฉีด ได้แก่ 1.เกิดผื่นแดงบริเวณทีฉีด 2.เกิดรอยนูนมากเกิดผิว 3.เกิดการเคลื่อนย้ายของสารที่ฉีดทำให้เกิดการผิดรูป 4.เกิดการแพ้ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่ภายหลังฉีดเสร็จแล้วถึงขั้นเป็นเดือนหรือเป็นปี 5.เกิดการอุดตัน โดยการฉีดผิดตำแหน่ง
ผศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลข้างเคียงของการฉีดฟิลเลอร์ที่พบมาก คือ จมูกเน่า เพราะไปอุดตัน ทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบราว 10-20 ราย ซึ่งกรณีการเกิดผิดพลาดจะต้องรีบแก้ไขภายใน 90 นาที ไม่เช่นนั้นจะตาบอดทันที
ปัจจุบันพบการฉีดฟิลเลอร์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า สารโพลีอะคริลาไมด์ ซึ่งสารนี้จะไม่สลายตัว แต่มักถูกโฆษณาหลอกลวงว่าสลายตัวช้าอยู่ได้หลายปี ประชาชนส่วนใหญ่จึงหลงเชื่อนิยมไปฉีดสะโพก หรือฉีดเสริมหน้าอก ซึ่งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย ยกตัวอย่าง กรณีพริตตี้ที่ไปฉีดเสริมสะโพกจนหมดสติไปนั้น สันนิษฐานว่า สารน่าจะเข้าไปในหลอดเลือดดำ และย้อนกลับไปยังปอด ทำให้คนไข้ขาดออกซิเจน และหยุดหายใจ ซึ่งสารตัวนี้คงไปอุดกั้นระบบหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจนนั่นเอง
“เดิมทีสารตัวนี้ อย.เคยรับรอง แต่หลังจากพบว่า มีเคสเป็นมะเร็งเต้านมจึงถอดทะเบียนออกทันที” ผศ.นพ.ถนอม กล่าว
วานนี้ (25 ก.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. พร้อมด้วย พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผกก.กก.ดส. และนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข นำตัวหญิงสาว 2 คน และชายหนุ่ม 1 คน อายุประมาณ 20 ปี ที่เคยเข้ารับการฉีดสารกลูต้าไธโอนเพื่อเสริมความงามกับนายธนัช ณัชวีระกุล หรือหมอป๊อบ ผู้ต้องหาอ้างตัวเองว่าเป็นหมอ เปิดสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส โดยใช้สารฟิลเลอร์ ฉีดเข้าไปในร่างกายของน้องกระแต หรือน.ส.อาทิตยา เอี่ยมแย้ม พริตตี้สาวจนกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวว่า หลังจากที่มีการแถลงข่าวกรณีของหมอป๊อบ ได้มีผู้เสียหาย 3 คน แจ้งความประสงค์เข้ามาที่บช.น. ว่าต้องการที่จะตรวจร่างกาย เพราะกลัวว่าจะเกิดอันตราย ซึ่งทั้ง 3 คน ยืนยันว่าเคยเข้าไปฉีดสารเสริมความงามกับหมอป๊อบ ตนจึงมอบหมายให้พ.ต.อ.วิวัฒน์ นำตัวผู้เสียหายทั้ง 3 คนไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ จากข้อมูลพบว่ายังมีผู้ที่เข้าไปให้หมอป๊อบฉีดสารเสริมความงามอีก15 คน ซึ่งจะได้ติดตามให้มาตรวจร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากสารเสริมความงามที่ไม่ได้มาตรฐานต่อไป
ที่สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวระหว่างการแถลงข่าว “อันตรายจากการฉีดสารเติมเต็ม หรือ ฟิลเลอร์” ว่า คนนิยมฉีดสารเติมเต็ม หรือฟิลเลอร์ที่ผิวหนังทดแทนคอลลาเจนที่สลายไปตามวัย เพื่อช่วยคืนความแข็งแรงและลดริ้วรอย แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.แบบชั่วคราว จะมีอายุการใช้งาน 4-6 เดือน จากนั้นจะสลายตัวไปตามธรรมชาติ 2.แบบกึ่งถาวร จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี มีระดับความปลอดภัยปานกลาง และ 3.แบบถาวร ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปแล้วสารจะอยู่ในผิวหนังตลอดและมักมีผลข้างเคียง
นพ.จินดา กล่าวอีกว่า การฉีดฟิลเลอร์ถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย เพื่อใช้รักษาผิวพรรณให้ริ้วร้อยต่างๆ ตื้น และสภาพผิวดีขึ้น ทั้งนี้ ผลข้างเคียงและอาการแทรกซ้อนจากการฉีด ได้แก่ 1.เกิดผื่นแดงบริเวณทีฉีด 2.เกิดรอยนูนมากเกิดผิว 3.เกิดการเคลื่อนย้ายของสารที่ฉีดทำให้เกิดการผิดรูป 4.เกิดการแพ้ซึ่งอาจเกิดได้ตั้งแต่ภายหลังฉีดเสร็จแล้วถึงขั้นเป็นเดือนหรือเป็นปี 5.เกิดการอุดตัน โดยการฉีดผิดตำแหน่ง
ผศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลข้างเคียงของการฉีดฟิลเลอร์ที่พบมาก คือ จมูกเน่า เพราะไปอุดตัน ทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบราว 10-20 ราย ซึ่งกรณีการเกิดผิดพลาดจะต้องรีบแก้ไขภายใน 90 นาที ไม่เช่นนั้นจะตาบอดทันที
ปัจจุบันพบการฉีดฟิลเลอร์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า สารโพลีอะคริลาไมด์ ซึ่งสารนี้จะไม่สลายตัว แต่มักถูกโฆษณาหลอกลวงว่าสลายตัวช้าอยู่ได้หลายปี ประชาชนส่วนใหญ่จึงหลงเชื่อนิยมไปฉีดสะโพก หรือฉีดเสริมหน้าอก ซึ่งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนจะไม่สามารถแก้ไขได้เลย ยกตัวอย่าง กรณีพริตตี้ที่ไปฉีดเสริมสะโพกจนหมดสติไปนั้น สันนิษฐานว่า สารน่าจะเข้าไปในหลอดเลือดดำ และย้อนกลับไปยังปอด ทำให้คนไข้ขาดออกซิเจน และหยุดหายใจ ซึ่งสารตัวนี้คงไปอุดกั้นระบบหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจนนั่นเอง
“เดิมทีสารตัวนี้ อย.เคยรับรอง แต่หลังจากพบว่า มีเคสเป็นมะเร็งเต้านมจึงถอดทะเบียนออกทันที” ผศ.นพ.ถนอม กล่าว