ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (13ก.ย.) นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ตั้งกระทู้ถามสด เรื่องโครงการรับจำนำข้าว ว่า โครงการรับจำนำข้าวในปี 2555 ที่จะหมดเวลาในการนำข้าวไปจำนำ วันที่ 15 ก.ย.นี้ อยากถามว่า ในระหว่างวันที่ 16-30 ก.ย.นี้ ซึ่งมีการอนุโลมนำข้าวไปฝากกับโรงสีได้ จะทำให้ชาวนาเสียโควต้าในการรับจำนำข้าวปี 2556 หรือไม่ และอยากถามว่าในการดำเนินการโครงการปี 2556 เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะไม่มีการระบุในโครงการว่า ให้เป็นข้าวนาปี หรือนาปรัง เนื่องจากการทำนาในแต่ละครั้ง มีการคาบเกี่ยว
นอกจากนี้โครงการรับจำนำที่ผ่านมา มีปัญหาชาวนาไม่สามารถนำข้าวไปจำนำ เนื่องจากโรงสีกำหนดว่า ข้าวเต็มสต็อก จนทำให้ต้องไปขายข้าวในราคาตลาด เช่น ข้าวความชื้น 25 % ราคาในโครงการรับจำนำ เกวียบละ 13,000 บาท แต่ราคาตลาดอยู่ที่ 9,000 บาท จึงอยากถามว่า ในอนาคตจะมีการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร นอกจากนี้ในส่วนของการรับจำนำข้ามเขต จะมีการปรับปรุงเพิ่มความสะดวกให้กับชาวนาได้อย่างไร
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ ชี้แจงว่า เรื่องโควต้า ต่อไปจะไม่มีการกำหนดว่า จะเป็นข้าวนาปี หรือนาปรัง แต่จะกำหนดให้เข้าโครงการรับจำนำข้าวได้ รายละ 2 ครั้งต่อปี ในส่วนของโรงสีที่ไม่รับจำนำ อาจมีปัญหาในทางปฎิบัติ แต่ระเบียบของคณะกรรมการรับจำนำข้าว ระบุชัดเจนว่า จะต้องมีการแปรรูปข้าวที่รับจำนำมาทุก 7 วัน และระบายออก
นอกจากนี้ จะขอความร่วมมือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ลงมาช่วยตรวจสอบในพื้นที่
สำหรับการกำหนดกรอบการรับจำนำข้ามเขต เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ แต่จากนี้ ในเรื่องความสะดวกจะมีการปรับให้ชาวนา สามารถนำข้าวไปจำนำข้ามจังหวัดได้ในพื้นที่อำเภอติดกัน จากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะตำบลติดกัน แต่ทั้งนี้ต้องขออนุญาตไปยังอำเภอ ที่จะนำข้าวไปจำนำข้ามเขตด้วย
นอกจากนี้โครงการรับจำนำที่ผ่านมา มีปัญหาชาวนาไม่สามารถนำข้าวไปจำนำ เนื่องจากโรงสีกำหนดว่า ข้าวเต็มสต็อก จนทำให้ต้องไปขายข้าวในราคาตลาด เช่น ข้าวความชื้น 25 % ราคาในโครงการรับจำนำ เกวียบละ 13,000 บาท แต่ราคาตลาดอยู่ที่ 9,000 บาท จึงอยากถามว่า ในอนาคตจะมีการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร นอกจากนี้ในส่วนของการรับจำนำข้ามเขต จะมีการปรับปรุงเพิ่มความสะดวกให้กับชาวนาได้อย่างไร
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ ชี้แจงว่า เรื่องโควต้า ต่อไปจะไม่มีการกำหนดว่า จะเป็นข้าวนาปี หรือนาปรัง แต่จะกำหนดให้เข้าโครงการรับจำนำข้าวได้ รายละ 2 ครั้งต่อปี ในส่วนของโรงสีที่ไม่รับจำนำ อาจมีปัญหาในทางปฎิบัติ แต่ระเบียบของคณะกรรมการรับจำนำข้าว ระบุชัดเจนว่า จะต้องมีการแปรรูปข้าวที่รับจำนำมาทุก 7 วัน และระบายออก
นอกจากนี้ จะขอความร่วมมือไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้ลงมาช่วยตรวจสอบในพื้นที่
สำหรับการกำหนดกรอบการรับจำนำข้ามเขต เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ แต่จากนี้ ในเรื่องความสะดวกจะมีการปรับให้ชาวนา สามารถนำข้าวไปจำนำข้ามจังหวัดได้ในพื้นที่อำเภอติดกัน จากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะตำบลติดกัน แต่ทั้งนี้ต้องขออนุญาตไปยังอำเภอ ที่จะนำข้าวไปจำนำข้ามเขตด้วย