"ยิ่งลักษณ์" ถกผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก เสนอใช้เทคโนโลยี เสริมความมั่นคงทางอาหาร เน้นให้ความร่วมมือด้านการค้นคว้า และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหาร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (9 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น ณ นครวลาดิวอสต็อก สหพันธรัฐรัสเซีย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก (Retreat 2) ภายใต้หัวข้อ “Ensuring Food security and Encouraging Innovative Growth” ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ที่รัสเซียกำหนดให้เป็นประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้ โดยเฉพาะด้านการเพิ่มการลงทุนในภาคการเกษตร การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรร่วมกัน และการพัฒนาและสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมการเกษตร ทั้งนี้ ผู้นำจากเขตเศรษฐกิจต่างๆ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และแสดงจุดยืนเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว
โอกาสนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ชื่นชมสหพันธรัฐรัสเซีย ที่ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็น “ความมั่นคงทางอาหาร” ให้เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับการประชุมเอเปกครั้งนี้ พร้อมกับได้เสนอการส่งเสริมบทบาทสตรีเป็นส่วนหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อการเติบโต (innovative growth) โดยไทยได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. การส่งเสริมการค้าและตลาดอาหาร ต้องส่งเสริมการค้าที่เปิดกว้าง และเป็นธรรมแก่ทุกคน มีการดำเนินการทางการตลาดที่มีทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ไม่มีอุปสรรคที่ไม่เป็นธรรมทางภาษี ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้ในราคาที่เป็นธรรม รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลด้านการผลิต การบริโภค และแหล่งเก็บสำรองอาหารที่เชื่อถือได้และทันต่อสถานะปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนในด้านราคาอาหาร ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่าง Asia-Pacific Food Security Information Platform (APIP) และระบบ Agricultural Market Information System (AMIS)
2. นวัตกรรมและเทคโนโยลีด้านความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากในการลดปัญหา เอเปกจึงควรผลักดันให้เกิดการร่วมมือด้านการค้นคว้า และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งสำหรับความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับประเทศกลุ่มเอเปกและโลก ซึ่งแต่ละปี โลกต้องสูญเสียอาหารที่ผลิตได้ไปอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งนวัตกรรมสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (post-harvest management) และ การขนส่งโลจิสติกส์ และประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในส่วนที่หลากหลายที่กี่ยวข้องกัน ในฐานะเป็นสมาชิกเอเปก ไทยพร้อมให้การสนับสนุน เพื่อเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมกับเอเปก
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับบทบาทการเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก (world’s food production house) รวมทั้งบทบาทที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารโลก และไทยพร้อมที่จะช่วยเหลือเขตเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประสบภัยพิบัติ ทั้งในเอเชีย-แปซิฟิก และภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความพยายามในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในทุกด้าน
**“ไทย- ปาปัวฯ”เร่งส่งเสริมการค้าการลงทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น.วันเดียวกันนี้ ก่อนหน้าการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับ นายปีเตอร์ โอนีล นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี โดยผู้นำทั้งสอง ต่างเห็นพ้องที่จะพัฒนา และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พร้อมส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ในสาขาที่ไทยและปาปัวนิวกินี สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ โดยปัจจุบันปาปัวนิวกินี ถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยในกลุ่มประเทศเกาะแปซิฟิก และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้ามีการเติบโตถึงร้อยละ 15 ซึ่งไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของปาปัวฯ ด้านสินค้าเกษตร ประมง และผลิตภัณฑ์ยานยนต์
ทั้งนี้ ไทยและปาปัวฯ กำลังศึกษาการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ( Investment and Promotion and Protection Agreement ) ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน
นอกจากนี้ ไทยและปาปัวฯจะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมทั้งไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาเกษตรกรรม สาธารณสุข ความมั่นคงด้านอาหารและการประมง ยินดีให้ความร่วมมือในการออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการของปาปัวฯในด้านดังกล่าว รวมทั้ง การพัฒนาพลังงาน ที่ปาปัวฯมีแหล่งพลังงานธรรมชาติ ที่ไทยจะช่วยพัฒนาได้.
เมื่อเวลา 11.00 น. วานนี้ (9 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น ณ นครวลาดิวอสต็อก สหพันธรัฐรัสเซีย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก (Retreat 2) ภายใต้หัวข้อ “Ensuring Food security and Encouraging Innovative Growth” ซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ที่รัสเซียกำหนดให้เป็นประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้ โดยเฉพาะด้านการเพิ่มการลงทุนในภาคการเกษตร การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรร่วมกัน และการพัฒนาและสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมการเกษตร ทั้งนี้ ผู้นำจากเขตเศรษฐกิจต่างๆ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และแสดงจุดยืนเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว
โอกาสนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ชื่นชมสหพันธรัฐรัสเซีย ที่ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็น “ความมั่นคงทางอาหาร” ให้เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับการประชุมเอเปกครั้งนี้ พร้อมกับได้เสนอการส่งเสริมบทบาทสตรีเป็นส่วนหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อการเติบโต (innovative growth) โดยไทยได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. การส่งเสริมการค้าและตลาดอาหาร ต้องส่งเสริมการค้าที่เปิดกว้าง และเป็นธรรมแก่ทุกคน มีการดำเนินการทางการตลาดที่มีทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ไม่มีอุปสรรคที่ไม่เป็นธรรมทางภาษี ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้ในราคาที่เป็นธรรม รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลด้านการผลิต การบริโภค และแหล่งเก็บสำรองอาหารที่เชื่อถือได้และทันต่อสถานะปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยลดผลกระทบจากความไม่แน่นอนในด้านราคาอาหาร ทั้งนี้ ไทยสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่าง Asia-Pacific Food Security Information Platform (APIP) และระบบ Agricultural Market Information System (AMIS)
2. นวัตกรรมและเทคโนโยลีด้านความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากในการลดปัญหา เอเปกจึงควรผลักดันให้เกิดการร่วมมือด้านการค้นคว้า และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งสำหรับความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับประเทศกลุ่มเอเปกและโลก ซึ่งแต่ละปี โลกต้องสูญเสียอาหารที่ผลิตได้ไปอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งนวัตกรรมสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (post-harvest management) และ การขนส่งโลจิสติกส์ และประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในส่วนที่หลากหลายที่กี่ยวข้องกัน ในฐานะเป็นสมาชิกเอเปก ไทยพร้อมให้การสนับสนุน เพื่อเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมกับเอเปก
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับบทบาทการเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก (world’s food production house) รวมทั้งบทบาทที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารโลก และไทยพร้อมที่จะช่วยเหลือเขตเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประสบภัยพิบัติ ทั้งในเอเชีย-แปซิฟิก และภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความพยายามในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในทุกด้าน
**“ไทย- ปาปัวฯ”เร่งส่งเสริมการค้าการลงทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น.วันเดียวกันนี้ ก่อนหน้าการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับ นายปีเตอร์ โอนีล นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี โดยผู้นำทั้งสอง ต่างเห็นพ้องที่จะพัฒนา และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พร้อมส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ในสาขาที่ไทยและปาปัวนิวกินี สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ โดยปัจจุบันปาปัวนิวกินี ถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยในกลุ่มประเทศเกาะแปซิฟิก และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้ามีการเติบโตถึงร้อยละ 15 ซึ่งไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของปาปัวฯ ด้านสินค้าเกษตร ประมง และผลิตภัณฑ์ยานยนต์
ทั้งนี้ ไทยและปาปัวฯ กำลังศึกษาการจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ( Investment and Promotion and Protection Agreement ) ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน
นอกจากนี้ ไทยและปาปัวฯจะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมทั้งไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญในสาขาเกษตรกรรม สาธารณสุข ความมั่นคงด้านอาหารและการประมง ยินดีให้ความร่วมมือในการออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการของปาปัวฯในด้านดังกล่าว รวมทั้ง การพัฒนาพลังงาน ที่ปาปัวฯมีแหล่งพลังงานธรรมชาติ ที่ไทยจะช่วยพัฒนาได้.