ช่วงนี้เห็นบุคคลในรัฐบาล ให้สัมภาษณ์สื่อถึงผลงานด้านต่างๆ เนื่องจากทำงานมาครบ 1 ปี ถือว่า เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม ใช้จังหวะโอกาสนี้บอกกล่าวสังคมว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประสบความสำเร็จอย่างไร บรรลุเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ อย่างไร พอใจผลงานเพียงใด และมีอะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในปีที่ 2
ถือเป็นจังหวะโอกาสทางการประชาสัมพันธ์(PR)ของรัฐบาลอีกมิติ
ได้ฟังแล้วชื่นชมยินดีกับผลงานรัฐบาลด้วย ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล เพราะถือว่า มาทำให้ประเทศก้าวหน้าและประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล ย่อมหวังเห็นความสำเร็จจากนโยบายการบริหารของตน ส่วนบริหารแล้ว จะมีผลงานออกมาให้เห็นมากน้อยแค่ไหน ก็ว่ากันไป
ขึ้นกับผู้นำรัฐบาล - ผู้นำกระทรวงขับเคลื่อนอย่างไร
ต้นทางนโยบาย จึงสำคัญ เพราะสะท้อนถึงผลงาน
ต้องย้อนกลับไปดูว่า 1 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อแรกเริ่มบริหารหรือไตรมาสแรกที่เริ่มต้นนโยบาย ต่อเนื่องไตรมาส 2 - 3 - 4 กำกับดูแลอย่างไร ทำไว้อย่างไร บางนโยบายก็อาจทยอยผลให้เห็น จับต้อง สัมผัสได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 หรือ 3 ก็เป็นไปได้
รวมแล้ว ณ วันครบ 1 ปี บรรลุผลให้เห็นได้จริงเท่าใด แจงนับออกมา ตรงนี้คือของจริง และเป็นรูปธรรมที่สุด
จะรู้ว่า สำเร็จระดับไหน A, B, C หรือ D
ต้นทางนโยบายว่าสำคัญ ปลายทางนโยบายสำคัญกว่า
เพราะย้อนกลับไปดูเมื่อเริ่มต้นนโยบายยังนามธรรม เป็นเพียงความต้องการทำนั่นทำนี่ หวังเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ยังไม่ได้ลงมือทำ หรือนำไปสู่การปฏิบัติ
ต่อเมื่อขับเคลื่อนแล้ว ถึงเริ่มเห็นผล สิ่งที่หวังจึงแจ้งเกิด และมีความคืบหน้า แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน แต่ละไตรมาส เป็นรูปธรรมขึ้นเรื่อยๆ
ท้ายที่สุด ทำได้จริงเท่าไร ก็คือ ได้จริงเท่านั้น คือ ประโยชน์ที่ตกถึงประชาชน ปลายทางนโยบาย จึงสำคัญฉะนี้
ได้ต้นทางนโยบาย แต่ไม่ได้ปลายทางนโยบาย ก็ไร้ความหมาย
หันมาเน้นการควบคุม กำกับปลายทางให้ได้ดั่งใจ จะดีกว่ามั้ย
ในมุมมองการประชาสัมพันธ์ที่ยึดประชาชน เป็นศูนย์กลาง ก็มีแง่คิดที่อยากนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้อ่านอาจเห็นด้วยหรือไม่ ประการใด
จะดีหรือไม่ หากมองปลายทางนโยบาย เป็น 2 ส่วน คือ
1) ส่วนที่เป็นผลงาน เป็นทางบวก เป็นความสุขของประชาชน
2) ส่วนที่เป็นผลกระทบ เป็นทางลบ เป็นความทุกข์ของประชาชน ซึ่งมักคู่กันมากับข้อ 1 มองข้ามไม่ได้ เพราะการประชาสัมพันธ์ คือ การรับรู้ทุกข์สุข เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจประชาชนมาใส่ใจรัฐบาล ยกตัวอย่าง เช่น
การที่ชาวนนทบุรีกรีดเลือดประท้วงไม่ได้รับเงินน้ำท่วมตั้งแต่ปีที่แล้ว 2554 ถือเป็นผลกระทบ เป็นความทุกข์เดือดร้อนของชาวบ้าน เป็นปลายทางนโยบายช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บัดนี้ยังไม่ได้ จะทำอย่างไร
คนที่ได้รับเงินแล้ว เป็นความสุข เป็นผลงานรัฐบาลตามนโยบายช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
จะทำอย่างไรทั้งรัฐบาลและประชาชนมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้น “สร้างสุข สลายทุกข์”
อีกสักตัวอย่าง ชาวนาพิษณุโลกโวยไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว จะทำอย่างไร รัฐบาลทำดีมาตลอด มาเสียปลายทาง ซึ่งในเชิงการประชาสัมพันธ์ ละเลยไม่ได้
นับวันผลกระทบในลักษณะทำนองอย่างนี้ จะโผล่มาให้เห็นบ่อย เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ จะบริหารผลประโยชน์อย่างไร ควบคุม จัดการอย่างไร
นอกจากการเร่งรัดให้ชาวบ้าน ชาวนาได้รับเงินเร็วแล้ว จะมีวิธีการใหม่ๆ มาใช้หรือไม่ ประการใด ต้องคิด ต้องออกแบบ ไม่เช่นนั้น ก็จะมีการชุมนุม ประท้วง ปิดถนน เรียกร้อง ข่มขู่ต่างๆ
จะได้ผลงาน กลับได้ผลกระทบ
จะช่วยทั้งที กลับได้เงินช้า เหมือนกับว่า การช่วยเหลือไม่มีคุณภาพ
จึงมีคำถามชวนคิด : หากเอาปลายทางนโยบายเป็นตัวตั้ง และต้องการเห็นผลงานทำได้จริงเท่าไร ก็ควรควบคุม จัดการผลกระทบให้ได้เท่านั้น
กระทบน้อย สำเร็จมาก
กระทบมาก สำเร็จน้อย (ล้มเหลว)
แล้วย้อนกลับไปออกแบบที่ต้นทางนโยบาย เพื่อกำกับ หรือ Control อีกชั้นหนึ่ง ผลจะมาออกที่ปลายทางได้ตรงตามต้องการมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้ตัวช่วย 2 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก การ Design หรือออกแบบนโยบายเหมือนการออกแบบบ้านจัดสรร จะให้มีกี่ห้อง 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ปูพื้นอะไร หลังคาอะไร เป็นต้น อยากให้ผลงานบ้านหลังหนึ่งสำเร็จออกมาได้จริงอย่างไร ก็ออกแบบอย่างนั้น คำนึงถึงทุกอย่างรอบด้าน อ่านให้ครบล่วงหน้า ทั้งมิติประโยชน์ใช้สอย ความแน่นหนา คงทน สวยงาม ฯลฯ
โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ มิใช่เจ้าของโครงการต้นทาง ทำอย่างไรให้ถูกใจผู้เข้าอยู่อาศัยปลายทางได้บ้านและมีความสุข ไม่ต้องมาเจอผลกระทบจากหลังคาที่ร้อน เพราะออกแบบบ้านไว้โดยใช้หลังคาเย็น ระบายความร้อนที่ดี ไม่ทำให้เป็นที่รำคาญใจ คับข้องใจผู้อยู่อาศัย
ฉันใดก็ฉันนั้น รัฐบาลควรจะมีการออกแบบนโยบาย จะให้มีกี่นโยบาย กี่ด้าน กี่เรื่อง มีมาตรการอะไร ใช้งบอย่างไร เป็นต้น อยากให้ผลงานโครงการหนึ่ง หรือนโยบายหนึ่งสำเร็จออกมาได้จริงอย่างไร ก็ออกแบบอย่างนั้น คำนึงถึงทุกอย่างรอบด้าน อ่านให้ครบล่วงหน้า ทั้งมิติประโยชน์ของโครงการ ผลกระทบต่างๆ ฯลฯ
โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ชาวบ้าน เกษตรกร มิใช่เจ้าของโครงการ (รัฐบาล) ทำอย่างไรให้ถูกใจผู้ใช้บริการของรัฐ ได้เงิน ได้การช่วยเหลือ และมีความสุข ไม่ต้องมาเจอผลกระทบจากโครงการที่จ่ายเงินล่าช้า (เช่น เงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินจากการจำนำข้าว) เพราะออกแบบโครงการไว้โดยใช้วิธีการใหม่ มาตรการใหม่ที่ทันสมัยต่างจากอดีต รวดเร็ว คล่องตัว สะดวกต่อประชาชน ไม่ทำให้เป็นที่รำคาญใจ คับข้องใจประชาชน เกษตรกร ชาวนา
วันนี้การทำงานของฝ่ายการเมืองมีแค่ Concept หรือแนวคิดเชิงนโยบายอาจไม่พอ ต้องลงรายละเอียดอีกพอประมาณ มิเพียงบอกว่า จะสร้างบ้าน สร้างทาวน์เฮาส์ ตึกแถว แล้วจบ ถ้าแค่นั้น ผู้รับเหมาก็ทำไม่ถูก ยุ่งยาก เสียเวลา ต้องคอยถามทุกครั้ง ดีไม่ดี ที่ทำไปต้องมาปรับรื้อ เนื่องจากไม่ตรงความต้องการ
การลงรายละเอียดอีกพอประมาณ แต่ก็ไม่ถึงขนาดหยุมหยิมจะช่วยให้ข้าราชการ กลไกรัฐทำงานง่ายขึ้น ราบรื่น รวดเร็ว สำเร็จเห็นผลงานได้ดั่งใจทั้งรัฐบาลและประชาชน
เนื่องเพราะมี Design กำกับทุกอย่างผ่านการกลั่นกรอง รัดกุม
โดยเฉพาะในสังคมยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง และแข่งขันสูง สถานการณ์ต่างๆ ไม่นิ่งเหมือนอดีต เกิดปัญหาความต้องการใหม่ๆ ข้อเรียกร้องใหม่ๆ ยังไม่นับรวมผลประโยชน์ ความเป็นธรรม ความขัดแย้ง เป็นต้น
ประชาชนกล้าแสดงออก และมีส่วนร่วมสูง
ทำให้วันนี้มีตัวแปร ปัจจัยต่างๆ เชื่อมโยงซับซ้อนเกินกว่าจะสนใจ Conceptนโยบายอย่างเดียว การให้แนวนโยบายกว้างๆ เหมือนในอดีต ไม่สามารถทำได้อีกแล้ว
เช่น การสร้างโรงไฟฟ้า การรับจำนำข้าวเปลือก ยาเสพติด ร้านถูกใจ การบุกรุกทำลายป่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มหาอุทกภัย ฯลฯ
แค่นี้ก็เหนื่อยแล้ว ทำอย่างไรให้ได้ผลงานปลายทางนโยบายออกมาได้จริงเท่าไร ได้ตามเป้าหมาย ต่ำกว่าเป้า หรือทะลุเป้ายิ่งดี
จึงอยู่ที่แต่ละเรื่อง ควรจะมีการมอง หรือออกแบบนโยบายอย่างไร มองทั้งผลงาน และผลกระทบ ผลกระทบที่เป็นตัวเงิน และสิ่งแวดล้อม เวลาผ่านไปเร็ว เดี๋ยววัน เดี๋ยวสัปดาห์ เดี๋ยวเดือน เดี๋ยวหมดปี ทำอย่างไรให้งานไหลรื่น มีคุณภาพ มิใช่รอเมื่อมีปัญหา ค่อยแก้เป็นทีๆ ไป ก็ยิ่งสะท้อนถึงความไม่เป็นมืออาชีพ
ยิ่งถ้าไล่เรียงงานโครงการรายกระทรวงทั้ง 20 กระทรวง ยิ่งเป็นสเกลที่ใหญ่ ถ้าไม่ออกแบบมีผลกระทบเกิดที่จังหวัดหนึ่ง ก็จะเกิดกับอีกหลายๆ จังหวัด จะทำอย่างไร สู้ออกแบบงานนโยบายให้ดีๆ นอกจากไหลรื่น ยังเห็นความสำเร็จรออยู่ข้างหน้า
ได้ผลงานตามเป้าหมายแน่ๆ หรือไม่ก็ใกล้เคียง อาจไม่ A แต่ก็ B
ปัญหามีได้ (บ้าง) แต่ไม่ใช่ปล่อยมีขึ้นเหมือนๆ กันลามไปจังหวัดอื่นๆ หากปล่อยไปเช่นนั้น ดีไม่ดีผู้คนข้องใจ ทวงถามบริหารได้แค่นี้หรือ
รัฐบาลก็จะเป็นทุกข์เสียเอง ไหนจะถูกตรวจสอบจากสังคม ฝ่ายค้าน
หากออกแบบนโยบายดังที่กล่าว เชื่อว่า การกรีดเลือดประท้วงเงินน้ำท่วมไม่มี การไม่ได้เงินจำนำข้าวไม่มี และอีกหลากหลายในลักษณะทำนองนี้ไม่น่าจะมี หรือมีก็น้อย
ที่ต้องระวังก็คือ เพราะขณะที่บุคคลในรัฐบาลบอกว่า งานโครงการหรือนโยบายประสบผลสำเร็จและพอใจ แต่ในเมื่อชาวบ้าน ชาวนายังไม่ได้รับเงินอย่างนี้ จะอธิบายสังคมอย่างไร
ที่เป็นปัญหาการบริหารให้รัฐบาลก็มาจากผลกระทบจากจุดเล็กๆ นี้เอง แต่รวมกันเข้าก็ใหญ่ได้ เดี๋ยวนี้ประท้วงอะไรก็จะบุกไปพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งยุคใหม่นี้อะไรก็เป็นไปได้หมด
ประการที่ 2 การประชาสัมพันธ์ หรือ PR ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่รัฐบาลควรสนใจ มองข้ามไม่ได้เช่นกัน ต้องใช้ PR ประกบตั้งแต่ต้นทางนโยบาย กลางทางจนถึงปลายทางนโยบาย ชนิดที่เรียกว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ/นโยบายเลยทีเดียว จะช่วยให้ผลงานปลายทางออกมาได้จริงตามต้องการ เพราะการประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการอธิบาย ชี้แจง ให้ข่าวสาร ความรู้ สร้างความเข้าใจ แก้ไขความเข้าใจผิด ดึง ชักจูง โน้มน้าว กระตุ้น และชี้นำที่ดี เพื่อนำประชาชนและประเทศไปสู่ทิศทางและเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งโฆษกรัฐบาล โฆษกกระทรวง โฆษกกรม ประชาสัมพันธ์กรม-กระทรวง ประชาสัมพันธ์รัฐวิสาหกิจ ประชาสัมพันธ์จังหวัด กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะเป็นกลไกประชาสัมพันธ์รัฐทั้งระบบ จะต้องรวมพลังขับเคลื่อน หนุนนำนโยบายรัฐบาล เพื่อให้ออกมาเป็นผลงานไปสู่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
เป็น 2 ตัวช่วยที่น่าจะ “สร้างสุข สลายทุกข์” ให้ประชาชนได้ไม่มากก็น้อย
ถือเป็นจังหวะโอกาสทางการประชาสัมพันธ์(PR)ของรัฐบาลอีกมิติ
ได้ฟังแล้วชื่นชมยินดีกับผลงานรัฐบาลด้วย ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล เพราะถือว่า มาทำให้ประเทศก้าวหน้าและประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล ย่อมหวังเห็นความสำเร็จจากนโยบายการบริหารของตน ส่วนบริหารแล้ว จะมีผลงานออกมาให้เห็นมากน้อยแค่ไหน ก็ว่ากันไป
ขึ้นกับผู้นำรัฐบาล - ผู้นำกระทรวงขับเคลื่อนอย่างไร
ต้นทางนโยบาย จึงสำคัญ เพราะสะท้อนถึงผลงาน
ต้องย้อนกลับไปดูว่า 1 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อแรกเริ่มบริหารหรือไตรมาสแรกที่เริ่มต้นนโยบาย ต่อเนื่องไตรมาส 2 - 3 - 4 กำกับดูแลอย่างไร ทำไว้อย่างไร บางนโยบายก็อาจทยอยผลให้เห็น จับต้อง สัมผัสได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 หรือ 3 ก็เป็นไปได้
รวมแล้ว ณ วันครบ 1 ปี บรรลุผลให้เห็นได้จริงเท่าใด แจงนับออกมา ตรงนี้คือของจริง และเป็นรูปธรรมที่สุด
จะรู้ว่า สำเร็จระดับไหน A, B, C หรือ D
ต้นทางนโยบายว่าสำคัญ ปลายทางนโยบายสำคัญกว่า
เพราะย้อนกลับไปดูเมื่อเริ่มต้นนโยบายยังนามธรรม เป็นเพียงความต้องการทำนั่นทำนี่ หวังเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ยังไม่ได้ลงมือทำ หรือนำไปสู่การปฏิบัติ
ต่อเมื่อขับเคลื่อนแล้ว ถึงเริ่มเห็นผล สิ่งที่หวังจึงแจ้งเกิด และมีความคืบหน้า แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน แต่ละไตรมาส เป็นรูปธรรมขึ้นเรื่อยๆ
ท้ายที่สุด ทำได้จริงเท่าไร ก็คือ ได้จริงเท่านั้น คือ ประโยชน์ที่ตกถึงประชาชน ปลายทางนโยบาย จึงสำคัญฉะนี้
ได้ต้นทางนโยบาย แต่ไม่ได้ปลายทางนโยบาย ก็ไร้ความหมาย
หันมาเน้นการควบคุม กำกับปลายทางให้ได้ดั่งใจ จะดีกว่ามั้ย
ในมุมมองการประชาสัมพันธ์ที่ยึดประชาชน เป็นศูนย์กลาง ก็มีแง่คิดที่อยากนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้อ่านอาจเห็นด้วยหรือไม่ ประการใด
จะดีหรือไม่ หากมองปลายทางนโยบาย เป็น 2 ส่วน คือ
1) ส่วนที่เป็นผลงาน เป็นทางบวก เป็นความสุขของประชาชน
2) ส่วนที่เป็นผลกระทบ เป็นทางลบ เป็นความทุกข์ของประชาชน ซึ่งมักคู่กันมากับข้อ 1 มองข้ามไม่ได้ เพราะการประชาสัมพันธ์ คือ การรับรู้ทุกข์สุข เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจประชาชนมาใส่ใจรัฐบาล ยกตัวอย่าง เช่น
การที่ชาวนนทบุรีกรีดเลือดประท้วงไม่ได้รับเงินน้ำท่วมตั้งแต่ปีที่แล้ว 2554 ถือเป็นผลกระทบ เป็นความทุกข์เดือดร้อนของชาวบ้าน เป็นปลายทางนโยบายช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บัดนี้ยังไม่ได้ จะทำอย่างไร
คนที่ได้รับเงินแล้ว เป็นความสุข เป็นผลงานรัฐบาลตามนโยบายช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
จะทำอย่างไรทั้งรัฐบาลและประชาชนมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้น “สร้างสุข สลายทุกข์”
อีกสักตัวอย่าง ชาวนาพิษณุโลกโวยไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว จะทำอย่างไร รัฐบาลทำดีมาตลอด มาเสียปลายทาง ซึ่งในเชิงการประชาสัมพันธ์ ละเลยไม่ได้
นับวันผลกระทบในลักษณะทำนองอย่างนี้ จะโผล่มาให้เห็นบ่อย เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ จะบริหารผลประโยชน์อย่างไร ควบคุม จัดการอย่างไร
นอกจากการเร่งรัดให้ชาวบ้าน ชาวนาได้รับเงินเร็วแล้ว จะมีวิธีการใหม่ๆ มาใช้หรือไม่ ประการใด ต้องคิด ต้องออกแบบ ไม่เช่นนั้น ก็จะมีการชุมนุม ประท้วง ปิดถนน เรียกร้อง ข่มขู่ต่างๆ
จะได้ผลงาน กลับได้ผลกระทบ
จะช่วยทั้งที กลับได้เงินช้า เหมือนกับว่า การช่วยเหลือไม่มีคุณภาพ
จึงมีคำถามชวนคิด : หากเอาปลายทางนโยบายเป็นตัวตั้ง และต้องการเห็นผลงานทำได้จริงเท่าไร ก็ควรควบคุม จัดการผลกระทบให้ได้เท่านั้น
กระทบน้อย สำเร็จมาก
กระทบมาก สำเร็จน้อย (ล้มเหลว)
แล้วย้อนกลับไปออกแบบที่ต้นทางนโยบาย เพื่อกำกับ หรือ Control อีกชั้นหนึ่ง ผลจะมาออกที่ปลายทางได้ตรงตามต้องการมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้ตัวช่วย 2 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก การ Design หรือออกแบบนโยบายเหมือนการออกแบบบ้านจัดสรร จะให้มีกี่ห้อง 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ปูพื้นอะไร หลังคาอะไร เป็นต้น อยากให้ผลงานบ้านหลังหนึ่งสำเร็จออกมาได้จริงอย่างไร ก็ออกแบบอย่างนั้น คำนึงถึงทุกอย่างรอบด้าน อ่านให้ครบล่วงหน้า ทั้งมิติประโยชน์ใช้สอย ความแน่นหนา คงทน สวยงาม ฯลฯ
โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ มิใช่เจ้าของโครงการต้นทาง ทำอย่างไรให้ถูกใจผู้เข้าอยู่อาศัยปลายทางได้บ้านและมีความสุข ไม่ต้องมาเจอผลกระทบจากหลังคาที่ร้อน เพราะออกแบบบ้านไว้โดยใช้หลังคาเย็น ระบายความร้อนที่ดี ไม่ทำให้เป็นที่รำคาญใจ คับข้องใจผู้อยู่อาศัย
ฉันใดก็ฉันนั้น รัฐบาลควรจะมีการออกแบบนโยบาย จะให้มีกี่นโยบาย กี่ด้าน กี่เรื่อง มีมาตรการอะไร ใช้งบอย่างไร เป็นต้น อยากให้ผลงานโครงการหนึ่ง หรือนโยบายหนึ่งสำเร็จออกมาได้จริงอย่างไร ก็ออกแบบอย่างนั้น คำนึงถึงทุกอย่างรอบด้าน อ่านให้ครบล่วงหน้า ทั้งมิติประโยชน์ของโครงการ ผลกระทบต่างๆ ฯลฯ
โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ชาวบ้าน เกษตรกร มิใช่เจ้าของโครงการ (รัฐบาล) ทำอย่างไรให้ถูกใจผู้ใช้บริการของรัฐ ได้เงิน ได้การช่วยเหลือ และมีความสุข ไม่ต้องมาเจอผลกระทบจากโครงการที่จ่ายเงินล่าช้า (เช่น เงินช่วยเหลือน้ำท่วม เงินจากการจำนำข้าว) เพราะออกแบบโครงการไว้โดยใช้วิธีการใหม่ มาตรการใหม่ที่ทันสมัยต่างจากอดีต รวดเร็ว คล่องตัว สะดวกต่อประชาชน ไม่ทำให้เป็นที่รำคาญใจ คับข้องใจประชาชน เกษตรกร ชาวนา
วันนี้การทำงานของฝ่ายการเมืองมีแค่ Concept หรือแนวคิดเชิงนโยบายอาจไม่พอ ต้องลงรายละเอียดอีกพอประมาณ มิเพียงบอกว่า จะสร้างบ้าน สร้างทาวน์เฮาส์ ตึกแถว แล้วจบ ถ้าแค่นั้น ผู้รับเหมาก็ทำไม่ถูก ยุ่งยาก เสียเวลา ต้องคอยถามทุกครั้ง ดีไม่ดี ที่ทำไปต้องมาปรับรื้อ เนื่องจากไม่ตรงความต้องการ
การลงรายละเอียดอีกพอประมาณ แต่ก็ไม่ถึงขนาดหยุมหยิมจะช่วยให้ข้าราชการ กลไกรัฐทำงานง่ายขึ้น ราบรื่น รวดเร็ว สำเร็จเห็นผลงานได้ดั่งใจทั้งรัฐบาลและประชาชน
เนื่องเพราะมี Design กำกับทุกอย่างผ่านการกลั่นกรอง รัดกุม
โดยเฉพาะในสังคมยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง และแข่งขันสูง สถานการณ์ต่างๆ ไม่นิ่งเหมือนอดีต เกิดปัญหาความต้องการใหม่ๆ ข้อเรียกร้องใหม่ๆ ยังไม่นับรวมผลประโยชน์ ความเป็นธรรม ความขัดแย้ง เป็นต้น
ประชาชนกล้าแสดงออก และมีส่วนร่วมสูง
ทำให้วันนี้มีตัวแปร ปัจจัยต่างๆ เชื่อมโยงซับซ้อนเกินกว่าจะสนใจ Conceptนโยบายอย่างเดียว การให้แนวนโยบายกว้างๆ เหมือนในอดีต ไม่สามารถทำได้อีกแล้ว
เช่น การสร้างโรงไฟฟ้า การรับจำนำข้าวเปลือก ยาเสพติด ร้านถูกใจ การบุกรุกทำลายป่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มหาอุทกภัย ฯลฯ
แค่นี้ก็เหนื่อยแล้ว ทำอย่างไรให้ได้ผลงานปลายทางนโยบายออกมาได้จริงเท่าไร ได้ตามเป้าหมาย ต่ำกว่าเป้า หรือทะลุเป้ายิ่งดี
จึงอยู่ที่แต่ละเรื่อง ควรจะมีการมอง หรือออกแบบนโยบายอย่างไร มองทั้งผลงาน และผลกระทบ ผลกระทบที่เป็นตัวเงิน และสิ่งแวดล้อม เวลาผ่านไปเร็ว เดี๋ยววัน เดี๋ยวสัปดาห์ เดี๋ยวเดือน เดี๋ยวหมดปี ทำอย่างไรให้งานไหลรื่น มีคุณภาพ มิใช่รอเมื่อมีปัญหา ค่อยแก้เป็นทีๆ ไป ก็ยิ่งสะท้อนถึงความไม่เป็นมืออาชีพ
ยิ่งถ้าไล่เรียงงานโครงการรายกระทรวงทั้ง 20 กระทรวง ยิ่งเป็นสเกลที่ใหญ่ ถ้าไม่ออกแบบมีผลกระทบเกิดที่จังหวัดหนึ่ง ก็จะเกิดกับอีกหลายๆ จังหวัด จะทำอย่างไร สู้ออกแบบงานนโยบายให้ดีๆ นอกจากไหลรื่น ยังเห็นความสำเร็จรออยู่ข้างหน้า
ได้ผลงานตามเป้าหมายแน่ๆ หรือไม่ก็ใกล้เคียง อาจไม่ A แต่ก็ B
ปัญหามีได้ (บ้าง) แต่ไม่ใช่ปล่อยมีขึ้นเหมือนๆ กันลามไปจังหวัดอื่นๆ หากปล่อยไปเช่นนั้น ดีไม่ดีผู้คนข้องใจ ทวงถามบริหารได้แค่นี้หรือ
รัฐบาลก็จะเป็นทุกข์เสียเอง ไหนจะถูกตรวจสอบจากสังคม ฝ่ายค้าน
หากออกแบบนโยบายดังที่กล่าว เชื่อว่า การกรีดเลือดประท้วงเงินน้ำท่วมไม่มี การไม่ได้เงินจำนำข้าวไม่มี และอีกหลากหลายในลักษณะทำนองนี้ไม่น่าจะมี หรือมีก็น้อย
ที่ต้องระวังก็คือ เพราะขณะที่บุคคลในรัฐบาลบอกว่า งานโครงการหรือนโยบายประสบผลสำเร็จและพอใจ แต่ในเมื่อชาวบ้าน ชาวนายังไม่ได้รับเงินอย่างนี้ จะอธิบายสังคมอย่างไร
ที่เป็นปัญหาการบริหารให้รัฐบาลก็มาจากผลกระทบจากจุดเล็กๆ นี้เอง แต่รวมกันเข้าก็ใหญ่ได้ เดี๋ยวนี้ประท้วงอะไรก็จะบุกไปพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งยุคใหม่นี้อะไรก็เป็นไปได้หมด
ประการที่ 2 การประชาสัมพันธ์ หรือ PR ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่รัฐบาลควรสนใจ มองข้ามไม่ได้เช่นกัน ต้องใช้ PR ประกบตั้งแต่ต้นทางนโยบาย กลางทางจนถึงปลายทางนโยบาย ชนิดที่เรียกว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ/นโยบายเลยทีเดียว จะช่วยให้ผลงานปลายทางออกมาได้จริงตามต้องการ เพราะการประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการอธิบาย ชี้แจง ให้ข่าวสาร ความรู้ สร้างความเข้าใจ แก้ไขความเข้าใจผิด ดึง ชักจูง โน้มน้าว กระตุ้น และชี้นำที่ดี เพื่อนำประชาชนและประเทศไปสู่ทิศทางและเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งโฆษกรัฐบาล โฆษกกระทรวง โฆษกกรม ประชาสัมพันธ์กรม-กระทรวง ประชาสัมพันธ์รัฐวิสาหกิจ ประชาสัมพันธ์จังหวัด กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะเป็นกลไกประชาสัมพันธ์รัฐทั้งระบบ จะต้องรวมพลังขับเคลื่อน หนุนนำนโยบายรัฐบาล เพื่อให้ออกมาเป็นผลงานไปสู่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
เป็น 2 ตัวช่วยที่น่าจะ “สร้างสุข สลายทุกข์” ให้ประชาชนได้ไม่มากก็น้อย