วานนี้(26 ส.ค.55) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมวุฒิสมัยสามัญทั่วไปที่จะมีการประชุมใน วันจันทร์ที่ 27 ส.ค.นั้น มีวาระสำคัญคือการพิจารณาในกรณีที่ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีการส่งเรื่องเพื่อขอให้วุฒิสภามีการพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 273 หลังจากที่ทางป.ป.ช.ได้ชี้มูลว่า มีความผิดฐานใช้อำนาจหน้าที่การแทรกแซงการทำหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการแต่งตั้งบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
โดยนายสุเทพ กล่าวว่าจะเดินทางไปเข้าร่วมประชุมของวุฒิสภา ตามที่วุฒิสภาได้ส่งหนังสือแจ้งให้เข้าร่วม ทั้งนี้ไม่ได้ยื่นพยานใดเพิ่มเติมตามที่วุฒิสภาเปิดโอกาสให้ แต่ขอใช้สิทธิยื่นเป็นคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยยกฟ้องคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ที่ร้องกรณีแทรกแซงแจกถุงยังชีพ เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเป็นข้อมูลเพิ่มเติม
นายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในการประชุมในวันที่27 ส.ค.นี้เป็นเพียงการกำหนดวันแถลงการณ์เปิดคดีของ ป.ป.ช. ในฐานะผู้กล่าวหา และกำหนดวันแถลงคัดค้านคดี ของนายสุเทพ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น โดยประธานในที่ประชุมจะมีการชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภาให้รับทราบว่าจะเริ่มกระบวนการเมื่อไร พร้อมกับกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาตั้งคำถามเพื่อซักถามบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้แม้ว่านายสุเทพ จะไม่ได้ดำรงในตำแหน่งรองนายกฯแล้ว แต่กระบวนการถอดถอนของวุฒิสภาต้องเดินหน้าเนื่องจากผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญระบุว่า ต้องได้รับการเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ดังนั้นหากวุฒิสภามีมติถอดถอนจริง จะส่งผลให้นายสุเทพ ไม่สามารถเป็น ส.ส. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฏร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ว่า ในวันที่ 27ส.ค.จะเป็นการประชุมนัดแรกโดยจะมีการหารือกำหนดแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป.ป.ช. และผู้ถูกกล่าวหา โดยเบื้องต้นได้กำหนดไว้เป็นวันที่ 7 ก.ย. นี้ ซึ่งในระหว่างวันที่ 27 ส.ค. – 6 ก.ย. ส.ว.มีสิทธิเสนอญัตติเกี่ยวกับประเด็นซักถามที่จะดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการซักถามล่วงหน้าก่อนวันประชุม ครั้งที่ 2
นายนิคม กล่าวต่อว่า เท่ากับว่าการประชุมนัดที่สอง คือวันที่ 7 ก.ย. จะมีการฟังคำแถลงเปิดสำนวนของป.ป.ช. และคำแถลงคัดค้านของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยไม่มีการซักถาม นอกจากนี้ก็ยังจะตั้งคณะกรรมาธิการซักถามจำนวน 5 คนด้วย พร้อมมอบคำถามให้กรรมาธิการฯไปแบ่งหมวดหมู่คำถามให้ชัดเจน และกลับมาถามคำถามกับทั้ง 2 ฝ่ายในวันที่ 11 ก.ย.
นายนิคม กล่าวอีกว่า จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการยื่นแถลงคำปิดคดี หากยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา ประธานวุฒิสภาต้องนัดประชุมเพื่อรับฟังคำแถลงการณ์ ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 17 ก.ย. แต่ถ้าปิดสำนวนด้วยหนังสือก็ไม่ต้องนัดประชุมอีก และในวันที่ 18 ก.ย. จะเป็นวันลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 274 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของวุฒิสภา หรือ 89 คน
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุถึงการตรวจสอบเอกสาร กรณีที่นายสุ ยื่นเรื่องเพิ่มเติมมายังวุฒิสภานั้น ในวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม นี้ เป็นเพียงการตรวจสอบเอกสารดังกล่าว และไม่ใช่การแถลงของทั้ง 2 ฝ่าย และน่าจะมีการแถลงในวันที่ 7 กันยายน 2555 ส่วนจะวินิจฉัยออกมาเป็นอย่างไร นายกล้าณรงค์ บอกว่า ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของที่ประชุม เนื่องจากป.ป.ช. มีมติตัดสินเรื่องดังกล่าวไปแล้ว 8 ต่อ 1 เสียง
รายงานข่าวแจ้งว่า การพิจารณาเรื่องด่วนเพื่อดำเนินการถอดถอนนายสุเทพ หลังจากที่ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนการสอบสวนกรณีการแทรกแซงข้าราชการประจำให้ไปช่วยราชการที่กระทรวงวัฒนธรรมจำนวน 19 คนมาให้วุฒิสภา เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา และในวันที่ 27 ส.ค. จะเป็นวันแรกของกระบวนการพิจารณาถอดถอนตามรัฐธรรมนูญที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากป.ป.ช. และคาดว่าจะสามารถลงมติเพื่อถอดถอดนายสุเทพ ได้ภายในเดือนกันยายน โดยต้องใช้มติ 3 ใน 5 ของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 146 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะนี้ หรือประมาณ 90 เสียง
โดยนายสุเทพ กล่าวว่าจะเดินทางไปเข้าร่วมประชุมของวุฒิสภา ตามที่วุฒิสภาได้ส่งหนังสือแจ้งให้เข้าร่วม ทั้งนี้ไม่ได้ยื่นพยานใดเพิ่มเติมตามที่วุฒิสภาเปิดโอกาสให้ แต่ขอใช้สิทธิยื่นเป็นคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยยกฟ้องคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ที่ร้องกรณีแทรกแซงแจกถุงยังชีพ เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเป็นข้อมูลเพิ่มเติม
นายวันชัย สอนศิริ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ในการประชุมในวันที่27 ส.ค.นี้เป็นเพียงการกำหนดวันแถลงการณ์เปิดคดีของ ป.ป.ช. ในฐานะผู้กล่าวหา และกำหนดวันแถลงคัดค้านคดี ของนายสุเทพ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น โดยประธานในที่ประชุมจะมีการชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภาให้รับทราบว่าจะเริ่มกระบวนการเมื่อไร พร้อมกับกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาตั้งคำถามเพื่อซักถามบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้แม้ว่านายสุเทพ จะไม่ได้ดำรงในตำแหน่งรองนายกฯแล้ว แต่กระบวนการถอดถอนของวุฒิสภาต้องเดินหน้าเนื่องจากผลการพิจารณาของ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญระบุว่า ต้องได้รับการเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ดังนั้นหากวุฒิสภามีมติถอดถอนจริง จะส่งผลให้นายสุเทพ ไม่สามารถเป็น ส.ส. หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฏร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ว่า ในวันที่ 27ส.ค.จะเป็นการประชุมนัดแรกโดยจะมีการหารือกำหนดแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป.ป.ช. และผู้ถูกกล่าวหา โดยเบื้องต้นได้กำหนดไว้เป็นวันที่ 7 ก.ย. นี้ ซึ่งในระหว่างวันที่ 27 ส.ค. – 6 ก.ย. ส.ว.มีสิทธิเสนอญัตติเกี่ยวกับประเด็นซักถามที่จะดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการซักถามล่วงหน้าก่อนวันประชุม ครั้งที่ 2
นายนิคม กล่าวต่อว่า เท่ากับว่าการประชุมนัดที่สอง คือวันที่ 7 ก.ย. จะมีการฟังคำแถลงเปิดสำนวนของป.ป.ช. และคำแถลงคัดค้านของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยไม่มีการซักถาม นอกจากนี้ก็ยังจะตั้งคณะกรรมาธิการซักถามจำนวน 5 คนด้วย พร้อมมอบคำถามให้กรรมาธิการฯไปแบ่งหมวดหมู่คำถามให้ชัดเจน และกลับมาถามคำถามกับทั้ง 2 ฝ่ายในวันที่ 11 ก.ย.
นายนิคม กล่าวอีกว่า จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการยื่นแถลงคำปิดคดี หากยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา ประธานวุฒิสภาต้องนัดประชุมเพื่อรับฟังคำแถลงการณ์ ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 17 ก.ย. แต่ถ้าปิดสำนวนด้วยหนังสือก็ไม่ต้องนัดประชุมอีก และในวันที่ 18 ก.ย. จะเป็นวันลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 274 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่อยู่ของวุฒิสภา หรือ 89 คน
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุถึงการตรวจสอบเอกสาร กรณีที่นายสุ ยื่นเรื่องเพิ่มเติมมายังวุฒิสภานั้น ในวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม นี้ เป็นเพียงการตรวจสอบเอกสารดังกล่าว และไม่ใช่การแถลงของทั้ง 2 ฝ่าย และน่าจะมีการแถลงในวันที่ 7 กันยายน 2555 ส่วนจะวินิจฉัยออกมาเป็นอย่างไร นายกล้าณรงค์ บอกว่า ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของที่ประชุม เนื่องจากป.ป.ช. มีมติตัดสินเรื่องดังกล่าวไปแล้ว 8 ต่อ 1 เสียง
รายงานข่าวแจ้งว่า การพิจารณาเรื่องด่วนเพื่อดำเนินการถอดถอนนายสุเทพ หลังจากที่ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนการสอบสวนกรณีการแทรกแซงข้าราชการประจำให้ไปช่วยราชการที่กระทรวงวัฒนธรรมจำนวน 19 คนมาให้วุฒิสภา เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา และในวันที่ 27 ส.ค. จะเป็นวันแรกของกระบวนการพิจารณาถอดถอนตามรัฐธรรมนูญที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานจากป.ป.ช. และคาดว่าจะสามารถลงมติเพื่อถอดถอดนายสุเทพ ได้ภายในเดือนกันยายน โดยต้องใช้มติ 3 ใน 5 ของสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 146 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ในขณะนี้ หรือประมาณ 90 เสียง