อัศวินม้าขาว
คุณสมบัติและวิสัยทัศน์ บวกกับขีดความสามารถในการบริหารของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ที่จะมาลงสมัครรับเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ จะต้องมีคุณสมบัติ และวิสัยทัศน์ ขีดความสามารถในด้านการบริหารงานของ กทม. ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหญ่มีประชากรถึงประมาณ 12 ล้านคน (ตัวเลขอย่างเป็นทางการ และ 4 - 5 ล้านคนที่ไม่เป็นทางการ)
ปัญหาต่างๆ ที่ยังคั่งค้างอยู่ทุกวันนี้ซึ่งมีดังต่อไปนี้
(1) ปัญหาการจราจร
1.1 ปัญหาการจราจรที่ติดขัดแบบแสนสาหัส
1.2 การเปิดสัญญาณไฟจราจรที่มีไฟ Count Down ซึ่งใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นจำนวนมาก แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมเปิด
1.3 การเปิดไฟจราจร Count Down นานเกินควร ทำให้การจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตรในถนนหลายสายทั่ว กทม. ซึ่งไม่มีประเทศไหนในโลกนี้เปิดนานเกิน 300 วินาที และบ่อยครั้งที่เปิดนานถึงเกือบ 1 ช.ม. โดยเฉพาะช่วงฝนตก ซึ่งไม่มีความจำเป็นเลย ด้วยเหตุนี้ฝรั่งที่อาศัยอยู่ใน กทม.จำนวนมาก มีความเบื่อหน่ายกับการจราจรจนทนไม่ไหวและย้ายกลับต่างประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งที่ขับรถด้วยตนเอง)
1.4 ระยะเวลาในการเปิดไฟ Count Down ควรอย่างยิ่งในการลดระยะเวลาลง บางแห่งให้ลดลงเหลือ 1 ใน 3 บางแห่งให้ลดลงเหลือ 1 ใน 2 และควรจะแบ่งช่วงเวลาทุกแห่งทั่ว กทม. ดังนี้
- เวลา 06.00 – 09.00 น. เปิดระยะเวลาตามปกติ (ลดเหลือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ของเวลาปัจจุบัน)
- เวลา 09.01 – 15.00 น. ควรลดลงเหลือ 1 ใน 4 (ลดจากเวลา 1 ใน 2 หรือ 1 ใน 3)
- เวลา 15.01 – 20.00 น. ควรเปิดตามเวลาปกติ (ลดเหลือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ของเวลาปัจจุบัน)
- เวลา 20.01 น.เป็นต้นไป จนถึงตี 5 ควรลดเวลาลงมาเหลือเพียง 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อย
1.5 ถ้าจะแก้ปัญหาให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดควรจะติดตั้งไฟจราจรรุ่นใหม่เป็น ระบบ ATC หรือ SYNCHRONIZER ที่จะทำงานแบบ AUTO สมบูรณ์แบบ เช่นประเทศที่พัฒนาแล้วหลายสิบประเทศเขาใช้กัน (แต่ต้องมีการทำ Traffic Count ก่อนใช้งานไฟระบบใหม่)
1.6 ควรจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับซี 6 นายตรวจอย่างน้อย 30 นาย ออกตรวจตราตามถนนสายต่างๆ ทั่ว กทม.ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจัดให้มีเวรกลางวันกับเวรกลางคืน เพื่อดูว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไข เช่น
1) ปัญหาจราจร
2) ปัญหาไฟจราจร (ติดขัดหรือใช้งานไม่ได้)
3) ปัญหาไฟแสงสว่างตามถนน และซอยทุกท้องที่ทั่ว กทม.
4) ถนนสายหลัก และตามซอยทุกซอยทั่ว กทม.ว่ามีหลุม มีบ่อน้ำขังหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบแจ้งหน่วยงานโยธาที่เกี่ยวข้องซ่อมทันที
1.7 ต้องแก้ไขเรื่องเวลาปฏิบัติงาน ดังนี้
1) รถขยะให้ทำงานเวลาตี 1 ถึงตี 5 หรือ 01.00 น. ถึง 05.00 น. (ห้ามออกมาทำตอนกลางวันเด็ดขาด)
2) รถรดน้ำต้นไม้ให้ทำงานเวลาตี 1 ถึงตี 5 หรือ 01.00 น. ถึง 05.00 น. (ห้ามออกมาทำตอนกลางวันเด็ดขาด)
1.8 ควรจะเจียดงบประมาณ 1 ส่วน สำหรับ 4 ปีของวาระบริหารไว้สร้างอุโมงค์ หรือสะพานสำหรับรถไฟที่วิ่งผ่านเมืองชั้นใน 16 จุด เพื่อแก้ปัญหาการจราจร
1.9 ควรจะลอกคลองและท่อระบายน้ำช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี1.10 ควรจะมีรถแบบทำหน้าที่ 4 อย่างในคันเดียว แบบเมืองนอก คือ
A. ดูดฝุ่นบนท้องถนน
B. ฉีด FOAM แบบสบู่ โดยมีแปรง 4 หัวเส้นผ่าศูนย์กลาง 24” อยู่ใต้ท้องรถ เพื่อล้างถนนสายหลักทุกสาย และ
C. ฉีดน้ำล้าง
D. มีเครื่องเป่าแห้งหลังจากล้างแล้ว “ควรทำความสะอาดดังกล่าว ตั้งแต่เวลาตี 2 ถึงตี 5 ทุกคืน”
(2) ถนนหนทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อเป็นพันๆ แห่งทั่ว กทม. – ต้องรีบซ่อมโดยเร็ว
(3) ปัญหาอาชญากรรม-ต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว โดยร่วมมือประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย
(4) แสงสว่างของไฟตามถนนหนทางและตามตรอกซอยเป็นพันแห่ง ที่มีแสงสว่างไม่พอควรรีบแก้ไขเพิ่มเติมด่วน
(5) แม่น้ำลำคลองที่มีปัญหาน้ำเน่าเสีย – ต้องรีบแก้ไข
(6) การแก้ปัญหาและวิธีป้องกันน้ำท่วมรอบ กทม.– ควรจะก่อกำแพงหรือคันกั้นน้ำสูงกว่าระดับที่น้ำเคยท่วมเมื่อปลายปี 2554 อย่างน้อย 1.5 เมตร
(7) ความปลอดภัยของผู้เดินทางในเวลาค่ำคืน– ควรเพิ่มแสงสว่างตามสะพานลอยคนข้าม ตรอก ซอย ต้องรีบติดตั้งเพิ่มจากปัจจุบัน
(8) การจราจรติดขัดอยู่ทุกวันนี้เป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างภาพลักษณ์อันเลวร้ายในสายตานักท่องเที่ยว และถ้าหากการจราจรใน กทม.ดีขึ้นสัก 50-70% จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำรายได้เข้าประเทศเพิ่มอีกมหาศาล
(9) ด้วยเหตุของการจราจรติดขัดนี้ทำให้เกิดมลพิษอันเลวร้ายสำหรับผู้เดินทางบนท้องถนน และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
(10) ผู้ว่าฯ คนใหม่ที่จะเข้ามาบริหาร กทม.ควรอย่างยิ่งให้ยกเลิกระบบรถแท็กซี่ที่ตระเวนหาผู้โดยสาร ให้ตีเส้นเป็นแท็กซี่คิวตามจุดต่างๆ ทั่ว กทม.และให้จอดรถแท็กซี่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะในเขตชุมชนต้องมีจุดจอดทุกๆ 500 เมตรโดยประมาณ จะช่วยประหยัดแก๊ส LPG ปีละไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท สำหรับรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนแล้วไม่ต่ำกว่า 120,000 คัน
(11) ผู้ว่าฯ คนใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงานใน กทม.จะต้องยกเลิกหรือห้ามรถแท็กซี่ทุกคันวิ่งรถเปล่าเพื่อตระเวนหาผู้โดยสาร และห้ามจอดรับผู้โดยสารทุกแห่งหน บนท้องถนนทั่ว กทม. หากมีการรับผู้โดยสารตามถนนหนทางจะถูกปรับครั้งละไม่ต่ำกว่า 2,000 – 5,000 บาท (หลังจากส่งผู้โดยสารเสร็จ ต้องวิ่งกลับไปจอดตามศูนย์หรือจุดที่จอดประจำ และเข้าคิว คิวหนึ่งจะต้องจอดได้ไม่เกิน 8 คันต่อคิว)
(12) ควรลดจำนวนรถแท็กซี่ที่มีอยู่ในปัจจุบันจดทะเบียนแล้ว มีไม่ต่ำกว่า 120,000 คัน (ตัวเลขมาจากกรมการขนส่งทางบก) ให้ลดลงมาไม่เกิน 60,000 คัน ส่วนผู้ที่มีอาชีพขับรถแท็กซี่ควรจะหางานทำตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือขอรับการช่วยเหลือโดยจัดหางานจากกรมแรงงาน หรือให้เริ่มทำโครงการรถโรงเรียนโดยให้ผู้ขับรถแท็กซี่จำนวน 60,000 คน ไปขับรถโรงเรียนแทน เพื่อแก้ปัญหาจราจรของ กทม.
(13) หลังจากที่ได้แก้ไขปัญหาจราจรตามวิธีการดังกล่าวแล้ว จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 400,000 ล้านบาท บวกกับลดการใช้แก๊ส LPG อีก 150,000 ล้านบาท
(14) ควรสร้างสวนสาธารณะเพิ่มขึ้น หรือหลายแห่งเอาพื้นที่ใต้ทางด่วนมาใช้ให้เป็นประโยชน์
(15) ผู้ว่าฯ คนใหม่ควรจะทำงานประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจราจร เช่น
ก) สำนักงาน สนข.
ข) กองบังคับการจราจรกลาง
ค) ตำรวจทางด่วนพิมพ์หนังสือเป็น 5 ล้านเล่มแจกให้เจ้าของรถทุกคันใน กทม. เพื่ออธิบายวิธีขับรถให้ถูกกฎจราจร และมีวินัย หากผิดอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องมีการปรับอย่างหนักตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาทต่อครั้งที่ทำความผิด หากผิดซ้ำในกรณีเดียวกันให้ยึดใบขับขี่ 2 เดือน เดือนแรกจับไปอบรมกฎจราจร เดือนที่สอง ทำสาธารณประโยชน์ เช่น กวาดถนน หรือล้างส้วมสาธารณะ เป็นต้น และแจ้งไปยังกองทะเบียนยานพาหนะ และถ้าผิดครั้งที่ 3 ให้ยึดใบขับขี่
คุณสมบัติและวิสัยทัศน์ บวกกับขีดความสามารถในการบริหารของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ที่จะมาลงสมัครรับเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ จะต้องมีคุณสมบัติ และวิสัยทัศน์ ขีดความสามารถในด้านการบริหารงานของ กทม. ซึ่งเป็นเมืองหลวงใหญ่มีประชากรถึงประมาณ 12 ล้านคน (ตัวเลขอย่างเป็นทางการ และ 4 - 5 ล้านคนที่ไม่เป็นทางการ)
ปัญหาต่างๆ ที่ยังคั่งค้างอยู่ทุกวันนี้ซึ่งมีดังต่อไปนี้
(1) ปัญหาการจราจร
1.1 ปัญหาการจราจรที่ติดขัดแบบแสนสาหัส
1.2 การเปิดสัญญาณไฟจราจรที่มีไฟ Count Down ซึ่งใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นจำนวนมาก แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมเปิด
1.3 การเปิดไฟจราจร Count Down นานเกินควร ทำให้การจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตรในถนนหลายสายทั่ว กทม. ซึ่งไม่มีประเทศไหนในโลกนี้เปิดนานเกิน 300 วินาที และบ่อยครั้งที่เปิดนานถึงเกือบ 1 ช.ม. โดยเฉพาะช่วงฝนตก ซึ่งไม่มีความจำเป็นเลย ด้วยเหตุนี้ฝรั่งที่อาศัยอยู่ใน กทม.จำนวนมาก มีความเบื่อหน่ายกับการจราจรจนทนไม่ไหวและย้ายกลับต่างประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งที่ขับรถด้วยตนเอง)
1.4 ระยะเวลาในการเปิดไฟ Count Down ควรอย่างยิ่งในการลดระยะเวลาลง บางแห่งให้ลดลงเหลือ 1 ใน 3 บางแห่งให้ลดลงเหลือ 1 ใน 2 และควรจะแบ่งช่วงเวลาทุกแห่งทั่ว กทม. ดังนี้
- เวลา 06.00 – 09.00 น. เปิดระยะเวลาตามปกติ (ลดเหลือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ของเวลาปัจจุบัน)
- เวลา 09.01 – 15.00 น. ควรลดลงเหลือ 1 ใน 4 (ลดจากเวลา 1 ใน 2 หรือ 1 ใน 3)
- เวลา 15.01 – 20.00 น. ควรเปิดตามเวลาปกติ (ลดเหลือ 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 2 ของเวลาปัจจุบัน)
- เวลา 20.01 น.เป็นต้นไป จนถึงตี 5 ควรลดเวลาลงมาเหลือเพียง 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อย
1.5 ถ้าจะแก้ปัญหาให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดควรจะติดตั้งไฟจราจรรุ่นใหม่เป็น ระบบ ATC หรือ SYNCHRONIZER ที่จะทำงานแบบ AUTO สมบูรณ์แบบ เช่นประเทศที่พัฒนาแล้วหลายสิบประเทศเขาใช้กัน (แต่ต้องมีการทำ Traffic Count ก่อนใช้งานไฟระบบใหม่)
1.6 ควรจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับซี 6 นายตรวจอย่างน้อย 30 นาย ออกตรวจตราตามถนนสายต่างๆ ทั่ว กทม.ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจัดให้มีเวรกลางวันกับเวรกลางคืน เพื่อดูว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไข เช่น
1) ปัญหาจราจร
2) ปัญหาไฟจราจร (ติดขัดหรือใช้งานไม่ได้)
3) ปัญหาไฟแสงสว่างตามถนน และซอยทุกท้องที่ทั่ว กทม.
4) ถนนสายหลัก และตามซอยทุกซอยทั่ว กทม.ว่ามีหลุม มีบ่อน้ำขังหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบแจ้งหน่วยงานโยธาที่เกี่ยวข้องซ่อมทันที
1.7 ต้องแก้ไขเรื่องเวลาปฏิบัติงาน ดังนี้
1) รถขยะให้ทำงานเวลาตี 1 ถึงตี 5 หรือ 01.00 น. ถึง 05.00 น. (ห้ามออกมาทำตอนกลางวันเด็ดขาด)
2) รถรดน้ำต้นไม้ให้ทำงานเวลาตี 1 ถึงตี 5 หรือ 01.00 น. ถึง 05.00 น. (ห้ามออกมาทำตอนกลางวันเด็ดขาด)
1.8 ควรจะเจียดงบประมาณ 1 ส่วน สำหรับ 4 ปีของวาระบริหารไว้สร้างอุโมงค์ หรือสะพานสำหรับรถไฟที่วิ่งผ่านเมืองชั้นใน 16 จุด เพื่อแก้ปัญหาการจราจร
1.9 ควรจะลอกคลองและท่อระบายน้ำช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี1.10 ควรจะมีรถแบบทำหน้าที่ 4 อย่างในคันเดียว แบบเมืองนอก คือ
A. ดูดฝุ่นบนท้องถนน
B. ฉีด FOAM แบบสบู่ โดยมีแปรง 4 หัวเส้นผ่าศูนย์กลาง 24” อยู่ใต้ท้องรถ เพื่อล้างถนนสายหลักทุกสาย และ
C. ฉีดน้ำล้าง
D. มีเครื่องเป่าแห้งหลังจากล้างแล้ว “ควรทำความสะอาดดังกล่าว ตั้งแต่เวลาตี 2 ถึงตี 5 ทุกคืน”
(2) ถนนหนทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อเป็นพันๆ แห่งทั่ว กทม. – ต้องรีบซ่อมโดยเร็ว
(3) ปัญหาอาชญากรรม-ต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว โดยร่วมมือประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย
(4) แสงสว่างของไฟตามถนนหนทางและตามตรอกซอยเป็นพันแห่ง ที่มีแสงสว่างไม่พอควรรีบแก้ไขเพิ่มเติมด่วน
(5) แม่น้ำลำคลองที่มีปัญหาน้ำเน่าเสีย – ต้องรีบแก้ไข
(6) การแก้ปัญหาและวิธีป้องกันน้ำท่วมรอบ กทม.– ควรจะก่อกำแพงหรือคันกั้นน้ำสูงกว่าระดับที่น้ำเคยท่วมเมื่อปลายปี 2554 อย่างน้อย 1.5 เมตร
(7) ความปลอดภัยของผู้เดินทางในเวลาค่ำคืน– ควรเพิ่มแสงสว่างตามสะพานลอยคนข้าม ตรอก ซอย ต้องรีบติดตั้งเพิ่มจากปัจจุบัน
(8) การจราจรติดขัดอยู่ทุกวันนี้เป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างภาพลักษณ์อันเลวร้ายในสายตานักท่องเที่ยว และถ้าหากการจราจรใน กทม.ดีขึ้นสัก 50-70% จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำรายได้เข้าประเทศเพิ่มอีกมหาศาล
(9) ด้วยเหตุของการจราจรติดขัดนี้ทำให้เกิดมลพิษอันเลวร้ายสำหรับผู้เดินทางบนท้องถนน และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
(10) ผู้ว่าฯ คนใหม่ที่จะเข้ามาบริหาร กทม.ควรอย่างยิ่งให้ยกเลิกระบบรถแท็กซี่ที่ตระเวนหาผู้โดยสาร ให้ตีเส้นเป็นแท็กซี่คิวตามจุดต่างๆ ทั่ว กทม.และให้จอดรถแท็กซี่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะในเขตชุมชนต้องมีจุดจอดทุกๆ 500 เมตรโดยประมาณ จะช่วยประหยัดแก๊ส LPG ปีละไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท สำหรับรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนแล้วไม่ต่ำกว่า 120,000 คัน
(11) ผู้ว่าฯ คนใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงานใน กทม.จะต้องยกเลิกหรือห้ามรถแท็กซี่ทุกคันวิ่งรถเปล่าเพื่อตระเวนหาผู้โดยสาร และห้ามจอดรับผู้โดยสารทุกแห่งหน บนท้องถนนทั่ว กทม. หากมีการรับผู้โดยสารตามถนนหนทางจะถูกปรับครั้งละไม่ต่ำกว่า 2,000 – 5,000 บาท (หลังจากส่งผู้โดยสารเสร็จ ต้องวิ่งกลับไปจอดตามศูนย์หรือจุดที่จอดประจำ และเข้าคิว คิวหนึ่งจะต้องจอดได้ไม่เกิน 8 คันต่อคิว)
(12) ควรลดจำนวนรถแท็กซี่ที่มีอยู่ในปัจจุบันจดทะเบียนแล้ว มีไม่ต่ำกว่า 120,000 คัน (ตัวเลขมาจากกรมการขนส่งทางบก) ให้ลดลงมาไม่เกิน 60,000 คัน ส่วนผู้ที่มีอาชีพขับรถแท็กซี่ควรจะหางานทำตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือขอรับการช่วยเหลือโดยจัดหางานจากกรมแรงงาน หรือให้เริ่มทำโครงการรถโรงเรียนโดยให้ผู้ขับรถแท็กซี่จำนวน 60,000 คน ไปขับรถโรงเรียนแทน เพื่อแก้ปัญหาจราจรของ กทม.
(13) หลังจากที่ได้แก้ไขปัญหาจราจรตามวิธีการดังกล่าวแล้ว จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 400,000 ล้านบาท บวกกับลดการใช้แก๊ส LPG อีก 150,000 ล้านบาท
(14) ควรสร้างสวนสาธารณะเพิ่มขึ้น หรือหลายแห่งเอาพื้นที่ใต้ทางด่วนมาใช้ให้เป็นประโยชน์
(15) ผู้ว่าฯ คนใหม่ควรจะทำงานประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจราจร เช่น
ก) สำนักงาน สนข.
ข) กองบังคับการจราจรกลาง
ค) ตำรวจทางด่วนพิมพ์หนังสือเป็น 5 ล้านเล่มแจกให้เจ้าของรถทุกคันใน กทม. เพื่ออธิบายวิธีขับรถให้ถูกกฎจราจร และมีวินัย หากผิดอย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องมีการปรับอย่างหนักตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาทต่อครั้งที่ทำความผิด หากผิดซ้ำในกรณีเดียวกันให้ยึดใบขับขี่ 2 เดือน เดือนแรกจับไปอบรมกฎจราจร เดือนที่สอง ทำสาธารณประโยชน์ เช่น กวาดถนน หรือล้างส้วมสาธารณะ เป็นต้น และแจ้งไปยังกองทะเบียนยานพาหนะ และถ้าผิดครั้งที่ 3 ให้ยึดใบขับขี่