วานนี้(20 ส.ค.55) นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงที่รัฐสภา เรียกร้องให้พรรคการเมืองใหญ่ ของฝ่ายค้านและประชาชน เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้นแล้วตนเห็นว่าควรเดินหน้าการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบวาระ เรื่องด่วนลำดับที่ 8-11 โดยไม่มีการดองเค็ม ตามที่นายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.ฉะเชิงเทรา ว่าที่ประธานวุฒิสภา ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าให้พักการพิจารณาไว้ก่อน และไปทำความเข้าใจกับประชาชน
"ผมคัดค้านที่จะชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายปรองดอง และให้กลับไปทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะความปรองดองคือการยอมกัน ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย ซึ่งขณะนี้บรรดาพรรคการเมืองนำประเด็นนี้ไปจัดเวทีปราศรัย ปลุกระดมกับพวกของตัวเอง ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่สับสน สังคมมีแต่แตกแยก ดังนั้นผมขอให้ฝ่ายค้านยื่นร่างพ.ร.บ.ปรองดองมาสู่สภาเพื่อให้พิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติ ภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ และผมเชื่อว่าหากฝ่ายค้านเสนอร่างกฎหมาย มวลชนที่คัดค้านร่างพ.ร.บ.ปรองดองจะไม่ชุมนุมหน้ารัฐสภาอีก" นายวัฒนา กล่าว
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ถูกบรรจุไว้ในเรื่องด่วนลำดับที่ 8-11 ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะถึงคิวการพิจารณาในวันที่ 23 ส.ค. นี้
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่าหลังจากมีการพิจารณาร่างกฎหมายจำนวน 10 ฉบับ ที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการเลื่อนกฎหมายอื่นๆ ขึ้นพิจารณาต่อไปเรื่อยๆ เพราะยังมีกฎหมายสำคัญที่ค้างอยู่ในสภาอีกหลายฉบับ
**แก้รธน.ไร้ข้อสรุปลงมติวาระ 3
ที่พรรคเพื่อไทยมีการประชุมคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลต่อกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีนายโภคิน พลกุล เป็นประธาน ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 หลังมอบหมายให้พรรคร่วมรัฐบาลไปศึกษาผลคำวินิจฉัยส่วนกลางและส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จากนั้นเวลา 15.40 น. นายโภคิน แถลงว่า คณะทำงานได้ปรึกษาหารือประเด็นการเดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 วิเคราะห์แล้วเห็นว่าสามารถแก้ไขได้ และไม่ผิดตามมาตรา 68 แต่เนื่องจากคำวินิจฉัยไม่มีความชัดเจนว่า เป็นคำสั่งหรือคำแนะนำ อีกทั้งตุลาการบางท่านบอกว่า หากไม่ปฏิบัติตามจะเป็นปัญหานำไปสู่การยื่นคำร้องตามมาตรา 68 ได้อีก นอกจากนี้กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญแนะนำให้ทำประชามติ ที่ประชุมหารือกันแล้วว่าคำแนะนำนี้มีผลผูกพันหรือไม่ ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้แต่ละพรรคไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการทำประชามติว่า ควรออกมาในรูปแบบใด เพราะถ้าดันทุรังต่อไปจะมีปัญหาตามมาได้
นายโภคิน กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้นายวราเทพ รัตนากร เลขานุการคณะทำงานฯ ไปเดินหน้ารณรงค์สร้างความเข้าใจถึงเหตุจำเป็นที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะที่มาไม่ได้ร่างโดยประชาชน แต่มาจากคณะบุคคลซึ่งไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดรัฐประหารได้อีก เนื้อหาขัดหลักนิติธรรม ไม่เป็นประชาธิปไตย พร้อมกันนี้อยากขอความร่วมมือสื่อมวลชนและองค์กรวิชาการได้ร่วมกันเผยแพร่และรณรงค์ หากเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เป็นปัญหาและขัดต่อหลักประชาธิปไตย อยากให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกัน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อได้ อย่างไรก็ตามคณะทำงานฯจะเร่งศึกษาและหาข้อสรุปให้เสร็จทันการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป คือปลายเดือน พ.ย.2555 ก่อนเสนอพรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาอีกครั้ง ส่วนที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า รัฐบาลจะแอบเดินหน้าลงมติวาระ 3 นั้น ไม่เป็นความจริง ก็แล้วแต่ใครจะพูดไป คณะทำงานฯจะเดินหน้าทำงานต่อไป
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ กล่าวว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะให้เพียงคำแนะนำว่า ควรทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาให้ชัดเจนอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้ จึงอยากศึกษาให้ชัดเจนก่อนว่า จะต้องทำประชามติหรือไม่ หากจะทำประชามติควรจะทำตอนไหน อย่างไรก็ตาม การลงมติวาระ 3 นั้นถึงอย่างไรจะต้องมีการลงมติในวาระที่ 3 อยู่แล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญบังคับไว้แล้วว่าต้องลงมติในวาระที่ 3
**รบ.แถลงผลงาน 1 ปี 25-26 ส.ค.
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์หลังประชุมวิปรัฐบาล ว่า ที่ประชุมได้ขอบคุณตัวแทนของพรรคร่วมรัฐบาลที่ทำหน้าที่อยู่ในวิป ที่ร่วมเป็นองค์ประชุมและผ่านวาระ 2 และวาระ 3 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ไปเรียบร้อย ตามกรอบเวลาที่ได้ตกลงไว้กับวิปฝ่ายค้าน ส่วนของเรื่องที่จะพิจารณาในที่ประชุมนั้นคือเรื่องของการเตรียมการในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 22 และ 23 ส.ค. โดยเป็นเรื่องที่กรรมาธิการพิจาณาเรียบร้อยแล้วคือร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะซึ่งเป็นกฎหมายร่วมกับร่างพ.ร.บ.แพทย์แผนไทย ที่เสนอไปเรียบร้อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเชื่อว่าทั้งหมดน่าจะผ่านพ้นไปได้ ส่วนในวันที่ 23 ส.ค.นั้นจะเป็นเรื่องของกระทู้ที่ตัวแทนของพรรคฝ่ายค้านค้านได้ถามขึ้นมา ซึ่งเป็นประเด็นที่ทางวิปได้กำชับให้สมาชิกร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
สำหรับประเด็นที่มีการซักถามในที่ประชุมคือรัฐบาลจะแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีกับรัฐสภานั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งก็ได้มีก่ารชี้แจงไปว่าทางรัฐบาลคงจะชี้แจงผลงานประมาณวันที่ 25-26 ส.ค. ส่วนการที่จะเสนอต่อสภาได้คงต้องกำหนดรูปเล่มให้เรียบร้อยก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการประสานงานคร่าวๆว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 เดือนหลังจากที่รัฐบาลได้แถลงผลงานกับสื่อมวลชนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่างปลายเดือนก.ย. ถึงต้นเดือน ต.ค. ซึ่งที่ประชุมได้กำชับให้สมาชิกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย ส่วนประเด็นที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นก็เป็นเรื่องของทางฝ่ายค้านที่จะกำหนดเวลาตามความเหมาะสมเอาเอง
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.กฎหมายที่ทางรัฐบาลขอให้ทางสภาผ่านให้ เกี่ยวกับเรื่องร่างพ.ร.บ.ป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งได้พิจาณาผ่านไปเรียบร้อย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน หน่วยงานหลักจะเป็นสำนักงานอัยการสงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันหลายหน่วยงานในการออกพ.ร.บ.ตามที่ทางกระทรวงการต่างประเทศได้เซ็นอนุสัญญาไว้ตั้งแต่ปี 2543 และขณะนี้ยังได้พิจาณาในเรื่องของร่างพ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน ที่กรมศุลกากรเสนอเข้ามา
เมื่อถามว่าการจัดทำเอกสารแถลงผลงานครอบรอบ 1 ปีของรัฐบาลนั้นนานเกินไป และเป็นการยื้อเวลาสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับตรงนั้น ซึ่งต้องสอบถามกับฝ่ายเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เราได้รับตารางงานมาอย่างนั้น แต่หากฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนก็เป็นสิทธิ์ที่จะทำได้ ซึ่งที่ประชุมยังไม่ได้ลงลายละเอียดในเรื่องนี้ เพราะยังไม่รู้ว่าฝ่ายค้านจะยื่นเมื่อใด และจะมุ่งไปที่กระทรวงไหนบ้าง
**ชู ซัดเติ้ง 80 ปียังตัดใจไม่ขาดกิเลส
ด้านนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ได้โพตส์เฟซบุ๊ค ข่อความว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบวันเกิดนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ท่านขาดอีก 20 ปี อายุจะครบร้อย แต่ก็ยังตัดใจไม่ขาดจากกิเลสตัณหาในทางการเมือง เพราะท่านเป็น ส.ส. ของสุพรรณบุรี พรรคชาติไทย สมัยแรกตั้งแต่ปี 2519 เรียกว่าเป็น ส.ส. มาอย่างยืนยาวจวบจนปัจจุบันก็เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี
แม้ว่าพรรคชาติไทยจะถูกยุบ ท่านก็มีพรรคชาติไทยพัฒนาให้น้องชายท่านคือนายชุมพล ศิลปอาชา ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค และตัวท่านเองเป็นผู้บัญชาการ เป็นที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลัง ในความเป็นจริงใครๆก็ทราบกันดีว่าท่านเป็นผู้ควบคุมกระบวนการภายในพรรค บรรดาพรรคการเมืองอื่นๆก็รู้อยู่ว่าจะต้องคุยกับท่านอยู่คนเดียว ท่านยังควบคุมดูแลงานภายในพรรคอย่างใกล้ชิดเหมือนที่สื่อมวลชนไปตั้งฉายาท่านว่า "หลงจู๊"
ปัญหาของท่านที่ท่านบอกว่าจะอยู่เล่นการเมืองหลังจากที่พ้นโซ่ตรวนถูกเว้นวรรค 5 ปี ในกรณียุบพรรคชาติไทยก็คือ ท่านทราบดีว่าท่านไม่มีตัวแทนที่มีบารมีเท่าท่าน ท่านก็ต้องยืนยันนั่งยันล่ะครับว่าจะเล่นการเมืองจนอายุ 100 ปี เพราะการหาตัวแทนทางการเมืองมารับผิดชอบเป็นหัวหน้าพรรคแบบท่านมันยาก เพราะท่านบริหารงานด้วยตัวคนเดียว การจะให้ใครขึ้นมาแทนท่านจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หันหน้ามาดูภายในพรรคไม่ว่า เสธฯหนั่น สมศักดิ์ นิกร หรือแม้กระทั่งลูกๆท่านเองก็นับว่าเป็นเรื่องหนักใจที่ทำให้ท่านต้องเที่ยวพูดอยู่ทุกครั้งว่า ท่านจะกลับมาเล่นการเมืองบ้าง หรือจะเล่นการเมืองไปจนอายุร้อยปีบ้าง
พุทธศาสนาเขาบอกไว้ว่า "สังขารเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง" คนเราชนะทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่แพ้สังขารตัวเอง บารมีจะสะสมให้มากแค่ไหนก็ไม่เหมือนเงินทองที่สามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้ แต่บารมีนั้นจะต้องสร้างด้วยตัวเอง พึ่งบารมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลคนนั้นยังมีชีวิตอยู่ ถ้าผมเปรียบไปบารมีก็เหมือนต้นไม้ที่ยังคุ้มกะลาหัวคนที่อยู่ใต้ต้นไม้ วันใดวันหนึ่งที่ต้นไม้ใหญ่หมดบารมีหรือตายไป ใบไม้ก็ร่วงหล่นเหลือแต่ตอ เหลือแต่ซาก ไม่สามารถคุ้มกะลาหัวให้ใครได้
ผมนึกถึงท่านบรรหารแล้วก็เปล่าเปลี่ยว อายุปูนนี้แล้วคงต้องเข้าสงบจิตสงบใจห่างไกลจากกิเลสตัณหา คนจีนเขาบอกว่าอายุคน “60 ให้ดูปี 70 ให้ดูเดือน 80 ให้ดูวัน" เพื่อเป็นการเตือนว่าวันนั้นของตัวเองใกล้จะมาถึงแค่ไหน คุณลองดูนักการเมืองไทยสิครับ ว่าเขาดูอะไร.
"ผมคัดค้านที่จะชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายปรองดอง และให้กลับไปทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะความปรองดองคือการยอมกัน ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย ซึ่งขณะนี้บรรดาพรรคการเมืองนำประเด็นนี้ไปจัดเวทีปราศรัย ปลุกระดมกับพวกของตัวเอง ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่สับสน สังคมมีแต่แตกแยก ดังนั้นผมขอให้ฝ่ายค้านยื่นร่างพ.ร.บ.ปรองดองมาสู่สภาเพื่อให้พิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติ ภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ และผมเชื่อว่าหากฝ่ายค้านเสนอร่างกฎหมาย มวลชนที่คัดค้านร่างพ.ร.บ.ปรองดองจะไม่ชุมนุมหน้ารัฐสภาอีก" นายวัฒนา กล่าว
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ถูกบรรจุไว้ในเรื่องด่วนลำดับที่ 8-11 ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะถึงคิวการพิจารณาในวันที่ 23 ส.ค. นี้
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่าหลังจากมีการพิจารณาร่างกฎหมายจำนวน 10 ฉบับ ที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการเลื่อนกฎหมายอื่นๆ ขึ้นพิจารณาต่อไปเรื่อยๆ เพราะยังมีกฎหมายสำคัญที่ค้างอยู่ในสภาอีกหลายฉบับ
**แก้รธน.ไร้ข้อสรุปลงมติวาระ 3
ที่พรรคเพื่อไทยมีการประชุมคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลต่อกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีนายโภคิน พลกุล เป็นประธาน ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 หลังมอบหมายให้พรรคร่วมรัฐบาลไปศึกษาผลคำวินิจฉัยส่วนกลางและส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จากนั้นเวลา 15.40 น. นายโภคิน แถลงว่า คณะทำงานได้ปรึกษาหารือประเด็นการเดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 วิเคราะห์แล้วเห็นว่าสามารถแก้ไขได้ และไม่ผิดตามมาตรา 68 แต่เนื่องจากคำวินิจฉัยไม่มีความชัดเจนว่า เป็นคำสั่งหรือคำแนะนำ อีกทั้งตุลาการบางท่านบอกว่า หากไม่ปฏิบัติตามจะเป็นปัญหานำไปสู่การยื่นคำร้องตามมาตรา 68 ได้อีก นอกจากนี้กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญแนะนำให้ทำประชามติ ที่ประชุมหารือกันแล้วว่าคำแนะนำนี้มีผลผูกพันหรือไม่ ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้แต่ละพรรคไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการทำประชามติว่า ควรออกมาในรูปแบบใด เพราะถ้าดันทุรังต่อไปจะมีปัญหาตามมาได้
นายโภคิน กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้นายวราเทพ รัตนากร เลขานุการคณะทำงานฯ ไปเดินหน้ารณรงค์สร้างความเข้าใจถึงเหตุจำเป็นที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะที่มาไม่ได้ร่างโดยประชาชน แต่มาจากคณะบุคคลซึ่งไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดรัฐประหารได้อีก เนื้อหาขัดหลักนิติธรรม ไม่เป็นประชาธิปไตย พร้อมกันนี้อยากขอความร่วมมือสื่อมวลชนและองค์กรวิชาการได้ร่วมกันเผยแพร่และรณรงค์ หากเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เป็นปัญหาและขัดต่อหลักประชาธิปไตย อยากให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกัน เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อได้ อย่างไรก็ตามคณะทำงานฯจะเร่งศึกษาและหาข้อสรุปให้เสร็จทันการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป คือปลายเดือน พ.ย.2555 ก่อนเสนอพรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาอีกครั้ง ส่วนที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า รัฐบาลจะแอบเดินหน้าลงมติวาระ 3 นั้น ไม่เป็นความจริง ก็แล้วแต่ใครจะพูดไป คณะทำงานฯจะเดินหน้าทำงานต่อไป
ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ กล่าวว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะให้เพียงคำแนะนำว่า ควรทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาให้ชัดเจนอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้ จึงอยากศึกษาให้ชัดเจนก่อนว่า จะต้องทำประชามติหรือไม่ หากจะทำประชามติควรจะทำตอนไหน อย่างไรก็ตาม การลงมติวาระ 3 นั้นถึงอย่างไรจะต้องมีการลงมติในวาระที่ 3 อยู่แล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญบังคับไว้แล้วว่าต้องลงมติในวาระที่ 3
**รบ.แถลงผลงาน 1 ปี 25-26 ส.ค.
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์หลังประชุมวิปรัฐบาล ว่า ที่ประชุมได้ขอบคุณตัวแทนของพรรคร่วมรัฐบาลที่ทำหน้าที่อยู่ในวิป ที่ร่วมเป็นองค์ประชุมและผ่านวาระ 2 และวาระ 3 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ไปเรียบร้อย ตามกรอบเวลาที่ได้ตกลงไว้กับวิปฝ่ายค้าน ส่วนของเรื่องที่จะพิจารณาในที่ประชุมนั้นคือเรื่องของการเตรียมการในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 22 และ 23 ส.ค. โดยเป็นเรื่องที่กรรมาธิการพิจาณาเรียบร้อยแล้วคือร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ร่างพ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะซึ่งเป็นกฎหมายร่วมกับร่างพ.ร.บ.แพทย์แผนไทย ที่เสนอไปเรียบร้อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเชื่อว่าทั้งหมดน่าจะผ่านพ้นไปได้ ส่วนในวันที่ 23 ส.ค.นั้นจะเป็นเรื่องของกระทู้ที่ตัวแทนของพรรคฝ่ายค้านค้านได้ถามขึ้นมา ซึ่งเป็นประเด็นที่ทางวิปได้กำชับให้สมาชิกร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
สำหรับประเด็นที่มีการซักถามในที่ประชุมคือรัฐบาลจะแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีกับรัฐสภานั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งก็ได้มีก่ารชี้แจงไปว่าทางรัฐบาลคงจะชี้แจงผลงานประมาณวันที่ 25-26 ส.ค. ส่วนการที่จะเสนอต่อสภาได้คงต้องกำหนดรูปเล่มให้เรียบร้อยก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการประสานงานคร่าวๆว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 เดือนหลังจากที่รัฐบาลได้แถลงผลงานกับสื่อมวลชนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่างปลายเดือนก.ย. ถึงต้นเดือน ต.ค. ซึ่งที่ประชุมได้กำชับให้สมาชิกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย ส่วนประเด็นที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นก็เป็นเรื่องของทางฝ่ายค้านที่จะกำหนดเวลาตามความเหมาะสมเอาเอง
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.กฎหมายที่ทางรัฐบาลขอให้ทางสภาผ่านให้ เกี่ยวกับเรื่องร่างพ.ร.บ.ป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งได้พิจาณาผ่านไปเรียบร้อย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน หน่วยงานหลักจะเป็นสำนักงานอัยการสงสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันหลายหน่วยงานในการออกพ.ร.บ.ตามที่ทางกระทรวงการต่างประเทศได้เซ็นอนุสัญญาไว้ตั้งแต่ปี 2543 และขณะนี้ยังได้พิจาณาในเรื่องของร่างพ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน ที่กรมศุลกากรเสนอเข้ามา
เมื่อถามว่าการจัดทำเอกสารแถลงผลงานครอบรอบ 1 ปีของรัฐบาลนั้นนานเกินไป และเป็นการยื้อเวลาสำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกับตรงนั้น ซึ่งต้องสอบถามกับฝ่ายเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เราได้รับตารางงานมาอย่างนั้น แต่หากฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนก็เป็นสิทธิ์ที่จะทำได้ ซึ่งที่ประชุมยังไม่ได้ลงลายละเอียดในเรื่องนี้ เพราะยังไม่รู้ว่าฝ่ายค้านจะยื่นเมื่อใด และจะมุ่งไปที่กระทรวงไหนบ้าง
**ชู ซัดเติ้ง 80 ปียังตัดใจไม่ขาดกิเลส
ด้านนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ได้โพตส์เฟซบุ๊ค ข่อความว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบวันเกิดนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ท่านขาดอีก 20 ปี อายุจะครบร้อย แต่ก็ยังตัดใจไม่ขาดจากกิเลสตัณหาในทางการเมือง เพราะท่านเป็น ส.ส. ของสุพรรณบุรี พรรคชาติไทย สมัยแรกตั้งแต่ปี 2519 เรียกว่าเป็น ส.ส. มาอย่างยืนยาวจวบจนปัจจุบันก็เป็นระยะเวลากว่า 30 ปี
แม้ว่าพรรคชาติไทยจะถูกยุบ ท่านก็มีพรรคชาติไทยพัฒนาให้น้องชายท่านคือนายชุมพล ศิลปอาชา ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค และตัวท่านเองเป็นผู้บัญชาการ เป็นที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลัง ในความเป็นจริงใครๆก็ทราบกันดีว่าท่านเป็นผู้ควบคุมกระบวนการภายในพรรค บรรดาพรรคการเมืองอื่นๆก็รู้อยู่ว่าจะต้องคุยกับท่านอยู่คนเดียว ท่านยังควบคุมดูแลงานภายในพรรคอย่างใกล้ชิดเหมือนที่สื่อมวลชนไปตั้งฉายาท่านว่า "หลงจู๊"
ปัญหาของท่านที่ท่านบอกว่าจะอยู่เล่นการเมืองหลังจากที่พ้นโซ่ตรวนถูกเว้นวรรค 5 ปี ในกรณียุบพรรคชาติไทยก็คือ ท่านทราบดีว่าท่านไม่มีตัวแทนที่มีบารมีเท่าท่าน ท่านก็ต้องยืนยันนั่งยันล่ะครับว่าจะเล่นการเมืองจนอายุ 100 ปี เพราะการหาตัวแทนทางการเมืองมารับผิดชอบเป็นหัวหน้าพรรคแบบท่านมันยาก เพราะท่านบริหารงานด้วยตัวคนเดียว การจะให้ใครขึ้นมาแทนท่านจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หันหน้ามาดูภายในพรรคไม่ว่า เสธฯหนั่น สมศักดิ์ นิกร หรือแม้กระทั่งลูกๆท่านเองก็นับว่าเป็นเรื่องหนักใจที่ทำให้ท่านต้องเที่ยวพูดอยู่ทุกครั้งว่า ท่านจะกลับมาเล่นการเมืองบ้าง หรือจะเล่นการเมืองไปจนอายุร้อยปีบ้าง
พุทธศาสนาเขาบอกไว้ว่า "สังขารเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง" คนเราชนะทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่แพ้สังขารตัวเอง บารมีจะสะสมให้มากแค่ไหนก็ไม่เหมือนเงินทองที่สามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้ แต่บารมีนั้นจะต้องสร้างด้วยตัวเอง พึ่งบารมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลคนนั้นยังมีชีวิตอยู่ ถ้าผมเปรียบไปบารมีก็เหมือนต้นไม้ที่ยังคุ้มกะลาหัวคนที่อยู่ใต้ต้นไม้ วันใดวันหนึ่งที่ต้นไม้ใหญ่หมดบารมีหรือตายไป ใบไม้ก็ร่วงหล่นเหลือแต่ตอ เหลือแต่ซาก ไม่สามารถคุ้มกะลาหัวให้ใครได้
ผมนึกถึงท่านบรรหารแล้วก็เปล่าเปลี่ยว อายุปูนนี้แล้วคงต้องเข้าสงบจิตสงบใจห่างไกลจากกิเลสตัณหา คนจีนเขาบอกว่าอายุคน “60 ให้ดูปี 70 ให้ดูเดือน 80 ให้ดูวัน" เพื่อเป็นการเตือนว่าวันนั้นของตัวเองใกล้จะมาถึงแค่ไหน คุณลองดูนักการเมืองไทยสิครับ ว่าเขาดูอะไร.