St. Augustine กล่าวไว้ว่า “อะไรที่เป็นของพระเจ้าก็ให้พระเจ้าไป อะไรที่เป็นของซีซ่าร์ก็ให้ซีซ่าร์ไป”
นี่เป็นที่มาของความคิดในการแบ่งแยก “ศาสนาจักร” กับ “อาณาจักร” ไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกัน เหมือนกับว่าอาณาจักรใช้กฎหมายทางโลกปกครองประชาชน ส่วนศาสนาจักรนั้นยังคงมีอำนาจเหนือจิตวิญญาณของคน
อำนาจของศาสนาจักรในตะวันตกเกิดขึ้นเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายเกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้น ไม่มีรัฐบาลกลางที่ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ องค์กรที่มีอยู่คือ องค์กรของศาสนามีพระสันตะปาปาเป็นประมุข จึงเข้ามามีบทบาทแทน หลังจากนั้นอำนาจของสันตะปาปาก็มีมากขึ้นเป็นลำดับ และได้รับการยอมรับสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ แต่ต่อมาในยุคกลางก็เกิดความขัดแย้งกัน
สำหรับในเอเชีย ศาสนาพุทธกับอาณาจักรมีความสัมพันธ์ในทางพึ่งพาต่อกันมากกว่าขัดแย้งกัน และพระมหากษัตริย์ก็มักทรงอุปถัมภ์พระศาสนา โดยเฉพาะพระเจ้าอโศกมหาราช ดังนั้นศาสนาพุทธจึงไม่มีบทบาททางการเมือง แม้ว่าหลักธรรมคำสอนทางศาสนาจะมีส่วนในการให้กรอบความคิดเกี่ยวกับการปกครองที่ดี และการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นธรรมก็ตาม ดังนั้นศาสนาพุทธจึงมีบทบาทในการเป็นพลังตรวจสอบเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจเกินขอบเขตของผู้ปกครอง
หลักการที่มีความชัดเจนในการเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมก็คือ “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งประกอบไปด้วยหลักปฏิบัติตัวของผู้ปกครอง โดยเฉพาะข้อที่เกี่ยวกับ “อวิหิงสา” ซึ่งได้แก่การไม่หลงระเริงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษแก่อาณาประชาราษฎร์ด้วยความอาฆาตเกลียดชัง ผู้ปกครองที่มีทศพิธราชธรรมจึงได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชา” คือผู้ปกครองที่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยุติธรรมจนกระทั่งปวงชนพอใจ และเมื่อมีคุณธรรมสูงยิ่งไปกว่านั้นก็ได้เป็น “จักรพรรดิ”
ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาจักรกับอาณาจักรในประเทศไทย มีการจัดตามรูปแบบการปกครอง การปกครองคณะสงฆ์เลียนแบบจากการปกครองอาณาจักร พระสงฆ์มีฐานานุรูปชั้นยศเหมือนกับขุนนาง มีเจ้าอาวาส และเจ้าคณะทำการปกครอง ตลอดจนมีการแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด อำเภอ และตำบล เหมือนกับการปกครองของรัฐบาล
รัฐบาลมักมีความระแวดระวังไม่ชอบให้พระมีบทบาทในการเป็นผู้นำประชาชน พระรูปใดมีประชาชนเลื่อมใสมาก เช่น ครูบาศรีวิชัย และพระพิมลธรรมก็จะเข้าไปจัดการ กรณีพระพิมลธรรมนั้น เล่ากันว่าคนอีสานนับถือมาก วันหนึ่งจอมพลสฤษดิ์ ไปขอนแก่น ไม่มีประชาชนมาต้อนรับเลย ได้ความว่าไปรับพระพิมลธรรมกันหมด พระพิมลธรรมจึงถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ท่านไม่ยอมให้ตำรวจปลดจีวรออก นายตำรวจที่ไปจับจึงล็อกคอ ต่อมานายตำรวจผู้นั้นประสบอุบัติเหตุคอหักตาย ผมเองเคยไปเฝ้าท่านตอนที่ท่านเป็นสมเด็จพุฒาจารย์ เวลานั้นผมยังสูบบุหรี่อยู่ ท่านบอกให้เลิก ท่านให้รูปท่านตอนบวชใหม่ๆ ผมมายังอยู่ในห้องพระของผมจนบัดนี้
ครูบาศรีวิชัยเป็นพระรูปแรกๆ ที่นำประชาชนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในเวลานั้นแทนที่รัฐบาลจะพอใจกลับเพ่งเล็ง เพราะพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ 50 วัดขอลาออกจากการปกครองของคณะสงฆ์มาอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน ลึกๆ แล้วการกระทำเช่นนี้ก็เป็นจิตสำนึกของท้องถิ่นคือ ชาวล้านนาไม่พอใจการปกครองของกรุงเทพฯ นั่นเอง ครูบาศรีวิชัยถูกบังคับให้สึก และถูกควบคุมตัวมากรุงเทพฯ
หลังจากนั้นอีกนานจึงได้เกิดการจัดตั้งสำนักสันติอโศกขึ้นโดยพระโพธิรักษ์ มีการถือวัตรปฏิบัติเคร่งครัดไปจากพระทั่วไป กล่าวคือละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ละเว้นสิ่งเสพติดทุกชนิด ละเว้นการมีเงินมีทองหรือเครื่องตกแต่งเกินฐานะ ไม่รดน้ำมนต์ ไม่ทำน้ำมนต์ ไม่ทำพระเครื่องและพระบูชา เป็นต้น
ที่น่าสนใจก็คือการสร้างชุมชนแบบเลี้ยงตัวเองมีกระจัดกระจายกันทั่วประเทศ ผู้ซึ่งเข้ามาอยู่ในชุมชนนี้เปลี่ยนชื่อกันใหม่ และเรียกกันว่า “ญาติธรรม”
สันติอโศกไม่ได้รับการยอมรับจากมหาเถรสมาคม และพระโพธิรักษ์ถูกบังคับให้สึก แต่ในปัจจุบันสันติอโศกก็ยังได้รับการนับถือในหมู่ประชาชนจำนวนมาก สันติอโศกได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรฯ หลายครั้ง ศิษย์ของสันติอโศกได้ตั้ง “พรรคฟ้าดิน” ขึ้นแต่ไม่ต้องการมีอำนาจทางการเมือง
แนวคิดของสันติอโศกที่น่าสนใจคือเรื่อง “บุญนิยม” คือบุญเกิดจากการลดละกิเลสอย่างจริงจัง และมีระบบโดยการให้หรือเสียสละทั้งการกระทำ และความคิดที่ไม่ติดยึดเป็นการสละโอกาสในการเสพโลกียสุขต่างๆ เช่น ความร่ำรวย ชื่อเสียง มีความเป็นอิสระเหนือวัตถุ ไม่หวงของ มีการแบ่งปันกัน
อีกแนวคิดหนึ่งคือ “สาธารณโภคี” หมายถึง การงดเว้น การเสพปัจจัยส่วนเกินของชีวิต งดเว้นการเบียดเบียนผู้อื่น มีความเมตตาต่อผู้อื่น หมายถึงการที่ทรัพย์สินต่างๆ เป็นของสาธารณะ ไม่มีใครครอบครองถือเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ
บทบาทของสันติอโศกกระทำผ่านพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ซึ่งได้คัดค้านการออกกฎหมายทำแท้ง และการนำบริษัทสุราเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และในระดับหนึ่งแนวคิดของสันติอโศกก็มีอิทธิพลต่อแนวคิด “การเมืองใหม่” โดยเฉพาะการปฏิเสธอำนาจและการมีคุณธรรม มีการเมืองที่สะอาดปราศจากการคอร์รัปชัน ต้องการให้มีการปฏิรูปการเมืองคือ
1) มีการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ 2) ส่งเสริมให้สังคมมีกลุ่มที่หลากหลายเพื่อป้องกันปัญหากลุ่มเฉพาะที่เป็นเสียงข้างมาก 3) มีการแยกหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และตุลาการออกจากกัน 4) เสริมสร้างให้ประชาชนทั่วไปเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 5) ปรับเปลี่ยนกระบวนการสรรหาผู้นำของรัฐให้สามารถที่จะได้ผู้นำที่มีคุณธรรม 6) ส่งเสริมให้มีการเมืองภาคประชาชน 7) สร้างระบอบประชาธิปไตยที่สะท้อนถึงการเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วน 8) กำหนดบทลงโทษขั้นรุนแรงสำหรับพรรคการเมืองที่ทำผิดให้มีผลไปยังผู้สมัครรับเลือกตั้ง 9) ปฏิรูปความคิดและจิตสำนึกของนักการเมืองร่วมกับประชาชนให้เห็นความสำคัญของหลักธรรมในพุทธศาสนา
ความคิดการเมืองใหม่ปฏิเสธว่าการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ จึงเป็นพลังที่จะเหนี่ยวรั้งการเมืองที่เป็นจริง และจะมีหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลนักการเมืองมากกว่าการที่จะเข้าไปมีอำนาจเสียเอง
นี่เป็นที่มาของความคิดในการแบ่งแยก “ศาสนาจักร” กับ “อาณาจักร” ไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกัน เหมือนกับว่าอาณาจักรใช้กฎหมายทางโลกปกครองประชาชน ส่วนศาสนาจักรนั้นยังคงมีอำนาจเหนือจิตวิญญาณของคน
อำนาจของศาสนาจักรในตะวันตกเกิดขึ้นเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายเกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้น ไม่มีรัฐบาลกลางที่ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ องค์กรที่มีอยู่คือ องค์กรของศาสนามีพระสันตะปาปาเป็นประมุข จึงเข้ามามีบทบาทแทน หลังจากนั้นอำนาจของสันตะปาปาก็มีมากขึ้นเป็นลำดับ และได้รับการยอมรับสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ แต่ต่อมาในยุคกลางก็เกิดความขัดแย้งกัน
สำหรับในเอเชีย ศาสนาพุทธกับอาณาจักรมีความสัมพันธ์ในทางพึ่งพาต่อกันมากกว่าขัดแย้งกัน และพระมหากษัตริย์ก็มักทรงอุปถัมภ์พระศาสนา โดยเฉพาะพระเจ้าอโศกมหาราช ดังนั้นศาสนาพุทธจึงไม่มีบทบาททางการเมือง แม้ว่าหลักธรรมคำสอนทางศาสนาจะมีส่วนในการให้กรอบความคิดเกี่ยวกับการปกครองที่ดี และการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นธรรมก็ตาม ดังนั้นศาสนาพุทธจึงมีบทบาทในการเป็นพลังตรวจสอบเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจเกินขอบเขตของผู้ปกครอง
หลักการที่มีความชัดเจนในการเหนี่ยวรั้งการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมก็คือ “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งประกอบไปด้วยหลักปฏิบัติตัวของผู้ปกครอง โดยเฉพาะข้อที่เกี่ยวกับ “อวิหิงสา” ซึ่งได้แก่การไม่หลงระเริงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษแก่อาณาประชาราษฎร์ด้วยความอาฆาตเกลียดชัง ผู้ปกครองที่มีทศพิธราชธรรมจึงได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชา” คือผู้ปกครองที่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยุติธรรมจนกระทั่งปวงชนพอใจ และเมื่อมีคุณธรรมสูงยิ่งไปกว่านั้นก็ได้เป็น “จักรพรรดิ”
ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาจักรกับอาณาจักรในประเทศไทย มีการจัดตามรูปแบบการปกครอง การปกครองคณะสงฆ์เลียนแบบจากการปกครองอาณาจักร พระสงฆ์มีฐานานุรูปชั้นยศเหมือนกับขุนนาง มีเจ้าอาวาส และเจ้าคณะทำการปกครอง ตลอดจนมีการแบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด อำเภอ และตำบล เหมือนกับการปกครองของรัฐบาล
รัฐบาลมักมีความระแวดระวังไม่ชอบให้พระมีบทบาทในการเป็นผู้นำประชาชน พระรูปใดมีประชาชนเลื่อมใสมาก เช่น ครูบาศรีวิชัย และพระพิมลธรรมก็จะเข้าไปจัดการ กรณีพระพิมลธรรมนั้น เล่ากันว่าคนอีสานนับถือมาก วันหนึ่งจอมพลสฤษดิ์ ไปขอนแก่น ไม่มีประชาชนมาต้อนรับเลย ได้ความว่าไปรับพระพิมลธรรมกันหมด พระพิมลธรรมจึงถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ท่านไม่ยอมให้ตำรวจปลดจีวรออก นายตำรวจที่ไปจับจึงล็อกคอ ต่อมานายตำรวจผู้นั้นประสบอุบัติเหตุคอหักตาย ผมเองเคยไปเฝ้าท่านตอนที่ท่านเป็นสมเด็จพุฒาจารย์ เวลานั้นผมยังสูบบุหรี่อยู่ ท่านบอกให้เลิก ท่านให้รูปท่านตอนบวชใหม่ๆ ผมมายังอยู่ในห้องพระของผมจนบัดนี้
ครูบาศรีวิชัยเป็นพระรูปแรกๆ ที่นำประชาชนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในเวลานั้นแทนที่รัฐบาลจะพอใจกลับเพ่งเล็ง เพราะพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ 50 วัดขอลาออกจากการปกครองของคณะสงฆ์มาอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน ลึกๆ แล้วการกระทำเช่นนี้ก็เป็นจิตสำนึกของท้องถิ่นคือ ชาวล้านนาไม่พอใจการปกครองของกรุงเทพฯ นั่นเอง ครูบาศรีวิชัยถูกบังคับให้สึก และถูกควบคุมตัวมากรุงเทพฯ
หลังจากนั้นอีกนานจึงได้เกิดการจัดตั้งสำนักสันติอโศกขึ้นโดยพระโพธิรักษ์ มีการถือวัตรปฏิบัติเคร่งครัดไปจากพระทั่วไป กล่าวคือละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ละเว้นสิ่งเสพติดทุกชนิด ละเว้นการมีเงินมีทองหรือเครื่องตกแต่งเกินฐานะ ไม่รดน้ำมนต์ ไม่ทำน้ำมนต์ ไม่ทำพระเครื่องและพระบูชา เป็นต้น
ที่น่าสนใจก็คือการสร้างชุมชนแบบเลี้ยงตัวเองมีกระจัดกระจายกันทั่วประเทศ ผู้ซึ่งเข้ามาอยู่ในชุมชนนี้เปลี่ยนชื่อกันใหม่ และเรียกกันว่า “ญาติธรรม”
สันติอโศกไม่ได้รับการยอมรับจากมหาเถรสมาคม และพระโพธิรักษ์ถูกบังคับให้สึก แต่ในปัจจุบันสันติอโศกก็ยังได้รับการนับถือในหมู่ประชาชนจำนวนมาก สันติอโศกได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรฯ หลายครั้ง ศิษย์ของสันติอโศกได้ตั้ง “พรรคฟ้าดิน” ขึ้นแต่ไม่ต้องการมีอำนาจทางการเมือง
แนวคิดของสันติอโศกที่น่าสนใจคือเรื่อง “บุญนิยม” คือบุญเกิดจากการลดละกิเลสอย่างจริงจัง และมีระบบโดยการให้หรือเสียสละทั้งการกระทำ และความคิดที่ไม่ติดยึดเป็นการสละโอกาสในการเสพโลกียสุขต่างๆ เช่น ความร่ำรวย ชื่อเสียง มีความเป็นอิสระเหนือวัตถุ ไม่หวงของ มีการแบ่งปันกัน
อีกแนวคิดหนึ่งคือ “สาธารณโภคี” หมายถึง การงดเว้น การเสพปัจจัยส่วนเกินของชีวิต งดเว้นการเบียดเบียนผู้อื่น มีความเมตตาต่อผู้อื่น หมายถึงการที่ทรัพย์สินต่างๆ เป็นของสาธารณะ ไม่มีใครครอบครองถือเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ
บทบาทของสันติอโศกกระทำผ่านพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ซึ่งได้คัดค้านการออกกฎหมายทำแท้ง และการนำบริษัทสุราเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และในระดับหนึ่งแนวคิดของสันติอโศกก็มีอิทธิพลต่อแนวคิด “การเมืองใหม่” โดยเฉพาะการปฏิเสธอำนาจและการมีคุณธรรม มีการเมืองที่สะอาดปราศจากการคอร์รัปชัน ต้องการให้มีการปฏิรูปการเมืองคือ
1) มีการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่ท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ 2) ส่งเสริมให้สังคมมีกลุ่มที่หลากหลายเพื่อป้องกันปัญหากลุ่มเฉพาะที่เป็นเสียงข้างมาก 3) มีการแยกหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และตุลาการออกจากกัน 4) เสริมสร้างให้ประชาชนทั่วไปเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 5) ปรับเปลี่ยนกระบวนการสรรหาผู้นำของรัฐให้สามารถที่จะได้ผู้นำที่มีคุณธรรม 6) ส่งเสริมให้มีการเมืองภาคประชาชน 7) สร้างระบอบประชาธิปไตยที่สะท้อนถึงการเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วน 8) กำหนดบทลงโทษขั้นรุนแรงสำหรับพรรคการเมืองที่ทำผิดให้มีผลไปยังผู้สมัครรับเลือกตั้ง 9) ปฏิรูปความคิดและจิตสำนึกของนักการเมืองร่วมกับประชาชนให้เห็นความสำคัญของหลักธรรมในพุทธศาสนา
ความคิดการเมืองใหม่ปฏิเสธว่าการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ จึงเป็นพลังที่จะเหนี่ยวรั้งการเมืองที่เป็นจริง และจะมีหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลนักการเมืองมากกว่าการที่จะเข้าไปมีอำนาจเสียเอง