ทำไมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงชูธงเรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ นอกจากประเด็นเรื่องทางการเมือง สังคม การศึกษา และปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม ที่พันธมิตรฯ ได้หยิบยกขึ้นมาพูด และวิพากษ์วิจารณ์ให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนถึงความล้มเหลวของระบอบการเมืองการปกครองของไทยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน สมควรได้รับการแก้ไขอย่างถึงที่สุด
หนึ่งในปัญหารูปธรรมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสวนากันอย่างกว้างขวาง มีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นระบบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจการเมือง ร่วมกับกลุ่มทุนปล้นประเทศ ขูดรีดเอาเปรียบประชาชน ก็คือปัญหาเรื่องพลังงานปิโตรเลียม อันเป็นทรัพยากรของประชาชนทั้งชาติร่วมกัน แต่ถูกกลุ่มทุนสามานย์ และนักการเมืองที่ฉ้อฉล ทุจริต ขายชาติ สมคบกันปล้นสะดมเอาไป เพื่อความเข้าใจต่อปัญหานี้ ว่าคนไทย ประเทศไทยถูกปล้นและเอาเปรียบอย่างไร จากต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอเมริกา จำเป็นที่คนไทยต้องศึกษาและเข้าใจกฎหมาย อันเป็นเครื่องมือและใบอนุญาตให้มหาอำนาจร่วมกับกลุ่มทุนนักการเมืองไทย ปล้นพลังงานของประเทศ ฮุบเอาผลประโยชน์ไปอย่างหน้าด้านๆ ภายใต้ข้ออ้างตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่ว่านั้นก็คือ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเหตุที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นกฎหมายทาส และใบอนุญาตปล้นประเทศไทย เพราะกฎหมายฉบับนี้ มีประเด็นที่บ่งบอกให้เห็นลักษณะเช่นนั้น และมีประเด็นที่จะต้องได้รับการยกเลิก หรือแก้ไขหลายประเด็น ดังนี้
1. พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ตราขึ้นและประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 43 ฉบับพิเศษหน้า 1/23 เมษายน 2514 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จึงเป็นกฎหมายที่เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกในยุคสมัยที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นจักรวรรดินิยมหรือนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากเข้ามาแสดงแสนยานุภาพทางทหาร ประกาศเป็นผู้นำค่ายโลกเสรี เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม ทำตัวเป็นพี่เบิ้มที่จะปกป้องประชาคมโลก แต่ขณะเดียวกัน ก็กรุยทางให้บริษัททางธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของอเมริกาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของมหาอำนาจ จักรวรรดินิยมอเมริกา ดังจะเห็นได้จากประวัติการดำเนินงานกว่า 5 ทศวรรษของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่เข้ามามีบทบาทครอบงำธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏประวัติและการดำเนินงานของบริษัทเชฟรอนในประเทศไทย
ประวัติและการดำเนินงาน
กว่า 5 ทศวรรษของการดำเนินงานในประเทศไทย
พ.ศ. 2555 ฉลองครบรอบ 50 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซครบ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2554 ผลิตน้ำมันครบ 300 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ผลิตปลาทอง ระยะที่ 2 เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2554 ฉลองครบรอบ 30 ปี เอราวัณ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2554 ฉลองการผลิตน้ำมันครบ 200 ล้านบาร์เรลจากพื้นที่ผลิต B8/32
พ.ศ. 2554 เปิดศูนย์ขนส่งทางอากาศแห่งใหม่ที่ จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2553 ผลิตคอนเดนเสทครบ 300 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2553 ครบรอบ 30 ปีศูนย์เศรษฐพัฒน์ จ.สงขลา
พ.ศ. 2552 ผลิตก๊าซครบ 9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2551 ผลิตก๊าซครบ 8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2550 ได้รับสัมปทานแปลงใหม่อีก 4 แปลงได้แก่ G4/50, G6/50, G7/50 และ G8/50 โดยเชฟรอนเป็นผู้ดำเนินการในสามแปลงแรก
พ.ศ. 2550 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13 ในอ่าวไทย กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเชฟรอนจะจัดส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นที่อัตรา 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2550 ได้รับการต่ออายุสัมปทานการผลิตในอ่าวไทยแปลง 10-13 อีก 10 ปี (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2565)
พ.ศ. 2550 ผลิตก๊าซธรรมชาติส่งเข้าท่อก๊าซเส้นที่ 3 ของปตท. เฉลี่ยวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2549 ผลิตก๊าซครบ 7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2549 ได้รับสัมปทานในอ่าวไทยเพิ่มเติมอีก 2 แปลงได้แก่ จี 4/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 504 ตารางกิโลเมตร) และจี 9/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 252 ตารางกิโลเมตร)
พ.ศ. 2549 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 70,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
พ.ศ. 2548 ควบรวมกิจการระหว่างยูโนแคล คอร์ปอเรชั่นกับเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนชื่อจากบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
พ.ศ. 2548 ผลิตก๊าซครบ 6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุมสำรวจ 4 หลุมที่แปลง A ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุม 1 หลุมที่ลันตา 1 และ ลันตา 2 ในแปลง จี 4/43
พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านบริหารความปลอดภัยจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2546 ผลิตก๊าซครบ 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2546 ผลิตน้ำมันดิบครบ 5 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2546 เซ็นสัญญาแปลง จี 4/43 และ แปลง 9A ในอ่าวไทย
พ.ศ. 2545 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 60,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
พ.ศ. 2545 ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ลดราคาก๊าซธรรมชาติรวมมูลค่า 10,294 ล้านบาทภายในระยะเวลา 10 ปี
พ.ศ. 2545 ฉลองครบรอบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2545 ได้รับสัมปทานการสำรวจในแปลง A ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. 2545 แผนกวิเคราะห์และควบคุมผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพ ISO 9001
พ.ศ. 2544 ขุดเจาะหลุมน้ำมันในแนวนอน (horizontal monobore oil well) หลุมแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2544 สร้างสถิติผู้นำการผลิตน้ำมันในอ่าวไทยบรรลุ 38,000 บาร์เรลต่อวัน
พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของแท่นกระบวนการผลิตน้ำมันแหล่งปลาทอง นับเป็นแท่นกระบวนการผลิตปิโตรเลียมแท่นแรกที่สร้างและประกอบในประเทศไทย
พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งก๊าซไพลินในอ่าวไทย
พ.ศ. 2543 ผลิตก๊าซครบ 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2543 ค้นพบแหล่งน้ำมันชบา ได้รับสัมปทานการสำรวจแหล่งจามจุรีเหนือ
พ.ศ. 2542 ประสบผลสำเร็จเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะหลุมก๊าซตามแนวนอนเป็นหลุมแรกที่หลุม “ตราด A-07” ณ ความลึก 1,990 เมตร (6,530 ฟุต)
พ.ศ. 2542 ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสงขลาของยูโนแคลได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก. 1300 (ISO/IEC Guide 25) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2542 ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบปริมาณเชิงพาณิชย์ในอ่าวไทย ในแปลงสำรวจที่ 10A และ 11A
พ.ศ. 2542 ขุดเจาะหลุมก๊าซในแนวนอนหลุมแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2542 เริ่มการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งเบญจมาศในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยเชฟรอนเป็นผู้ผลิตในวันที่ 1 ตุลาคม
พ.ศ. 2542 เชฟรอนควบรวมกิจการกับ Rutherford Moran Oil Corp. ในวันที่ 17 มีนาคม
พ.ศ. 2541 ฉลองครบรอบ 36 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2541 เซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวกับ ปตท.
พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ISO 14001 ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2540 ผลิตก๊าซธรรมชาติครบ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2540 ติดตั้งแท่นผลิตก๊าซ 3 ขาแท่นแรกที่ก่อสร้างในประเทศไทย
พ.ศ. 2540 เริ่มการผลิต ณ แหล่งทานตะวันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และค้นพบแหล่งมะลิวัลย์
พ.ศ. 2539 ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งไพลินกับ ปตท.
พ.ศ. 2538 ค้นพบแหล่งเบญจมาศ และเริ่มต้นพัฒนาแหล่งทานตะวัน
พ.ศ. 2538 ขยายศูนย์เศรษฐพัฒน์ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ โดยการเพิ่มหน่วยฝึกอบรมปฏิบัติการฉุกเฉินและสถานีความปลอดภัยในน้ำ
พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองระดับสามขั้นสูง ด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย จากสถาบัน DNV ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการรับรองความปลอดภัยตามระบบ International Safety Rating System (ISRS)
พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยของกระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2537 ผลิตก๊าซครบ 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2535 ค้นพบแหล่งทานตะวันในอ่าวไทย
พ.ศ. 2534 ได้รับสัมปทานการสำรวจปิโตรเลียมแปลง B8/32
พ.ศ. 2533 ผลิตก๊าซครบ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2533 ติดตั้งสถานีเรดาร์ตรวจอากาศนอกฝั่งที่แหล่งก๊าซสตูล
พ.ศ. 2531 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 3 กับ ปตท.
พ.ศ. 2525 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 2 กับ ปตท.
พ.ศ. 2524 เริ่มผลิตก๊าซส่งขึ้นฝั่งที่โรงแยกก๊าซของ ปตท. จังหวัดระยอง
พ.ศ. 2523 ก่อตั้งศูนย์เศรษฐพัฒน์ เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมสำหรับพนักงานชาวไทย
พ.ศ. 2521 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับแรกกับ ปตท.
พ.ศ. 2516 ประสบความสำเร็จค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ ในแปลงหมายเลข 12 ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าแหล่ง “เอราวัณ”
พ.ศ. 2511 ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลงหมายเลข 12 และ 13 ในอ่าวไทย
พ.ศ. 2505 บริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุมัติสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย บริเวณที่ราบสูงโคราช
เมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ กับการเข้ามาดำเนินกิจการด้านปิโตรเลียมซึ่งหมายความถึงการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือจำหน่ายปิโตรเลียม และคำว่า “ปิโตรเลียม” หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สารพลอยได้และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จึงสอดคล้องอย่างลงตัวว่านับแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว บริษัทจากประเทศมหาอำนาจอเมริกา คือ บริษัท เชฟรอน เท่านั้น ที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เต็มๆ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้
จากนั้นจึงมีบริษัทจากประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เช่น อังกฤษ ติดตามมา บริษัทสัญชาติไทยอย่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท.ก็เกิดขึ้นตามมาในภายหลัง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกแปรรูปไปเป็นของเอกชนและทุนต่างชาติ ดังที่เป็นอยู่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 จึงเป็นเพียงกฎหมายทาส และเป็นเครื่องมืออนุญาตให้ทุนต่างชาติ ทุนสามานย์และนักการเมืองไทย ปล้นประเทศ และขายชาติโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นมรดกบาปให้คนไทยต้องรับกรรม ใช้พลังงานน้ำมันในราคาที่แพงที่สุด เป็นอันดับ 8 ของโลกอย่างทุกวันนี้
หนึ่งในปัญหารูปธรรมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสวนากันอย่างกว้างขวาง มีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นระบบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจการเมือง ร่วมกับกลุ่มทุนปล้นประเทศ ขูดรีดเอาเปรียบประชาชน ก็คือปัญหาเรื่องพลังงานปิโตรเลียม อันเป็นทรัพยากรของประชาชนทั้งชาติร่วมกัน แต่ถูกกลุ่มทุนสามานย์ และนักการเมืองที่ฉ้อฉล ทุจริต ขายชาติ สมคบกันปล้นสะดมเอาไป เพื่อความเข้าใจต่อปัญหานี้ ว่าคนไทย ประเทศไทยถูกปล้นและเอาเปรียบอย่างไร จากต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอเมริกา จำเป็นที่คนไทยต้องศึกษาและเข้าใจกฎหมาย อันเป็นเครื่องมือและใบอนุญาตให้มหาอำนาจร่วมกับกลุ่มทุนนักการเมืองไทย ปล้นพลังงานของประเทศ ฮุบเอาผลประโยชน์ไปอย่างหน้าด้านๆ ภายใต้ข้ออ้างตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายที่ว่านั้นก็คือ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเหตุที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นกฎหมายทาส และใบอนุญาตปล้นประเทศไทย เพราะกฎหมายฉบับนี้ มีประเด็นที่บ่งบอกให้เห็นลักษณะเช่นนั้น และมีประเด็นที่จะต้องได้รับการยกเลิก หรือแก้ไขหลายประเด็น ดังนี้
1. พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ตราขึ้นและประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 43 ฉบับพิเศษหน้า 1/23 เมษายน 2514 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จึงเป็นกฎหมายที่เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกในยุคสมัยที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นจักรวรรดินิยมหรือนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งนอกจากเข้ามาแสดงแสนยานุภาพทางทหาร ประกาศเป็นผู้นำค่ายโลกเสรี เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม ทำตัวเป็นพี่เบิ้มที่จะปกป้องประชาคมโลก แต่ขณะเดียวกัน ก็กรุยทางให้บริษัททางธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของอเมริกาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งของมหาอำนาจ จักรวรรดินิยมอเมริกา ดังจะเห็นได้จากประวัติการดำเนินงานกว่า 5 ทศวรรษของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่เข้ามามีบทบาทครอบงำธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏประวัติและการดำเนินงานของบริษัทเชฟรอนในประเทศไทย
ประวัติและการดำเนินงาน
กว่า 5 ทศวรรษของการดำเนินงานในประเทศไทย
พ.ศ. 2555 ฉลองครบรอบ 50 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซครบ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2554 ผลิตน้ำมันครบ 300 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ผลิตปลาทอง ระยะที่ 2 เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2554 ฉลองครบรอบ 30 ปี เอราวัณ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2554 ฉลองการผลิตน้ำมันครบ 200 ล้านบาร์เรลจากพื้นที่ผลิต B8/32
พ.ศ. 2554 เปิดศูนย์ขนส่งทางอากาศแห่งใหม่ที่ จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2553 ผลิตคอนเดนเสทครบ 300 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2553 ครบรอบ 30 ปีศูนย์เศรษฐพัฒน์ จ.สงขลา
พ.ศ. 2552 ผลิตก๊าซครบ 9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2551 ผลิตก๊าซครบ 8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2550 ได้รับสัมปทานแปลงใหม่อีก 4 แปลงได้แก่ G4/50, G6/50, G7/50 และ G8/50 โดยเชฟรอนเป็นผู้ดำเนินการในสามแปลงแรก
พ.ศ. 2550 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13 ในอ่าวไทย กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเชฟรอนจะจัดส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นที่อัตรา 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2550 ได้รับการต่ออายุสัมปทานการผลิตในอ่าวไทยแปลง 10-13 อีก 10 ปี (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2565)
พ.ศ. 2550 ผลิตก๊าซธรรมชาติส่งเข้าท่อก๊าซเส้นที่ 3 ของปตท. เฉลี่ยวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2549 ผลิตก๊าซครบ 7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2549 ได้รับสัมปทานในอ่าวไทยเพิ่มเติมอีก 2 แปลงได้แก่ จี 4/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 504 ตารางกิโลเมตร) และจี 9/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 252 ตารางกิโลเมตร)
พ.ศ. 2549 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 70,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
พ.ศ. 2548 ควบรวมกิจการระหว่างยูโนแคล คอร์ปอเรชั่นกับเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนชื่อจากบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
พ.ศ. 2548 ผลิตก๊าซครบ 6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุมสำรวจ 4 หลุมที่แปลง A ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุม 1 หลุมที่ลันตา 1 และ ลันตา 2 ในแปลง จี 4/43
พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านบริหารความปลอดภัยจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2546 ผลิตก๊าซครบ 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2546 ผลิตน้ำมันดิบครบ 5 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2546 เซ็นสัญญาแปลง จี 4/43 และ แปลง 9A ในอ่าวไทย
พ.ศ. 2545 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 60,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
พ.ศ. 2545 ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ลดราคาก๊าซธรรมชาติรวมมูลค่า 10,294 ล้านบาทภายในระยะเวลา 10 ปี
พ.ศ. 2545 ฉลองครบรอบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2545 ได้รับสัมปทานการสำรวจในแปลง A ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. 2545 แผนกวิเคราะห์และควบคุมผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพ ISO 9001
พ.ศ. 2544 ขุดเจาะหลุมน้ำมันในแนวนอน (horizontal monobore oil well) หลุมแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2544 สร้างสถิติผู้นำการผลิตน้ำมันในอ่าวไทยบรรลุ 38,000 บาร์เรลต่อวัน
พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของแท่นกระบวนการผลิตน้ำมันแหล่งปลาทอง นับเป็นแท่นกระบวนการผลิตปิโตรเลียมแท่นแรกที่สร้างและประกอบในประเทศไทย
พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งก๊าซไพลินในอ่าวไทย
พ.ศ. 2543 ผลิตก๊าซครบ 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2543 ค้นพบแหล่งน้ำมันชบา ได้รับสัมปทานการสำรวจแหล่งจามจุรีเหนือ
พ.ศ. 2542 ประสบผลสำเร็จเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะหลุมก๊าซตามแนวนอนเป็นหลุมแรกที่หลุม “ตราด A-07” ณ ความลึก 1,990 เมตร (6,530 ฟุต)
พ.ศ. 2542 ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสงขลาของยูโนแคลได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก. 1300 (ISO/IEC Guide 25) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2542 ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบปริมาณเชิงพาณิชย์ในอ่าวไทย ในแปลงสำรวจที่ 10A และ 11A
พ.ศ. 2542 ขุดเจาะหลุมก๊าซในแนวนอนหลุมแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2542 เริ่มการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งเบญจมาศในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยเชฟรอนเป็นผู้ผลิตในวันที่ 1 ตุลาคม
พ.ศ. 2542 เชฟรอนควบรวมกิจการกับ Rutherford Moran Oil Corp. ในวันที่ 17 มีนาคม
พ.ศ. 2541 ฉลองครบรอบ 36 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2541 เซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวกับ ปตท.
พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ISO 14001 ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2540 ผลิตก๊าซธรรมชาติครบ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2540 ติดตั้งแท่นผลิตก๊าซ 3 ขาแท่นแรกที่ก่อสร้างในประเทศไทย
พ.ศ. 2540 เริ่มการผลิต ณ แหล่งทานตะวันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และค้นพบแหล่งมะลิวัลย์
พ.ศ. 2539 ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งไพลินกับ ปตท.
พ.ศ. 2538 ค้นพบแหล่งเบญจมาศ และเริ่มต้นพัฒนาแหล่งทานตะวัน
พ.ศ. 2538 ขยายศูนย์เศรษฐพัฒน์ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ โดยการเพิ่มหน่วยฝึกอบรมปฏิบัติการฉุกเฉินและสถานีความปลอดภัยในน้ำ
พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองระดับสามขั้นสูง ด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย จากสถาบัน DNV ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการรับรองความปลอดภัยตามระบบ International Safety Rating System (ISRS)
พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยของกระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2537 ผลิตก๊าซครบ 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2535 ค้นพบแหล่งทานตะวันในอ่าวไทย
พ.ศ. 2534 ได้รับสัมปทานการสำรวจปิโตรเลียมแปลง B8/32
พ.ศ. 2533 ผลิตก๊าซครบ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2533 ติดตั้งสถานีเรดาร์ตรวจอากาศนอกฝั่งที่แหล่งก๊าซสตูล
พ.ศ. 2531 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 3 กับ ปตท.
พ.ศ. 2525 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 2 กับ ปตท.
พ.ศ. 2524 เริ่มผลิตก๊าซส่งขึ้นฝั่งที่โรงแยกก๊าซของ ปตท. จังหวัดระยอง
พ.ศ. 2523 ก่อตั้งศูนย์เศรษฐพัฒน์ เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมสำหรับพนักงานชาวไทย
พ.ศ. 2521 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับแรกกับ ปตท.
พ.ศ. 2516 ประสบความสำเร็จค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ ในแปลงหมายเลข 12 ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าแหล่ง “เอราวัณ”
พ.ศ. 2511 ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลงหมายเลข 12 และ 13 ในอ่าวไทย
พ.ศ. 2505 บริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุมัติสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย บริเวณที่ราบสูงโคราช
เมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ กับการเข้ามาดำเนินกิจการด้านปิโตรเลียมซึ่งหมายความถึงการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือจำหน่ายปิโตรเลียม และคำว่า “ปิโตรเลียม” หมายความว่า น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สารพลอยได้และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จึงสอดคล้องอย่างลงตัวว่านับแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว บริษัทจากประเทศมหาอำนาจอเมริกา คือ บริษัท เชฟรอน เท่านั้น ที่เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เต็มๆ จากพ.ร.บ.ฉบับนี้
จากนั้นจึงมีบริษัทจากประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เช่น อังกฤษ ติดตามมา บริษัทสัญชาติไทยอย่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท.ก็เกิดขึ้นตามมาในภายหลัง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกแปรรูปไปเป็นของเอกชนและทุนต่างชาติ ดังที่เป็นอยู่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 จึงเป็นเพียงกฎหมายทาส และเป็นเครื่องมืออนุญาตให้ทุนต่างชาติ ทุนสามานย์และนักการเมืองไทย ปล้นประเทศ และขายชาติโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นมรดกบาปให้คนไทยต้องรับกรรม ใช้พลังงานน้ำมันในราคาที่แพงที่สุด เป็นอันดับ 8 ของโลกอย่างทุกวันนี้