แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการน้ำ และอุทกภัยแห่งชาติ กบอช. เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานรับมือกับสถานการณ์น้ำอย่างละเอียดในทุกๆ ด้าน เพื่อเตรียมแถลงข่าวใหญ่ เกี่ยวกับความคืบหน้าในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในวันที่ 30 ส.ค.นี้ ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว
โดยนายกรัฐมนตรี และทีมบริหารจัดการน้ำ จะร่วมกันแถลงข่าว พร้อมกันนี้จะมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานกับสถานการณ์น้ำ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยนายกฯ ต้องการจะแจ้งข้อมูลให้กับประชาชนทราบว่า รัฐบาลได้ดำเนินการอะไรไปบ้างในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในปีที่ผ่านมา โดยต้นน้ำรัฐบาลได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปลูกป่า และทำฝายชะลอน้ำ จำนวนกว่า 800 แห่ง
นอกจากนี้ประชาชนที่มาร่วมงาน สามารถเข้าดูเว็บไซด์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเรื่องน้ำ ในรูปแบบจอ 4 มิติ ซึ่งจะตรวจสอบได้ว่า รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้วจริงหรือไม่ และพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งนายกฯเองต้องการแสดงให้เห็นว่า ทุกหน่วยงานได้ดำเนินการไปตามที่สั่งแล้วจริง ไม่ใช่แค่ผักชีโรยหน้า พร้อมกันนี้จะมีกล้องซีซีวี แสดงผลการดำเนินการปรับระดับน้ำของแต่ละเขื่อน
ในการแถลงข่าวจะมีการให้ข้อมูลด้วยว่าปีที่ผ่านมา น้ำท่วมเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งนายกฯ ขอให้รวบรวมข้อมูลทั้งหมด แต่การแถลงข่าวจะต้องไม่เป็นการโทษว่า ใครผิด ใครถูก แต่เป็นการพูดในลักษณะให้ข้อเท็จจริงที่เกิดจากปริมาณของน้ำ ไม่ใช่ว่าการจัดการบริหารน้ำไม่เป็นระบบ แต่ถูกละเลยแก้ปัญหามาแต่แรก และรายงานพื้นที่แก้มลิงทั่วประเทศว่า มีจุดไหนบ้าง โดยไม่มีการปิดบัง เพื่อให้ประชาชนเกิดความโล่งใจว่า อย่างน้อยรัฐบาลได้ดำเนินการป้องกันไว้แล้วบ้างอย่างไรในแต่ละพื้นที่ และจะบอกว่าพื้นที่ไหนน้ำท่วมแน่นอน หรือพื้นที่ไหนต้องเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง โดยพื้นที่เฝ้าระวังจะมีการกำหนดในลักษณะเป็นพื้นที่กว้าง
สำหรับเรื่องเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ในส่วนที่เป็นเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ในส่วนที่ยังตกหล่น หากมีการร้องเรียนเพิ่มเติมก็จะเป็นหน้าที่สำนักงานบรรเทาป้องกันสาธารณภัย ปภ.จะเป็นผู้รับผิดชอบ และจะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน และยึดหลักเกณฑ์เป็นที่ตั้ง เพราะถ้าไม่ยึดหลักเกณฑ์ก็จะเกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา และที่ผ่านมานายกฯ เองก็มองว่า ฝ่ายข้าราชการรู้ปัญหา รู้ในสิ่งที่รัฐบาลให้ดำเนินการ แต่กลับไม่ทำ นายกฯจึงพยายามไล่บี้เอาจริงเอาจังกับการทำงานตรงนี้
**แถลงผลงาน"ปู"1ปีต.ค.นี้
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำรายงานแถลงผลงานรัฐบาลว่า มีความคืบหน้าไปประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่อยากจะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และดีที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ให้สาธารณชน และสภาได้รับทราบ ซึ่งจะมีการประชุมกันอีกประมาณ 2 ครั้ง
สำหรับนโยบายต่างๆได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้ง16 นโยบาย ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการต่อเนื่อง เช่น กองทุนสตรี โครงการรับจำนำข้าว โครงการแท็บเล็ต เป็นต้น
ทั้งนี้ จะเสนอร่างฯผลงานสุดท้ายให้คณะรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ก.ย.55 และหลังจากนั้นจะมีการจัดพิมพ์และน่าจะส่งสภาฯได้ภายในกลางเดือนตุลาคม ซึ่งถือว่าเร็ว แต่รูปแบบที่จะเสนอต่อประชาชน คิดว่าจะให้ประชาชนได้รับรู้อย่างกว้างขวาง โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ทั้งเว็บไซต์ แผ่นพับ และจัดทำรูปเล่ม คาดว่าจะมีการแถลงผลงานกับประชาชนได้ในปลายเดือนส.ค.นี้ หรืออย่างช้าประมาณต้นเดือนก.ย.
เมื่อถามว่า หนักใจหรือไม่ที่ฝ่ายค้านเตรียมอภิปรายว่า นโยบายของรัฐบาลล้มเหลว นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า เราชี้แจงให้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆไม่ใช่จากความรู้สึก ให้ประชาชนและฝ่ายค้านได้เห็น ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจในการตอบคำถามฝ่ายค้าน
เมื่อถามว่า หนักใจเรื่องการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า เราต้องแยกในส่วนของนโยบาย ต้องดูว่านโยบายดีหรือไม่ ซึ่งโครงการรับจำนำข่าวมีดีหลายข้อ ทำให้ราคาข้าวของประเทศมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ทำให้การปรับปรุงคุณภาพข้าวดียิ่งขึ้น เมื่อนโยบายดี หากการปฏิบัติของคนไม่ดีเราก็ต้องช่วยกันดูและลงโทษ ช่วยกันทำให้โปร่งใส
เมื่อถามว่า ในการแถลงผลงานรอบปีที่ผ่านมา จะมีการระบุถึงงานที่จะทำต่อไปในอนาคตล่วงหน้าหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า จะแถลงผลงานปีปัจจุบันก่อน ส่วนผลงานในอนาคต อาจจะมีการให้ข่าวเพิ่มเติม เมื่อถามว่า จะยังคงรูปแบบเปรียบเทียบกับผลงานรัฐบาลชุดที่ผ่านหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า คงจะไม่เปรียบเทียบ แต่อยากเรียนว่า การทำงานของรัฐบาลนี้ไม่ครบ 1 ปีด้วยซ้ำ เพราะมีเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้เสียเวลาหลายเดือน แต่ตนเชื่อว่าผลงานจะเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชนไม่แพ้ใคร
โดยนายกรัฐมนตรี และทีมบริหารจัดการน้ำ จะร่วมกันแถลงข่าว พร้อมกันนี้จะมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานกับสถานการณ์น้ำ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยนายกฯ ต้องการจะแจ้งข้อมูลให้กับประชาชนทราบว่า รัฐบาลได้ดำเนินการอะไรไปบ้างในพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในปีที่ผ่านมา โดยต้นน้ำรัฐบาลได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปลูกป่า และทำฝายชะลอน้ำ จำนวนกว่า 800 แห่ง
นอกจากนี้ประชาชนที่มาร่วมงาน สามารถเข้าดูเว็บไซด์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเรื่องน้ำ ในรูปแบบจอ 4 มิติ ซึ่งจะตรวจสอบได้ว่า รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้วจริงหรือไม่ และพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งนายกฯเองต้องการแสดงให้เห็นว่า ทุกหน่วยงานได้ดำเนินการไปตามที่สั่งแล้วจริง ไม่ใช่แค่ผักชีโรยหน้า พร้อมกันนี้จะมีกล้องซีซีวี แสดงผลการดำเนินการปรับระดับน้ำของแต่ละเขื่อน
ในการแถลงข่าวจะมีการให้ข้อมูลด้วยว่าปีที่ผ่านมา น้ำท่วมเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งนายกฯ ขอให้รวบรวมข้อมูลทั้งหมด แต่การแถลงข่าวจะต้องไม่เป็นการโทษว่า ใครผิด ใครถูก แต่เป็นการพูดในลักษณะให้ข้อเท็จจริงที่เกิดจากปริมาณของน้ำ ไม่ใช่ว่าการจัดการบริหารน้ำไม่เป็นระบบ แต่ถูกละเลยแก้ปัญหามาแต่แรก และรายงานพื้นที่แก้มลิงทั่วประเทศว่า มีจุดไหนบ้าง โดยไม่มีการปิดบัง เพื่อให้ประชาชนเกิดความโล่งใจว่า อย่างน้อยรัฐบาลได้ดำเนินการป้องกันไว้แล้วบ้างอย่างไรในแต่ละพื้นที่ และจะบอกว่าพื้นที่ไหนน้ำท่วมแน่นอน หรือพื้นที่ไหนต้องเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง โดยพื้นที่เฝ้าระวังจะมีการกำหนดในลักษณะเป็นพื้นที่กว้าง
สำหรับเรื่องเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ในส่วนที่เป็นเงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ในส่วนที่ยังตกหล่น หากมีการร้องเรียนเพิ่มเติมก็จะเป็นหน้าที่สำนักงานบรรเทาป้องกันสาธารณภัย ปภ.จะเป็นผู้รับผิดชอบ และจะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน และยึดหลักเกณฑ์เป็นที่ตั้ง เพราะถ้าไม่ยึดหลักเกณฑ์ก็จะเกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมา และที่ผ่านมานายกฯ เองก็มองว่า ฝ่ายข้าราชการรู้ปัญหา รู้ในสิ่งที่รัฐบาลให้ดำเนินการ แต่กลับไม่ทำ นายกฯจึงพยายามไล่บี้เอาจริงเอาจังกับการทำงานตรงนี้
**แถลงผลงาน"ปู"1ปีต.ค.นี้
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำรายงานแถลงผลงานรัฐบาลว่า มีความคืบหน้าไปประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่อยากจะทำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และดีที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ให้สาธารณชน และสภาได้รับทราบ ซึ่งจะมีการประชุมกันอีกประมาณ 2 ครั้ง
สำหรับนโยบายต่างๆได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้ง16 นโยบาย ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการต่อเนื่อง เช่น กองทุนสตรี โครงการรับจำนำข้าว โครงการแท็บเล็ต เป็นต้น
ทั้งนี้ จะเสนอร่างฯผลงานสุดท้ายให้คณะรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ก.ย.55 และหลังจากนั้นจะมีการจัดพิมพ์และน่าจะส่งสภาฯได้ภายในกลางเดือนตุลาคม ซึ่งถือว่าเร็ว แต่รูปแบบที่จะเสนอต่อประชาชน คิดว่าจะให้ประชาชนได้รับรู้อย่างกว้างขวาง โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ทั้งเว็บไซต์ แผ่นพับ และจัดทำรูปเล่ม คาดว่าจะมีการแถลงผลงานกับประชาชนได้ในปลายเดือนส.ค.นี้ หรืออย่างช้าประมาณต้นเดือนก.ย.
เมื่อถามว่า หนักใจหรือไม่ที่ฝ่ายค้านเตรียมอภิปรายว่า นโยบายของรัฐบาลล้มเหลว นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า เราชี้แจงให้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆไม่ใช่จากความรู้สึก ให้ประชาชนและฝ่ายค้านได้เห็น ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจในการตอบคำถามฝ่ายค้าน
เมื่อถามว่า หนักใจเรื่องการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า เราต้องแยกในส่วนของนโยบาย ต้องดูว่านโยบายดีหรือไม่ ซึ่งโครงการรับจำนำข่าวมีดีหลายข้อ ทำให้ราคาข้าวของประเทศมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ทำให้การปรับปรุงคุณภาพข้าวดียิ่งขึ้น เมื่อนโยบายดี หากการปฏิบัติของคนไม่ดีเราก็ต้องช่วยกันดูและลงโทษ ช่วยกันทำให้โปร่งใส
เมื่อถามว่า ในการแถลงผลงานรอบปีที่ผ่านมา จะมีการระบุถึงงานที่จะทำต่อไปในอนาคตล่วงหน้าหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า จะแถลงผลงานปีปัจจุบันก่อน ส่วนผลงานในอนาคต อาจจะมีการให้ข่าวเพิ่มเติม เมื่อถามว่า จะยังคงรูปแบบเปรียบเทียบกับผลงานรัฐบาลชุดที่ผ่านหรือไม่ นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า คงจะไม่เปรียบเทียบ แต่อยากเรียนว่า การทำงานของรัฐบาลนี้ไม่ครบ 1 ปีด้วยซ้ำ เพราะมีเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้เสียเวลาหลายเดือน แต่ตนเชื่อว่าผลงานจะเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชนไม่แพ้ใคร