xs
xsm
sm
md
lg

ไฟเขียวผลเฮียร์ริ่งตลท. เพิ่มเกณฑ์มาร์เกตแคป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน-ตลาดหลักทรัพย์ฯเผยผลเฮียร์ริ่ง ปรับปรุงเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องบริษัทจดทะเบียนนั้น ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นด้วยทุกเรื่อง “เพิ่มเกณฑ์มาร์เกตแคปในเกณฑ์รับหลักทรัพย์-การย้ายตลาดจากเอ็มเอไอไป เซ็ทใช้เกณฑ์มารเกตแคป-รับหลักทรัพย์ต่างประเทศฯลฯ”

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ในส่วนทีเกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียน จากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียน ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน ที่ปรึกษากฎหมายรวม 21 ราย และสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม ถึง 26 กรกฎาคม 2555 โดยเรื่องการเพิ่มเกณฑ์ Market Capitalization Test ในการรับหลักทรัพย์ ซึ่งจะต้องมีขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เกตแคป)ที่ 5,000 ล้านบาท มีกำไรติดต่อกัน3ปี มีผู้เห็นด้วย100% แต่มีผู้เสนอเพิ่มเติมว่าขนาดของมาร์เกตแคปควรลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2,500-3,000ล้านบาทและลดเวลาการมีกำไรติดต่อกันลง ขณะที่บางรายเห็นว่าควรเพิ่มระเวลาการSame Management โดยความเห็นเบื้องต้นของตลาดหลักทรัพย์ฯมองว่าเกณฑ์ Market Capitalization Testจะเปิดโอกาสให้บริษัทที่มีขนาดใหญ่สามารถเข้าระดมทุนได้ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจบางประเภทที่ยังไม่มีผลประกอบการในช่วงต้นเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุนและสร้างเกณฑ์ของSETให้เป็นมาตรฐานสากล อย่างไรก็ตามตลาหลักทรัพย์ฯจะพิจารณาจุดยืนของSET ประกอบการพิจารณาด้วย

ทั้งนี้เรื่องการให้บริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai)โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทจะต้องจดทะเบียนซื้อขายในmaiมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี ไม่มีเหตุการณ์ที่เข้าข่ายการสร้างราคาโดยมีมาร์เกตแคปเฉลี่ย3 เดือนย้อนหลังและ 10 วันทำการย้อนหลังติดต่อกันก่อนการย้ายตลาดไม่ต่ำกว่า5,000 ล้านบาท นั้นมีผู้เห็นด้วย100%ซึ่งความเห็นเบื้องต้นของตลาดหลักทรัพย์ฯเกณฑ์นี้จะสอดคล้องกับหลักการของการย้ายตลาดโดยทั่วไป สำหรับเกณฑ์การรับบริษัทจดทะเบียนต่างประเทศ (Secondary Listing)ให้ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้บริษัทต่างประเทศต้องจดทะเบียนในตลาด(Home Exchange)มาไม่ต่ำกว่า 3 ปี มีผู้เห็นด้วย 62%

สำหรับการกำหนดให้บริษัทต้องดำรงการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยไม่บังคับให้กับบริษัทจดทะเบียนที่เข้าจดทะเบียนมาแล้วก่อนหน้านี้และยังไม่มีการจัดตั้งกองทุน โดยมีผู้เห็นด้วย100%
ขณะเรื่องการยกเลิกเกณฑ์เพิกถอนกรณีบจ.มีทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญน้อยกว่า60 ล้านบาท นั้นมีผู้เห็นด้วย100% ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าอาจจะยังคงเกณฑ์ไว้ให้ แต่ลดลงเหลือ 30 ล้านบาทเป็นต้น และการพิจารณาคุณสมบัติรับหลักทรัพย์ใหม่จะพิจารณาจากบริษัทรวม (บริษัทจดทะเบียนเดิมรวมกับธุรกิจของบริษัทที่เข้ามาใหม่)โดยมีผู้เห็นด้วย 95% ขณะที่มีผู้ไม่เห็นด้วย 5%โดยมีผู้ที่มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีการระบุนิยามเช่น อำนาจควบคุมและแนวทางการนับรวมรายการให้ชัดเจน โดยความเห็นเบื้องต้นของตลาดหลักทรัพย์นั้นมองว่าการปรับปรุงจะสอดคล้องกับเจตนารมณืของเกณฑ์RTO ลดภาระของบริษัทที่ต้องการขยายธุรกิจ

ส่วน การปรับปรุงขั้นตอนการพิจารณารับหลักทรัพย์ใหม่ (Relisting) กรณีบจ.ควบรวมกับบริษัทที่ไม่ใช่บจ.นั้นมีผู้เห็นด้วย100% การปรับปรุงนิยามขั้นตอนการพิจารณารับหลักทรัพย์กรณีCash Company โดยให้Cash Companyดำเนินการหาธุรกิจภายใน12 เดือนโดยตลาดหลักทรัพย์จะขึ้น NP 3 เดือน และหากบริษัทจดทะเบียนยังไม่สามารถแก้ไขสถานะได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจะขึ้น SP ต่อจากการขึ้นNPเป็นเวลา 9เดือน หรือจนกว่าแก้ไขสถานะได้ มีผู้เห็นด้วย95%

การปรับปรุงขันตอนการเพิกถอนจาการเป็นบจ.โดยสมัครใจ (Voluntary Delisting)โดยปรับฐานการลงคะแนนเป็น ผู้ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง รวมการจัดการข้อมูลนำเสนอไว้ในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเพิกถอน กรณีปรับโครงสร้างเป็น โฮดดิ้งคอมพานี และมีการแลกหุ้น (แชร์สวอป)ให้ยกเว้นการ คันค้านในการขอมติเพิกถอนของบริษัทเดิมนั้น มีผู้เห็นด้วย 86% และผู้ไม่เห็นด้วย 14% โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีความเห็นว่าควรใช้ฐานการลงทุนคะแนนเดิม เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญ

นอกจานี้การยกเลิกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ(Shot- Term Warrant)อายุไม่เกิน2 เดือน มีผู้เห็นด้วย100% ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯมีความเห็นเบื้องต้น เพื่อลดเกณฑ์ที่มีความซ้ำซ้อน เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์มีใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR) ซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้
กำลังโหลดความคิดเห็น