หอการค้าไทยเผย 7 กลุ่มธุรกิจอ่วมวิกฤตยูโรโซน ส่งออกลดลงชัดเจน อัญมณีและเครื่องประดับวูบสุดในตลาดยูโรลดลง 23.58% คาดลากยาวถึงครึ่งปีหลัง เตรียมชงมาตรการต่อรัฐบาล ช่วยกอบกู้เศรษฐกิจไทย ด้านโพลชี้ผู้ประกอบการไม่เห็นแผนรับมือของรัฐบาล
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ทำการสำรวจสมาชิกของหอการค้าไทยจำนวน 7 กลุ่มธุรกิจ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตยูโรโซน พบว่า ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบในทิศทางที่แย่ลง และจะเพิ่มผลกระทบมากขึ้นในระยะยาว เนื่องจากยังไม่เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐที่ชัดเจน โดยเฉพาะยอดการส่งออกสินค้าโดยไปตรงตลาดยุโรปในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 ลดลงถึง 12.6% และยังได้รับผลกระทบทางอ้อมในการส่งออกไปตลาดอื่นๆ ทั้งในเอเชียและสหรัฐฯ เนื่องจากผู้ส่งออกทั่วโลกส่งสินค้าไปยุโรปได้น้อยลง ทำให้ส่งสินค้าไปแข่งในตลาดอื่นทดแทน ส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านราคา
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ในกลุ่มสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม พบว่า การส่งออก 6 เดือนลดลง 10% และคาดว่าการส่งออกทั้งปีก็น่าจะติดลบที่ 10% กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ การส่งออก 6 เดือน ลดลง 10.89% เฉพาะตลาดยุโรป ลดลง 23.58% กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออก 6 เดือน ลดลง 12.15% เฉพาะยุโรปลดลง 5.3% ส่วนครึ่งปีหลัง คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตยูโรโซน
เพราะตลาดยุโรปมีสัดส่วนในการส่งออกของไทยถึง 13%
กลุ่มอาหาร การส่งออก 6 เดือน ลดลง 10.15% และคาดว่าทั้งปีจะลดลง 10-15% เพราะสินค้าหลายๆ รายการยังมีปัญหาในด้านการส่งออก โดยเฉพาะกุ้ง กลุ่มยางพารา การส่งออกลดลง 33% และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี เนื่องจากได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นและจีน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศส่งออกไปยุโรปเป็นตลาดหลัก กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ การส่งออกที่ผ่านมาลดลงไม่ถึง 10% เนื่องจากมีการวางแผนการตลาดไว้ล่วงหน้า และคาดว่า 6 เดือนที่เหลือจะลดลงเล็กน้อย
นายวิชัยกล่าวว่า แม้ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในยูโรโซนจะยังไม่รุนแรง และยังไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวต่ำกว่า 5% แต่ในอนาคตผลกระทบอาจรุนแรงขึ้นได้และอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงปีหน้า หากรัฐบาลไม่ต้องการให้ผลกระทบขยายวงกว้าง จะต้องมีแผนการและมาตรการรับมือ โดยหอการค้าไทยเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งดำเนินการหามาตรการรองรับวิกฤตดังกล่าวโดยได้นำเสนอมาตรการระยะสั้น กลางและยาว จำนวน 10 มาตรการ เพื่อให้รัฐบาลเร่งพิจารณา
ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชน หอการค้าไทยมีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวโดยหาตลาดใหม่ เพิ่มการค้าขายกับประเทศในภูมิภาคให้มากขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย และประเทศในอาเซียน โดยไม่ทิ้งตลาดเดิม ต้องสำรองเงินทุนระยะสั้น และวางแผนการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการมากถึง 58.5% ที่เห็นว่ารัฐบาลยังไม่มีผลงานในเรื่องการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป พร้อมทั้งเสนอให้ทำงานให้จริงจังกว่าที่เป็นอยู่ และควรร่วมมือกันทำงานกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้ทำการสำรวจสมาชิกของหอการค้าไทยจำนวน 7 กลุ่มธุรกิจ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตยูโรโซน พบว่า ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบในทิศทางที่แย่ลง และจะเพิ่มผลกระทบมากขึ้นในระยะยาว เนื่องจากยังไม่เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐที่ชัดเจน โดยเฉพาะยอดการส่งออกสินค้าโดยไปตรงตลาดยุโรปในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 ลดลงถึง 12.6% และยังได้รับผลกระทบทางอ้อมในการส่งออกไปตลาดอื่นๆ ทั้งในเอเชียและสหรัฐฯ เนื่องจากผู้ส่งออกทั่วโลกส่งสินค้าไปยุโรปได้น้อยลง ทำให้ส่งสินค้าไปแข่งในตลาดอื่นทดแทน ส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านราคา
สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ในกลุ่มสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม พบว่า การส่งออก 6 เดือนลดลง 10% และคาดว่าการส่งออกทั้งปีก็น่าจะติดลบที่ 10% กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ การส่งออก 6 เดือน ลดลง 10.89% เฉพาะตลาดยุโรป ลดลง 23.58% กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออก 6 เดือน ลดลง 12.15% เฉพาะยุโรปลดลง 5.3% ส่วนครึ่งปีหลัง คาดว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตยูโรโซน
เพราะตลาดยุโรปมีสัดส่วนในการส่งออกของไทยถึง 13%
กลุ่มอาหาร การส่งออก 6 เดือน ลดลง 10.15% และคาดว่าทั้งปีจะลดลง 10-15% เพราะสินค้าหลายๆ รายการยังมีปัญหาในด้านการส่งออก โดยเฉพาะกุ้ง กลุ่มยางพารา การส่งออกลดลง 33% และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี เนื่องจากได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นและจีน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศส่งออกไปยุโรปเป็นตลาดหลัก กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ การส่งออกที่ผ่านมาลดลงไม่ถึง 10% เนื่องจากมีการวางแผนการตลาดไว้ล่วงหน้า และคาดว่า 6 เดือนที่เหลือจะลดลงเล็กน้อย
นายวิชัยกล่าวว่า แม้ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในยูโรโซนจะยังไม่รุนแรง และยังไม่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวต่ำกว่า 5% แต่ในอนาคตผลกระทบอาจรุนแรงขึ้นได้และอาจจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงปีหน้า หากรัฐบาลไม่ต้องการให้ผลกระทบขยายวงกว้าง จะต้องมีแผนการและมาตรการรับมือ โดยหอการค้าไทยเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งดำเนินการหามาตรการรองรับวิกฤตดังกล่าวโดยได้นำเสนอมาตรการระยะสั้น กลางและยาว จำนวน 10 มาตรการ เพื่อให้รัฐบาลเร่งพิจารณา
ทั้งนี้ ในส่วนของภาคเอกชน หอการค้าไทยมีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวโดยหาตลาดใหม่ เพิ่มการค้าขายกับประเทศในภูมิภาคให้มากขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย และประเทศในอาเซียน โดยไม่ทิ้งตลาดเดิม ต้องสำรองเงินทุนระยะสั้น และวางแผนการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการมากถึง 58.5% ที่เห็นว่ารัฐบาลยังไม่มีผลงานในเรื่องการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป พร้อมทั้งเสนอให้ทำงานให้จริงจังกว่าที่เป็นอยู่ และควรร่วมมือกันทำงานกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ