สมัยก่อนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นตลาดวิชา พอถึงปี 2502 ก็เริ่มเป็นมหาวิทยาลัยปิด มีการสอบเข้าและมีคณะศิลปศาสตร์ แต่คณะที่คนนิยมมากที่สุดก็คือ คณะนิติศาสตร์ ก่อนที่จะมีคณะนิติศาสตร์ มีหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต หรือที่เรียกว่า ธ.บ. ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นี้ อาจารย์ที่มาสอนเป็นผู้พิพากษา เพราะศาลตอนนั้นก็ตั้งอยู่แถวๆ สนามหลวง ผู้พิพากษาที่มาสอนเป็นอาจารย์พิเศษ และแต่ละคนก็เป็นคนเก่งๆ ทั้งสิ้น ตำราที่ท่านเขียนส่วนใหญ่ก็เป็นตำราชั้นยอด
สมัยก่อนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการสอบแยก ดังนั้นถ้าใครหวังจะเข้าที่ไหนก็ต้องเลือกไว้ และมุ่งเข้าให้ได้ ไม่มีการเลือกเป็นอันดับต่างๆ ตัวผมเองได้สอบเข้าที่ธรรมศาสตร์และที่จุฬาฯ เลือกคณะนิติศาสตร์ทั้งคู่ ที่นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์นั้น ชั้นเรียนมีขนาดใหญ่กว่าที่จุฬาฯ ที่จุฬาฯ คณะนิติศาสตร์ขณะนั้นยังไม่มี มีแต่แผนกนิติศาสตร์ สังกัดอยู่ในคณะรัฐศาสตร์แผนกนิติศาสตร์เพิ่งตั้งได้ 2-3 ปี ผมสอบเข้าธรรมศาสตร์ที่ได้ 20 กว่าๆ ส่วนที่นิติศาสตร์จุฬาฯ สอบได้ที่ 2 ภาษาอังกฤษได้รับการยกเว้น มีคนสอบเข้าได้ 20 คน คนที่หนึ่งเป็นนักเรียนเตรียมชื่อ บรรจงศิลป์ วงศ์วรรณ
ผมตัดสินใจเลือกเข้าจุฬาฯ เพราะชั้นเรียนมีคนน้อยเทียบกับธรรมศาสตร์แล้วก็น้อยกว่ามาก อีกทั้งอาจารย์พิเศษก็เป็นอาจารย์คนเดียวกัน เวลานั้นท่านอาจารย์ประกอบ หุตะสิงห์ สอนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ที่แปลกก็คือวิชาธรรมนูญศาลยุติธรรมนั้น ที่จุฬาฯ เรียนตั้งแต่ปีหนึ่ง ส่วนที่ธรรมศาสตร์เป็นวิชาของชั้นปีที่ 3 คนสอนวิชานี้คือ “ลุงอ่วม” หรือหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ท่านเข้มงวดในเรื่องการเขียนภาษาไทยมาก ต้องตัวโตๆ มีหัว และเว้นช่องว่างในสมุดคำตอบสามกระเบียดนิ้ว วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
อาจารย์ประพนธ์ ศาตะมาน เป็นผู้สอนวิชากฎหมายอาญา อาจารย์อุททิศ แสนโกศิก เป็นผู้สอน ส่วนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้งไปเรียนรวมกับพวกรัฐศาสตร์ จำได้ว่าผู้สอนสวมสูทหวีผมเรียบแปล้มาสอนทุกวัน คือ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ สำหรับกฎหมายปกครองนั้น ดร.ประยูร กาญจนดุล เป็นผู้สอน วิชานี้มีความอัศจรรย์ตรงที่อาจารย์พูดตรงกับหนังสือที่เขียนทุกตัวอักษรเลย เมื่อผมโตขึ้นได้มาเป็นราชบัณฑิตพร้อมกับท่านอาจารย์ดร.ประยูร กาญจนดุล ผมเคยแสดงปาฐกถาเรื่องลิง ว่ามันมีอะไรคล้ายมนุษย์มาก และวิเคาะห์พฤติกรรมทางการอยู่ร่วมกันของลิง ท่านอาจารย์ดร.ประยูร ท่านฟังแล้วก็ไม่ค่อยจะชอบเท่าไร
คณะรัฐศาสตร์เวลานั้นมีอาจารย์หนุ่มๆ ที่เก่งกล้าสามารถมาก มี “3 มหาอำนาจ” คือ “โฉมฉาย-สายหู-ชูโต” ทั้งสามคนคือ ดร.ประชุม โฉมฉาย อาจารย์พัทยา สายหู และดร.สมศักดิ์ ชูโต ทั้งสามท่านเป็นนักเรียนอังกฤษ ดร.สมศักดิ์ สมาร์ทกว่าเพื่อน ท่านชอบสวมกางเกงสีฟ้าอ่อน สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้นแล้วผูกเนกไท นอกจากนั้นก็มีอาจารย์จรูญ สุภาพ และอาจารย์เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ ซึ่งเฟื่องฟูมากเพราะเป็นอาจารย์หนุ่มอายุแค่ 30 กว่าๆ แต่ได้เป็นสมาชิกสภาฯ ด้วย
ผมรู้สึกว่าการเรียนกฎหมายเป็นการเรียนที่มีความชัดเจนมาก ผู้บรรยายแต่ละคนก็สอนได้แจ่มแจ้ง ผมมักจะจำภาษิตละตินไปตอบข้อสอบด้วย ทำให้ได้คะแนนดี และเมื่อสอบปีหนึ่ง ผมก็ได้ที่หนึ่งของห้อง เวลานั้นผมอายุเพียง 16 ปี หากเรียน 4 ปีจบก็อายุ 20 ยังเป็นผู้พิพากษาไม่ได้ เพราะต้องอายุ 25 ปี
ผู้พิพากษาสมัยก่อน หากใครไม่ได้เนติบัณฑิตอังกฤษก็ดูจะน้อยหน้าคนอื่น พ่อผมมักจะยกตัวอย่างนักเรียนอังกฤษเก่งๆ มาเล่าให้ผมฟังเสมอ และรับวารสารกฎหมายที่มีคนจบเนติบัณฑิตจากอังกฤษเขียนมาให้ผมอ่านด้วย นอกจากนั้นยังเล่าด้วยว่าที่เมืองไทยมีคนจบปริญญาเอกทางกฎหมายแล้ว การเล่าเรื่องคนเก่งๆ ให้เด็กฟังทำให้เราเกิดความใฝ่ดี จะว่าไปแล้วสมัยก่อนเด็กๆ อย่างผมนับว่าโชคดีมากที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น พ่อผมจะพาไปฟังเสถียร โพธินันทะ พูดที่เชียงใหม่ ได้ฟังท่านปัญญานันทะ พูดเป็นการยืนเทศน์ไม่ใช่นั่งเทศน์ นับว่าแปลกตา เวลาท่านเทศน์จะมีคนไปฟังนับพันคน
เวลานี้ผมเห็นป้ายติดว่ามีโครงการสอนเด็กว่าโตแล้วอย่าโกง สมัยก่อนไม่จำเป็นต้องมีโครงการเช่นนี้ เพราะพ่อแม่เป็นผู้สอน อย่างผมโตมาก็ได้ยินพ่อแม่พูดถึงคนดี ซื่อสัตย์ และก็ได้พบตัวจริง อย่างเช่นท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นต้น ทำให้เราอยากเป็นคนดีเช่นนั้นบ้าง อีกคนหนึ่งที่พ่อผมมาเล่าว่าเก่งมากก็คือ คุณอัครวิทย์ สุมาวงศ์ ต่อมาผมก็ได้รู้จักท่าน
ผมเคยหวังว่าเมื่อจบแล้วอายุยังไม่ถึง 25 ก็จะสอบเนติบัณฑิตไทยก่อนแล้วจึงไปเรียนเนติบัณฑิตที่อังกฤษ จบแล้วก็จะสอบเป็นผู้พิพากษา แต่เรียนได้แค่ปีสองผมก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ เป็นอันว่าความหวังที่จะได้เป็นผู้พิพากษาก็หมดไป
แม้ว่าผมจะเรียนไม่จบ แต่พ่อผมก็จบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พ่อผมเรียนเมื่ออายุมากแล้ว และเรียนเพื่อมาติวผมด้วย ผมเคยคิดว่าหากผมเรียนกฎหมายจบก็คงเป็นผู้พิพากษา ชีวิตก็จะเรียบง่ายไม่เหมือนกับเรียนรัฐศาสตร์
แม้ว่าจะเรียนกฎหมายเพียงปีเดียว แต่ก็เป็นประโยชน์ตรงที่ได้ตรรก และความกระชับจากการต้องศึกษาความเป็นเหตุและผล มีองค์ประกอบต่างๆ ทำให้เป็นประโยชน์ในการเรียน และการคิดด้วย แม้ว่าจะต้องไปเรียนปีหนึ่งใหม่ก็ไม่เป็นการสูญเปล่า
ผมโชคดีที่ได้เรียนกับอาจารย์ดีๆ ทั้งนั้น พอผมสอบได้ทุนไปเรียนเมืองนอก “ไอ้อ้วนที่ชอบนั่งหลับมันไปไหน” พอเพื่อนตอบว่าได้ทุนไปเรียนเมืองนอก ท่านทำหน้าแปลกใจ
สมัยก่อนการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นการสอบแยก ดังนั้นถ้าใครหวังจะเข้าที่ไหนก็ต้องเลือกไว้ และมุ่งเข้าให้ได้ ไม่มีการเลือกเป็นอันดับต่างๆ ตัวผมเองได้สอบเข้าที่ธรรมศาสตร์และที่จุฬาฯ เลือกคณะนิติศาสตร์ทั้งคู่ ที่นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์นั้น ชั้นเรียนมีขนาดใหญ่กว่าที่จุฬาฯ ที่จุฬาฯ คณะนิติศาสตร์ขณะนั้นยังไม่มี มีแต่แผนกนิติศาสตร์ สังกัดอยู่ในคณะรัฐศาสตร์แผนกนิติศาสตร์เพิ่งตั้งได้ 2-3 ปี ผมสอบเข้าธรรมศาสตร์ที่ได้ 20 กว่าๆ ส่วนที่นิติศาสตร์จุฬาฯ สอบได้ที่ 2 ภาษาอังกฤษได้รับการยกเว้น มีคนสอบเข้าได้ 20 คน คนที่หนึ่งเป็นนักเรียนเตรียมชื่อ บรรจงศิลป์ วงศ์วรรณ
ผมตัดสินใจเลือกเข้าจุฬาฯ เพราะชั้นเรียนมีคนน้อยเทียบกับธรรมศาสตร์แล้วก็น้อยกว่ามาก อีกทั้งอาจารย์พิเศษก็เป็นอาจารย์คนเดียวกัน เวลานั้นท่านอาจารย์ประกอบ หุตะสิงห์ สอนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ที่แปลกก็คือวิชาธรรมนูญศาลยุติธรรมนั้น ที่จุฬาฯ เรียนตั้งแต่ปีหนึ่ง ส่วนที่ธรรมศาสตร์เป็นวิชาของชั้นปีที่ 3 คนสอนวิชานี้คือ “ลุงอ่วม” หรือหลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ท่านเข้มงวดในเรื่องการเขียนภาษาไทยมาก ต้องตัวโตๆ มีหัว และเว้นช่องว่างในสมุดคำตอบสามกระเบียดนิ้ว วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
อาจารย์ประพนธ์ ศาตะมาน เป็นผู้สอนวิชากฎหมายอาญา อาจารย์อุททิศ แสนโกศิก เป็นผู้สอน ส่วนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้งไปเรียนรวมกับพวกรัฐศาสตร์ จำได้ว่าผู้สอนสวมสูทหวีผมเรียบแปล้มาสอนทุกวัน คือ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ สำหรับกฎหมายปกครองนั้น ดร.ประยูร กาญจนดุล เป็นผู้สอน วิชานี้มีความอัศจรรย์ตรงที่อาจารย์พูดตรงกับหนังสือที่เขียนทุกตัวอักษรเลย เมื่อผมโตขึ้นได้มาเป็นราชบัณฑิตพร้อมกับท่านอาจารย์ดร.ประยูร กาญจนดุล ผมเคยแสดงปาฐกถาเรื่องลิง ว่ามันมีอะไรคล้ายมนุษย์มาก และวิเคาะห์พฤติกรรมทางการอยู่ร่วมกันของลิง ท่านอาจารย์ดร.ประยูร ท่านฟังแล้วก็ไม่ค่อยจะชอบเท่าไร
คณะรัฐศาสตร์เวลานั้นมีอาจารย์หนุ่มๆ ที่เก่งกล้าสามารถมาก มี “3 มหาอำนาจ” คือ “โฉมฉาย-สายหู-ชูโต” ทั้งสามคนคือ ดร.ประชุม โฉมฉาย อาจารย์พัทยา สายหู และดร.สมศักดิ์ ชูโต ทั้งสามท่านเป็นนักเรียนอังกฤษ ดร.สมศักดิ์ สมาร์ทกว่าเพื่อน ท่านชอบสวมกางเกงสีฟ้าอ่อน สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้นแล้วผูกเนกไท นอกจากนั้นก็มีอาจารย์จรูญ สุภาพ และอาจารย์เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ ซึ่งเฟื่องฟูมากเพราะเป็นอาจารย์หนุ่มอายุแค่ 30 กว่าๆ แต่ได้เป็นสมาชิกสภาฯ ด้วย
ผมรู้สึกว่าการเรียนกฎหมายเป็นการเรียนที่มีความชัดเจนมาก ผู้บรรยายแต่ละคนก็สอนได้แจ่มแจ้ง ผมมักจะจำภาษิตละตินไปตอบข้อสอบด้วย ทำให้ได้คะแนนดี และเมื่อสอบปีหนึ่ง ผมก็ได้ที่หนึ่งของห้อง เวลานั้นผมอายุเพียง 16 ปี หากเรียน 4 ปีจบก็อายุ 20 ยังเป็นผู้พิพากษาไม่ได้ เพราะต้องอายุ 25 ปี
ผู้พิพากษาสมัยก่อน หากใครไม่ได้เนติบัณฑิตอังกฤษก็ดูจะน้อยหน้าคนอื่น พ่อผมมักจะยกตัวอย่างนักเรียนอังกฤษเก่งๆ มาเล่าให้ผมฟังเสมอ และรับวารสารกฎหมายที่มีคนจบเนติบัณฑิตจากอังกฤษเขียนมาให้ผมอ่านด้วย นอกจากนั้นยังเล่าด้วยว่าที่เมืองไทยมีคนจบปริญญาเอกทางกฎหมายแล้ว การเล่าเรื่องคนเก่งๆ ให้เด็กฟังทำให้เราเกิดความใฝ่ดี จะว่าไปแล้วสมัยก่อนเด็กๆ อย่างผมนับว่าโชคดีมากที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น พ่อผมจะพาไปฟังเสถียร โพธินันทะ พูดที่เชียงใหม่ ได้ฟังท่านปัญญานันทะ พูดเป็นการยืนเทศน์ไม่ใช่นั่งเทศน์ นับว่าแปลกตา เวลาท่านเทศน์จะมีคนไปฟังนับพันคน
เวลานี้ผมเห็นป้ายติดว่ามีโครงการสอนเด็กว่าโตแล้วอย่าโกง สมัยก่อนไม่จำเป็นต้องมีโครงการเช่นนี้ เพราะพ่อแม่เป็นผู้สอน อย่างผมโตมาก็ได้ยินพ่อแม่พูดถึงคนดี ซื่อสัตย์ และก็ได้พบตัวจริง อย่างเช่นท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นต้น ทำให้เราอยากเป็นคนดีเช่นนั้นบ้าง อีกคนหนึ่งที่พ่อผมมาเล่าว่าเก่งมากก็คือ คุณอัครวิทย์ สุมาวงศ์ ต่อมาผมก็ได้รู้จักท่าน
ผมเคยหวังว่าเมื่อจบแล้วอายุยังไม่ถึง 25 ก็จะสอบเนติบัณฑิตไทยก่อนแล้วจึงไปเรียนเนติบัณฑิตที่อังกฤษ จบแล้วก็จะสอบเป็นผู้พิพากษา แต่เรียนได้แค่ปีสองผมก็ได้ทุนไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ เป็นอันว่าความหวังที่จะได้เป็นผู้พิพากษาก็หมดไป
แม้ว่าผมจะเรียนไม่จบ แต่พ่อผมก็จบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ พ่อผมเรียนเมื่ออายุมากแล้ว และเรียนเพื่อมาติวผมด้วย ผมเคยคิดว่าหากผมเรียนกฎหมายจบก็คงเป็นผู้พิพากษา ชีวิตก็จะเรียบง่ายไม่เหมือนกับเรียนรัฐศาสตร์
แม้ว่าจะเรียนกฎหมายเพียงปีเดียว แต่ก็เป็นประโยชน์ตรงที่ได้ตรรก และความกระชับจากการต้องศึกษาความเป็นเหตุและผล มีองค์ประกอบต่างๆ ทำให้เป็นประโยชน์ในการเรียน และการคิดด้วย แม้ว่าจะต้องไปเรียนปีหนึ่งใหม่ก็ไม่เป็นการสูญเปล่า
ผมโชคดีที่ได้เรียนกับอาจารย์ดีๆ ทั้งนั้น พอผมสอบได้ทุนไปเรียนเมืองนอก “ไอ้อ้วนที่ชอบนั่งหลับมันไปไหน” พอเพื่อนตอบว่าได้ทุนไปเรียนเมืองนอก ท่านทำหน้าแปลกใจ