วานนี้ (16 ก.ค.55) พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมร่วมกับนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ และผบ.เหล่าทัพ ถึงการปรับกำลังชายแดนไทย-เขมร บริเวณเขาพระวิหารว่า เบื้องต้นได้เตรียมปรับกำลังเจ้าหน้าที่ทหารฝั่งไทย โดยจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เนื่องจากในวันที่ 18 ก.ค.นี้ จะครบรอบ 1 ปีที่ศาลโลกมีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ที่ผ่านมาทั้งไทยและกัมพูชายังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก ที่ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการโดยเร็ว ทั้งนี้ทั้งสองประเทศได้หารือร่วมกันในระดับผู้บังคับบัญชาระดับสูง ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างในเรื่องการปรับกำลัง โดยสองประเทศได้ยินยอมพร้อมใจกัน ตนจึงได้หารือกับกัมพูชาที่เมืองเสียมราฐ
"ส่วนที่มีข่าวว่าตนได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่ได้เดินทางไปแต่อย่างใด ซึ่งการหารือทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกปัญหาขึ้นมาหารือร่วมกัน แต่เรื่องอย่างนี้ก่อนที่จะมีการหารือกันต้องมีการสอบถามความเห็นกันมาก่อนว่าเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมการไว้ เมื่อถึงเวลาก็สามารถดำเนินการได้เลย"พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
สำหรับการปรับกำลังของแต่ละฝ่ายนั้น กัมพูชาจะปรับกำลังอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา ส่วนไทยจะปรับกำลังอย่างไรก็เป็นเรื่องของเรา ไม่ได้มีกฎข้อบังคับ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของอธิปไตยแต่อย่างใด ส่วนเรื่องคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา(JWG)ในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณเขาพระวิหารนั้น ก็ดำเนินการร่วมกันจัดการเคลียร์พื้นที่ให้ได้ เพราะพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีทุ่นระเบิดจำนวนมาก โดยทั้งสองประเทศจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาหารือวางแผนร่วมกันที่กทม. ว่าจะดำเนินการเก็บกู้อย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นภาพใหญ่ของJWGเพื่อให้ศาลโลกได้เห็นว่าทั้งไทยและกัมพูชาได้มีความร่วมมือกัน และจะต้องรายงานให้ศาลโลกได้รับทราบว่าทั้งสองประเทศมีการปรับกำลังอย่างไร
ส่วนในวันที่ดำเนินการปรับกำลังจะมีผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียเข้ามาร่วมคณะด้วยหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดถึง เป็นเรื่องของJWGที่คุยกัน
**ปัดไม่ได้เดินตามก้นเกมเขมร
ส่วนกรณีพล.อ.อ.สุกำพล และพล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมของกัมพูชา ได้นัดหมายลงพื้นที่ร่วมกันในวันที่ 18 ก.ค.นี้หรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้นัดหมายกัน แต่ในส่วนของตนยืนยันว่าจะลงพื้นที่ของฝั่งไทย ส่วนจะพบกับพล.อ.เตีย บันหรือไม่นั้น ได้ให้ฝ่ายเสนาธิการทหารของไทยประสานไปยังทหารกัมพูชา
กรณีประเทศไทยเดินตามเกมกัมพูชาหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า อย่าถือว่าเป็นอย่างนั้น ให้ถือว่าเราเดินไปพร้อมกัน ในส่วนของการปรับกำลังที่ไม่เท่ากันนั้น เนื่องจากกำลังทหารไทยและกัมพูชาในพื้นที่ที่ศาลโลกกำหนดมีจำนวนไม่เท่ากันอยู่แล้วขึ้นอยู่ว่าฝ่ายใดจะเห็นเหมาะสมอย่างไร
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า กัมพูชาได้ใช้กำลังทหารแต่แต่งกายชุดของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาดูแลในพื้นที่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า "ผมไม่ทราบ ก็ขอให้ลงข่าวดีๆ หน่อยละกัน อย่าไปลงข่าวให้มีแต่ปัญหากัน"
กรณีนายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแสดงข้อคิดเห็นและข้อสงสัยในเรื่องการปรับกำลังของไทยและกัมพูชาว่ามีอะไรซ่อนเร้นหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ก็สงสัยไปทุกเรื่อง ขอให้มาถามตน หากสงสัยตรงไหนก็ว่ากันมา ทำแบบแฟร์ๆอย่างนี้ ไม่ได้ปิดตรงไหน ตนขอถามว่าจะปิดตรงไหน
ส่วนในอนาคตอันใกล้จะมีการเปิดเขาพระวิหารหรือไม่ กัมพูชาได้มีการพูดคุยเรื่องนี้หรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยกันในเรื่องนั้น แต่ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นตามลำดับแล้ว เชื่อว่าจะทำให้มีโอกาสเปิดเขาพระวิหารได้มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี
**พิรุธ 2 จุด“มาร์ค”ชี้เสียเปรียบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ต้องดูภาพใหญ่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ คือการที่รัฐบาลไปยอมให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพในการประชุม และเป็นประธานในการประชุมมรดกโลกปีหน้า ซึ่งอันนี้ก็สุ่มเสี่ยงมากต่อความเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้น และการแก้ไขอะไรต่าง ๆ คงยากแล้ว เนื่องจากเขาตัดสินไปแล้ว แต่ไทยก็ต้องมีการแสดงออกเพื่อยืนยันในสิทธิ์ของประเทศไทย ไม่อยากนั้นทุกอย่างจะไหลไปตามทางที่กัมพูชาเขาต้องการ ซึ่งในสมัยรัฐบาลที่แล้ว เราสู้เรื่องนี้จนถึงที่สุด จากเดิมกัมพูชาจะขอเป็นเจ้าภาพในปีนี้ เราก็บอกว่าเราก็พร้อมที่จะเป็น หรือจะเป็นเจ้าภาพร่วมกันก็ได้ สุดท้ายเขาก็ตกลงให้ไปประชุมที่อื่น ทั้งนี้หากเราก็ปล่อยให้ทุกอย่างไหลไปตามที่กัมพูชาเดินเกม แม้กระทั่งล่าสุด อยู่ดี ๆ กัมพูชาบอกจะถอนทหาร ก็ต้องคิดว่าเพราะอะไร มันเกี่ยวกับคดีของศาลโลกที่กำลังจะตัดสินหรือไม่อย่างไร เราควรดูให้ถี่ถ้วน
“การที่เราพูดถึงการปรับกำลังทหารอย่างเดียว และจะส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไป ก็ต้องสอบถามว่า กัมพูชาปฏิบัติอย่างไร แล้วก็การเข้าไปนั้น ที่สำคัญคือมีการถืออาวุธหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่กระทรวงกลาโหมและกองทัพต้องตรวจสอบคือ คำว่าถอน ปรับกำลังของทางกัมพูชานั้น คนที่แฝงเข้ามาอย่างที่ว่านั้น จะทำอย่างไร จะมีวิธีการในตรวจสอบอย่างไร เราพูดกันมาตลอดว่า กัมพูชาใช้วิธีการแฝงเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาในรูปของการเป็นชาวบ้าน หรือแม้กระทั่งอยู่ในวัด ตรงนี้ก็ต้องเจรจาให้มันครบถ้วน ไม่เช่นนั้นกลายเป็นว่าเราถอยออก แต่ว่าของเขายังมีแฝงอยู่ แล้วก็ยังมาเหมือนกับยึดพื้นที่อยู่ จะเป็นโดยใครก็ตาม ก็คงจะไม่เหมาะสม ต้องเจรจาตรงนี้ให้ครบถ้วนครับ”นายอภิสิทธิ์กล่าว
**“ปึ้ง”การันตีแทนเขมรเจ้าภาพปี 56
ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายสุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์วิพากษ์วิจารณ์การที่คณะผู้แทนไทยซึ่งนำโดยนายพิทยา พุกกะมาน ผู้ช่วยรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.– 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ประเทศรัสเซีย โดยยินยอมให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรรมการมรดกโลก ในปี 2556 ซึ่งอาจส่งผลต่อการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร ในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก)ว่า ทั้ง 2 กรณีนี้เป็นคนละเรื่องกัน โดยเรื่องการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเป็นเรื่องของกระทรวงทรัพยากรฯดำเนินการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่ในครั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรฯไม่ได้มาหารือกับกระทรวงการต่างประเทศถึงการเตรียมการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
**โบ้ย “สุวิทย์” ทำไทยพลาด
อย่างไรก็ตาม ในรัฐบาลชุดที่แล้ว คณะผู้แทนฝ่ายไทย โดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ ได้เคยเสนอตัวต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศบราซิล เมื่อปี 2554 ในการขอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนี้ในปี 2555 แต่เกิดเหตุการณ์ที่นายสุวิทย์นำคณะวอล์กเอาท์ออกจากที่ประชุมเสียก่อน ทำให้ที่ประชุมเลือกประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพแทน ทั้งนี้ตนเชื่อว่าการที่กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวในปี 2556 นั้นไม่ส่งผลต่อคดีปราสาทพระวิหารในศาลโลกอย่างแน่นอน
ส่วนผลการหารือร่วมกับกองทัพ เกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) คือการปรับกำลังทหารและให้มีผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียมาประจำการในพื้นที่ว่า ในส่วนของการปรับกำลังนั้น ฝ่ายทหารได้หารือกันเพื่อจะดำเนินการแล้ว ส่วนเรื่องคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียนั้น ขณะนี้ฝ่ายทหารกำลังพิจารณาร่างทีโออาร์ที่ฝ่ายอินโดนีเซียเป็นผู้ยกร่าง และฝ่ายกัมพูชาได้พิจารณาแล้ว เพื่อพิจารณาว่ามีจุดใดที่ฝ่ายไทยต้องการปรับแก้ ซึ่งเข้าใจว่าจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของสภากลาโหม เพื่อดูรายละเอียดว่ามีสิ่งใดที่เรารับได้หรือรับไม่ได้อย่างไร และจะนำกลับไปพูดคุยกับฝ่ายอินโดนีเซียและกัมพูชาต่อไป ซึ่งเข้าใจว่าภายในสัปดาห์นี้น่าจะได้ข้อยุติ จากนั้นจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนที่กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมจะร่วมกันร่างหนังสือส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด เพื่อนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาในเดือนสิงหาคมตามมาตรา 190 วรรค 2
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า เหตุที่ต้องมีการดำเนินการตามคำสั่งเรื่องมาตรการชั่วคราวของศาลโลก เพราะขณะนี้ศาลโลกได้แจ้งมาแล้วว่าจะขึ้นนั่งบัลลังก์เพื่อให้ไทยและกัมพูชาให้ปากคำด้วยวาจาอีกครั้งในเดือนเม.ย.2556 ซึ่งก่อนที่ศาลจะขึ้นนั่งบัลลังก์ อยากให้มีการดำเนินการตามมาตรการชั่วคราวให้แล้วเสร็จ ส่วนคำตัดสินนั้น ทีมทนายคาดว่าน่าจะมีขึ้นในเดือน ต.ค.2556
"สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้เพราะความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาดีขึ้น ไม่มีการต่อสู้หรือปะทะกัน ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น การดำเนินการหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะทำอย่างเท่าเทียมและสอดคล้องกัน และที่เห็นว่าต้องเอาเข้าสภาก็เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ไม่อย่างนั้นทหารทำอะไรไปก็อาจมีการกล่าวหากันไปต่างๆนานาอีก เนื่องจากมีหลายฝ่ายที่เคยคัดค้านอาจสร้างความสับสนในสังคม และพยายามโยงเรื่องให้เป็นเรื่องนอกประเด็น"นายสุรพงษ์กล่าว
**ลั่นกห.-เหล่าทัพไม่เสียเปรียบ
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องถามความคืบหน้าจาก พล.อ.อ.สุกำพล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประชุมเตรียมการร่วมกับ ผบ.เหล่าทัพ เพื่อหาจุดพอดีที่เหมาะสมให้เราไม่เสียเปรียบหรือได้รับความเสียหาย ตนเชื่อมือ ผบ.สส.และผบ.ทบ.ไม่ยอมเสียดินแดนเด็ดขาด
เมื่อถามว่า หากถอนทหารออกมาจะนำกำลังส่วนใดเข้าไปเสริม พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ทาง รมว.กลาโหมจะชี้แจงต่อไป ตนคิดว่าอาจจะส่งกำลังตำรวจตระเวนชายแดน เข้าไปประจำการแทน โดยตั้งใจจะให้ดูแลลักษณะหลุมต่อหลุม ตัวต่อตัวอยู่ในที่ตั้งเดิมของทหาร
**ไม่อยากให้มีทหารเผชิญหน้า
ต่อข้อถามว่า มีเสียงวิจารณ์ว่าเหตุใดเราต้องลดกำลังทหาร ทั้งที่เป็นพื้นที่ของไทย พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า เขาไม่ได้บอกลดกำลัง แต่ไม่อยากให้มีกำลังทหารไปเผชิญหน้ากัน อยากให้มีกำลังที่ไม่ใช่ทหารเข้าไปดูแลแทน ส่วนพื้นที่บริเวณวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระนั้น ส่วนใหญ่คนไทยไม่เข้าไปอยู่ แต่กัมพูชาพยายามที่จะอพยพเข้ามา และติดต่อขอซื้อบ้านของคนไทยอีกด้วย แต่ยังถือเป็นพื้นที่ที่เราควบคุม และเมื่อถึงเวลาก็ต้องเจรจาขอให้ถอนออกไป ซึ่งอยู่ระหว่างกระทรวงกลาโหมดำเนินการอยู่
เมื่อถามว่า จะต้องให้ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นชาติเป็นกลางเข้ามาร่วมเป็นสักขีพยานอยู่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ศาลโลกระบุว่าต้องการให้อินโดฯเข้ามาเป็นพยานการดำเนินการทั้งหมด แต่ทั้งไทยและกัมพูชายังไม่ได้ร้องขอ แต่บางครั้งก็เห็นว่าดีหากอินโดฯจะเข้ามาเพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดจะได้อ้างเป็นพยานได้ ยกตัวอย่างการวางกับระเบิด ซึ่งทำให้ทหารเราบาดเจ็บเสียขาไปสองราย และพิสูจน์ได้ว่าเป็นกับระเบิดที่เพิ่งวางใหม่ ไม่ใช่สมัยสงครามภายในของกัมพูชา เป็นต้น หากมีพยานก็ฟ้องได้ว่ามีการทำผิดกฎหมาย
**เตรียมย้ายฐาน-ถอนกำลังพ้น “เขาวิหาร”-
ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ปรากฏว่าขณะนี้ตำรวจชายแดนของฝ่ายกัมพูชาจำนวนหนึ่งได้พากันมาปฏิบัติหน้าที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารแล้ว โดยมีการเข้าประจำการแทนกำลังทหารกัมพูชาที่จะมีการปรับกำลังทหารออกไปตามข้อตกลงของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาที่จะมีการปรับกำลังทหารในวันที่ 18 ก.ค. 55 นี้ และตำรวจชายแดนของกัมพูชาได้มาเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของทหารไทยอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ทหารไทยได้มีการจัดเตรียมที่จะย้ายฐานปฏิบัติการ และเคลื่อนย้ายกำลังทหารออกไปเพื่อให้กำลังตำรวจตระเวนชายแดนของไทยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนเช่นกัน
ขณะเดียวกัน ที่บริเวณประตูเหล็กที่ปิดกั้นระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาและเป็นประตูเหล็กที่ปิดกั้นทางเข้าไปสู่เชิงบันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้ถูกล็อกกุญแจปิดตายมานานกว่า 5 ปีแล้ว ปรากฏว่าขณะนี้หลังจากที่มีการตกลงปรับกำลังทหารทั้ง 2 ฝ่าย ได้ทำให้บรรยากาศบริเวณนี้คลายความตึงเครียดลงเป็นอย่างมาก
**ตชด. 2 กองร้อยจ่อเข้าแทนที่
พ.ต.ท.นพรัตน์ กองเมืองปัก ผบ.กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 224 อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับคำสั่งให้จัดเตรียมกำลังตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จำนวน 2 กองร้อยให้พร้อมที่จะขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แทนกำลังทหารไทยที่จะมีการปรับกำลังทหารออกมาจากบริเวณชายแดนเขาพระวิหาร แต่ยังไม่มีคำสั่งว่าจะให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนทหารในห้วงเวลาใด คาดว่าวันที่ 18 ก.ค. นี้จึงจะทราบกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่
“ขณะนี้มีกำลัง ตชด.จำนวน 2 กองร้อยมารวมพลพร้อมแล้วอยู่ที่กองร้อย ตชด.224 อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ หากได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือก็พร้อมที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เขาพระวิหารทันที” พ.ต.ท.นพรัตน์กล่าว
"ส่วนที่มีข่าวว่าตนได้เดินทางไปยังกรุงพนมเปญนั้น ขอปฏิเสธว่าไม่ได้เดินทางไปแต่อย่างใด ซึ่งการหารือทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกปัญหาขึ้นมาหารือร่วมกัน แต่เรื่องอย่างนี้ก่อนที่จะมีการหารือกันต้องมีการสอบถามความเห็นกันมาก่อนว่าเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมการไว้ เมื่อถึงเวลาก็สามารถดำเนินการได้เลย"พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
สำหรับการปรับกำลังของแต่ละฝ่ายนั้น กัมพูชาจะปรับกำลังอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา ส่วนไทยจะปรับกำลังอย่างไรก็เป็นเรื่องของเรา ไม่ได้มีกฎข้อบังคับ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของอธิปไตยแต่อย่างใด ส่วนเรื่องคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา(JWG)ในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณเขาพระวิหารนั้น ก็ดำเนินการร่วมกันจัดการเคลียร์พื้นที่ให้ได้ เพราะพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีทุ่นระเบิดจำนวนมาก โดยทั้งสองประเทศจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาหารือวางแผนร่วมกันที่กทม. ว่าจะดำเนินการเก็บกู้อย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นภาพใหญ่ของJWGเพื่อให้ศาลโลกได้เห็นว่าทั้งไทยและกัมพูชาได้มีความร่วมมือกัน และจะต้องรายงานให้ศาลโลกได้รับทราบว่าทั้งสองประเทศมีการปรับกำลังอย่างไร
ส่วนในวันที่ดำเนินการปรับกำลังจะมีผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียเข้ามาร่วมคณะด้วยหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดถึง เป็นเรื่องของJWGที่คุยกัน
**ปัดไม่ได้เดินตามก้นเกมเขมร
ส่วนกรณีพล.อ.อ.สุกำพล และพล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมของกัมพูชา ได้นัดหมายลงพื้นที่ร่วมกันในวันที่ 18 ก.ค.นี้หรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้นัดหมายกัน แต่ในส่วนของตนยืนยันว่าจะลงพื้นที่ของฝั่งไทย ส่วนจะพบกับพล.อ.เตีย บันหรือไม่นั้น ได้ให้ฝ่ายเสนาธิการทหารของไทยประสานไปยังทหารกัมพูชา
กรณีประเทศไทยเดินตามเกมกัมพูชาหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า อย่าถือว่าเป็นอย่างนั้น ให้ถือว่าเราเดินไปพร้อมกัน ในส่วนของการปรับกำลังที่ไม่เท่ากันนั้น เนื่องจากกำลังทหารไทยและกัมพูชาในพื้นที่ที่ศาลโลกกำหนดมีจำนวนไม่เท่ากันอยู่แล้วขึ้นอยู่ว่าฝ่ายใดจะเห็นเหมาะสมอย่างไร
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า กัมพูชาได้ใช้กำลังทหารแต่แต่งกายชุดของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาดูแลในพื้นที่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า "ผมไม่ทราบ ก็ขอให้ลงข่าวดีๆ หน่อยละกัน อย่าไปลงข่าวให้มีแต่ปัญหากัน"
กรณีนายชวนนท์ อินทรโกมาลสุตย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแสดงข้อคิดเห็นและข้อสงสัยในเรื่องการปรับกำลังของไทยและกัมพูชาว่ามีอะไรซ่อนเร้นหรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ก็สงสัยไปทุกเรื่อง ขอให้มาถามตน หากสงสัยตรงไหนก็ว่ากันมา ทำแบบแฟร์ๆอย่างนี้ ไม่ได้ปิดตรงไหน ตนขอถามว่าจะปิดตรงไหน
ส่วนในอนาคตอันใกล้จะมีการเปิดเขาพระวิหารหรือไม่ กัมพูชาได้มีการพูดคุยเรื่องนี้หรือไม่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ยังไม่ได้พูดคุยกันในเรื่องนั้น แต่ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นตามลำดับแล้ว เชื่อว่าจะทำให้มีโอกาสเปิดเขาพระวิหารได้มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี
**พิรุธ 2 จุด“มาร์ค”ชี้เสียเปรียบ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ต้องดูภาพใหญ่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ คือการที่รัฐบาลไปยอมให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพในการประชุม และเป็นประธานในการประชุมมรดกโลกปีหน้า ซึ่งอันนี้ก็สุ่มเสี่ยงมากต่อความเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้น และการแก้ไขอะไรต่าง ๆ คงยากแล้ว เนื่องจากเขาตัดสินไปแล้ว แต่ไทยก็ต้องมีการแสดงออกเพื่อยืนยันในสิทธิ์ของประเทศไทย ไม่อยากนั้นทุกอย่างจะไหลไปตามทางที่กัมพูชาเขาต้องการ ซึ่งในสมัยรัฐบาลที่แล้ว เราสู้เรื่องนี้จนถึงที่สุด จากเดิมกัมพูชาจะขอเป็นเจ้าภาพในปีนี้ เราก็บอกว่าเราก็พร้อมที่จะเป็น หรือจะเป็นเจ้าภาพร่วมกันก็ได้ สุดท้ายเขาก็ตกลงให้ไปประชุมที่อื่น ทั้งนี้หากเราก็ปล่อยให้ทุกอย่างไหลไปตามที่กัมพูชาเดินเกม แม้กระทั่งล่าสุด อยู่ดี ๆ กัมพูชาบอกจะถอนทหาร ก็ต้องคิดว่าเพราะอะไร มันเกี่ยวกับคดีของศาลโลกที่กำลังจะตัดสินหรือไม่อย่างไร เราควรดูให้ถี่ถ้วน
“การที่เราพูดถึงการปรับกำลังทหารอย่างเดียว และจะส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไป ก็ต้องสอบถามว่า กัมพูชาปฏิบัติอย่างไร แล้วก็การเข้าไปนั้น ที่สำคัญคือมีการถืออาวุธหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่กระทรวงกลาโหมและกองทัพต้องตรวจสอบคือ คำว่าถอน ปรับกำลังของทางกัมพูชานั้น คนที่แฝงเข้ามาอย่างที่ว่านั้น จะทำอย่างไร จะมีวิธีการในตรวจสอบอย่างไร เราพูดกันมาตลอดว่า กัมพูชาใช้วิธีการแฝงเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาในรูปของการเป็นชาวบ้าน หรือแม้กระทั่งอยู่ในวัด ตรงนี้ก็ต้องเจรจาให้มันครบถ้วน ไม่เช่นนั้นกลายเป็นว่าเราถอยออก แต่ว่าของเขายังมีแฝงอยู่ แล้วก็ยังมาเหมือนกับยึดพื้นที่อยู่ จะเป็นโดยใครก็ตาม ก็คงจะไม่เหมาะสม ต้องเจรจาตรงนี้ให้ครบถ้วนครับ”นายอภิสิทธิ์กล่าว
**“ปึ้ง”การันตีแทนเขมรเจ้าภาพปี 56
ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายสุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์วิพากษ์วิจารณ์การที่คณะผู้แทนไทยซึ่งนำโดยนายพิทยา พุกกะมาน ผู้ช่วยรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.– 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ประเทศรัสเซีย โดยยินยอมให้กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรรมการมรดกโลก ในปี 2556 ซึ่งอาจส่งผลต่อการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร ในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก)ว่า ทั้ง 2 กรณีนี้เป็นคนละเรื่องกัน โดยเรื่องการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเป็นเรื่องของกระทรวงทรัพยากรฯดำเนินการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่ในครั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรฯไม่ได้มาหารือกับกระทรวงการต่างประเทศถึงการเตรียมการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
**โบ้ย “สุวิทย์” ทำไทยพลาด
อย่างไรก็ตาม ในรัฐบาลชุดที่แล้ว คณะผู้แทนฝ่ายไทย โดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ ได้เคยเสนอตัวต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศบราซิล เมื่อปี 2554 ในการขอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนี้ในปี 2555 แต่เกิดเหตุการณ์ที่นายสุวิทย์นำคณะวอล์กเอาท์ออกจากที่ประชุมเสียก่อน ทำให้ที่ประชุมเลือกประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพแทน ทั้งนี้ตนเชื่อว่าการที่กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวในปี 2556 นั้นไม่ส่งผลต่อคดีปราสาทพระวิหารในศาลโลกอย่างแน่นอน
ส่วนผลการหารือร่วมกับกองทัพ เกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(ศาลโลก) คือการปรับกำลังทหารและให้มีผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียมาประจำการในพื้นที่ว่า ในส่วนของการปรับกำลังนั้น ฝ่ายทหารได้หารือกันเพื่อจะดำเนินการแล้ว ส่วนเรื่องคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียนั้น ขณะนี้ฝ่ายทหารกำลังพิจารณาร่างทีโออาร์ที่ฝ่ายอินโดนีเซียเป็นผู้ยกร่าง และฝ่ายกัมพูชาได้พิจารณาแล้ว เพื่อพิจารณาว่ามีจุดใดที่ฝ่ายไทยต้องการปรับแก้ ซึ่งเข้าใจว่าจะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของสภากลาโหม เพื่อดูรายละเอียดว่ามีสิ่งใดที่เรารับได้หรือรับไม่ได้อย่างไร และจะนำกลับไปพูดคุยกับฝ่ายอินโดนีเซียและกัมพูชาต่อไป ซึ่งเข้าใจว่าภายในสัปดาห์นี้น่าจะได้ข้อยุติ จากนั้นจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนที่กระทรวงต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมจะร่วมกันร่างหนังสือส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด เพื่อนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาในเดือนสิงหาคมตามมาตรา 190 วรรค 2
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า เหตุที่ต้องมีการดำเนินการตามคำสั่งเรื่องมาตรการชั่วคราวของศาลโลก เพราะขณะนี้ศาลโลกได้แจ้งมาแล้วว่าจะขึ้นนั่งบัลลังก์เพื่อให้ไทยและกัมพูชาให้ปากคำด้วยวาจาอีกครั้งในเดือนเม.ย.2556 ซึ่งก่อนที่ศาลจะขึ้นนั่งบัลลังก์ อยากให้มีการดำเนินการตามมาตรการชั่วคราวให้แล้วเสร็จ ส่วนคำตัดสินนั้น ทีมทนายคาดว่าน่าจะมีขึ้นในเดือน ต.ค.2556
"สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้เพราะความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาดีขึ้น ไม่มีการต่อสู้หรือปะทะกัน ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น การดำเนินการหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะทำอย่างเท่าเทียมและสอดคล้องกัน และที่เห็นว่าต้องเอาเข้าสภาก็เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ไม่อย่างนั้นทหารทำอะไรไปก็อาจมีการกล่าวหากันไปต่างๆนานาอีก เนื่องจากมีหลายฝ่ายที่เคยคัดค้านอาจสร้างความสับสนในสังคม และพยายามโยงเรื่องให้เป็นเรื่องนอกประเด็น"นายสุรพงษ์กล่าว
**ลั่นกห.-เหล่าทัพไม่เสียเปรียบ
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องถามความคืบหน้าจาก พล.อ.อ.สุกำพล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประชุมเตรียมการร่วมกับ ผบ.เหล่าทัพ เพื่อหาจุดพอดีที่เหมาะสมให้เราไม่เสียเปรียบหรือได้รับความเสียหาย ตนเชื่อมือ ผบ.สส.และผบ.ทบ.ไม่ยอมเสียดินแดนเด็ดขาด
เมื่อถามว่า หากถอนทหารออกมาจะนำกำลังส่วนใดเข้าไปเสริม พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ทาง รมว.กลาโหมจะชี้แจงต่อไป ตนคิดว่าอาจจะส่งกำลังตำรวจตระเวนชายแดน เข้าไปประจำการแทน โดยตั้งใจจะให้ดูแลลักษณะหลุมต่อหลุม ตัวต่อตัวอยู่ในที่ตั้งเดิมของทหาร
**ไม่อยากให้มีทหารเผชิญหน้า
ต่อข้อถามว่า มีเสียงวิจารณ์ว่าเหตุใดเราต้องลดกำลังทหาร ทั้งที่เป็นพื้นที่ของไทย พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า เขาไม่ได้บอกลดกำลัง แต่ไม่อยากให้มีกำลังทหารไปเผชิญหน้ากัน อยากให้มีกำลังที่ไม่ใช่ทหารเข้าไปดูแลแทน ส่วนพื้นที่บริเวณวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระนั้น ส่วนใหญ่คนไทยไม่เข้าไปอยู่ แต่กัมพูชาพยายามที่จะอพยพเข้ามา และติดต่อขอซื้อบ้านของคนไทยอีกด้วย แต่ยังถือเป็นพื้นที่ที่เราควบคุม และเมื่อถึงเวลาก็ต้องเจรจาขอให้ถอนออกไป ซึ่งอยู่ระหว่างกระทรวงกลาโหมดำเนินการอยู่
เมื่อถามว่า จะต้องให้ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นชาติเป็นกลางเข้ามาร่วมเป็นสักขีพยานอยู่หรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ศาลโลกระบุว่าต้องการให้อินโดฯเข้ามาเป็นพยานการดำเนินการทั้งหมด แต่ทั้งไทยและกัมพูชายังไม่ได้ร้องขอ แต่บางครั้งก็เห็นว่าดีหากอินโดฯจะเข้ามาเพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดจะได้อ้างเป็นพยานได้ ยกตัวอย่างการวางกับระเบิด ซึ่งทำให้ทหารเราบาดเจ็บเสียขาไปสองราย และพิสูจน์ได้ว่าเป็นกับระเบิดที่เพิ่งวางใหม่ ไม่ใช่สมัยสงครามภายในของกัมพูชา เป็นต้น หากมีพยานก็ฟ้องได้ว่ามีการทำผิดกฎหมาย
**เตรียมย้ายฐาน-ถอนกำลังพ้น “เขาวิหาร”-
ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ปรากฏว่าขณะนี้ตำรวจชายแดนของฝ่ายกัมพูชาจำนวนหนึ่งได้พากันมาปฏิบัติหน้าที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารแล้ว โดยมีการเข้าประจำการแทนกำลังทหารกัมพูชาที่จะมีการปรับกำลังทหารออกไปตามข้อตกลงของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาที่จะมีการปรับกำลังทหารในวันที่ 18 ก.ค. 55 นี้ และตำรวจชายแดนของกัมพูชาได้มาเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของทหารไทยอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ทหารไทยได้มีการจัดเตรียมที่จะย้ายฐานปฏิบัติการ และเคลื่อนย้ายกำลังทหารออกไปเพื่อให้กำลังตำรวจตระเวนชายแดนของไทยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนเช่นกัน
ขณะเดียวกัน ที่บริเวณประตูเหล็กที่ปิดกั้นระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาและเป็นประตูเหล็กที่ปิดกั้นทางเข้าไปสู่เชิงบันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้ถูกล็อกกุญแจปิดตายมานานกว่า 5 ปีแล้ว ปรากฏว่าขณะนี้หลังจากที่มีการตกลงปรับกำลังทหารทั้ง 2 ฝ่าย ได้ทำให้บรรยากาศบริเวณนี้คลายความตึงเครียดลงเป็นอย่างมาก
**ตชด. 2 กองร้อยจ่อเข้าแทนที่
พ.ต.ท.นพรัตน์ กองเมืองปัก ผบ.กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 224 อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับคำสั่งให้จัดเตรียมกำลังตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จำนวน 2 กองร้อยให้พร้อมที่จะขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แทนกำลังทหารไทยที่จะมีการปรับกำลังทหารออกมาจากบริเวณชายแดนเขาพระวิหาร แต่ยังไม่มีคำสั่งว่าจะให้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทนทหารในห้วงเวลาใด คาดว่าวันที่ 18 ก.ค. นี้จึงจะทราบกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่
“ขณะนี้มีกำลัง ตชด.จำนวน 2 กองร้อยมารวมพลพร้อมแล้วอยู่ที่กองร้อย ตชด.224 อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ หากได้รับคำสั่งจากหน่วยเหนือก็พร้อมที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เขาพระวิหารทันที” พ.ต.ท.นพรัตน์กล่าว