วานนี้ (16 ก.ค. 55) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมากล่าวหาว่า มีนักการเมืองอยู่เบื้องหลังการชุมนุมของเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ จ.นครศรีธรรมราช ว่า ไม่เป็นความจริง แม้ว่าตนจะเป็นส.ส.ในพื้นที่ ที่มีการชุมนุม แต่ตนก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพียงแต่สังเกตการณ์อยู่รอบนอกในฐานะส.ส.ของพื้นที่เท่านั้น จึงอยากให้นายพร้อมพงศ์แสดงหลักฐานออกมาให้ชัด ว่าใครกันแน่ที่อยู่เบื้องหลัง จะเป็นนักการเมืองซีกรัฐบาลหรือไม่ อย่ามาเล่นลิเกหน้าม่าน เพราะฝ่ายค้านเห็นว่าการชุมนุมครั้งนี้ไม่ควรเอาการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง เนื่องจากเกษตรกรมีความเดือดร้อน จึงไม่ควรที่จะทำลายเจตนารมณ์ อันบริสุทธิ์ ของประชาชนที่ต้องการต่อสู้เรื่องปัญหาราคายางตกต่ำ
“ล่าสุดทราบว่าได้มีตัวแทนเกษตรกรเข้ามาพบรัฐบาลแล้ว แต่การหารือยังไม่เป็นที่น่าพอใจ และหากการประชุมครม.ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ ยังไม่มีความคืบหน้า กลุ่มผู้ชุมนุมจะนัดชุมนุมรอบ 2 แน่นอน"นายเทพไทกล่าวและว่า ส่วนกรณีนายอารี ไกรนรา เลขานุการรมช.เกษตรและสหกรณ์ ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมรุมต่อว่า จนต้องเผ่นหนีออกมานั้น ตนเห็นว่าตรงนี้ถือเป็นความเสียหาย เสียชื่อของคนที่เคยเป็นถึงหัวหน้าการ์ดนปช.
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่นายอารี ถูกทำร้ายว่า ถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี ต้องระวัง ตนไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง แต่ไม่แน่ใจว่าเงื่อนไขเหตุการณ์เกิดจากอะไร เพราะที่แน่นอนคือคนที่มาชุมนุม คงจะไม่พอใจเรื่องราคายาง แต่ไม่น่าจะถึงขั้นที่มีการไปทำร้ายกัน
“เพราะฉะนั้นตรงนี้ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันบอกผู้สนับสนุน หรือประชาชนว่าต้องหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่จะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน”นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนคิดว่านายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรต้องกล้าที่จะลงไปดูแลพี่น้องประชาชน อย่าเก่งแต่พูดจาบนเวทีปราศรัย อย่างไรก็ตามสิ่งที่พี่น้องชาวสวนยางแสดงออกมาวันนี้คือ ผลจากการที่เอานักค้าความขัดแย้ง ใช้ทรัพย์สินของประชาชนขึ้นสู่อำนาจมาทำงานบริหารและได้รู้เสียทีว่าเสียหายต่อประเทศมากมายขนาดไหน
“หากนายณัฐวุฒิคิดว่าดูแลพี่น้องไม่ได้ก็ควรไปลาออกจากตำแหน่งกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี แล้วใช้ชีวิตเป็นม็อบข้างถนนแบบเดิมดีกว่า”นายชวนนท์กล่าว
ทั้งนี้การชุมนุมของพี่น้องชาวนสวนยางนั้น ตนคิดว่าเพียงเพื่อต้องการให้รัฐบาลออกมาดูแลบ้าง ไม่ใช่การออกมาเพื่อนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังหรือเพื่อใคร และสิ่งที่นายพร้อมพงศ์ ระบุมีนักการเมืองชักใยชาวบ้านให้ออกมาชุมนุมนั้น กรณีนี้ตนอยากจะชี้ให้พี่น้องเห็นว่าคนพวกนี้เห็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชาวสวนยางเป็นแค่เกมการเมืองโจมตีฝ่ายตรงข้าม
“ผมอยากให้พี่น้องแสดงออกให้นายพร้อมพงศ์รู้หน่อยว่าไม่มีใครชักใย โดยการที่หากคราวหน้านายพร้อมพงศ์ลงมาที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ของเขาที่จังหวัดพังงาช่วยรวมตัวกันไปบอกเขาทีว่าไม่มีใครอยู่เบื้องหลังทั้งนั้น ”นายชวนนท์กล่าว
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาการชุมนุมของชาวสวนยางพาราปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของรัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบ ซึ่งไม่มีความรู้เกี่ยวกับปัญหานี้ เพราะการแต่งตั้งพิจารณามาจากพวกพ้อง และโควตาตามพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ส่วนใหญ่ขาดความรู้ และมักถูกนายทุนบริษัทรับซื้อยางชี้นำ
"เพราะว่าส่วนมากรัฐมนตรี ก็ไม่ได้มาจากยาง มันก็มาจากที่อื่น มันมีผู้รู้เยอะแยะ อย่าเอาผู้รู้ที่ประจบสอพลอ มันก็ไม่รู้เหมือนกัน เมื่อไม่รู้เหมือนกัน มันก็ทำให้เป๋ หรือไม่รัฐมนตรีบางคนก็คบกับพ่อค้า พ่อค้าบางคนก็ชี้นำให้รัฐมนตรีเป๋ไปได้" นายอุทัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า ที่ผ่านมามีการประกันราคาจากรัฐบาล แต่กลับรับซื้อเฉพาะยางที่มาจากสถาบัน หรือสหกรณ์ ในขณะนี้เกษตรกรสวนยางรายย่อยไม่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ ทำให้ต้องมีการรวมตัวกันประท้วง โดยก่อนหน้านี้ นายณัฐวุฒิ ได้รับปากชาวสวนยางว่า ราคาจะสูงขึ้น แต่นับตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. 2555 เป็นต้นมา ราคายางได้ปรับตัวลดลงจาก 90 กว่าบาท มาอยู่ที่ 70 กว่าบาท ทำให้เกษตรกรเกิดความเดือดร้อน จึงมีการรวมตัวกันดังกล่าว.
“ล่าสุดทราบว่าได้มีตัวแทนเกษตรกรเข้ามาพบรัฐบาลแล้ว แต่การหารือยังไม่เป็นที่น่าพอใจ และหากการประชุมครม.ในวันที่ 17 ก.ค.นี้ ยังไม่มีความคืบหน้า กลุ่มผู้ชุมนุมจะนัดชุมนุมรอบ 2 แน่นอน"นายเทพไทกล่าวและว่า ส่วนกรณีนายอารี ไกรนรา เลขานุการรมช.เกษตรและสหกรณ์ ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมรุมต่อว่า จนต้องเผ่นหนีออกมานั้น ตนเห็นว่าตรงนี้ถือเป็นความเสียหาย เสียชื่อของคนที่เคยเป็นถึงหัวหน้าการ์ดนปช.
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่นายอารี ถูกทำร้ายว่า ถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี ต้องระวัง ตนไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง แต่ไม่แน่ใจว่าเงื่อนไขเหตุการณ์เกิดจากอะไร เพราะที่แน่นอนคือคนที่มาชุมนุม คงจะไม่พอใจเรื่องราคายาง แต่ไม่น่าจะถึงขั้นที่มีการไปทำร้ายกัน
“เพราะฉะนั้นตรงนี้ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันบอกผู้สนับสนุน หรือประชาชนว่าต้องหลีกเลี่ยงการทำอะไรที่จะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน”นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนคิดว่านายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรต้องกล้าที่จะลงไปดูแลพี่น้องประชาชน อย่าเก่งแต่พูดจาบนเวทีปราศรัย อย่างไรก็ตามสิ่งที่พี่น้องชาวสวนยางแสดงออกมาวันนี้คือ ผลจากการที่เอานักค้าความขัดแย้ง ใช้ทรัพย์สินของประชาชนขึ้นสู่อำนาจมาทำงานบริหารและได้รู้เสียทีว่าเสียหายต่อประเทศมากมายขนาดไหน
“หากนายณัฐวุฒิคิดว่าดูแลพี่น้องไม่ได้ก็ควรไปลาออกจากตำแหน่งกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี แล้วใช้ชีวิตเป็นม็อบข้างถนนแบบเดิมดีกว่า”นายชวนนท์กล่าว
ทั้งนี้การชุมนุมของพี่น้องชาวนสวนยางนั้น ตนคิดว่าเพียงเพื่อต้องการให้รัฐบาลออกมาดูแลบ้าง ไม่ใช่การออกมาเพื่อนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังหรือเพื่อใคร และสิ่งที่นายพร้อมพงศ์ ระบุมีนักการเมืองชักใยชาวบ้านให้ออกมาชุมนุมนั้น กรณีนี้ตนอยากจะชี้ให้พี่น้องเห็นว่าคนพวกนี้เห็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชาวสวนยางเป็นแค่เกมการเมืองโจมตีฝ่ายตรงข้าม
“ผมอยากให้พี่น้องแสดงออกให้นายพร้อมพงศ์รู้หน่อยว่าไม่มีใครชักใย โดยการที่หากคราวหน้านายพร้อมพงศ์ลงมาที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ของเขาที่จังหวัดพังงาช่วยรวมตัวกันไปบอกเขาทีว่าไม่มีใครอยู่เบื้องหลังทั้งนั้น ”นายชวนนท์กล่าว
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาการชุมนุมของชาวสวนยางพาราปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของรัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบ ซึ่งไม่มีความรู้เกี่ยวกับปัญหานี้ เพราะการแต่งตั้งพิจารณามาจากพวกพ้อง และโควตาตามพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล ส่วนใหญ่ขาดความรู้ และมักถูกนายทุนบริษัทรับซื้อยางชี้นำ
"เพราะว่าส่วนมากรัฐมนตรี ก็ไม่ได้มาจากยาง มันก็มาจากที่อื่น มันมีผู้รู้เยอะแยะ อย่าเอาผู้รู้ที่ประจบสอพลอ มันก็ไม่รู้เหมือนกัน เมื่อไม่รู้เหมือนกัน มันก็ทำให้เป๋ หรือไม่รัฐมนตรีบางคนก็คบกับพ่อค้า พ่อค้าบางคนก็ชี้นำให้รัฐมนตรีเป๋ไปได้" นายอุทัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม ประธานสภาการยางพาราแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า ที่ผ่านมามีการประกันราคาจากรัฐบาล แต่กลับรับซื้อเฉพาะยางที่มาจากสถาบัน หรือสหกรณ์ ในขณะนี้เกษตรกรสวนยางรายย่อยไม่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ ทำให้ต้องมีการรวมตัวกันประท้วง โดยก่อนหน้านี้ นายณัฐวุฒิ ได้รับปากชาวสวนยางว่า ราคาจะสูงขึ้น แต่นับตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. 2555 เป็นต้นมา ราคายางได้ปรับตัวลดลงจาก 90 กว่าบาท มาอยู่ที่ 70 กว่าบาท ทำให้เกษตรกรเกิดความเดือดร้อน จึงมีการรวมตัวกันดังกล่าว.