ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เตือนรับมือมาตรการทางการค้าที่จะเข้มงวดมากขึ้น หลังเกิดวิกฤตยูโรโซน เศรษฐกิจสหรัฐฯ และคู่ค้าชะลอตัว เผยอียูคุมเข้มนำเข้าอาหารและสิ่งทอ สหรัฐฯ บังคับติดฉลากหลอดไฟฟ้า คุมใช้สารฟอสเฟตในน้ำยาทำความสะอาด จีนห้ามนำเข้ารังนก อินเดียคุมเข้มขยะอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในอาเซียน อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย แข่งกันออกมาตรการ
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากวิกฤตหนี้ยูโรโซน และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาซับไพรม์ ทำให้ประเทศต่างๆ นำมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาขาดดุลการค้าและป้องกันสินค้าด้อยคุณภาพเข้าประเทศ โดยในส่วนของอียู ล่าสุดได้ออกระเบียบเกี่ยวกับอาหาร กำหนดให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้บรรจุหีบห่อ ผู้จัดจำหน่ายรายแรกในอียู ต้องใช้อักษร L นำหน้าข้อมูลล็อตการผลิต เพื่อใช้ประโยชน์กรณีอาหารนั้นเกิดเป็นคดีพิพาทหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค กำหนดให้การนำเข้าสิ่งทอจากประเทศที่ 3 ต้องระบุ CN Code เพื่อจำแนกประเภทสิ่งทอ ออกระเบียบจำกัดสารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เฉพาะสวีเดนออกข้อกำหนดห้ามใช้สารเคมีที่ผสมในพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนตในบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
สำหรับสหรัฐฯ ออกมาตรการบังคับใช้ฉลากผลิตภัณฑ์หลอดไฟฟ้า ควบคุมการใช้สารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาซักรีดเสื้อผ้า น้ำยาล้างจาน และน้ำยาทำความสะอาดโลหะ เฉพาะรัฐแมรี่แลนด์ออกระเบียบจำกัดสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์ท่อประปา
นอกจากนี้ เม็กซิโก ได้เสนอร่างกฎหมายจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังผสมคาเฟอีน ออกระเบียบติดฉลากประหยัดพลังงานอุปกรณ์ไฟฟ้า อาร์เจนตินา กำหนดให้ต้องทดสอบระดับสารตะกั่วในหมึก น้ำมันเคลือบเงา และน้ำมันขัดเงาที่ใช้ในวัสดุสิ่งพิมพ์ และห้ามใช้สารเคมีที่ผสมในพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนตในการผลิตขวดนมเด็ก บราซิล กำหนดให้มีการจดทะเบียนฉลากสินค้าอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ กำหนดให้รัฐบาลประเทศผู้ส่งออกแจ้งข้อมูลบัญชีรายชื่อสถานที่ผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สุรากลั่น และเครื่องดื่มมอลต์ ชิลีและโคลัมเบีย กำหนดระดับการปล่อยมลพิษสำหรับรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และกลุ่มสหภาพศุลกากรกลางอเมริกากลาง ได้แก่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว และคอสตาริกา กำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปต้องมีหนังสือรับรองการจำหน่ายประกอบการนำเข้า รัสเซีย แก้ไขกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กำหนดให้การผลิตเบียร์จะใช้เมล็ดพันธุ์มอลต์ได้ไม่เกินร้อยละ 20
ส่วนประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ออกมาตรการตรวจเข้มสินค้ารังนกที่นำเข้า ออกระเบียบให้ผู้ผลิตต้องระบุปริมาณสารเติมแต่งอาหารเป็นร้อยละบนฉลาก กำหนดการรับรองและทดสอบความมั่นคงด้านสารสนเทศ และกำหนดการออกใบรับรองควบคุมมลพิษในสินค้าสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เกาหลีใต้กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุแทนการใช้ระบบบาร์โค้ดเพื่อระบุลักษณะสินค้านำเข้าประเภทวิสกี้ ออกระเบียบว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตเครื่องสำอาง เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและการประเมินความเสี่ยงในสินค้าเคมีภัณฑ์ และออกข้อจำกัดการใช้สาร Phthalates ในสินค้ากระเบื้องยางปูพื้น ญี่ปุ่น ปรับข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเบรกที่ใช้ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันผู้โดยสาร อุปกรณ์ป้องกันอันตรายสำหรับเด็ก ระบบเบรก AEBSและไฟรถยนต์ และอินเดีย ออกระเบียบ E-Waste Rule ว่าด้วยการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ บังคับใช้กับผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย ผู้ประกอบธุรกิจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำกลับมาจำหน่ายใหม่
ขณะที่ในอาเซียน อินโดนีเซีย จำกัดการนำเข้าสินค้าผักและผลไม้ เช่น ทุเรียนและลำไย โดยลดจำนวนท่าเรือนำเข้าจากเดิม 8 แห่ง เหลือ 4 แห่ง คือ Jakarta, Medan, Makassar และ Surabaya รวมทั้งกำหนดให้อาหารแปรรูปที่นำเข้าต้องติดฉลากภาษาอินโดนีเซีย เวียดนามจำกัดการนำเข้าสินค้าประเภทไวน์ สุรา เครื่องสำอาง และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้นำเข้าได้เฉพาะท่าเรือ 3 แห่ง คือ โฮจิมินห์ซิตี้ ไฮฟง และดานัง มาเลเซียกำหนดให้สินค้าอลูมิเนียมที่นำเข้าจะต้องแนบหลักฐาน Certificate of Approval
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากวิกฤตหนี้ยูโรโซน และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัวจากปัญหาซับไพรม์ ทำให้ประเทศต่างๆ นำมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาขาดดุลการค้าและป้องกันสินค้าด้อยคุณภาพเข้าประเทศ โดยในส่วนของอียู ล่าสุดได้ออกระเบียบเกี่ยวกับอาหาร กำหนดให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต ผู้บรรจุหีบห่อ ผู้จัดจำหน่ายรายแรกในอียู ต้องใช้อักษร L นำหน้าข้อมูลล็อตการผลิต เพื่อใช้ประโยชน์กรณีอาหารนั้นเกิดเป็นคดีพิพาทหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค กำหนดให้การนำเข้าสิ่งทอจากประเทศที่ 3 ต้องระบุ CN Code เพื่อจำแนกประเภทสิ่งทอ ออกระเบียบจำกัดสารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เฉพาะสวีเดนออกข้อกำหนดห้ามใช้สารเคมีที่ผสมในพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนตในบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
สำหรับสหรัฐฯ ออกมาตรการบังคับใช้ฉลากผลิตภัณฑ์หลอดไฟฟ้า ควบคุมการใช้สารฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาซักรีดเสื้อผ้า น้ำยาล้างจาน และน้ำยาทำความสะอาดโลหะ เฉพาะรัฐแมรี่แลนด์ออกระเบียบจำกัดสารตะกั่วในผลิตภัณฑ์ท่อประปา
นอกจากนี้ เม็กซิโก ได้เสนอร่างกฎหมายจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังผสมคาเฟอีน ออกระเบียบติดฉลากประหยัดพลังงานอุปกรณ์ไฟฟ้า อาร์เจนตินา กำหนดให้ต้องทดสอบระดับสารตะกั่วในหมึก น้ำมันเคลือบเงา และน้ำมันขัดเงาที่ใช้ในวัสดุสิ่งพิมพ์ และห้ามใช้สารเคมีที่ผสมในพลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนตในการผลิตขวดนมเด็ก บราซิล กำหนดให้มีการจดทะเบียนฉลากสินค้าอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ กำหนดให้รัฐบาลประเทศผู้ส่งออกแจ้งข้อมูลบัญชีรายชื่อสถานที่ผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ สุรากลั่น และเครื่องดื่มมอลต์ ชิลีและโคลัมเบีย กำหนดระดับการปล่อยมลพิษสำหรับรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และกลุ่มสหภาพศุลกากรกลางอเมริกากลาง ได้แก่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว และคอสตาริกา กำหนดให้ผู้ส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปต้องมีหนังสือรับรองการจำหน่ายประกอบการนำเข้า รัสเซีย แก้ไขกฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กำหนดให้การผลิตเบียร์จะใช้เมล็ดพันธุ์มอลต์ได้ไม่เกินร้อยละ 20
ส่วนประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ออกมาตรการตรวจเข้มสินค้ารังนกที่นำเข้า ออกระเบียบให้ผู้ผลิตต้องระบุปริมาณสารเติมแต่งอาหารเป็นร้อยละบนฉลาก กำหนดการรับรองและทดสอบความมั่นคงด้านสารสนเทศ และกำหนดการออกใบรับรองควบคุมมลพิษในสินค้าสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เกาหลีใต้กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุแทนการใช้ระบบบาร์โค้ดเพื่อระบุลักษณะสินค้านำเข้าประเภทวิสกี้ ออกระเบียบว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตเครื่องสำอาง เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและการประเมินความเสี่ยงในสินค้าเคมีภัณฑ์ และออกข้อจำกัดการใช้สาร Phthalates ในสินค้ากระเบื้องยางปูพื้น ญี่ปุ่น ปรับข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเบรกที่ใช้ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันผู้โดยสาร อุปกรณ์ป้องกันอันตรายสำหรับเด็ก ระบบเบรก AEBSและไฟรถยนต์ และอินเดีย ออกระเบียบ E-Waste Rule ว่าด้วยการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ บังคับใช้กับผู้ผลิต ผู้แทนจำหน่าย ผู้ประกอบธุรกิจซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำกลับมาจำหน่ายใหม่
ขณะที่ในอาเซียน อินโดนีเซีย จำกัดการนำเข้าสินค้าผักและผลไม้ เช่น ทุเรียนและลำไย โดยลดจำนวนท่าเรือนำเข้าจากเดิม 8 แห่ง เหลือ 4 แห่ง คือ Jakarta, Medan, Makassar และ Surabaya รวมทั้งกำหนดให้อาหารแปรรูปที่นำเข้าต้องติดฉลากภาษาอินโดนีเซีย เวียดนามจำกัดการนำเข้าสินค้าประเภทไวน์ สุรา เครื่องสำอาง และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้นำเข้าได้เฉพาะท่าเรือ 3 แห่ง คือ โฮจิมินห์ซิตี้ ไฮฟง และดานัง มาเลเซียกำหนดให้สินค้าอลูมิเนียมที่นำเข้าจะต้องแนบหลักฐาน Certificate of Approval