ASTVผู้จัดการรายวัน-ทีโอที จับมือ ซีทีเอช เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมโทรทัศน์ และโทรคมนาคมของไทย หวังรองรับสู่ยุคทีวีดิจิตอล และลดช่องว่างการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม "พันธ์เทพ"ระบุสามารถฯยื่นขอทำ MVNO 40%
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการลงนามในความร่วมมือข้อตกลงระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอช ในการพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ซึ่งจะช่วยยกระดับศักยภาพของประเทศในภาพรวม และ เสริมนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนเข้าถึงบริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และยังเป็นส่วนหนึ่งในการรับรองการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอล เนื่องจากทีโอที มีความแข็งแกร่งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ ที่ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ
ขณะที่ซีทีเอส ปัจจุบันมีลูกค้าเคเบิลรวมประมาณ 3.5 ล้านครัวเรือน โดยตั้งเป้าที่จะขยายไปถึง 10 ล้านครัวเรือนในอีก 5 ปี ข้างหน้า ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดี เพราะจะทำให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงบริการโทรคมนาคมและรับชมรายการดีๆมีคุณภาพ ทั้งในและต่างประเทศ และเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งยังช่วยลดช่องว่างการใช้เทคโนโลยีของประชาชนด้วย
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การร่วมมือกับซีทีเอชในครั้งนี้ ทีโอทีได้เปิดให้เช่าโครงข่ายใหม่เฉพาะดิจิตอลทีวี โดยปัจจุบันผู้ให้บริการเคเบิลท้องถิ่นของซีทีเอชมีจำนวน 345 ราย โดยจะเริ่มให้บริการโครงข่ายร่วมกับทีโอทีในระยะแรกก่อน 150 รายในเดือนพ.ย.นี้ ก่อนจะเปิดที่เหลือให้ครบทั้ง 345 รายภายในอีก 3 ปี ซึ่งจะมีช่องความละเอียดสูง(HD)จากเดิม 64 ช่องเป็น 120 ช่องในเดือนพ.ย.ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีความจุ ของโครงข่ายหลักของทีโอทีมีความจุอยู่ 320Gb ซึ่งการร่วมมือกับซีทีเอชครั้งนี้จะใช้ประมาณ 5% ของความจุของโครงข่ายทั้งหมด
ขณะที่ นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการบริหาร ซีทีเอช กล่าวว่า ความร่วมมือกับทีโอทีครั้งนี้ ถือเป็นปรากฎการณ์รูปแบบใหม่ ที่ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (บอร์ดแบนด์) ขยายได้ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด และ 900 อำเภอของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการได้อย่างเสมอภาคกัน และ ก้าวเข้าสู่ยุคระบบโทรทัศน์ดิจิตอลหรือทีวีดิจิตอล ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และเมื่อใดที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์แล้วเสร็จ ทางซีทีเอช จะยืนขอรับใบอนุญาตทันที
“เราคาดว่าจะใช้งบ ประมาณในการลงทุนในการร่วมมือในครั้งนี้ประมาณ 8,000 ล้านบาทภายใน2ปี ในส่วนของค่าเช่าโครงข่ายทีโอที และงบการตลาดต่างๆ”
อีกทั้งซีทีเอชจะเริ่มปรับปรุงระบบกล่องส่งสัญญาณ (Set Top Box) ให้รองรับทั้งการรับชมรายการผ่านเคเบิลทีวี และการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคอย่างดีที่สุด โดยจะเน้นจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน เช่น จ.ชลบุรี จ.สุราษฎร์ธานี จ.ภูเก็ต ก่อน ส่วนราคาค่าบริการก็เป็นอัตราเหมาะสมซึ่งจะไม่แตกต่างจากราคาเดิม โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพ.ย.2555 และคาดว่าภายในปลายไตรมาส 1ของปี2556 จะเห็นการให้บริการของซีทีเอส อย่างเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน
สำหรับความคืบหน้าการเจรจากับ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 23%นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา เนื่องจากมีรายละเอียดที่ต้องเจรจาให้ชัดเจนว่าจะไม่ทำธุรกิจที่ซ้ำซ้อนกัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพ.ย.นี้อย่างแน่นอน
“การเจรจาธุรกิจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ต้องชัดเจน ตามแผนซีทีเอชมีแผนลงทุน 1,000 ล้านบาท ชำระแล้ว 800 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 200 ล้านบาท รอผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่จะร่วมกันทำธุรกิจสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจเคเบิลทีวีร่วมกัน”
***สามารถฯขอ MVNO 3G TOT 40%"
นอกจากนี้ นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด
(มหาชน) กล่าว ถึงความคืบหน้าแผนการทำตลาด 3G TOT ว่าล่าสุดบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความจำนงขอทำแผนการให้เอกชนเช่าใช้โครงข่าย (MVNO)จำนวน 40% หรือ 3 ล้านเลข จากจำนวนเลขหมาย3Gทั้งหมดของทีโอที 7.2 ล้านเลขหมาย ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ทีโอที ในวันนี้(12 ก.ค.) เพื่อให้บอร์ดพิจารณาต่อไป พร้อมทั้งกำลังดำเนินการเจรจากับรายย่อยที่เป็นMVNO รายเก่าอีก 4 ราย ได้แก่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท เอ็มคอนซัลท์ บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี และ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่นเพื่อดำเนินการ MVNO ต่อ
อีก ทั้งทีโอทียังเตรียมเสนอต่อครม.ในการทำตลาด 3G TOT ในเฟสที่ 2 ในการลงทุนสถานีฐานอีก10,000 สถานี พร้อมทั้งการลงทุนเทคโนโลยี LTE ภายในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ซึ่งในตอนนี้ต้องรอให้บอร์ดทีโอทีอนุมัติแผนการลงทุน3G เฟส 2 ก่อนจะเข้าไปเจรจากับทางธนาคารเพื่อดำเนินการขอเงินกู้ จากนั้นจึงจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ก่อนจะเข้าที่ประชุมครม.ต่อไป
ส่วน สถานีฐาน 3G TOT ในปัจจุบันดำเนินการติดตั้งเสร็จแล้วจำนวน 3,200 สถานี แต่สามารถเปิดใช้บริการได้เพียง 2,300 สถานี แบ่งเป็นของทีโอที 1,500 สถานี เอไอเอส 800 เอสแอล 250สถานี และทรูอีก 300 สถานี จากเป้าที่ตั้งไว้ 5,230 สถานีซึ่งคาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการลงนามในความร่วมมือข้อตกลงระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือซีทีเอช ในการพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ซึ่งจะช่วยยกระดับศักยภาพของประเทศในภาพรวม และ เสริมนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนเข้าถึงบริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และยังเป็นส่วนหนึ่งในการรับรองการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอล เนื่องจากทีโอที มีความแข็งแกร่งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ ที่ครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ
ขณะที่ซีทีเอส ปัจจุบันมีลูกค้าเคเบิลรวมประมาณ 3.5 ล้านครัวเรือน โดยตั้งเป้าที่จะขยายไปถึง 10 ล้านครัวเรือนในอีก 5 ปี ข้างหน้า ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดี เพราะจะทำให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงบริการโทรคมนาคมและรับชมรายการดีๆมีคุณภาพ ทั้งในและต่างประเทศ และเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งยังช่วยลดช่องว่างการใช้เทคโนโลยีของประชาชนด้วย
นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การร่วมมือกับซีทีเอชในครั้งนี้ ทีโอทีได้เปิดให้เช่าโครงข่ายใหม่เฉพาะดิจิตอลทีวี โดยปัจจุบันผู้ให้บริการเคเบิลท้องถิ่นของซีทีเอชมีจำนวน 345 ราย โดยจะเริ่มให้บริการโครงข่ายร่วมกับทีโอทีในระยะแรกก่อน 150 รายในเดือนพ.ย.นี้ ก่อนจะเปิดที่เหลือให้ครบทั้ง 345 รายภายในอีก 3 ปี ซึ่งจะมีช่องความละเอียดสูง(HD)จากเดิม 64 ช่องเป็น 120 ช่องในเดือนพ.ย.ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีความจุ ของโครงข่ายหลักของทีโอทีมีความจุอยู่ 320Gb ซึ่งการร่วมมือกับซีทีเอชครั้งนี้จะใช้ประมาณ 5% ของความจุของโครงข่ายทั้งหมด
ขณะที่ นายวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการบริหาร ซีทีเอช กล่าวว่า ความร่วมมือกับทีโอทีครั้งนี้ ถือเป็นปรากฎการณ์รูปแบบใหม่ ที่ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (บอร์ดแบนด์) ขยายได้ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด และ 900 อำเภอของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการได้อย่างเสมอภาคกัน และ ก้าวเข้าสู่ยุคระบบโทรทัศน์ดิจิตอลหรือทีวีดิจิตอล ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และเมื่อใดที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตการประกอบกิจการโทรทัศน์แล้วเสร็จ ทางซีทีเอช จะยืนขอรับใบอนุญาตทันที
“เราคาดว่าจะใช้งบ ประมาณในการลงทุนในการร่วมมือในครั้งนี้ประมาณ 8,000 ล้านบาทภายใน2ปี ในส่วนของค่าเช่าโครงข่ายทีโอที และงบการตลาดต่างๆ”
อีกทั้งซีทีเอชจะเริ่มปรับปรุงระบบกล่องส่งสัญญาณ (Set Top Box) ให้รองรับทั้งการรับชมรายการผ่านเคเบิลทีวี และการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคอย่างดีที่สุด โดยจะเน้นจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน เช่น จ.ชลบุรี จ.สุราษฎร์ธานี จ.ภูเก็ต ก่อน ส่วนราคาค่าบริการก็เป็นอัตราเหมาะสมซึ่งจะไม่แตกต่างจากราคาเดิม โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพ.ย.2555 และคาดว่าภายในปลายไตรมาส 1ของปี2556 จะเห็นการให้บริการของซีทีเอส อย่างเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน
สำหรับความคืบหน้าการเจรจากับ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 23%นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา เนื่องจากมีรายละเอียดที่ต้องเจรจาให้ชัดเจนว่าจะไม่ทำธุรกิจที่ซ้ำซ้อนกัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนพ.ย.นี้อย่างแน่นอน
“การเจรจาธุรกิจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ต้องชัดเจน ตามแผนซีทีเอชมีแผนลงทุน 1,000 ล้านบาท ชำระแล้ว 800 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 200 ล้านบาท รอผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่จะร่วมกันทำธุรกิจสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจเคเบิลทีวีร่วมกัน”
***สามารถฯขอ MVNO 3G TOT 40%"
นอกจากนี้ นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด
(มหาชน) กล่าว ถึงความคืบหน้าแผนการทำตลาด 3G TOT ว่าล่าสุดบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แสดงความจำนงขอทำแผนการให้เอกชนเช่าใช้โครงข่าย (MVNO)จำนวน 40% หรือ 3 ล้านเลข จากจำนวนเลขหมาย3Gทั้งหมดของทีโอที 7.2 ล้านเลขหมาย ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ทีโอที ในวันนี้(12 ก.ค.) เพื่อให้บอร์ดพิจารณาต่อไป พร้อมทั้งกำลังดำเนินการเจรจากับรายย่อยที่เป็นMVNO รายเก่าอีก 4 ราย ได้แก่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ บริษัท เอ็มคอนซัลท์ บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี และ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่นเพื่อดำเนินการ MVNO ต่อ
อีก ทั้งทีโอทียังเตรียมเสนอต่อครม.ในการทำตลาด 3G TOT ในเฟสที่ 2 ในการลงทุนสถานีฐานอีก10,000 สถานี พร้อมทั้งการลงทุนเทคโนโลยี LTE ภายในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ซึ่งในตอนนี้ต้องรอให้บอร์ดทีโอทีอนุมัติแผนการลงทุน3G เฟส 2 ก่อนจะเข้าไปเจรจากับทางธนาคารเพื่อดำเนินการขอเงินกู้ จากนั้นจึงจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ก่อนจะเข้าที่ประชุมครม.ต่อไป
ส่วน สถานีฐาน 3G TOT ในปัจจุบันดำเนินการติดตั้งเสร็จแล้วจำนวน 3,200 สถานี แต่สามารถเปิดใช้บริการได้เพียง 2,300 สถานี แบ่งเป็นของทีโอที 1,500 สถานี เอไอเอส 800 เอสแอล 250สถานี และทรูอีก 300 สถานี จากเป้าที่ตั้งไว้ 5,230 สถานีซึ่งคาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือนต.ค.นี้