ASTVผู้จัดการรายวัน-ทอท.เผยผิวรันเวย์ฝั่งตะวันตกร่อน เหตุยางมะตอยคุณภาพต่ำ มีน้ำซึมเข้าไป และใช้งานหนักขึ้น หลังปิดซ่อมรันเวย์ฝั่งตะวันออก เล็งประเมินอีก 2 สัปดาห์ก่อนซ่อมใหญ่ ชี้ผิวรันเวย์ร่อนเกิดขึ้นตลอด ตั้งแต่เปิดบริการปี 49 ซ่อมไปแล้วรวม 256 ครั้ง มั่นใจสายการบินยังเชื่อมั่น เหตุแก้ไขได้เร็ว
นายสมชัย สวัสดีผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า จากเหตุผิวยางมะตอยบริเวณหัวทางวิ่ง 19R ฝั่งตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหลุดร่อนลึก 5เซนติเมตร ขนาด 60X60 เซนติเมตร สาเหตุหนึ่งเกิดจากคุณภาพของยางมะตอบ และการที่มีน้ำซึมเข้าไปในจุดที่เคยมีการซ่อมแซม จึงทำให้เกิดการหลุดร่อนที่เร็วขึ้น ประกอบการมีการใช้งานรันเวย์ฝั่งตะวันตกที่มากขึ้นในช่วงที่รัยเวย์ฝั่งตะวันออกมีการปิดซ่อมแซมระยะทาง 1,620 เมตร
"การหลุดร่อนของผิวยางมะตอยรันเวย์ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยสุวรรณภูมิจะมีการสำรองยางมะตอยวันละหลายตันสำหรับการซ่อมแซมฉุกเฉินเฉพาะจุด โดยหลังจากนี้ ยางมะตอยที่นำมาซ่อมผิวรันเวย์จะต้องมีคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยจะต้องเป็นแบบแข็งพิเศษ เพื่อเพิ่มความคงทนขึ้น"
สำหรับการซ่อมใหญในรูปแบบเดียวกับรันเวย์ฝั่งตะวันออก จะมีการสำรวจและประเมินการใช้งานในช่วง2สัปดาห์นี้ก่อน และจะต้องประเมินผลกระทบในภาพวมที่จะเกิดขึ้นกับสายการบินที่ใช้บริการ โดยจะต้องมีการปรับตารางบินและเตรียมความพร้อมต่างๆ ด้วย
นายสมชัยกล่าวว่า ปกติรันเวย์ตะวันตกจะใช้สำหรับเครื่องบินร่อนลง ซึ่งมีแรงกดทับน้อยประมาณ40% เนื่องจากมีปีกช่วยพยุง ซึ่งตั้งแต่เปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตั้งแต่ปี 2549 มีการซ่อมแซมตามความเสียหายมี่เกิดขึ้นทั้งหมด 66 ครั้ง โดยบริเวณที่เกิดยางมะตอยหลุดร่อนออกมาเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น ตั้งแต่ต้นปี 2555มีการซ่อมแซม5 ครั้ง ต่างจากรันเวย์ฝั่งตะวันออกที่เป็นจุดบินขึ้นที่จะชำรุดมากกว่า เพราะต้องรับแรงกดทับของเครื่องบินทั้งลำก่อนที่จะส่งตัวขึ้น โดยตั้งเปิดสุวรรณภูมิมีการซ่อมแล้วทั้งสิ้น 290 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สนามบินจะมีการสำรวจพื้นรันเวย์ตลอดเวลา หากพบจุดใดชำรุดจะดำเนินการซ่อมแซมทันที เพราะหากรันเวย์มีปัญหาจะไม่สามารถให้เครื่องบินขึ้น-ลงได้ และมั่นใจว่ากรณีดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นของสายการบิน.
นายสมชัย สวัสดีผล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า จากเหตุผิวยางมะตอยบริเวณหัวทางวิ่ง 19R ฝั่งตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหลุดร่อนลึก 5เซนติเมตร ขนาด 60X60 เซนติเมตร สาเหตุหนึ่งเกิดจากคุณภาพของยางมะตอบ และการที่มีน้ำซึมเข้าไปในจุดที่เคยมีการซ่อมแซม จึงทำให้เกิดการหลุดร่อนที่เร็วขึ้น ประกอบการมีการใช้งานรันเวย์ฝั่งตะวันตกที่มากขึ้นในช่วงที่รัยเวย์ฝั่งตะวันออกมีการปิดซ่อมแซมระยะทาง 1,620 เมตร
"การหลุดร่อนของผิวยางมะตอยรันเวย์ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยสุวรรณภูมิจะมีการสำรองยางมะตอยวันละหลายตันสำหรับการซ่อมแซมฉุกเฉินเฉพาะจุด โดยหลังจากนี้ ยางมะตอยที่นำมาซ่อมผิวรันเวย์จะต้องมีคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยจะต้องเป็นแบบแข็งพิเศษ เพื่อเพิ่มความคงทนขึ้น"
สำหรับการซ่อมใหญในรูปแบบเดียวกับรันเวย์ฝั่งตะวันออก จะมีการสำรวจและประเมินการใช้งานในช่วง2สัปดาห์นี้ก่อน และจะต้องประเมินผลกระทบในภาพวมที่จะเกิดขึ้นกับสายการบินที่ใช้บริการ โดยจะต้องมีการปรับตารางบินและเตรียมความพร้อมต่างๆ ด้วย
นายสมชัยกล่าวว่า ปกติรันเวย์ตะวันตกจะใช้สำหรับเครื่องบินร่อนลง ซึ่งมีแรงกดทับน้อยประมาณ40% เนื่องจากมีปีกช่วยพยุง ซึ่งตั้งแต่เปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตั้งแต่ปี 2549 มีการซ่อมแซมตามความเสียหายมี่เกิดขึ้นทั้งหมด 66 ครั้ง โดยบริเวณที่เกิดยางมะตอยหลุดร่อนออกมาเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น ตั้งแต่ต้นปี 2555มีการซ่อมแซม5 ครั้ง ต่างจากรันเวย์ฝั่งตะวันออกที่เป็นจุดบินขึ้นที่จะชำรุดมากกว่า เพราะต้องรับแรงกดทับของเครื่องบินทั้งลำก่อนที่จะส่งตัวขึ้น โดยตั้งเปิดสุวรรณภูมิมีการซ่อมแล้วทั้งสิ้น 290 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สนามบินจะมีการสำรวจพื้นรันเวย์ตลอดเวลา หากพบจุดใดชำรุดจะดำเนินการซ่อมแซมทันที เพราะหากรันเวย์มีปัญหาจะไม่สามารถให้เครื่องบินขึ้น-ลงได้ และมั่นใจว่ากรณีดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นของสายการบิน.