ASTVผู้จัดการรายวัน - กสทเล็งไม่คืนความถี่ 1800 MHz หลังทรูมูฟและดีพีซีหมดสัมปทานเดือนก.ย.2556 อ้างปัญหาข้อพิพาทการโอนทรัพย์สินและเกรงผลกระทบประชาชนที่ใช้บริการ เตรียมส่งหนังสือถึงรมว.ไอซีทีแจงเหตุผลและอุทธรณ์กสทช.จำเป็นต้องใช้ความถี่ต่อ
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าได้หารือเบื้องต้นกับน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในประเด็นการคืนความถี่ 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือดีพีซีในเครือเอไอเอส ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในเดือนก.ย.2556 ว่ากสทอาจจะไม่คืนความถี่ดังกล่าวให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาต (กสทช.) ตามพ.ร.บ.กสทช.ปี 2553 รวมทั้งกสทกำลังเตรียมเข้าชี้แจงกับกสทช.ถึงความจำเป็นการใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไป
‘กสทกำลังทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยื่นให้รมว.ไอซีทีพิจารณา ถึงความจำเป็นในการใช้ความถี่ 1800 MHz ภายหลังสัญญาทรูมูฟและดีพีซีสิ้นสุดลงในเดือนก.ย.2556 รวมทั้งยื่นอุทธรณ์ไปยังกสทช.’
สาเหตุที่กสทไม่สามารถคืนความถี่ 1800 MHz ให้กสทช.ได้เนื่องจากเหลือเวลาเพียงประมาณ 1 ปีเท่านั้นสัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้มีหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ ข้อพิพาทกับบริษัทคู่สัญญาสัมปทานในเรื่องเสาสัญญาณโทรคมนาคม ที่ยังไม่ได้มีการโอนให้เป็นทรัพย์สินของกสท ตามสัญญาบีทีโอแต่อย่างใดทำให้กสทคาดว่าระยะเวลาเพียง 1 ปีไม่น่าจะเพียงพอในการแก้ไขปัญหาต่างๆรวมทั้งการวางแผนให้บริการประชาชนไม่ให้สะดุดหรือขาดตอนในช่วงเปลี่ยนผ่าน
‘เราต้องคำนึงถึงผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ดังนั้นกสทจะต้องเตรียมแผนการรองรับเพื่อให้สามารถให้บริการได้ตามปกติอย่างต่อเนื่องโดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในการใช้งาน’
ทั้งนี้การคืนความถี่ของกสทเป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ในมาตรา 82 และ84 โดยมาตรา 82 วรรค 2 ระบุไว้ว่าให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา รวมถึงอายุสัญญาและค่าสัมปทานหรือค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามการอนุญาต สัมปทานนั้นๆ ต่อกสทช.ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กสทช.กำหนดและให้กสทช.ตรวจสอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและผลการตรวจสอบให้สาธารณชนทราบ
ส่วนมาตรา 84 วรรค 3 ระบุให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่ดังกล่าว เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ 2555 โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความจำเป็นของการประกอบกิจการ และการใช้คลื่นความถี่ ทั้งนี้ให้นำเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามที่แจ้งไว้ตรมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณาด้วย
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าได้หารือเบื้องต้นกับน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในประเด็นการคืนความถี่ 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือดีพีซีในเครือเอไอเอส ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในเดือนก.ย.2556 ว่ากสทอาจจะไม่คืนความถี่ดังกล่าวให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาต (กสทช.) ตามพ.ร.บ.กสทช.ปี 2553 รวมทั้งกสทกำลังเตรียมเข้าชี้แจงกับกสทช.ถึงความจำเป็นการใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไป
‘กสทกำลังทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยื่นให้รมว.ไอซีทีพิจารณา ถึงความจำเป็นในการใช้ความถี่ 1800 MHz ภายหลังสัญญาทรูมูฟและดีพีซีสิ้นสุดลงในเดือนก.ย.2556 รวมทั้งยื่นอุทธรณ์ไปยังกสทช.’
สาเหตุที่กสทไม่สามารถคืนความถี่ 1800 MHz ให้กสทช.ได้เนื่องจากเหลือเวลาเพียงประมาณ 1 ปีเท่านั้นสัญญาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้มีหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ ข้อพิพาทกับบริษัทคู่สัญญาสัมปทานในเรื่องเสาสัญญาณโทรคมนาคม ที่ยังไม่ได้มีการโอนให้เป็นทรัพย์สินของกสท ตามสัญญาบีทีโอแต่อย่างใดทำให้กสทคาดว่าระยะเวลาเพียง 1 ปีไม่น่าจะเพียงพอในการแก้ไขปัญหาต่างๆรวมทั้งการวางแผนให้บริการประชาชนไม่ให้สะดุดหรือขาดตอนในช่วงเปลี่ยนผ่าน
‘เราต้องคำนึงถึงผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ดังนั้นกสทจะต้องเตรียมแผนการรองรับเพื่อให้สามารถให้บริการได้ตามปกติอย่างต่อเนื่องโดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในการใช้งาน’
ทั้งนี้การคืนความถี่ของกสทเป็นไปตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ในมาตรา 82 และ84 โดยมาตรา 82 วรรค 2 ระบุไว้ว่าให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา รวมถึงอายุสัญญาและค่าสัมปทานหรือค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามการอนุญาต สัมปทานนั้นๆ ต่อกสทช.ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กสทช.กำหนดและให้กสทช.ตรวจสอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและผลการตรวจสอบให้สาธารณชนทราบ
ส่วนมาตรา 84 วรรค 3 ระบุให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่ดังกล่าว เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ 2555 โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความจำเป็นของการประกอบกิจการ และการใช้คลื่นความถี่ ทั้งนี้ให้นำเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามที่แจ้งไว้ตรมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณาด้วย