วานนี้ ( 4 ก.ค.) นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณากรณีที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) (3)( 4) (5 ) (6 ) (7) และ (8 ) ประกอบ มาตรา 57 ตรี และ มาตรา 57 เบญจ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 43 ประกอบ มาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่
โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามี และภริยา ที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ทั้งปีของภริยา เป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นรายการ และเสียภาษี พร้อมกำหนดให้ภริยา ที่มีเงินได้ ตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นด้วยหรือไม่ สามารถแยกยื่นรายการเสียภาษีออกจากสามี เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้ โดยไม่ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ตาม มาตรา 57 ตรี นั้น ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่ทำให้สามีภริยา ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3)( 4) (5 ) (6 ) (7) และ (8 ) ต้องเสียภาษีสูงกว่าสามี ภริยา ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้ผู้หญิงที่มีสามี และมีเงินได้ตาม มาตรา 40 (2) (3)( 4) (5 ) (6 ) (7) และ (8 ต้องเสียภาษีสูงกว่าผู้หญิงที่โสด อีกทั้งยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ชาย-หญิง ไม่นิยมสมรสกัน เพราะต้องรับภาระอัตราภาษีที่สูงขึ้น อีกทั้ง ผู้ที่สมรสกันแล้ว ก็ต้องวางแผนการเสียภาษี โดยบางรายถึงขั้นจดทะเบียนหย่า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำเงินได้ของทั้งสามี และภริยา มารวมกันในการเสียภาษีที่สูงขึ้น
ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า บทบัญญัติ ทั้ง 2 มาตรา ขัดต่อหลักความเสมอภาค และ เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เนื่องจากมีความแตกต่างในเรื่องของสถานะบุคคล อีกทั้งไม่ได้เป็นมาตรา ที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้สามารถใช้สิทธิเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กรมสรรพากร ก็ต้องไปดำเนินการในการจัดเก็บภาษีเงินได้ใหม่ เพื่อให้เป็นตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่า สามี และภริยา จะสามารถแยกจ่ายภาษีเงินได้ในปี 2556
โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว เห็นว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามี และภริยา ที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้ทั้งปีของภริยา เป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นรายการ และเสียภาษี พร้อมกำหนดให้ภริยา ที่มีเงินได้ ตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นด้วยหรือไม่ สามารถแยกยื่นรายการเสียภาษีออกจากสามี เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้ โดยไม่ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ตาม มาตรา 57 ตรี นั้น ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่ทำให้สามีภริยา ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3)( 4) (5 ) (6 ) (7) และ (8 ) ต้องเสียภาษีสูงกว่าสามี ภริยา ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้ผู้หญิงที่มีสามี และมีเงินได้ตาม มาตรา 40 (2) (3)( 4) (5 ) (6 ) (7) และ (8 ต้องเสียภาษีสูงกว่าผู้หญิงที่โสด อีกทั้งยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ชาย-หญิง ไม่นิยมสมรสกัน เพราะต้องรับภาระอัตราภาษีที่สูงขึ้น อีกทั้ง ผู้ที่สมรสกันแล้ว ก็ต้องวางแผนการเสียภาษี โดยบางรายถึงขั้นจดทะเบียนหย่า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำเงินได้ของทั้งสามี และภริยา มารวมกันในการเสียภาษีที่สูงขึ้น
ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่า บทบัญญัติ ทั้ง 2 มาตรา ขัดต่อหลักความเสมอภาค และ เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เนื่องจากมีความแตกต่างในเรื่องของสถานะบุคคล อีกทั้งไม่ได้เป็นมาตรา ที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้สามารถใช้สิทธิเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กรมสรรพากร ก็ต้องไปดำเนินการในการจัดเก็บภาษีเงินได้ใหม่ เพื่อให้เป็นตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยคาดว่า สามี และภริยา จะสามารถแยกจ่ายภาษีเงินได้ในปี 2556