ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมการท่องเที่ยว ยืนยัน เสนองานสร้างแหล่งท่องเที่ยว ตามแผนเดิม ต่อ นายกรัฐมนตรี วันนี้(4 ก.ค.) ละเลงงบเบื้องต้นเกือบ 200 ล้านบาท ด้านประธาน สทท. เผย ทั้ง 3 โครงการ ถลุงเงินกว่า 6,600 ล้านบาท แต่ยังไร้ซึ่งความชัดเจน การเรียงลำดับความสำคัญ หวั่นไม่คุ้มค่าเงิน
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนรายได้การท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธาน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 4 ก.ค.55 ในส่วนของ กรม ได้กลับมาจัดทำรายละเอียดในแผนยุทธศาสตร์ที่ได้นำเสนอไปแล้วเมื่อการประชุม ที่พัทยา เมื่อเดือนก่อนโดยยืนยัน เสนอ 3 แนวทางการดำเนินงาน ควบคู่กันไป ได้แก่ การฟื้นฟูปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีอยู่แล้ว 100 แห่ง ทั่วประเทศ ,การสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และ การศึกษาโครงการเมกกะโปรเจกต์
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเก่า ได้คัดมา 100 แหล่ง เช่น หมู่เกะพีพี จังหวัดกระบี่, เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี, ตลาดนัจตุจักร และถนนข้าวสาร เป็นต้น
ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี, เมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์ และเส้นทางตามรอย ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ และส่วนที่ 3 คือการเร่งศึกษาความเป็นไปได้ที่จะผุดแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ หรือ โครงการเมกกะโปรเจกต์ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาสร้างแหล่งชอปปิ้งขนาดใหญ่ (เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์) บริเวณมักกะสัน , ศึกษาการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าโอท็อป , โครงการมูฟวี่เวิลด์ ลโครงการเส้นทางท่องเที่ยวโดยเรือสำราญเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน,โครงการพัฒนาท่าเรือคลองเตยเป็นแหล่งชอปปิ้ง และโครงการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า เฉพาะในส่วนของการฟื้นฟู ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวเก่า 100 แหล่ง น่าจะใช้งบประมาณราว 100 ล้านบาท ส่วน การศึกษาความเป็นไปได้โครงการเมกกะโปรเจกต์ ใช้งบประมาณราว 60 ล้านบาท โดยนำผลการศึกษา มาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าเพื่อเลือกทำเท่าที่จำเป็น โดยจะต้องเป็นการร่วมกันระหว่างภาครัฐ คือลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภค การคมนาคม ส่วนเอกชนลงทุนสร้างโดยได้สิทธิพิเศษจากรัฐเป็นแรงจูงใจ ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ จะให้หน่วยงานเจ้าของแหล่งเป็นเจ้าภาพหลัก และ กรมการท่องเที่ยวจะช่วยเสริม
ทางด้านนางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า เอกชนเป็นห่วงแผนปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว 100 แห่ง เพราะทราบมาว่า เป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณต่อเนื่องถึงปี 2558 รวมวงเงิน 6,600 ล้านบาท โดยไม่มีการกำหนดความสำคัญของแหล่งที่จะดำเนินการก่อนหรือหลัง ทั้งที่การทำงานต้องวิเคราะห์ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนรายได้การท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธาน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 4 ก.ค.55 ในส่วนของ กรม ได้กลับมาจัดทำรายละเอียดในแผนยุทธศาสตร์ที่ได้นำเสนอไปแล้วเมื่อการประชุม ที่พัทยา เมื่อเดือนก่อนโดยยืนยัน เสนอ 3 แนวทางการดำเนินงาน ควบคู่กันไป ได้แก่ การฟื้นฟูปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีอยู่แล้ว 100 แห่ง ทั่วประเทศ ,การสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และ การศึกษาโครงการเมกกะโปรเจกต์
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเก่า ได้คัดมา 100 แหล่ง เช่น หมู่เกะพีพี จังหวัดกระบี่, เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี, ตลาดนัจตุจักร และถนนข้าวสาร เป็นต้น
ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี, เมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์ และเส้นทางตามรอย ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ และส่วนที่ 3 คือการเร่งศึกษาความเป็นไปได้ที่จะผุดแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ หรือ โครงการเมกกะโปรเจกต์ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาสร้างแหล่งชอปปิ้งขนาดใหญ่ (เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์) บริเวณมักกะสัน , ศึกษาการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าโอท็อป , โครงการมูฟวี่เวิลด์ ลโครงการเส้นทางท่องเที่ยวโดยเรือสำราญเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน,โครงการพัฒนาท่าเรือคลองเตยเป็นแหล่งชอปปิ้ง และโครงการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า เฉพาะในส่วนของการฟื้นฟู ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวเก่า 100 แหล่ง น่าจะใช้งบประมาณราว 100 ล้านบาท ส่วน การศึกษาความเป็นไปได้โครงการเมกกะโปรเจกต์ ใช้งบประมาณราว 60 ล้านบาท โดยนำผลการศึกษา มาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าเพื่อเลือกทำเท่าที่จำเป็น โดยจะต้องเป็นการร่วมกันระหว่างภาครัฐ คือลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภค การคมนาคม ส่วนเอกชนลงทุนสร้างโดยได้สิทธิพิเศษจากรัฐเป็นแรงจูงใจ ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ จะให้หน่วยงานเจ้าของแหล่งเป็นเจ้าภาพหลัก และ กรมการท่องเที่ยวจะช่วยเสริม
ทางด้านนางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) กล่าวว่า เอกชนเป็นห่วงแผนปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว 100 แห่ง เพราะทราบมาว่า เป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณต่อเนื่องถึงปี 2558 รวมวงเงิน 6,600 ล้านบาท โดยไม่มีการกำหนดความสำคัญของแหล่งที่จะดำเนินการก่อนหรือหลัง ทั้งที่การทำงานต้องวิเคราะห์ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด