กรมการท่องเที่ยวยืนยันเสนองานสร้างแหล่งท่องเที่ยวตามแผนเดิมต่อนายกรัฐมนตรีพรุ่งนี้ (4 ก.ค.55) ละเลงงบเบื้องต้นเกือบ 200 ล้านบาท ด้านประธาน สทท.เผยทั้ง 3 โครงการถลุงเงินกว่า 6,600 ล้านบาท แต่ยังไร้ซึ่งความชัดเจนการเรียงลำดับความสำคัญ หวั่นไม่คุ้มค่าเงิน
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนรายได้การท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธาน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 4 ก.ค. 55 ในส่วนของกรมฯ ได้กลับมาจัดทำรายละเอียดในแผนยุทธศาสตร์ที่ได้นำเสนอไปแล้วเมื่อการประชุมที่พัทยา เดือนก่อน
โดยยืนยันเสนอ 3 แนวทางการดำเนินงานควบคู่กันไป ได้แก่ การฟื้นฟูปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีอยู่แล้ว 100 แห่งทั่วประเทศ, การสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และการศึกษาโครงการเมกะโปรเจกต์
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเก่าได้คัดมา 100 แหล่ง เช่น หมู่เกะพีพี จังหวัดกระบี่, เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี, ตลาดนัดจตุจักร และถนนข้าวสาร เป็นต้น ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี, เมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์ และเส้นทางตามรอยถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ และส่วนที่ 3 คือ การเร่งศึกษาความเป็นไปได้ที่จะผุดแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ หรือโครงการเมกะโปรเจกต์ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาสร้างแหล่งชอปปิ้งขนาดใหญ่ (เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) บริเวณมักกะสัน, ศึกษาการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอป, โครงการมูฟวีเวิลด์, โครงการเส้นทางท่องเที่ยวโดยเรือสำราญเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน, โครงการพัฒนาท่าเรือคลองเตยเป็นแหล่งชอปปิ้ง และโครงการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า เฉพาะในส่วนของการฟื้นฟู ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวเก่า 100 แหล่งน่าจะใช้งบประมาณราว 100 ล้านบาท ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้โครงการเมกะโปรเจกต์ใช้งบประมาณราว 60 ล้านบาท โดยนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าเพื่อเลือกทำเท่าที่จำเป็น โดยจะต้องเป็นการร่วมกันระหว่างภาครัฐ คือ ลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภค การคมนาคม ส่วนเอกชนลงทุนสร้างโดยได้สิทธิพิเศษจากรัฐเป็นแรงจูงใจ ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่จะให้หน่วยงานเจ้าของแหล่งเป็นเจ้าภาพหลัก และ กรมการท่องเที่ยวจะช่วยเสริม
ด้านนางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า เอกชนเป็นห่วงแผนปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว 100 แห่ง เพราะทราบมาว่าเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณต่อเนื่องถึงปี 2558 รวมวงเงิน 6,600 ล้านบาท โดยไม่มีการกำหนดความสำคัญของแหล่งที่จะดำเนินการก่อนหรือหลัง ทั้งที่การทำงานต้องวิเคราะห์ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนรายได้การท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นประธาน ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 4 ก.ค. 55 ในส่วนของกรมฯ ได้กลับมาจัดทำรายละเอียดในแผนยุทธศาสตร์ที่ได้นำเสนอไปแล้วเมื่อการประชุมที่พัทยา เดือนก่อน
โดยยืนยันเสนอ 3 แนวทางการดำเนินงานควบคู่กันไป ได้แก่ การฟื้นฟูปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีอยู่แล้ว 100 แห่งทั่วประเทศ, การสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และการศึกษาโครงการเมกะโปรเจกต์
สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเก่าได้คัดมา 100 แหล่ง เช่น หมู่เกะพีพี จังหวัดกระบี่, เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี, ตลาดนัดจตุจักร และถนนข้าวสาร เป็นต้น ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เรือพระราชพิธี, เมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์ และเส้นทางตามรอยถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ และส่วนที่ 3 คือ การเร่งศึกษาความเป็นไปได้ที่จะผุดแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ หรือโครงการเมกะโปรเจกต์ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาสร้างแหล่งชอปปิ้งขนาดใหญ่ (เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) บริเวณมักกะสัน, ศึกษาการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอป, โครงการมูฟวีเวิลด์, โครงการเส้นทางท่องเที่ยวโดยเรือสำราญเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน, โครงการพัฒนาท่าเรือคลองเตยเป็นแหล่งชอปปิ้ง และโครงการสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง
แหล่งข่าวจากวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า เฉพาะในส่วนของการฟื้นฟู ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวเก่า 100 แหล่งน่าจะใช้งบประมาณราว 100 ล้านบาท ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้โครงการเมกะโปรเจกต์ใช้งบประมาณราว 60 ล้านบาท โดยนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และความคุ้มค่าเพื่อเลือกทำเท่าที่จำเป็น โดยจะต้องเป็นการร่วมกันระหว่างภาครัฐ คือ ลงทุนด้านระบบสาธารณูปโภค การคมนาคม ส่วนเอกชนลงทุนสร้างโดยได้สิทธิพิเศษจากรัฐเป็นแรงจูงใจ ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใหม่จะให้หน่วยงานเจ้าของแหล่งเป็นเจ้าภาพหลัก และ กรมการท่องเที่ยวจะช่วยเสริม
ด้านนางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า เอกชนเป็นห่วงแผนปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว 100 แห่ง เพราะทราบมาว่าเป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณต่อเนื่องถึงปี 2558 รวมวงเงิน 6,600 ล้านบาท โดยไม่มีการกำหนดความสำคัญของแหล่งที่จะดำเนินการก่อนหรือหลัง ทั้งที่การทำงานต้องวิเคราะห์ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด