80 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นจริงหรือ
ข้อกล่าวหาหนึ่งที่มีต่อสถาบันกษัตริย์คือเป็นผู้ครอบครองที่ดินและทรัพยากรของประเทศแต่เพียงผู้เดียว จำเป็นต้องมีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชน และถึงกับมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยว่า “อำนาจอธิปไตยสูงสุดของประเทศนี้ เป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน”
จากบัดนั้นเป็นต้นมา ระบอบประชาธิปไตยที่ได้มา กลับกลายเป็นเสมือนก้อนเนื้ออันโอชะให้เหล่าสุนัขที่หิวกระหายต่างพากันแก่งแย่งกัดกินกันอย่างมูมมาม
เกิดการกระทำรัฐประหารแย่งชิงอำนาจกันตลอดมา รัฐธรรมนูญถูกฉีกและร่างใหม่ถึง 18 ฉบับ ในขณะที่นานาอารยประเทศที่เป็นต้นแบบแห่งประชาธิปไตย เขาถือว่ารัฐธรรมนูญคือกติกาสำคัญของชาติ และข้อตกลงสูงสุดของมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เรากลับใช้รัฐธรรมนูญเหมือนกระดาษชำระ ใครมีอำนาจก็แก้ไขกันไปตามอำเภอใจ ไม่ใส่ใจประชาชนที่เห็นต่างจากตน
ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวที่ร่างให้โดยสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันกลายเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลก แต่ประเทศไทยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ชนะสงคราม บ้านเมืองกลับวุ่นวายไม่รู้จบ ทรัพยากรมากมายมหาศาล แต่ผู้คนกลับยากจนลงเรื่อยๆ จนแทบโงหัวไม่ขึ้น ศีลธรรม จริยธรรม การศึกษา และเศรษฐกิจก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ
ประเทศไทยมีที่ดิน 320 ล้านไร่ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรามีป่าไม้เหลืออยู่มากกว่าครึ่งหนึ่ง แต่ภายหลังจากการเปิดให้สัมปทานต่างชาติเข้ามาตัดไม้ ไม้สักและไม้มีค่าทั้งหลายได้สูญเสียไปจนเกือบหมดประเทศ ปัจจุบันเราเหลือป่าไม้ที่สมบูรณ์อยู่เพียง 80 ล้านไร่ และยังคงถูกทำลายลงทุกปี ปีละราว 3-4 หมื่นไร่ โดยที่รัฐไม่สามารถหยุดยั้งการกระทำดังกล่าวจากนายทุนและนักการเมืองเลวที่สมคบกับข้าราชการ แต่กลับโยนความผิดให้กับประชาชนว่าเป็นผู้บุกรุกป่า
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (ส.ป.ก.) มีหน้าที่จัดหาที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ดิน หรือมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ ที่ดินจำนวนนับแสนไร่หลุดมือจากเกษตรกรยากจนไปสู่นายทุนที่ไม่มีคุณสมบัติจะเป็นเจ้าของได้ กว่า 1 หมื่น 6 พันรายทั่วประเทศ ซึ่งยังไม่สามารถใช้กฎหมายบังคับเอากลับคืนมาได้ และการปฏิรูปที่ดินก็ทำได้เพียงเอาที่ดินซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมที่ได้รับมอบจากกรมป่าไม้ มาจัดสรรให้ราษฎรที่ยากจน แทนที่จะมีธนาคารที่ดิน นำเงินไปซื้อหรือเวนคืนที่ดินจากนายทุนที่กว้านซื้อทิ้งไว้แล้วไม่ทำประโยชน์นำมาจัดสรรให้ชาวบ้าน นักการเมืองกลับไม่สนับสนุนแนวทางนี้ เพราะนายทุนและนักการเมืองคือคนกลุ่มเดียวกันที่เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยช่องทางการเมือง เพื่อความมั่งคั่งของพวกพ้องตนเอง จากการกว้านซื้อและกักตุนที่ดิน
ที่ดินจำนวนนับล้านไร่ซึ่งถูกทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิต ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของญาติโกโหติกานักการเมือง และบรรดานายทุนใหญ่ของประเทศที่ร่ำรวยติดอันดับโลกทั้งนั้น การแก้ปัญหาความยากจนของคนในประเทศนี้จึงทำได้ยากเต็มที
อีกส่วนหนึ่งที่กำลังเป็นภัยเงียบ คือการรุกคืบของทุนต่างชาติที่นักการเมืองเปิดโอกาสให้เข้ามาถือครองที่ดินได้ นามของผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีคนไทยบังหน้า หรือจากการจดทะเบียนสมรสกับคนไทยทั้งตัวจริงและการจ้างจดทะเบียน ทำให้ที่ดินจำนวนมหาศาลตกอยู่ในความครอบครองของต่างชาติ นักการเมืองไทยอ้างว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุน และเป็นการพัฒนาโดยอาศัยทุนต่างประเทศ ทุกวันนี้กลับกลายเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ และเป็นภัยเงียบที่คนไทยต้องเสียอธิปไตยโดยทางอ้อม
จากการศึกษาวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปี พ.ศ. 2549-2550 พบว่ามีคนต่างด้าวจำนวนมากที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์โดยปราศจากการควบคุมของกฎหมาย ทำให้การประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงเป็นไปได้ยาก จึงอาจส่งผลกระทบในหลายด้านและจะเป็นปัญหาซับซ้อนเรื้อรัง โดยมีกรณีศึกษาในจังหวัดระยอง ภูเก็ต และเชียงใหม่
เกาะบางแห่งในภาคใต้ถูกถือครองโดยต่างชาติในนามบริษัทเอกชน คนไทยไม่สามารถเข้าไปใช้พื้นที่นั้นได้ ที่นาจำนวนนับแสนไร่ในแถบอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ฯลฯ ถูกประเทศแถบตะวันออกกลางเช่าไปในระยะเวลา 30 ปี เพื่อปลูกข้าวส่งให้เขากิน
การถือครองที่ดินของต่างด้าวในไทยทั้งทางตรงที่กฎหมายเปิดช่องให้ ไม่ว่าจะเป็นจาก พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมและอุตสากรรม และกรณีที่คนต่างด้าวนำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท เราก็เปิดโอกาสให้เข้ามาถือครองที่ดินได้ รวมทั้งทางอ้อมที่ใช้ตัวแทนกระทำ คอนโดมิเนียมต่างๆ ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ทั้งที่ราคาสูงลิ่วแต่กลับมีคนแห่ไปซื้อกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากนอมินีของคนต่างด้าวและปล่อยให้เช่าในระบบ “ไทม์แชริ่ง” เกิดการซื้อขายเปลี่ยนมือกันเหมือนการปั่นหุ้น
หากยังไม่มีการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ล้างบางข้าราชการขี้ฉ้อ และนักการเมืองชั่วที่เปิดให้ต่างชาติเข้ามาครอบครองประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ อย่าว่าแต่อู่ตะเภาเลย คนไทยอาจไม่เหลือแผ่นดินแม้แต่ตารางนิ้วเดียว
นี่คือผลของนโยบายทางการเมือง 80 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง
ข้อกล่าวหาหนึ่งที่มีต่อสถาบันกษัตริย์คือเป็นผู้ครอบครองที่ดินและทรัพยากรของประเทศแต่เพียงผู้เดียว จำเป็นต้องมีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชน และถึงกับมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญด้วยว่า “อำนาจอธิปไตยสูงสุดของประเทศนี้ เป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน”
จากบัดนั้นเป็นต้นมา ระบอบประชาธิปไตยที่ได้มา กลับกลายเป็นเสมือนก้อนเนื้ออันโอชะให้เหล่าสุนัขที่หิวกระหายต่างพากันแก่งแย่งกัดกินกันอย่างมูมมาม
เกิดการกระทำรัฐประหารแย่งชิงอำนาจกันตลอดมา รัฐธรรมนูญถูกฉีกและร่างใหม่ถึง 18 ฉบับ ในขณะที่นานาอารยประเทศที่เป็นต้นแบบแห่งประชาธิปไตย เขาถือว่ารัฐธรรมนูญคือกติกาสำคัญของชาติ และข้อตกลงสูงสุดของมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เรากลับใช้รัฐธรรมนูญเหมือนกระดาษชำระ ใครมีอำนาจก็แก้ไขกันไปตามอำเภอใจ ไม่ใส่ใจประชาชนที่เห็นต่างจากตน
ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวที่ร่างให้โดยสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันกลายเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 3 ของโลก แต่ประเทศไทยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ชนะสงคราม บ้านเมืองกลับวุ่นวายไม่รู้จบ ทรัพยากรมากมายมหาศาล แต่ผู้คนกลับยากจนลงเรื่อยๆ จนแทบโงหัวไม่ขึ้น ศีลธรรม จริยธรรม การศึกษา และเศรษฐกิจก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ
ประเทศไทยมีที่ดิน 320 ล้านไร่ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรามีป่าไม้เหลืออยู่มากกว่าครึ่งหนึ่ง แต่ภายหลังจากการเปิดให้สัมปทานต่างชาติเข้ามาตัดไม้ ไม้สักและไม้มีค่าทั้งหลายได้สูญเสียไปจนเกือบหมดประเทศ ปัจจุบันเราเหลือป่าไม้ที่สมบูรณ์อยู่เพียง 80 ล้านไร่ และยังคงถูกทำลายลงทุกปี ปีละราว 3-4 หมื่นไร่ โดยที่รัฐไม่สามารถหยุดยั้งการกระทำดังกล่าวจากนายทุนและนักการเมืองเลวที่สมคบกับข้าราชการ แต่กลับโยนความผิดให้กับประชาชนว่าเป็นผู้บุกรุกป่า
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (ส.ป.ก.) มีหน้าที่จัดหาที่ดินให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ดิน หรือมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ ที่ดินจำนวนนับแสนไร่หลุดมือจากเกษตรกรยากจนไปสู่นายทุนที่ไม่มีคุณสมบัติจะเป็นเจ้าของได้ กว่า 1 หมื่น 6 พันรายทั่วประเทศ ซึ่งยังไม่สามารถใช้กฎหมายบังคับเอากลับคืนมาได้ และการปฏิรูปที่ดินก็ทำได้เพียงเอาที่ดินซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมที่ได้รับมอบจากกรมป่าไม้ มาจัดสรรให้ราษฎรที่ยากจน แทนที่จะมีธนาคารที่ดิน นำเงินไปซื้อหรือเวนคืนที่ดินจากนายทุนที่กว้านซื้อทิ้งไว้แล้วไม่ทำประโยชน์นำมาจัดสรรให้ชาวบ้าน นักการเมืองกลับไม่สนับสนุนแนวทางนี้ เพราะนายทุนและนักการเมืองคือคนกลุ่มเดียวกันที่เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยช่องทางการเมือง เพื่อความมั่งคั่งของพวกพ้องตนเอง จากการกว้านซื้อและกักตุนที่ดิน
ที่ดินจำนวนนับล้านไร่ซึ่งถูกทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิต ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมสิทธิ์ของญาติโกโหติกานักการเมือง และบรรดานายทุนใหญ่ของประเทศที่ร่ำรวยติดอันดับโลกทั้งนั้น การแก้ปัญหาความยากจนของคนในประเทศนี้จึงทำได้ยากเต็มที
อีกส่วนหนึ่งที่กำลังเป็นภัยเงียบ คือการรุกคืบของทุนต่างชาติที่นักการเมืองเปิดโอกาสให้เข้ามาถือครองที่ดินได้ นามของผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีคนไทยบังหน้า หรือจากการจดทะเบียนสมรสกับคนไทยทั้งตัวจริงและการจ้างจดทะเบียน ทำให้ที่ดินจำนวนมหาศาลตกอยู่ในความครอบครองของต่างชาติ นักการเมืองไทยอ้างว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุน และเป็นการพัฒนาโดยอาศัยทุนต่างประเทศ ทุกวันนี้กลับกลายเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ และเป็นภัยเงียบที่คนไทยต้องเสียอธิปไตยโดยทางอ้อม
จากการศึกษาวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปี พ.ศ. 2549-2550 พบว่ามีคนต่างด้าวจำนวนมากที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์โดยปราศจากการควบคุมของกฎหมาย ทำให้การประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงเป็นไปได้ยาก จึงอาจส่งผลกระทบในหลายด้านและจะเป็นปัญหาซับซ้อนเรื้อรัง โดยมีกรณีศึกษาในจังหวัดระยอง ภูเก็ต และเชียงใหม่
เกาะบางแห่งในภาคใต้ถูกถือครองโดยต่างชาติในนามบริษัทเอกชน คนไทยไม่สามารถเข้าไปใช้พื้นที่นั้นได้ ที่นาจำนวนนับแสนไร่ในแถบอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ฯลฯ ถูกประเทศแถบตะวันออกกลางเช่าไปในระยะเวลา 30 ปี เพื่อปลูกข้าวส่งให้เขากิน
การถือครองที่ดินของต่างด้าวในไทยทั้งทางตรงที่กฎหมายเปิดช่องให้ ไม่ว่าจะเป็นจาก พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมและอุตสากรรม และกรณีที่คนต่างด้าวนำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท เราก็เปิดโอกาสให้เข้ามาถือครองที่ดินได้ รวมทั้งทางอ้อมที่ใช้ตัวแทนกระทำ คอนโดมิเนียมต่างๆ ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ทั้งที่ราคาสูงลิ่วแต่กลับมีคนแห่ไปซื้อกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากนอมินีของคนต่างด้าวและปล่อยให้เช่าในระบบ “ไทม์แชริ่ง” เกิดการซื้อขายเปลี่ยนมือกันเหมือนการปั่นหุ้น
หากยังไม่มีการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ ล้างบางข้าราชการขี้ฉ้อ และนักการเมืองชั่วที่เปิดให้ต่างชาติเข้ามาครอบครองประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ อย่าว่าแต่อู่ตะเภาเลย คนไทยอาจไม่เหลือแผ่นดินแม้แต่ตารางนิ้วเดียว
นี่คือผลของนโยบายทางการเมือง 80 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง