เมื่อเวลา 11.30 น. วานนี้ (28 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.ท.วันชนะ สวัสดี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการสุภาพบุรุษอาชีวะ ซึ่งนำนักเรียนอาชีวะมาฝึกในค่ายทหาร ว่า กองทัพบกและคณะกรรมส่งเสริมการศึกษาอาชีวะภาคเอกชน และคณะกรรมอาชีวะศึกษา (ภาครัฐบาล) ได้ข้อสรุปว่า กองทัพบก จะเป็นส่วนหนึ่งในการบูรณาการ สร้างกิจกรรม ซึ่งมีผู้เข้าฝึกอบรม 220 คน จาก 33 สถาบัน เป็นเอกชน 16 สถาบัน รัฐบาล 17 สถาบัน โดยใช้เวลา 10 สัปดาห์ หรือ 2 เดือนครึ่ง หรือเท่ากับเวลาฝึกทหารใหม่ ส่วนพื้นที่ฝึกมี 2 พื้นที่คือ ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน จ. เพชรบุรี และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี ซึ่งจะมีการพิจารณาอีกครั้ง เพื่อดูเงื่อนไขบุคคลากรด้านการสอน ว่ามีเพียงพอหรือไม่อาจยุบเหลือ 1 พื้นที่ แล้วแบ่งเป็น 2 รุ่น โดยจะเริ่มในวันที่ 10 ก.ค.นี้
ทั้งนี้ รูปแบบการฝึกแบ่งออกเป็น 1. กรมนักเรียน คล้ายๆ การฝึกของนักเรียนโรงเรียนจปร. ซึ่งดูแลเรื่องระเบียบวินัย การออกกำลังกาย กินอยู่หลับนอน และ 2 .ด้านการศึกษา จะเน้นด้านวิชาการ ทางกระทรวงศึกษาฯ จะดูแลซึ่งการสอนเท่าเทียบกับชั้นเรียนปกติ โดยจะมีนักจิตวิทยาเข้ามาช่วยอบรมด้วย
" กองทัพบกและกระทรวงศึกษาฯ ตระหนักดีว่า เด็กเหล่านี้ไม่ใช่เด็กมีปัญหา ฉะนั้นอย่ามองว่า เป็นเด็กสร้างปัญหา เราเพียงเข้าไปเสริมหลักสูตร และศักยภาพไม่ใช่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เรารู้ดีว่าช่วยวัยรุ่นที่คึกคะนอง เขามีสัญลักษณ์อุดมการณ์ คือ สถาบัน ต่อไปเราจะเปลี่ยนให้เป็น สัญญลักษณ์สถาบันเป็นชาติ ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญมากกว่า" พ.ท.วันชนะ กล่าว
พ.ท.วันชนะ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาฯ พบว่า รุ่นพี่ที่ออกจากสถาบันไปแล้วเข้ามาในโรงเรียนเพื่อปลูกฝังความคิด ความรุนแรง โดยมีเป้าหมาย เด็กชั้นปีที่ 2 ที่มองว่ากระดูกกำลังเจริญเติบโต สำหรับเด็กปี 1 กระดูกยังอ่อนเกินไป และปีที่ 3 ก็แก่เกินไป อย่างไรก็ตาม เด็กชั้นปีที่ 2 ส่วนหนึ่งไม่ได้สมัครใจ ฉะนั้นที่เราอยากทำคือ การแยกปลาออกจากน้ำ เพราะรุ่นพี่ที่เข้ามามีการตั้งเป็นขบวนการ มีเงินทุนสนับสนุน และการช่วยเหลือเรื่องคดีความ
พ.ท.วันชนะ กล่าวว่า ทางกระทรวงศึกษาฯ จะดูแลสนับสนุนเรื่องงบประมาณทั้งหมด ส่วนหลังการอบรมแล้ว อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะเด็กอาจกลับไปมีพฤติกรรมเดิมนั้น ตนมองว่าเพียงได้แค่ 1 % ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว เพราะสามารถปลูกฝังเด็กได้ส่วนหนึ่ง เหมือนกับการสร้างภาพยนตร์เรื่อง พระนเรศวร ที่ใช้เงินเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีคนดูเพียง 1 คน ก็ถือว่าเราสามารถปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กคนนั้นรัก และเห็นคุณค่าของชาติได้ สิ่งที่คาดหวัง อยากให้เด็กมีความสำนึก และทำความดีต่อสังคม ส่วนกองทัพบก และกระทรวงศึกษาธิการ จะพยายามต่อยอดโครงการต่อไปเรื่อยๆเพื่อดึงศักยภาพให้เด็กเห็นคุณค่าของตัวเองและสังคม
ทั้งนี้ รูปแบบการฝึกแบ่งออกเป็น 1. กรมนักเรียน คล้ายๆ การฝึกของนักเรียนโรงเรียนจปร. ซึ่งดูแลเรื่องระเบียบวินัย การออกกำลังกาย กินอยู่หลับนอน และ 2 .ด้านการศึกษา จะเน้นด้านวิชาการ ทางกระทรวงศึกษาฯ จะดูแลซึ่งการสอนเท่าเทียบกับชั้นเรียนปกติ โดยจะมีนักจิตวิทยาเข้ามาช่วยอบรมด้วย
" กองทัพบกและกระทรวงศึกษาฯ ตระหนักดีว่า เด็กเหล่านี้ไม่ใช่เด็กมีปัญหา ฉะนั้นอย่ามองว่า เป็นเด็กสร้างปัญหา เราเพียงเข้าไปเสริมหลักสูตร และศักยภาพไม่ใช่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เรารู้ดีว่าช่วยวัยรุ่นที่คึกคะนอง เขามีสัญลักษณ์อุดมการณ์ คือ สถาบัน ต่อไปเราจะเปลี่ยนให้เป็น สัญญลักษณ์สถาบันเป็นชาติ ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญมากกว่า" พ.ท.วันชนะ กล่าว
พ.ท.วันชนะ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาฯ พบว่า รุ่นพี่ที่ออกจากสถาบันไปแล้วเข้ามาในโรงเรียนเพื่อปลูกฝังความคิด ความรุนแรง โดยมีเป้าหมาย เด็กชั้นปีที่ 2 ที่มองว่ากระดูกกำลังเจริญเติบโต สำหรับเด็กปี 1 กระดูกยังอ่อนเกินไป และปีที่ 3 ก็แก่เกินไป อย่างไรก็ตาม เด็กชั้นปีที่ 2 ส่วนหนึ่งไม่ได้สมัครใจ ฉะนั้นที่เราอยากทำคือ การแยกปลาออกจากน้ำ เพราะรุ่นพี่ที่เข้ามามีการตั้งเป็นขบวนการ มีเงินทุนสนับสนุน และการช่วยเหลือเรื่องคดีความ
พ.ท.วันชนะ กล่าวว่า ทางกระทรวงศึกษาฯ จะดูแลสนับสนุนเรื่องงบประมาณทั้งหมด ส่วนหลังการอบรมแล้ว อาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะเด็กอาจกลับไปมีพฤติกรรมเดิมนั้น ตนมองว่าเพียงได้แค่ 1 % ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว เพราะสามารถปลูกฝังเด็กได้ส่วนหนึ่ง เหมือนกับการสร้างภาพยนตร์เรื่อง พระนเรศวร ที่ใช้เงินเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีคนดูเพียง 1 คน ก็ถือว่าเราสามารถปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กคนนั้นรัก และเห็นคุณค่าของชาติได้ สิ่งที่คาดหวัง อยากให้เด็กมีความสำนึก และทำความดีต่อสังคม ส่วนกองทัพบก และกระทรวงศึกษาธิการ จะพยายามต่อยอดโครงการต่อไปเรื่อยๆเพื่อดึงศักยภาพให้เด็กเห็นคุณค่าของตัวเองและสังคม