ASTVผู้จัดการรายวัน - อียูส่งหนังสือท้วงร่างประกาศครอบงำกิจการโดยต่างด้าว ใน 3 ประเด็นหลัก อ้างเสียบรรยากาศการลงทุนและทำให้นักลงทุนยุโรปเมินธุรกิจโทรคมนาคมไทย เตรียมหารือกสทช.วันที่ 28 มิ.ย.นี้
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าในเวลา 14.00 น.วันที่ 28 มิ.ย.นี้ นายเดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนสหภาพยุโรป หรือ อียู ประจำประเทศไทย จะเข้าพบกสทช. เพื่อหารือหลังจากส่งหนังสือแสดงท่าทีคัดค้านร่างประกาศ กสทช.เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ....
ทั้งนี้รายละเอียดหนังสืออียูที่คัดค้านร่างประกาศฯดังกล่าว มีความกังวลใน 3 ประเด็นคือ 1.ประกาศฯดังกล่าวไม่สอดคล้องกับข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) และ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวของประเทศไทย ในประเด็นที่ร่างประกาศฉบับนี้นิยาม ห้ามต่างด้าวมีอำนาจควบคุมไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ การแต่งตั้งกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในการประชุมผู้ถือหุ้น
2. ประเทศไทยได้จัดทำพันธกรณี หลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment Commitment) สำหรับภาคส่วนย่อยต่างๆ ของบริการโทรคมนาคม ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิดการใช้มาตรการเลือกปฏิบัติ เช่น ที่ระบุไว้ตามนิยามของคำว่า การครอบงำ ต่อผู้ให้บริการที่ลงทุนโดยคนต่างด้าว และในประกาศฉบับนี้ระบุว่าจะใช้บังคับโดยที่ไม่ขัดแย้งกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือ ควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
3.ประกาศฯฉบับดังกล่าวมีความสำคัญในการวัดระดับการเปิดเสรีของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย และ เป็นการกำหนดบรรทัดฐานในทางลบในการเปิดเสรีบริการทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งอียูเกรงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย จากการที่ประกาศดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขที่ไม่ชัดเจนสำหรับการร่วมลงทุนของคนต่างชาติในตลาดบริการของประเทศไทย
ขณะเดียวกันยังย้ำว่า ประกาศฯฉบับดังกล่าวยังก่อให้เกิดความเคลือบคลุมทางกฎหมาย และการกระทำที่ไม่ส่งเสริมให้มีการลงทุนใหม่จากคนต่างชาติในภาคโทร คมนาคม เนื่องจากผู้ลงทุนชาวยุโรปในกิจการโทรคมนาคมทุกรายได้จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์หลักๆ ทั่วโลกที่มีข้อกำหนดให้เปิดเผยข้อมูล
ดังนั้น จึงไม่มีผู้ประกอบการต่างชาติรายใดที่ยินดีที่จะลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนมาก เทคโนโลยี และ ความรู้ความชำนาญในตลาดที่ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิการเป็นเจ้าของที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตามคณะผู้แทนอียูมีความสนใจต่อความคิดเห็นของประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลังจากมีการคัดค้านจากอียูในครั้งนี้ ดังนั้นจึงยินดีที่จะได้รับโอกาสในการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ภายในการประชุมย่อยของการประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการของWTO/GATS ที่กรุงเจนีวา
ทั้งนี้นอกจากการส่งหนังสือคัดค้านประกาศครอบงำกิจการฯ ถึงกสทช.แล้ว อียูยังได้ส่งหนังสือถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ และน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีด้วย
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าในเวลา 14.00 น.วันที่ 28 มิ.ย.นี้ นายเดวิด ลิปแมน เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนสหภาพยุโรป หรือ อียู ประจำประเทศไทย จะเข้าพบกสทช. เพื่อหารือหลังจากส่งหนังสือแสดงท่าทีคัดค้านร่างประกาศ กสทช.เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ....
ทั้งนี้รายละเอียดหนังสืออียูที่คัดค้านร่างประกาศฯดังกล่าว มีความกังวลใน 3 ประเด็นคือ 1.ประกาศฯดังกล่าวไม่สอดคล้องกับข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) และ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวของประเทศไทย ในประเด็นที่ร่างประกาศฉบับนี้นิยาม ห้ามต่างด้าวมีอำนาจควบคุมไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ การแต่งตั้งกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในการประชุมผู้ถือหุ้น
2. ประเทศไทยได้จัดทำพันธกรณี หลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment Commitment) สำหรับภาคส่วนย่อยต่างๆ ของบริการโทรคมนาคม ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิดการใช้มาตรการเลือกปฏิบัติ เช่น ที่ระบุไว้ตามนิยามของคำว่า การครอบงำ ต่อผู้ให้บริการที่ลงทุนโดยคนต่างด้าว และในประกาศฉบับนี้ระบุว่าจะใช้บังคับโดยที่ไม่ขัดแย้งกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือ ควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
3.ประกาศฯฉบับดังกล่าวมีความสำคัญในการวัดระดับการเปิดเสรีของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย และ เป็นการกำหนดบรรทัดฐานในทางลบในการเปิดเสรีบริการทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งอียูเกรงว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย จากการที่ประกาศดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขที่ไม่ชัดเจนสำหรับการร่วมลงทุนของคนต่างชาติในตลาดบริการของประเทศไทย
ขณะเดียวกันยังย้ำว่า ประกาศฯฉบับดังกล่าวยังก่อให้เกิดความเคลือบคลุมทางกฎหมาย และการกระทำที่ไม่ส่งเสริมให้มีการลงทุนใหม่จากคนต่างชาติในภาคโทร คมนาคม เนื่องจากผู้ลงทุนชาวยุโรปในกิจการโทรคมนาคมทุกรายได้จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์หลักๆ ทั่วโลกที่มีข้อกำหนดให้เปิดเผยข้อมูล
ดังนั้น จึงไม่มีผู้ประกอบการต่างชาติรายใดที่ยินดีที่จะลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนมาก เทคโนโลยี และ ความรู้ความชำนาญในตลาดที่ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิการเป็นเจ้าของที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตามคณะผู้แทนอียูมีความสนใจต่อความคิดเห็นของประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลังจากมีการคัดค้านจากอียูในครั้งนี้ ดังนั้นจึงยินดีที่จะได้รับโอกาสในการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ภายในการประชุมย่อยของการประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการของWTO/GATS ที่กรุงเจนีวา
ทั้งนี้นอกจากการส่งหนังสือคัดค้านประกาศครอบงำกิจการฯ ถึงกสทช.แล้ว อียูยังได้ส่งหนังสือถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ และน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีด้วย