คณะอนุกรรมการฯ 3G เคาะราคาเริ่มต้นประมูลใบอนุญาต 3G มูลค่า 4,500ล้านบาทต่อ 5MHz พร้อมโชว์รูปแบบจำลองการประมูลให้ผู้ประกอบการ ผู้สื่อข่าว หวังให้ความรู้ ความเข้าใจก่อนเปิดประมูลจริงภายในเดือน ต.ค.นี้
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการออกหลักเกณฑ์การประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G บนย่านความถี่ 2.1GHz วันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้สรุปราคาเริ่มต้นการประมูล 3G อยู่ที่ 4,500 ล้านบาทต่อ 5MHz หรือ 45MHz เป็นเงินจำนวน 40,500 ล้านบาท โดยกำหนดการประมูลครั้งละ 5MHz สูงสุดไม่เกิน 20MHz
ทั้งนี้ ราคาเริ่มต้นการประมูลในครั้งนี้มีปัจจัยที่ทำให้คิดราคาจากอัตราเงินเฟ้อจากปี 2009 ถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 7% โดยผู้เข้าร่วมประมูลดังกล่าวจะต้องวางเงินประกันของราคาเริ่มต้น30% หรือ 1,350 ล้านบาท
สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจากได้ราคาตั้งต้นแล้ว คณะอนุฯ จะนำมติในที่ประชุมเข้าสู่บอร์ดกทค.ในวันพรุ่งนี้ (26 มิ.ย.) ก่อนจะเสนอต่อบอร์ด กสทช.ในวันพุธที่ 27 มิ.ย. 55 ต่อไป จากนั้นจะเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ในช่วงเดือน ส.ค. 55 โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. รับฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ กสทช. และ 2. การจัดประชุมสัมมนา ก่อนจะทำการรวบรวมข้อมูล และทำการแก้ไขในช่วงต้นเดือนสิงหาคม และคาดจะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ช่วงกลางเดือนสิงหาคม
จากนั้นจะส่งร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ และใบอนุญาต เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูลที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ก่อนการประมูลจะเริ่มต้น กสทช.จะมีการออกร่างหลักเกณฑ์การใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อประหยัดต้นทุนในการทำธุรกิจ 3G เช่น เสา และสาย
ส่วนด้านสถานที่การประมูลขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด แต่ต้องไม่ใช่สถานที่ที่สิ้นเปลืองเรื่องค่าใช้จ่าย อีกทั้งต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี โดยจะเน้นสถานที่ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประมูลเป็นหลัก ซึ่งการจัดประชุมในค่ายทหารนั้นไม่อยู่ในความคิดของ กสทช. แต่อย่างใด
ในวันเดียวกัน ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ยังได้จัดงาน “Pre mock auction 3G on 2.1GHz” ที่ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ ห้องฉัตรา 1 ชั้น 2 ซึ่งจัดโดยบริษัท เทลคอมเจอร์เนล จำกัด โดยมี พล.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวเปิดงาน ภายในงานมีผู้เข้าร่วม และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าร่วมงานดังกล่าว นำโดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค, บริษัท ทรูมูฟ จำกัด, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้เข้าร่วมราว 100 คน
โดยมี นายพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตลาด และการประมูล Cramton Associates กล่าวถึงรูปแบบการประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz จำนวน 45MHz ที่นำมาเป็นแบบจำลองให้ผู้ประกอบการ และผู้สื่อข่าว รวมไปถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งใช้วิธีการประมูลแบบ “Simultaneous Ascending Bid Auction” ซึ่งเป็นวิธีการประมูลที่บอร์ด กทค.ได้มีมติเลือกใช้ก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากเป็นวิธีที่เพิ่มราคาการประมูลในเวลาเดียวกัน ในทุกช่วงความถี่ โดยแบ่งคลื่นความถี่เป็น 9 สลอต สลอตละ 5MHz ซึ่งสามารถประมูลได้สูงสุดที่ 20MHz
นอกจากแบบจำลองดังกล่าวยังได้กำหนดราคาตั้งต้นที่ 4,000 ล้านบาท โดยราคาประมูลแต่ละรอบถูกกำหนดให้เพิ่มขึ้น 10% จากราคาสูงสุด และยังกำหนดเป้าหมาย คือจะต้องประมูลให้ได้กำไรสูงสุด ไม่ใช่ประมูลให้ได้ใบอนุญาตมากที่สุด ซึ่งแต่ละรายจะจับสลากได้เงิน หรือ ต้นทุนไม่เท่ากัน
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการออกหลักเกณฑ์การประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G บนย่านความถี่ 2.1GHz วันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้สรุปราคาเริ่มต้นการประมูล 3G อยู่ที่ 4,500 ล้านบาทต่อ 5MHz หรือ 45MHz เป็นเงินจำนวน 40,500 ล้านบาท โดยกำหนดการประมูลครั้งละ 5MHz สูงสุดไม่เกิน 20MHz
ทั้งนี้ ราคาเริ่มต้นการประมูลในครั้งนี้มีปัจจัยที่ทำให้คิดราคาจากอัตราเงินเฟ้อจากปี 2009 ถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 7% โดยผู้เข้าร่วมประมูลดังกล่าวจะต้องวางเงินประกันของราคาเริ่มต้น30% หรือ 1,350 ล้านบาท
สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังจากได้ราคาตั้งต้นแล้ว คณะอนุฯ จะนำมติในที่ประชุมเข้าสู่บอร์ดกทค.ในวันพรุ่งนี้ (26 มิ.ย.) ก่อนจะเสนอต่อบอร์ด กสทช.ในวันพุธที่ 27 มิ.ย. 55 ต่อไป จากนั้นจะเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ในช่วงเดือน ส.ค. 55 โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. รับฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ กสทช. และ 2. การจัดประชุมสัมมนา ก่อนจะทำการรวบรวมข้อมูล และทำการแก้ไขในช่วงต้นเดือนสิงหาคม และคาดจะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ช่วงกลางเดือนสิงหาคม
จากนั้นจะส่งร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ และใบอนุญาต เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูลที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ก่อนการประมูลจะเริ่มต้น กสทช.จะมีการออกร่างหลักเกณฑ์การใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อประหยัดต้นทุนในการทำธุรกิจ 3G เช่น เสา และสาย
ส่วนด้านสถานที่การประมูลขณะนี้ยังไม่ได้กำหนด แต่ต้องไม่ใช่สถานที่ที่สิ้นเปลืองเรื่องค่าใช้จ่าย อีกทั้งต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี โดยจะเน้นสถานที่ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประมูลเป็นหลัก ซึ่งการจัดประชุมในค่ายทหารนั้นไม่อยู่ในความคิดของ กสทช. แต่อย่างใด
ในวันเดียวกัน ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ยังได้จัดงาน “Pre mock auction 3G on 2.1GHz” ที่ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ ห้องฉัตรา 1 ชั้น 2 ซึ่งจัดโดยบริษัท เทลคอมเจอร์เนล จำกัด โดยมี พล.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวเปิดงาน ภายในงานมีผู้เข้าร่วม และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าร่วมงานดังกล่าว นำโดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค, บริษัท ทรูมูฟ จำกัด, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้เข้าร่วมราว 100 คน
โดยมี นายพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตลาด และการประมูล Cramton Associates กล่าวถึงรูปแบบการประมูลใบอนุญาต (ไลเซนส์) 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz จำนวน 45MHz ที่นำมาเป็นแบบจำลองให้ผู้ประกอบการ และผู้สื่อข่าว รวมไปถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งใช้วิธีการประมูลแบบ “Simultaneous Ascending Bid Auction” ซึ่งเป็นวิธีการประมูลที่บอร์ด กทค.ได้มีมติเลือกใช้ก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากเป็นวิธีที่เพิ่มราคาการประมูลในเวลาเดียวกัน ในทุกช่วงความถี่ โดยแบ่งคลื่นความถี่เป็น 9 สลอต สลอตละ 5MHz ซึ่งสามารถประมูลได้สูงสุดที่ 20MHz
นอกจากแบบจำลองดังกล่าวยังได้กำหนดราคาตั้งต้นที่ 4,000 ล้านบาท โดยราคาประมูลแต่ละรอบถูกกำหนดให้เพิ่มขึ้น 10% จากราคาสูงสุด และยังกำหนดเป้าหมาย คือจะต้องประมูลให้ได้กำไรสูงสุด ไม่ใช่ประมูลให้ได้ใบอนุญาตมากที่สุด ซึ่งแต่ละรายจะจับสลากได้เงิน หรือ ต้นทุนไม่เท่ากัน