ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลสั่งเอ.พี.ฮอนด้า จ่ายค่าเสียหายดีเลอร์ 5 ล้าน เหตุบอกเลิกสัญญามิชอบ ใช้อำนาจต่อรองบีบรับสัญญาที่ผู้ประกอบการไม่มีทางเลือก ระบุเป็นช่องทางของบริษัทยักษ์ใหญ่ใช้ครอบงำตลาด และอาจส่งกระทบต่อผู้บริโภคได้
วานนี้ (14มิ.ย.55) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีที่ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ยื่นฟ้องต่อ บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด กับพวกรวม 3 คน ในข้อหา บอกเลิกสัญญาโดยไม่เป็นธรรม ผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหาย
ทั้งนี้ ศาลมีคำพิพากษาพิพากษาให้บริษัทเอ.พี.ฮอนด้า ชำระเงินจำนวน 5,120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้อง( 6 กันยายน 2554 ) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่บริษัทวิจิตรภัณฑ์
นอกจากนี้ บริษัทเอ.พี.ฮอนด้าต้องชำระค่าเสียหายอีกเดือนละ 640,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญาผู้จำหน่ายได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 เพื่อให้บริษัทวิจิตรภัณฑ์สามารถเปิดกิจการต่อไปได้ แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้มิให้คิดเกิน 1 ปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง และบริษัทเอ.พี.ฮอนด้ายังต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 30,000 บาทอีกด้วย
สำหรับสาเหตุที่บริษัท วิจิตรภัณฑ์ฯ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของรถยนต์ฮอนด้ายื่นฟ้องต่อศาลในครั้งนี้เนื่องจาก ถูกยกเลิกสัญญาและไม่ได้รับความเป็นธรรมหลังจากถูกสั่งตัดระบบการสั่งสินค้าทางอิเล็กทรอนิคส์ของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จนไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าและประกอบกิจการต่อได้
ทั้งนี้ ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การยกเลิกสัญญาและตัดระบบการสั่งสินค้าของบริษัทเอ.พี.ฮอนด้าไม่เป็นธรรม โดยขอสัญญาที่บริษัทเอ.พี. ฮอนด้ากล่าวอ้างว่า“คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้โดยที่ไม่มีการผิดสัญญาได้...”นั้นถือว่าไม่เป็นธรรม และมีลักษณะเป็นข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ มีผลให้ผู้จำหน่ายซึ่งมีอำนาจในการต่อรองน้อยกว่า รับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ
นอกจากนี้ บริษัทเอ.พี.ฮอนด้ายังเป็นฝ่ายได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแจ้งชัด ตามมาตรา 4 (3) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และเมื่อพิจารณาถึงปกติประเพณีของสัญญาชนิดนี้ตามมาตรา 10 แห่งกฎหมายฉบับดังกล่าวย่อมเป็นไปได้ยาก ที่ฝ่ายผู้จำหน่ายจะเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาโดยบริษัทไม่ผิดสัญญาเพราะผู้จำหน่ายต้องอาศัยสินค้ารถจักรยานยนต์ของบริษัทเอ.พีฮอนด้าเพียงรายเดียวมาจำหน่ายในธุรกิจของตน
ดังนั้นการลงนามในสัญญาของบริษัทวิจิตรภัณฑ์จึงเป็นการเสียเปรียบเนื่องจากไม่มีอำนาจในการต่อรอง ทำให้จำเป็นต้องยืนยอมรับสัญญาดังกล่าว
ทั้งนี้ ศาลยังระบุอีกว่า การต้องยอมรับสัญญาที่มีข้อความว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ว่าเป็นสัญญาที่เป็นธรรมโดยปราศจากเหตุผลและมิได้คำนึงถึงความเสียหายของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เท่ากับยอมรับให้มีผู้มีอำนาจต่อรองสูงกว่าสามารถทำลายกลไกตลาดโดยไม่มีข้อจำกัด ยอมก่อให้เกิดผลกระทบต่อบรรยากาศการแข่งขันในตลาดเสรีและเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหม่ในอนาคตเพราะจะไม่มีความแน่นอนในการทำธุรกิจ ซึ่งต้องมีการลงทุนในปริมาณมากทั้งเงินและแรงงาน หากปล่อยให้คู่สัญญาบอกเลิกสัญญาตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้ ย่อมเป็นช่องทางให้ผู้มีอำนาจครอบงำตลาด สามารถสร้างกฎเกณฑ์การค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในที่สุดก็ย่อมมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ ถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้
วานนี้ (14มิ.ย.55) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีที่ บริษัท วิจิตรภัณฑ์ เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ยื่นฟ้องต่อ บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด กับพวกรวม 3 คน ในข้อหา บอกเลิกสัญญาโดยไม่เป็นธรรม ผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหาย
ทั้งนี้ ศาลมีคำพิพากษาพิพากษาให้บริษัทเอ.พี.ฮอนด้า ชำระเงินจำนวน 5,120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้อง( 6 กันยายน 2554 ) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่บริษัทวิจิตรภัณฑ์
นอกจากนี้ บริษัทเอ.พี.ฮอนด้าต้องชำระค่าเสียหายอีกเดือนละ 640,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะปฏิบัติตามสัญญาผู้จำหน่ายได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อพ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 เพื่อให้บริษัทวิจิตรภัณฑ์สามารถเปิดกิจการต่อไปได้ แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้มิให้คิดเกิน 1 ปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง และบริษัทเอ.พี.ฮอนด้ายังต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 30,000 บาทอีกด้วย
สำหรับสาเหตุที่บริษัท วิจิตรภัณฑ์ฯ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของรถยนต์ฮอนด้ายื่นฟ้องต่อศาลในครั้งนี้เนื่องจาก ถูกยกเลิกสัญญาและไม่ได้รับความเป็นธรรมหลังจากถูกสั่งตัดระบบการสั่งสินค้าทางอิเล็กทรอนิคส์ของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จนไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าและประกอบกิจการต่อได้
ทั้งนี้ ศาลมีคำวินิจฉัยว่า การยกเลิกสัญญาและตัดระบบการสั่งสินค้าของบริษัทเอ.พี.ฮอนด้าไม่เป็นธรรม โดยขอสัญญาที่บริษัทเอ.พี. ฮอนด้ากล่าวอ้างว่า“คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้โดยที่ไม่มีการผิดสัญญาได้...”นั้นถือว่าไม่เป็นธรรม และมีลักษณะเป็นข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ มีผลให้ผู้จำหน่ายซึ่งมีอำนาจในการต่อรองน้อยกว่า รับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ
นอกจากนี้ บริษัทเอ.พี.ฮอนด้ายังเป็นฝ่ายได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแจ้งชัด ตามมาตรา 4 (3) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และเมื่อพิจารณาถึงปกติประเพณีของสัญญาชนิดนี้ตามมาตรา 10 แห่งกฎหมายฉบับดังกล่าวย่อมเป็นไปได้ยาก ที่ฝ่ายผู้จำหน่ายจะเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาโดยบริษัทไม่ผิดสัญญาเพราะผู้จำหน่ายต้องอาศัยสินค้ารถจักรยานยนต์ของบริษัทเอ.พีฮอนด้าเพียงรายเดียวมาจำหน่ายในธุรกิจของตน
ดังนั้นการลงนามในสัญญาของบริษัทวิจิตรภัณฑ์จึงเป็นการเสียเปรียบเนื่องจากไม่มีอำนาจในการต่อรอง ทำให้จำเป็นต้องยืนยอมรับสัญญาดังกล่าว
ทั้งนี้ ศาลยังระบุอีกว่า การต้องยอมรับสัญญาที่มีข้อความว่าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ว่าเป็นสัญญาที่เป็นธรรมโดยปราศจากเหตุผลและมิได้คำนึงถึงความเสียหายของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เท่ากับยอมรับให้มีผู้มีอำนาจต่อรองสูงกว่าสามารถทำลายกลไกตลาดโดยไม่มีข้อจำกัด ยอมก่อให้เกิดผลกระทบต่อบรรยากาศการแข่งขันในตลาดเสรีและเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการรายใหม่ในอนาคตเพราะจะไม่มีความแน่นอนในการทำธุรกิจ ซึ่งต้องมีการลงทุนในปริมาณมากทั้งเงินและแรงงาน หากปล่อยให้คู่สัญญาบอกเลิกสัญญาตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้ ย่อมเป็นช่องทางให้ผู้มีอำนาจครอบงำตลาด สามารถสร้างกฎเกณฑ์การค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในที่สุดก็ย่อมมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ ถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้