เรียกว่าคาดไม่ถึงจริงๆ ว่าผลจะออกมาอย่างที่เห็น นั่นคือ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้รับคำร้องเรื่องที่มีกลุ่ม 40 ส.ว. ภาคประชาชนหลากหลายกลุ่ม ให้ตีความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายรัฐบาลที่แก้ไขทั้งฉบับ เป็นการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญ เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่
ส่งผลให้กำหนดการที่ประธานรัฐสภา คือ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ให้มีการลงมติ ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 ในวันที่ 5 มิถุนายน ต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด
ทุกอย่างต้องสะดุดลงทันที เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้นัดไต่สวนคู่กรณี ในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งก็ไม่มีหลักประกันว่า จะมีการตัดสินเมื่อใดกันแน่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือกำหนดการ ตารางเวลาทุกอย่างต้องล่าช้าออกไป แบบที่เริ่มควบคุมไม่ได้
ขณะเดียวกันด้วยบรรยากาศ และกระแสต่อต้าน ร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ก็เริ่มแรงขึ้น ทั้งที่รวบรัดผลักดันเข้ามาก็ถูกชาวบ้านจับได้ว่า แท้จริงแล้วมีแต่ชื่อเท่านั้นที่ปรองดอง ส่วนเนื้อหาสาระข้างใน 5-6 มาตรา ล้วนแล้วแต่สร้างความแตกแยก ยั่วอารมณ์ให้เกิดความโมโห
เพราะเป้าหมายแท้จริงก็คือ ต้องการลบล้างความผิดให้กับนักการเมืองที่ทุจริต ลบล้างคำพิพากษา ทำลายระบบนิติรัฐ นิติธรรมจนป่นปี้ อีกทั้งคนที่กระทำความผิด ทั้งที่ศาลตัดสินไปแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ก็ลบล้างไปทั้งหมดให้เป็นเสมือนว่าไม่เคยมีความผิดมาก่อน
ที่สำคัญเป้าหมายหลักก็คือ ต้องการลบล้างความผิด และคืนทรัพย์สินจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ที่ถูกยึดเป็นของแผ่นดินให้ ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นนายใหญ่เท่านั้น
กระแสต่อต้านจึงพุ่งปรี๊ดแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นบรรยากาศแบบนี้มานานหลายปีแล้ว ลักษณะแบบ “รวมการเฉพาะกิจ” ทุกกลุ่มรวมพลังกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ และเชื่อว่ายิ่งได้เห็นความจริงของเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายดังกล่าว ก็ยิ่งทนไม่ได้ อารมณ์ก็ยิ่งขาดผึง
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องย้อนกลับมาพิจารณาก็คือ มติของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องให้พิจารณาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ และเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่ เพราะถือว่าเป็นการพิจารณาที่รวดเร็วทันท่วงที สามารถระงับยับยั้งความวุ่นวายที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในคำแถลงของโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ก็ออกมาแถลงยอมรับว่า มติของศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย
ที่น่าจับตาก็คือ เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติออกมาแบบนี้ ทำให้แผนการที่ ทักษิณ ชินวัตร วางเอาไว้ว่าจะกลับบ้านอย่างเท่ ต้องห่างไกลออกไปอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะหากพิจารณากันตามความเป็นจริงก็ต้องบอกว่า ทั้งเรื่องการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การร่างใหม่ทั้งฉบับ ปูทางให้ตัวเองกลับมามีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งก็สอดคล้องกับการเสนอ ร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ในเรื่องการลบล้างความผิด และได้เงินคืนมา เป้าหมายในบั้นปลายทั้งสองอย่าง ต้องสอดคล้องรองรับซึ่งกันและกัน เพราะไม่ว่าพิจารณาในมุมไหนก็ต้องรู้ว่า เนื้อหาในร่างปรองดองนั้น ขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา เช่น เรื่องการลบล้างคำพิพากษาของศาล
แต่เมื่อมีอันต้องสะดุดลงไป มันก็ทำให้ ทักษิณ เริ่มกลับมามีอาการ “สติแตก” อีกครั้ง
เพราะยิ่งทอดเวลาเนิ่นนานออกไปเท่าใด มันก็ยิ่งมีความเสี่ยง ควบคุมไม่ได้มากขึ้น เนื่องจากอย่างที่รู้กันว่า ผลงานและความห่วยแตกของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของตัวเองนั้น นับวันมีแต่เพิ่มขึ้น มีแต่ขาลง กลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยมีกระแสสนับสนุนเต็มเปี่ยม ก็มีไม่น้อยที่รู้เช่นเห็นชาติ แยกตัวออกไปบ้าง บรรยากาศไม่สนุกเหมือนเดิมเต็มร้อย ขณะเดียวกัน เมื่อหันไปมองอีกฟากที่เป็นฝ่ายตรงข้าม ที่น่าจับตาก็คือ ฝ่ายประชาธิปัตย์ที่ “ย้อนศร” ใช้วิธีแบบเดียวกันกับที่ ทักษิณ เคยใช้ ไม่ว่าใช้สื่อดาวเทียม การจัดรายการชี้แจงกับสังคมแบบทันควัน ไม่ต้องพึ่งสื่อหลักอย่างเดียว อีกทั้งยังมีการปลุกมวลชนลุกขึ้นสู้ ซึ่งนำร่องอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
มีการเปิดเวทีจัดรายการ “ผ่าความจริง หยุดกฎหมายล้างผิดคนโกง” ที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เมื่อค่ำวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา ถือว่าประชาธิปัตย์จัดมาเต็มสูบ ระดมระดับ “ขาใหญ่” มากันพร้อม ไม่ว่า ชวน หลีกภัย บัญญัติ บรรทัดฐาน ไปจนถึง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งเวทีประชันกับคนเสื้อแดง ที่ใช้โอกาสรำลึก 5 ปี “ความจริงของสามเกลอ” แลกกันหมัดต่อหมัด เปิดเกมรุกไม่ได้ตั้งรับเหมือนเดิม
หากพิจารณาจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ตามความเป็นจริงก็ต้องใช้คำว่า “ทักษิณไม่ได้เปรียบ” ส่วนจะเสียเปรียบหรือเปล่า ไม่รู้ เพราะต้องไม่ลืมว่าเวลานี้ ทักษิณ กำลังถืออำนาจรัฐในมือ มีรัฐบาลเป็นของตัวเอง หากนำมวลชนแดงออกมาปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มมวลชนประชาธิปัตย์เมื่อใด นั่นก็หมายความว่า
รัฐบาลต้องรับผิดชอบ สถานการณ์จะพลิกผันจนยากจะควบคุมได้ทันที เพราะปัจจุบันกับตอนเป็นฝ่ายค้าน บรรยากาศคนละเรื่อง ฝ่ายทักษิณ เริ่มถดถอย โดยเฉพาะความรู้สึกของสังคมภายนอก อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการบริหารงาน เกิดข้าวยากหมากแพง ค่าครองชีพสูงลิบ ถูกฝ่ายตรงข้ามกระทุ้งตลอดเวลา มันก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน แค่เรื่อง “ถีบหัวส่งคนเสื้อแดง” ก็ไปไม่เป็นแล้ว
ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ไม่มั่นคง ยังตั้งประชันกันอยู่แบบนี้ และที่สำคัญ ทักษิณ ยังไม่มั่นใจว่าจะคุมได้เบ็ดเสร็จ เขาก็คงยังไม่กล้าผลีผลาม ที่ทำได้ก็คือ หันกลับมาพึ่งพาคนเสื้อแดงอีกรอบ ทั้งที่ถีบหัวเรือส่งไปแล้ว เพราะคิดว่าทุกอย่างกำลังไปได้สวย กลับบ้านอย่างเท่แน่ อย่างไรก็ดี ถ้าทุกอย่างกำลังเป็นรองอย่างชัดเจน และมองออกแล้วว่า ตนเองกำลังพ่ายแพ้ นั่นแหละน่าเป็นห่วง เพราะเป็นไปได้ที่เขาจะไฟเขียวให้ป่วน ทำนอง “เมื่อกูไม่ได้ พวกมึงก็อย่าอยู่เป็นสุข” อะไรประมาณนี้แหละ
แต่เอาเป็นว่า ถ้าพิจารณากันแบบเฉพาะหน้า น้ำหนักชี้ขาดยังอยู่ที่มวลชนนอกสภาเป็นหลัก !!
ส่งผลให้กำหนดการที่ประธานรัฐสภา คือ สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ให้มีการลงมติ ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 ในวันที่ 5 มิถุนายน ต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด
ทุกอย่างต้องสะดุดลงทันที เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้นัดไต่สวนคู่กรณี ในวันที่ 5 กรกฎาคม ซึ่งก็ไม่มีหลักประกันว่า จะมีการตัดสินเมื่อใดกันแน่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือกำหนดการ ตารางเวลาทุกอย่างต้องล่าช้าออกไป แบบที่เริ่มควบคุมไม่ได้
ขณะเดียวกันด้วยบรรยากาศ และกระแสต่อต้าน ร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ก็เริ่มแรงขึ้น ทั้งที่รวบรัดผลักดันเข้ามาก็ถูกชาวบ้านจับได้ว่า แท้จริงแล้วมีแต่ชื่อเท่านั้นที่ปรองดอง ส่วนเนื้อหาสาระข้างใน 5-6 มาตรา ล้วนแล้วแต่สร้างความแตกแยก ยั่วอารมณ์ให้เกิดความโมโห
เพราะเป้าหมายแท้จริงก็คือ ต้องการลบล้างความผิดให้กับนักการเมืองที่ทุจริต ลบล้างคำพิพากษา ทำลายระบบนิติรัฐ นิติธรรมจนป่นปี้ อีกทั้งคนที่กระทำความผิด ทั้งที่ศาลตัดสินไปแล้ว และอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ก็ลบล้างไปทั้งหมดให้เป็นเสมือนว่าไม่เคยมีความผิดมาก่อน
ที่สำคัญเป้าหมายหลักก็คือ ต้องการลบล้างความผิด และคืนทรัพย์สินจำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ที่ถูกยึดเป็นของแผ่นดินให้ ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นนายใหญ่เท่านั้น
กระแสต่อต้านจึงพุ่งปรี๊ดแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นบรรยากาศแบบนี้มานานหลายปีแล้ว ลักษณะแบบ “รวมการเฉพาะกิจ” ทุกกลุ่มรวมพลังกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ และเชื่อว่ายิ่งได้เห็นความจริงของเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายดังกล่าว ก็ยิ่งทนไม่ได้ อารมณ์ก็ยิ่งขาดผึง
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องย้อนกลับมาพิจารณาก็คือ มติของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องให้พิจารณาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ และเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่ เพราะถือว่าเป็นการพิจารณาที่รวดเร็วทันท่วงที สามารถระงับยับยั้งความวุ่นวายที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในคำแถลงของโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ก็ออกมาแถลงยอมรับว่า มติของศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย
ที่น่าจับตาก็คือ เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติออกมาแบบนี้ ทำให้แผนการที่ ทักษิณ ชินวัตร วางเอาไว้ว่าจะกลับบ้านอย่างเท่ ต้องห่างไกลออกไปอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะหากพิจารณากันตามความเป็นจริงก็ต้องบอกว่า ทั้งเรื่องการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การร่างใหม่ทั้งฉบับ ปูทางให้ตัวเองกลับมามีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งก็สอดคล้องกับการเสนอ ร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ในเรื่องการลบล้างความผิด และได้เงินคืนมา เป้าหมายในบั้นปลายทั้งสองอย่าง ต้องสอดคล้องรองรับซึ่งกันและกัน เพราะไม่ว่าพิจารณาในมุมไหนก็ต้องรู้ว่า เนื้อหาในร่างปรองดองนั้น ขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา เช่น เรื่องการลบล้างคำพิพากษาของศาล
แต่เมื่อมีอันต้องสะดุดลงไป มันก็ทำให้ ทักษิณ เริ่มกลับมามีอาการ “สติแตก” อีกครั้ง
เพราะยิ่งทอดเวลาเนิ่นนานออกไปเท่าใด มันก็ยิ่งมีความเสี่ยง ควบคุมไม่ได้มากขึ้น เนื่องจากอย่างที่รู้กันว่า ผลงานและความห่วยแตกของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของตัวเองนั้น นับวันมีแต่เพิ่มขึ้น มีแต่ขาลง กลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยมีกระแสสนับสนุนเต็มเปี่ยม ก็มีไม่น้อยที่รู้เช่นเห็นชาติ แยกตัวออกไปบ้าง บรรยากาศไม่สนุกเหมือนเดิมเต็มร้อย ขณะเดียวกัน เมื่อหันไปมองอีกฟากที่เป็นฝ่ายตรงข้าม ที่น่าจับตาก็คือ ฝ่ายประชาธิปัตย์ที่ “ย้อนศร” ใช้วิธีแบบเดียวกันกับที่ ทักษิณ เคยใช้ ไม่ว่าใช้สื่อดาวเทียม การจัดรายการชี้แจงกับสังคมแบบทันควัน ไม่ต้องพึ่งสื่อหลักอย่างเดียว อีกทั้งยังมีการปลุกมวลชนลุกขึ้นสู้ ซึ่งนำร่องอย่างเป็นเรื่องเป็นราว
มีการเปิดเวทีจัดรายการ “ผ่าความจริง หยุดกฎหมายล้างผิดคนโกง” ที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เมื่อค่ำวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา ถือว่าประชาธิปัตย์จัดมาเต็มสูบ ระดมระดับ “ขาใหญ่” มากันพร้อม ไม่ว่า ชวน หลีกภัย บัญญัติ บรรทัดฐาน ไปจนถึง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตั้งเวทีประชันกับคนเสื้อแดง ที่ใช้โอกาสรำลึก 5 ปี “ความจริงของสามเกลอ” แลกกันหมัดต่อหมัด เปิดเกมรุกไม่ได้ตั้งรับเหมือนเดิม
หากพิจารณาจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ตามความเป็นจริงก็ต้องใช้คำว่า “ทักษิณไม่ได้เปรียบ” ส่วนจะเสียเปรียบหรือเปล่า ไม่รู้ เพราะต้องไม่ลืมว่าเวลานี้ ทักษิณ กำลังถืออำนาจรัฐในมือ มีรัฐบาลเป็นของตัวเอง หากนำมวลชนแดงออกมาปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มมวลชนประชาธิปัตย์เมื่อใด นั่นก็หมายความว่า
รัฐบาลต้องรับผิดชอบ สถานการณ์จะพลิกผันจนยากจะควบคุมได้ทันที เพราะปัจจุบันกับตอนเป็นฝ่ายค้าน บรรยากาศคนละเรื่อง ฝ่ายทักษิณ เริ่มถดถอย โดยเฉพาะความรู้สึกของสังคมภายนอก อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการบริหารงาน เกิดข้าวยากหมากแพง ค่าครองชีพสูงลิบ ถูกฝ่ายตรงข้ามกระทุ้งตลอดเวลา มันก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน แค่เรื่อง “ถีบหัวส่งคนเสื้อแดง” ก็ไปไม่เป็นแล้ว
ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ไม่มั่นคง ยังตั้งประชันกันอยู่แบบนี้ และที่สำคัญ ทักษิณ ยังไม่มั่นใจว่าจะคุมได้เบ็ดเสร็จ เขาก็คงยังไม่กล้าผลีผลาม ที่ทำได้ก็คือ หันกลับมาพึ่งพาคนเสื้อแดงอีกรอบ ทั้งที่ถีบหัวเรือส่งไปแล้ว เพราะคิดว่าทุกอย่างกำลังไปได้สวย กลับบ้านอย่างเท่แน่ อย่างไรก็ดี ถ้าทุกอย่างกำลังเป็นรองอย่างชัดเจน และมองออกแล้วว่า ตนเองกำลังพ่ายแพ้ นั่นแหละน่าเป็นห่วง เพราะเป็นไปได้ที่เขาจะไฟเขียวให้ป่วน ทำนอง “เมื่อกูไม่ได้ พวกมึงก็อย่าอยู่เป็นสุข” อะไรประมาณนี้แหละ
แต่เอาเป็นว่า ถ้าพิจารณากันแบบเฉพาะหน้า น้ำหนักชี้ขาดยังอยู่ที่มวลชนนอกสภาเป็นหลัก !!