ASTVผู้จัดการรายวัน-โฆษก ตร.แถลงปรับมาตรการดูม็อบชุมนุมหน้ารัฐสภา บี้ ผบก.รับผิดชอบม็อบในพื้นที่ ปัดเสนอ “คำรณวิทย์” นั่ง ผบช.ภาค.1ตัวจริง หากผลงานเข้าตา ปราบม็อบพันธมิตรฯ สำเร็จ
เมื่อเวลา 11.20 น. วานนี้ (3 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร. แถลงข่าวมาตรการเตรียมความพร้อมในการดูแลสถานการณ์ของกลุ่มผู้ชุมนุม ว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. เป็นห่วงในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย โดยสั่งการ ศปก.ตร. ลงมาคอยช่วยสนับสนุน ศปก.นครบาล จะให้ข้อแนะนำต่างๆ และจะมีผู้บังคับบัญชาระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาดูแล รวมถึงการส่งกำลังและทีมงานมาสนับสนุน เช่น งานแผน ส่งกำลังบำรุง กฎหมาย การข่าว สันติบาล เป็นต้น เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของฝ่ายใด หรือแม้แต่มีการชุมนุมกันหลายจุดก็ตาม
โดยภารกิจในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม มีหลายประการ ถ้าหน่วยใดหน่วยหนึ่งปฏิบัติภารกิจ อาจจะไม่ครบถ้วน เช่น การดูแลที่รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล หลีกเลี่ยงการปะทะกันระหว่างมวลชน ดำรงเส้นทางการจราจรให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมนั้นต้องใช้ถนน รวมทั้งดูแลเส้นทางการจราจร เข้าออกกรณีที่ ส.ส. จะต้องเข้าประชุมสภา หรือการประชุมสำคัญของประเทศ ซึ่งต้องมีการประชุมได้
พล.ต.ต.ปิยะ เปิดเผยว่า ถึงแม้การชุมนุมจะมีการเลื่อนออกไป แต่ ผบ.ตร. สั่งการว่า ก่อนมีสถานการณ์ ตำรวจต้องเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อม ทั้งด้านการข่าว และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งนำบทเรียนที่เคยเกิดขึ้นมาแก้ไขสถานการณ์
นอกจากนี้ ขอฝากไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่าย ทั้งในกทม.และต่างจังหวัด แผนปฏิบัติการของตำรวจ จะเน้นดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามจะยึดหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด แผนที่ใช้ปฏิบัติเป็นแผนหลัก คือ “แผนกรกฎ กฎการใช้กำลัง ระมัดระวัง ให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย” ในการปฏิบัติทุกกรณีจะมี ผบ.เหตุการณ์ เช่น ถ้าเหตุการณ์พื้นที่กว้างเกิดขึ้นในพื้นที่ กทม. ทางผบช.น. เป็นผบ.เหตุการณ์ แต่ถ้าชุมนุมเป็นกลุ่มตามสถานที่ต่างๆ นั้น ผบก. ที่รับผิดชอบในพื้นที่ เป็น ผบ.เหตุการณ์ เป็นต้น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ศปก.นครบาล ได้มีการปรับภารกิจบางส่วน โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. แต่เดิมรับผิดชอบงานจราจร ก็เปลี่ยนให้มารับผิดชอบงานความมั่นคง เป็นหัวหน้าทีมดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม แทนที่ พล.ต.ต.เมธี กุศลสร้าง รอง ผบช.น. รับผิดชอบงานความมั่นคง ส่วนหัวหน้าฝ่ายอำนวยการ หรือทีมบริหารเหตุการณ์คอยสนับสนุนการปฏิบัติการของกองร้อยต่างๆ มอบหมายให้ พล.ต.ต.สมชาย มุสิกเจริญ ผบก.อก.บช.น. รับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนตัว ผบช.น. มีกระแสข่าวว่า ให้ดำเนินการเรื่องสลายม็อบ แต่ไม่ดำเนินการ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ผลในคำสั่งในการปรับผู้รับผิดชอบในพื้นที่กองบัญชาการนครบาล แค่ 30 วัน ไม่ได้มีนัยยะอะไรมากมาย เพียงแต่ว่าอาจจะเป็นการปรับยุทธวิธีในการปฏิบัติงาน เพราะในช่วงเวลาต่อไปนี้อาจจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น การปรับยุทธวิธี ไม่ปรับเฉพาะ ผบช.น.เท่านั้น ตำแหน่ง รอง ผบช.น. เช่น พล.ต.ต.วรศักดิ์ มีประสบการณ์เรื่องการควบคุมกำลัง ก็ให้ยกเว้นงานจราจรไว้ชั่วคราว พล.ต.ท.วินัย ท่านก็ทำดีมาตั้งเยอะแยะ ไม่ว่าด้านคดีอาชญากรรม แต่ว่าสถานการณ์ขณะนี้ อาจจะต้องมีการปรับบ้างบางส่วน เป็นช่วงเวลาสั้นๆ
** ปัด"คำรณวิทย์"นั่งผบช. ภาค1 ตัวจริง
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ทำไมถึงต้องตั้ง พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รรท.ผบช.ภ.1 มารักษาการ ผบช.น. พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า อาจจะเป็นการปรับยุทธวิธีในการประสานงานกัน เพราะในการชุมนุมเกี่ยวพันกับ 2 พื้นที่นี้มากขึ้น เมื่อถามว่า พล.ต.ต.คำรณวิทย์ มีบทบาทหรือผลงานการควบคุมการชุมนุม หรือไม่ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า มีมาโดยตลอด ท่านก็เคยเป็น ผบก.สปพ. เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน
ส่วนที่มีการมองกันว่า การโยก พล.ต.ต.คำรณวิทย์ มาเพื่อปฏิบัติการบางอย่างกับผู้ชุมนุม พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า “ไม่ครับ” การชุมนุมของพี่น้องประชาชน จะเป็นไปตามข้อกฎหมาย ตำรวจก็จะดำเนินการตามแผน คือ “แผนกรกฎ กฎการใช้กำลัง ระมัดระวังให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย” ผบ.เหตุการณ์ ก็ต้องยึดถือในกติกาเหล่านี้ คงไม่มีนัยยะอย่างอื่น และเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่า ถ้าพล.ต.ต.คำรณวิทย์ สามารถทำให้มีการประชุมสภา และ พ.ร.บ.ปรองดองผ่าน อาจมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่คงไม่ใช่ คิดว่าไม่ว่าท่านใดก็ตามก็มีความตั้งใจปฏิบัติงานต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย และมีการชุมนุมกันโดยสงบ คงไม่มีเรื่องอะไรแอบแฝง
** หนุนย้าย "วินัย-วิชัย" ดีแล้ว
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่มีคำสั่งย้าย พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และพลต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รองผู้บัญชการตำรวจนครบาล เนื่องเพราะการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหละหลวม ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ กระทำผิดกฎหมาย ปิดล้อมสภาฯ ขัดขวางการประชุมสภาฯ ตำรวจเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ควรมีขั้นตอนการควบคุมฝูงชน แต่ไม่ทำ เพราะอาจได้บทเรียน เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จึงกลัวเกินเหตุ ดังนั้นการโยกย้ายจึงเป็นเรื่องปกติ.
เมื่อเวลา 11.20 น. วานนี้ (3 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก ตร. แถลงข่าวมาตรการเตรียมความพร้อมในการดูแลสถานการณ์ของกลุ่มผู้ชุมนุม ว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. เป็นห่วงในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย โดยสั่งการ ศปก.ตร. ลงมาคอยช่วยสนับสนุน ศปก.นครบาล จะให้ข้อแนะนำต่างๆ และจะมีผู้บังคับบัญชาระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาดูแล รวมถึงการส่งกำลังและทีมงานมาสนับสนุน เช่น งานแผน ส่งกำลังบำรุง กฎหมาย การข่าว สันติบาล เป็นต้น เพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของฝ่ายใด หรือแม้แต่มีการชุมนุมกันหลายจุดก็ตาม
โดยภารกิจในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม มีหลายประการ ถ้าหน่วยใดหน่วยหนึ่งปฏิบัติภารกิจ อาจจะไม่ครบถ้วน เช่น การดูแลที่รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล หลีกเลี่ยงการปะทะกันระหว่างมวลชน ดำรงเส้นทางการจราจรให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมนั้นต้องใช้ถนน รวมทั้งดูแลเส้นทางการจราจร เข้าออกกรณีที่ ส.ส. จะต้องเข้าประชุมสภา หรือการประชุมสำคัญของประเทศ ซึ่งต้องมีการประชุมได้
พล.ต.ต.ปิยะ เปิดเผยว่า ถึงแม้การชุมนุมจะมีการเลื่อนออกไป แต่ ผบ.ตร. สั่งการว่า ก่อนมีสถานการณ์ ตำรวจต้องเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อม ทั้งด้านการข่าว และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งนำบทเรียนที่เคยเกิดขึ้นมาแก้ไขสถานการณ์
นอกจากนี้ ขอฝากไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมทุกฝ่าย ทั้งในกทม.และต่างจังหวัด แผนปฏิบัติการของตำรวจ จะเน้นดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามจะยึดหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด แผนที่ใช้ปฏิบัติเป็นแผนหลัก คือ “แผนกรกฎ กฎการใช้กำลัง ระมัดระวัง ให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย” ในการปฏิบัติทุกกรณีจะมี ผบ.เหตุการณ์ เช่น ถ้าเหตุการณ์พื้นที่กว้างเกิดขึ้นในพื้นที่ กทม. ทางผบช.น. เป็นผบ.เหตุการณ์ แต่ถ้าชุมนุมเป็นกลุ่มตามสถานที่ต่างๆ นั้น ผบก. ที่รับผิดชอบในพื้นที่ เป็น ผบ.เหตุการณ์ เป็นต้น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ศปก.นครบาล ได้มีการปรับภารกิจบางส่วน โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. แต่เดิมรับผิดชอบงานจราจร ก็เปลี่ยนให้มารับผิดชอบงานความมั่นคง เป็นหัวหน้าทีมดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยการชุมนุม แทนที่ พล.ต.ต.เมธี กุศลสร้าง รอง ผบช.น. รับผิดชอบงานความมั่นคง ส่วนหัวหน้าฝ่ายอำนวยการ หรือทีมบริหารเหตุการณ์คอยสนับสนุนการปฏิบัติการของกองร้อยต่างๆ มอบหมายให้ พล.ต.ต.สมชาย มุสิกเจริญ ผบก.อก.บช.น. รับผิดชอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนตัว ผบช.น. มีกระแสข่าวว่า ให้ดำเนินการเรื่องสลายม็อบ แต่ไม่ดำเนินการ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ผลในคำสั่งในการปรับผู้รับผิดชอบในพื้นที่กองบัญชาการนครบาล แค่ 30 วัน ไม่ได้มีนัยยะอะไรมากมาย เพียงแต่ว่าอาจจะเป็นการปรับยุทธวิธีในการปฏิบัติงาน เพราะในช่วงเวลาต่อไปนี้อาจจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น การปรับยุทธวิธี ไม่ปรับเฉพาะ ผบช.น.เท่านั้น ตำแหน่ง รอง ผบช.น. เช่น พล.ต.ต.วรศักดิ์ มีประสบการณ์เรื่องการควบคุมกำลัง ก็ให้ยกเว้นงานจราจรไว้ชั่วคราว พล.ต.ท.วินัย ท่านก็ทำดีมาตั้งเยอะแยะ ไม่ว่าด้านคดีอาชญากรรม แต่ว่าสถานการณ์ขณะนี้ อาจจะต้องมีการปรับบ้างบางส่วน เป็นช่วงเวลาสั้นๆ
** ปัด"คำรณวิทย์"นั่งผบช. ภาค1 ตัวจริง
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ทำไมถึงต้องตั้ง พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รรท.ผบช.ภ.1 มารักษาการ ผบช.น. พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า อาจจะเป็นการปรับยุทธวิธีในการประสานงานกัน เพราะในการชุมนุมเกี่ยวพันกับ 2 พื้นที่นี้มากขึ้น เมื่อถามว่า พล.ต.ต.คำรณวิทย์ มีบทบาทหรือผลงานการควบคุมการชุมนุม หรือไม่ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า มีมาโดยตลอด ท่านก็เคยเป็น ผบก.สปพ. เมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน
ส่วนที่มีการมองกันว่า การโยก พล.ต.ต.คำรณวิทย์ มาเพื่อปฏิบัติการบางอย่างกับผู้ชุมนุม พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า “ไม่ครับ” การชุมนุมของพี่น้องประชาชน จะเป็นไปตามข้อกฎหมาย ตำรวจก็จะดำเนินการตามแผน คือ “แผนกรกฎ กฎการใช้กำลัง ระมัดระวังให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย” ผบ.เหตุการณ์ ก็ต้องยึดถือในกติกาเหล่านี้ คงไม่มีนัยยะอย่างอื่น และเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่า ถ้าพล.ต.ต.คำรณวิทย์ สามารถทำให้มีการประชุมสภา และ พ.ร.บ.ปรองดองผ่าน อาจมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่คงไม่ใช่ คิดว่าไม่ว่าท่านใดก็ตามก็มีความตั้งใจปฏิบัติงานต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย และมีการชุมนุมกันโดยสงบ คงไม่มีเรื่องอะไรแอบแฝง
** หนุนย้าย "วินัย-วิชัย" ดีแล้ว
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่มีคำสั่งย้าย พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และพลต.ต.วิชัย สังข์ประไพ รองผู้บัญชการตำรวจนครบาล เนื่องเพราะการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจหละหลวม ทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ กระทำผิดกฎหมาย ปิดล้อมสภาฯ ขัดขวางการประชุมสภาฯ ตำรวจเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ควรมีขั้นตอนการควบคุมฝูงชน แต่ไม่ทำ เพราะอาจได้บทเรียน เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จึงกลัวเกินเหตุ ดังนั้นการโยกย้ายจึงเป็นเรื่องปกติ.