ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราพิพากษายกฟ้อง แกนนำพันธมิตรฯ-ไทยเดย์ เผยแพร่แถลงการณ์ “กลียุคมาแล้ว” ช่วงการชุมนุม 193 วัน ชี้เป็นการแสดงความคิดเห็นวิจารณ์รัฐบาล เป็นวิสัยที่ประชาชนทำได้ อีกทั้งฝ่ายจำเลยแสดงหลักฐานชัดว่า ทักษิณแต่งตั้งเครือญาติและบริวารจริง แถมแถลงการณ์เจ้าตัวก็ตอกย้ำไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา
วานนี้ (10 พ.ค.) ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับพวก รวม 7 คน ประกอบไปด้วย นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายพิภพ ธงไชย รวมทั้ง นายสมศักดิ์ โกสัยสุข นายสุริยะใส กตะศิลา และ บริษัทไทยเดย์ ด็อท คอม ในคดีหมายเลขดำที่ 1852/2551 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2551 กรณีแถลงการณ์พันธมิตรฯ ฉบับที่ 2 ที่เผยแพร่ในการชุมนุม 193 วัน เมื่อปี 2551 โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเนื้อหาของแถลงการณ์มีข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่ระบุไว้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่งตั้ง ญาติ พี่น้อง เพื่อน กินตำแหน่งสำคัญในวงราชการและตำแหน่งทางการเมือง และให้ร้ายต่อศาลว่าเป็นกระบวนการยุติความเป็นธรรม
สาระสำคัญของคำพิพากษา คือ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้ง 7 ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2551 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรื่อง กลียุคมาแล้ว ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การออกแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในขณะนั้น
โดยตามแถลงการณ์ที่ว่า “มีการดำเนินการโยกย้ายข้าราชการอย่างอุกอาจ ดังที่เคยปรากฏมาแล้วเหมือนในอดีตในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่อดีตนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการแต่ผู้เดียว ทำลายระบบคุณธรรม“ ข้อเท็จจริงปรากฏตามเอกสารหมาย ล.18 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงว่า มีการแต่งตั้งพล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร มาเป็นผู้บัญชาการทหารบก ส่วนกองทัพอากาศมีการแต่งตั้ง พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ซึ่งเป็นสามีของเลขานุการส่วนตัวของภรรยาโจทก์ มีการแต่งตั้ง พอ.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกลาโหม เป็นคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการแต่งตั้ง พล.ท.พฤณท์ สุวรรณทัต ผู้ช่วยฝ่ายเสนาธิการประจำ รมว.กลาโหม เป็นคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ส่วนข้อความในแถลงการณ์ที่ว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สัมภาษณ์สื่อสารมวลชนต่างประเทศเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมและมีเป้าหมายกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจนตลอดจนมีการพาดพิงไปยังสถาบันสำคัญของประเทศว่าเป็นตัวการอยู่เบื้องหลัง ทั้งหมดนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่หลังฉากบงการทางการเมืองในพรรคพลังประชาชนต่อไป และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม” เห็นว่า จากทางนำสืบของพยานจำเลย โจทก์ยังคงใช้สื่อต่างๆ ติดต่อเข้ามาภายในประเทศ อีกทั้งเอกสารหมาย ล.17 ซึ่งเป็นแถลงการณ์เขียนด้วยลายมือของโจทก์ ก็ไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และการที่จำเลยที่ 7 นำข้อความดังกล่าวไปลงโฆษณา จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) และ (3) พิพากษายกฟ้อง
วานนี้ (10 พ.ค.) ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้อ่านคำพิพากษายกฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับพวก รวม 7 คน ประกอบไปด้วย นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายพิภพ ธงไชย รวมทั้ง นายสมศักดิ์ โกสัยสุข นายสุริยะใส กตะศิลา และ บริษัทไทยเดย์ ด็อท คอม ในคดีหมายเลขดำที่ 1852/2551 โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2551 กรณีแถลงการณ์พันธมิตรฯ ฉบับที่ 2 ที่เผยแพร่ในการชุมนุม 193 วัน เมื่อปี 2551 โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเนื้อหาของแถลงการณ์มีข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่ระบุไว้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่งตั้ง ญาติ พี่น้อง เพื่อน กินตำแหน่งสำคัญในวงราชการและตำแหน่งทางการเมือง และให้ร้ายต่อศาลว่าเป็นกระบวนการยุติความเป็นธรรม
สาระสำคัญของคำพิพากษา คือ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้ง 7 ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2551 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2/2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรื่อง กลียุคมาแล้ว ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การออกแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในขณะนั้น
โดยตามแถลงการณ์ที่ว่า “มีการดำเนินการโยกย้ายข้าราชการอย่างอุกอาจ ดังที่เคยปรากฏมาแล้วเหมือนในอดีตในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่อดีตนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการแต่ผู้เดียว ทำลายระบบคุณธรรม“ ข้อเท็จจริงปรากฏตามเอกสารหมาย ล.18 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงว่า มีการแต่งตั้งพล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร มาเป็นผู้บัญชาการทหารบก ส่วนกองทัพอากาศมีการแต่งตั้ง พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ซึ่งเป็นสามีของเลขานุการส่วนตัวของภรรยาโจทก์ มีการแต่งตั้ง พอ.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกลาโหม เป็นคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการแต่งตั้ง พล.ท.พฤณท์ สุวรรณทัต ผู้ช่วยฝ่ายเสนาธิการประจำ รมว.กลาโหม เป็นคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
ส่วนข้อความในแถลงการณ์ที่ว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สัมภาษณ์สื่อสารมวลชนต่างประเทศเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมและมีเป้าหมายกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจนตลอดจนมีการพาดพิงไปยังสถาบันสำคัญของประเทศว่าเป็นตัวการอยู่เบื้องหลัง ทั้งหมดนี้เป็นข้อพิสูจน์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงอยู่หลังฉากบงการทางการเมืองในพรรคพลังประชาชนต่อไป และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงเป็นปัญหาร้ายแรงของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม” เห็นว่า จากทางนำสืบของพยานจำเลย โจทก์ยังคงใช้สื่อต่างๆ ติดต่อเข้ามาภายในประเทศ อีกทั้งเอกสารหมาย ล.17 ซึ่งเป็นแถลงการณ์เขียนด้วยลายมือของโจทก์ ก็ไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และการที่จำเลยที่ 7 นำข้อความดังกล่าวไปลงโฆษณา จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) และ (3) พิพากษายกฟ้อง