นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับทิศทางการดำเนินงานจัดเวทีประชาเสวนา ตามที่คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) มอบหมาย กล่าวภายหลังการประชุม คณะอนุกรรมการฯนัดแรกว่า ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการทำงานเบื้องต้นให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน และทุกภูมิภาค โดยการจัดเวทีประชาเสวนาใน 2 ระดับ และ2 ระยะ
โดยระดับแรกจะทำในช่วง 2 สัปดาห์หลังของ พ.ค.นี้ โดยจะขอให้องค์กรพัฒนาชุมชนที่มีอยู่ในตำบล และเทศบาล ให้ผู้นำองค์กรเหล่านี้จัดเวทีในชุมชน ลักษณะเวทีย่อย 5-10 คน เพื่อจะฟังความเห็นที่บริสุทธิ์ เพื่อถามความเห็นว่า รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง ความไม่ปรองดอง มีที่มีที่ไปอย่างไร และมีแนวคิด หรือข้อเสนอที่จะแก้ไขอย่างไร ซึ่งจะมีการประมวลข้อคิดเห็น ตามระบบประมวลผลสารบัญ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต จะช่วยเก็บข้อมูลให้
ทั้งนี้ คาดว่าในต้นเดือนมิ.ย.นี้ จะได้ความเห็นที่มาจากทุกภาคส่วน รวมทั้งในกทม.ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จะช่วยประสานงานให้ด้วย ขณะเดียวกันจะขอให้องค์กรพัฒนาชุมชนในระดับจังหวัด เป็นหัวแรงทำเวทีดังกล่าวด้วย โดยความช่วยเหลือจากทางจังหวัดสำหรับเวทีเสวนาระดับจังหวัด ก็จะทำได้ในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งจะมีการพูดคุยขององค์กรพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด ที่มีการจัดตั้งอยู่แล้ว และหากทำได้ ก็จะได้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ทั่วถึงพอสมควร โดยจะมีการใช้งบประมาณทั้งหมดของ ปคอป.
นายธงทอง กล่าวด้วยว่า ในเวทีประชาเสวนา จะมีข้อมูลจาก 3 ส่วน คือ
1. ข้อมูลจากการฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ที่มีการประเมินแล้ว
2. รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีรายงานความเห็นมาแล้วว่า ความขัดแย้งเกิดจากอะไร แนวทางแก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร
3. รายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธาน กมธ.ฯ ได้เสนอ และจะสามารถประมวลผลรายงานต่อ ปคอป.ได้ต่อไป
ทั้งนี้ทาง คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำหนังสือไปยังสถาบันพระปกเกล้าแล้ว เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเวทีดังกล่าว แต่ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือตอบกลับมา แต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวถามว่า กรอบเวลา 60 วันที่ ปคอป. มอบหมาย จะทำได้ทันหรือไม่ นายธงทอง กล่าวว่า หากไม่ทันก็จะมีการขยายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งปคอป.ก็เปิดช่องไว้แล้วว่าขยายได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่ถ้าคิดแบบนี้ ก็น่าจะทำเสร็จสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ หรือหากช้าออกไปอีก ก็จะประมวลผลได้ต้นเดือนก.ค.นี้ ซึ่งไม่ได้ล่าช้าออกไปตามที่มีการกำหนดไว้ ส่วนจะครอบคลุมทั่วประเทศหรือไม่นั้น ตนเห็นว่าอาจจะครอบคลุมพื้นที่ได้ แต่จะให้ครอบคลุมทุกกลุ่มความคิดเห็น ก็คงจะเหลือกำลังรับได้ และตนก็แยกไม่ไหว เพราะทุกคนเป็นกลุ่มก้อนอยู่ภายในประเทศ ซึ่งระบบพื้นที่จะอธิบายได้ว่า มีการกระจายและทั่วถึง ขณะที่กลุ่มการเมือง มีเวทีแสดงความคิดเห็นอยู่แล้ว และเราอยากให้ประชาชนทั่วไปช่วยกันคิดมากกว่า และตนเห็นว่า กลุ่มการเมืองมีความคิดที่ไม่เปลี่ยน หากไปคุยกัน ก็จะเป็นการทะเลาะกัน
----------------
โดยระดับแรกจะทำในช่วง 2 สัปดาห์หลังของ พ.ค.นี้ โดยจะขอให้องค์กรพัฒนาชุมชนที่มีอยู่ในตำบล และเทศบาล ให้ผู้นำองค์กรเหล่านี้จัดเวทีในชุมชน ลักษณะเวทีย่อย 5-10 คน เพื่อจะฟังความเห็นที่บริสุทธิ์ เพื่อถามความเห็นว่า รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง ความไม่ปรองดอง มีที่มีที่ไปอย่างไร และมีแนวคิด หรือข้อเสนอที่จะแก้ไขอย่างไร ซึ่งจะมีการประมวลข้อคิดเห็น ตามระบบประมวลผลสารบัญ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต จะช่วยเก็บข้อมูลให้
ทั้งนี้ คาดว่าในต้นเดือนมิ.ย.นี้ จะได้ความเห็นที่มาจากทุกภาคส่วน รวมทั้งในกทม.ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จะช่วยประสานงานให้ด้วย ขณะเดียวกันจะขอให้องค์กรพัฒนาชุมชนในระดับจังหวัด เป็นหัวแรงทำเวทีดังกล่าวด้วย โดยความช่วยเหลือจากทางจังหวัดสำหรับเวทีเสวนาระดับจังหวัด ก็จะทำได้ในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งจะมีการพูดคุยขององค์กรพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด ที่มีการจัดตั้งอยู่แล้ว และหากทำได้ ก็จะได้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ทั่วถึงพอสมควร โดยจะมีการใช้งบประมาณทั้งหมดของ ปคอป.
นายธงทอง กล่าวด้วยว่า ในเวทีประชาเสวนา จะมีข้อมูลจาก 3 ส่วน คือ
1. ข้อมูลจากการฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ที่มีการประเมินแล้ว
2. รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีรายงานความเห็นมาแล้วว่า ความขัดแย้งเกิดจากอะไร แนวทางแก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร
3. รายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธาน กมธ.ฯ ได้เสนอ และจะสามารถประมวลผลรายงานต่อ ปคอป.ได้ต่อไป
ทั้งนี้ทาง คณะอนุกรรมการฯ ได้ทำหนังสือไปยังสถาบันพระปกเกล้าแล้ว เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเวทีดังกล่าว แต่ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือตอบกลับมา แต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวถามว่า กรอบเวลา 60 วันที่ ปคอป. มอบหมาย จะทำได้ทันหรือไม่ นายธงทอง กล่าวว่า หากไม่ทันก็จะมีการขยายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งปคอป.ก็เปิดช่องไว้แล้วว่าขยายได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่ถ้าคิดแบบนี้ ก็น่าจะทำเสร็จสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ หรือหากช้าออกไปอีก ก็จะประมวลผลได้ต้นเดือนก.ค.นี้ ซึ่งไม่ได้ล่าช้าออกไปตามที่มีการกำหนดไว้ ส่วนจะครอบคลุมทั่วประเทศหรือไม่นั้น ตนเห็นว่าอาจจะครอบคลุมพื้นที่ได้ แต่จะให้ครอบคลุมทุกกลุ่มความคิดเห็น ก็คงจะเหลือกำลังรับได้ และตนก็แยกไม่ไหว เพราะทุกคนเป็นกลุ่มก้อนอยู่ภายในประเทศ ซึ่งระบบพื้นที่จะอธิบายได้ว่า มีการกระจายและทั่วถึง ขณะที่กลุ่มการเมือง มีเวทีแสดงความคิดเห็นอยู่แล้ว และเราอยากให้ประชาชนทั่วไปช่วยกันคิดมากกว่า และตนเห็นว่า กลุ่มการเมืองมีความคิดที่ไม่เปลี่ยน หากไปคุยกัน ก็จะเป็นการทะเลาะกัน
----------------