บพ.เผยการบินไทย-ทอท.บริหารสนามบินภูมิภาคได้ไม่ขัดกม. สรุปชิงสิทธิ์คุมกระบี่17พ.ค.นี้ ชี้เงื่อนไขให้แค่อาคารผู้โดยสารและพื้นที่ AIRSIDE เท่านั้น
นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีฝ่ายท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน(บพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการบริหารท่าอากาศยานภูมิภาคของบพ.ว่า ฝ่ายกฎหมาย บพ.ได้พิจารณาคุณสมบัติของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)หรือทอท. แล้ว สามารถเข้าดำเนินงานในท่าอากาศยานของ บพ.ได้ ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย เนื่องจากรัฐถือหุ้นมากกว่า 51% จึงถือเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการตาม พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535(พรบ.ร่วมทุน)
โดยทั้งการบินไทย และทอท. ต้องการบริหารจัดการท่าอากาศยานกระบี่เหมือนกัน ดังนั้นบพ.จะพิจารณารายละเอียดข้อเสนอของทั้ง2รายเพื่อหาข้อสรุปในวันที่ 17 พ.ค.นี้ โดยทอท.ต้องการเข้าไปบริหารจัดการทั้งท่าอากาศยาน ส่วนการบินไทยต้องการเข้าไปดำเนินการเพียงรายเดียว
ในขณะที่เงื่อนไขที่บพ.กำหนดนั้นต้องการให้เข้ามาบริหารเฉพาะในส่วนของอาคารผู้โดยสารและพื้นที่ภายในสนามบินที่เครื่องบินใช้สำหรับการขึ้นลงและพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน ทางเข้าออกเครื่องบิน (AIRSIDE) เท่านั้น ไม่ให้บริการจัดการทั้งท่าอากาศยาน
ทั้งนี้หากการบินไทยได้เข้าไปดำเนินการที่ท่าอากาศยานกระบี่ ในส่วนของทอท.สามารถเข้าไปดำเนินการท่าอากาศยานอื่น เช่น ท่าอากาศยานอุดรธานี ซึ่งมีศักยภาพรองลงมาได้ โดยมีเงื่อนไขเดียวกันคือ ระยะเวลาดำเนินการครั้งละ 3ปีโดยสามารถเจรจาต่อสัญญาได้เป็นระยะๆ ซึ่งเป็นไปสัญญาที่บพ.มีกับกรมธนารักษ์
อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานกระบี่มีรายได้สูงสุด ประมาณ ประมาณ 90 ล้านบาทต่อปี รองลงมาเป็นท่าอากาศยานอุดรธานี ประมาณ 60 ล้านบาทต่อปี และท่าอากาศยานสุราษฎรธานี โดยปัจจุบันเก็บค่าธรรมธรรมเนียมผู้โดยสารใช้บริการ แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 400 บาทต่อคน และภายในประเทศ 50 บาทต่อคน
นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีฝ่ายท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน(บพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการบริหารท่าอากาศยานภูมิภาคของบพ.ว่า ฝ่ายกฎหมาย บพ.ได้พิจารณาคุณสมบัติของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)หรือทอท. แล้ว สามารถเข้าดำเนินงานในท่าอากาศยานของ บพ.ได้ ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย เนื่องจากรัฐถือหุ้นมากกว่า 51% จึงถือเป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการตาม พรบ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535(พรบ.ร่วมทุน)
โดยทั้งการบินไทย และทอท. ต้องการบริหารจัดการท่าอากาศยานกระบี่เหมือนกัน ดังนั้นบพ.จะพิจารณารายละเอียดข้อเสนอของทั้ง2รายเพื่อหาข้อสรุปในวันที่ 17 พ.ค.นี้ โดยทอท.ต้องการเข้าไปบริหารจัดการทั้งท่าอากาศยาน ส่วนการบินไทยต้องการเข้าไปดำเนินการเพียงรายเดียว
ในขณะที่เงื่อนไขที่บพ.กำหนดนั้นต้องการให้เข้ามาบริหารเฉพาะในส่วนของอาคารผู้โดยสารและพื้นที่ภายในสนามบินที่เครื่องบินใช้สำหรับการขึ้นลงและพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน ทางเข้าออกเครื่องบิน (AIRSIDE) เท่านั้น ไม่ให้บริการจัดการทั้งท่าอากาศยาน
ทั้งนี้หากการบินไทยได้เข้าไปดำเนินการที่ท่าอากาศยานกระบี่ ในส่วนของทอท.สามารถเข้าไปดำเนินการท่าอากาศยานอื่น เช่น ท่าอากาศยานอุดรธานี ซึ่งมีศักยภาพรองลงมาได้ โดยมีเงื่อนไขเดียวกันคือ ระยะเวลาดำเนินการครั้งละ 3ปีโดยสามารถเจรจาต่อสัญญาได้เป็นระยะๆ ซึ่งเป็นไปสัญญาที่บพ.มีกับกรมธนารักษ์
อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานกระบี่มีรายได้สูงสุด ประมาณ ประมาณ 90 ล้านบาทต่อปี รองลงมาเป็นท่าอากาศยานอุดรธานี ประมาณ 60 ล้านบาทต่อปี และท่าอากาศยานสุราษฎรธานี โดยปัจจุบันเก็บค่าธรรมธรรมเนียมผู้โดยสารใช้บริการ แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 400 บาทต่อคน และภายในประเทศ 50 บาทต่อคน