ASTVผู้จัดการรายวัน - บพ.เร่งเคลียร์ข้อกฎหมายเปิดทาง ทอท.-การบินไทย บริหารสนามบินภูมิภาค เล็งนำร่อง กระบี่ อุดรธานีก่อน เหตุมีเที่ยวบินมากพอ
นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีฝ่ายท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน (บพ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการบริหารท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 28 แห่ง เปิดเผยว่า จากที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.แสดงความสนใจที่จะเข้าไปบริหารจัดการท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ.ที่มีศักยภาพ คือ ท่าอากาศยานกระบี่ และท่าอากาศยานอุดรธานี ก่อน เนื่องจากมีจำนวนเที่ยวบินและผู้ใช้มากกว่ากว่าท่าอากาศยานแห่งอื่น โดยมีเที่ยวบินเฉลี่ย 9 เที่ยวบินต่อวัน ไปและกลับรวม 18 เที่ยวบินต่อวัน ส่วนอีก 4 ท่าอากาศยานที่มีศักยภาพ คือ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ท่าอากาศยานขอนแก่น ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช จะพัฒนาเป็นลำดับต่อไป
ทั้งนี้ การบินไทย ต้องการบริหารจัดการพื้นที่อาคารผู้โดยสาร ส่วน ทอท.สนใจบริหารในส่วนของลานจอดเครื่องบิน โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย คาดว่าจะสรุปได้ภายใน 2 สัปดาห์ เนื่องจากพื้นที่บางส่วนภายในอาคารผู้โดยสาร ติดสัญญาเช่ากับเอกชน ขณะที่บริเวณลานจอดอากาศยานที่ทอท.สนใจบริหารนั้น ต้องคิดค่าบริการที่ไม่สูงมากนัก เพื่อไม่ให้กระทบต่อสายการบินที่มาใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ในการเข้ามาบริหารท่าอากาศยานภูมิภาค ทั้ง ทอท.และการบินไทยจะต้องเป็นผู้บริหารพื้นที่เอง จะว่าจ้างเอกชนหรือบริษัทอื่นเข้ามาบริหารแทนไม่ได้ และต้องรับประกันรายได้ที่จะเกิดขึ้นว่าจะต้องเป็นรายได้ที่สูกว่าที่ บพ.เคยได้รับ
นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีฝ่ายท่าอากาศยาน กรมการบินพลเรือน (บพ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการบริหารท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 28 แห่ง เปิดเผยว่า จากที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.แสดงความสนใจที่จะเข้าไปบริหารจัดการท่าอากาศยานภูมิภาคของ บพ.ที่มีศักยภาพ คือ ท่าอากาศยานกระบี่ และท่าอากาศยานอุดรธานี ก่อน เนื่องจากมีจำนวนเที่ยวบินและผู้ใช้มากกว่ากว่าท่าอากาศยานแห่งอื่น โดยมีเที่ยวบินเฉลี่ย 9 เที่ยวบินต่อวัน ไปและกลับรวม 18 เที่ยวบินต่อวัน ส่วนอีก 4 ท่าอากาศยานที่มีศักยภาพ คือ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ท่าอากาศยานขอนแก่น ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช จะพัฒนาเป็นลำดับต่อไป
ทั้งนี้ การบินไทย ต้องการบริหารจัดการพื้นที่อาคารผู้โดยสาร ส่วน ทอท.สนใจบริหารในส่วนของลานจอดเครื่องบิน โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย คาดว่าจะสรุปได้ภายใน 2 สัปดาห์ เนื่องจากพื้นที่บางส่วนภายในอาคารผู้โดยสาร ติดสัญญาเช่ากับเอกชน ขณะที่บริเวณลานจอดอากาศยานที่ทอท.สนใจบริหารนั้น ต้องคิดค่าบริการที่ไม่สูงมากนัก เพื่อไม่ให้กระทบต่อสายการบินที่มาใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ในการเข้ามาบริหารท่าอากาศยานภูมิภาค ทั้ง ทอท.และการบินไทยจะต้องเป็นผู้บริหารพื้นที่เอง จะว่าจ้างเอกชนหรือบริษัทอื่นเข้ามาบริหารแทนไม่ได้ และต้องรับประกันรายได้ที่จะเกิดขึ้นว่าจะต้องเป็นรายได้ที่สูกว่าที่ บพ.เคยได้รับ