ASTVผู้จัดการรายวัน-"ยิ่งลักษณ์" ดูให้เห็นกับตา! สำรวจราคาของแพงที่ตลาดปากเกร็ด ยอมรับบางอย่างราคาไม่ปกติ วอนพ่อค้า แม่ค้า ช่วยป่าวประกาศของไม่แพง อ้างเฉยคนรู้สึกว่าของแพง เพราะเป็นช่วงที่มีเงินในกระเป๋าน้อย "มาร์ค" ย้ำต้นตอปัญหาอยู่ที่นโยบายพลังงาน ต้องทบทวน ขณะที่ผู้ปกครองร้องจ๊าก ชุดนักเรียนแห่ปรับราคาขึ้นอีก 10-20% แถมค่าปักตัวอักษรขอขึ้นอีกตัวละ 5 บาท อ้างค่าแรง 300 บาท ด้าน“ยรรยง” ยอมรับกดราคาจานด่วนลงยาก
เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (6 พ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่จ่ายตลาด ที่ตลาดสดพิชัย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อสำรวจราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค โดยมีนางสาวจามจุรี นิลสุวรรณ หรือ “ป้าตุ๊” แม่บ้านคนสนิท คอยถือเงินสดเดินตามประกบ เพื่อจ่ายเงินตามที่นายกฯชี้ให้ซื้อ
โดยนายกฯเริ่มเดินสำรวจสินค้า อาหาร ตามร้านต่างๆในตลาด อาทิ แกงถุง ผักสด เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลาดสด น้ำมันพืช น้ำตาล ข้าวสาร และผลไม้ต่างๆ โดยนายกฯ ได้เดินสอบถามราคา จากพ่อค้า-แม่ค้า พบว่า ราคาเนื้อหมูแดง หมูบด ซี่โครงหมู ราคาขาย กก.ละ 120 บาท ส่วนราคาหมูสันนอก-สันใน กก.ละ 130 บาท หมูกรอบ กก. ละ 300 บาท
ส่วนแกงถุง ติดป้ายไว้ราคา 10-20 บาท ซึ่งมีปริมาณตามราคา โดยทางพ่อค้า-แม่ค้า อธิบายกับนายกรัฐมนตรีว่า ราคาเนื้อหมูแพงไม่มาก ช่วงนี้ที่แพงเป็นเพราะอากาศร้อน หมูกินอาหารน้อย โตช้า จึงมีผลกระทบ ทำให้ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย โดยรวมช่วงเวลานี้ถือว่าปกติ
ส่วนราคาเนื้อวัว พบว่ามีการติดป้ายขึ้นราคาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. เป็นต้นมา จากราคากก. 170 เป็น กก.ละ 180 บาท ซึ่งพ่อค้า-แม่ค้า ยอมรับว่าราคาแพง เหตุเพราะผลพวงจากภัยน้ำท่วม แม้โรงฆ่า และโรงเลี้ยง เริ่มฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ แต่ราคายังไม่ลด
ส่วนราคาไก่ตัวละ 55 บาท ขณะที่ราคาไข่ไก่ ถือว่ายังแพงอยู่ โดยไข่ขนาดใหญ่สุดอยู่ที่ราคา 10 ฟอง 38-39 บาท แต่ระหว่างที่นายกฯ เดินสำรวจมีร้านหนึ่งคนขายเป็นชายใส่เสื้อแดง และติดป้ายที่กองไข่ขนาดใหญ่สุดที่ราคา 37 บาท โดยมีผู้หญิงคนใส่เสื้อแดงหนึ่งตะโกนป่าวร้องว่า ไข่ถูกๆ ไข่เสื้อแดง
สำหรับราคาผักสดที่นายกฯสอบถาม เช่น ถั่วฝักยาว ที่มีการเสนอข่าวว่าราคาแพงขึ้น พบว่าที่นายกฯ ซื้ออยู่ที่ กก.ละ 60 บาท ซึ่งเป็นถั่วฝักยาวเกรดต่ำ เนื้อพองตัว ส่วนคุณภาพดีอยู่ที่ กก.ละ70-80 บาท แม่ค้าอธิบายว่า ช่วงนี้อากาศร้อน ผักสดหลายชนิดเน่าเสียง่าย แต่มีแนวโน้มราคาจะถูกลง ส่วนมะนาว ตกลูกละ 4 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ที่ลูกละ 6 บาท ทั้งนี้เป็นไปตามปกติที่เดือนเม.ย. มะนาวจะแพง ขณะที่ราคาของชำที่วางขายในแผง ยังเป็นไปตามปกติ เช่น น้ำมันปาล์มขวดละ 42-43 บาท
**วอนพ่อค้า แม่ค้า ช่วยป่าวร้องของไม่แพง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายกฯ เดินจ่ายตลาด ได้มีประชาชนที่มาจ่ายตลาดได้เข้ามาสอบถามนายกฯ เกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ที่รัฐบาลบอกว่าจะไม่ขึ้นราคา โดยนายกฯ ยืนยันว่า ก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน จะไม่ขึ้นราคา ซึ่งประชาชนคนเดิมแนะนำนายกฯ ว่า ให้รัฐบาลดูแลเรื่องราคาพลังงาน เพราะจะเป็นต้นทุนทำให้สินค้าแพงขึ้น นายกฯ ก็ได้รับปากว่า “ค่ะๆ กำลังดูอยู่” ทั้งนี้นายกฯ ได้พูดคุยกับบรรดาพ่อค้า แม่ค้า ตามร้านต่างๆ พร้อมขอร้องให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ว่า ราคาของไม่ได้แพงอย่างที่เป็นข่าว
** อ้างของแพงตามฤดูกาล-น้ำท่วม
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังจ่ายตลาดว่า วัตถุประสงค์ในการมาตรวจตลาด เพื่อต้องการวิเคราะห์ปัญหาสินค้าราคาแพงว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งพบว่าสินค้าบางรายการมีราคาถูกลง ขณะที่สินค้าบางรายการยังไม่มีการปรับราคาลงมา ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขึ้นราคาอย่างสินค้าที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงที่เกิดปัญหาน้ำท่วม จนกระทั่งส่งผลให้เกิดความเสียหาย และเริ่มมีการปลูกเข้ามาใหม่ มีรอบปลูกที่เร็วขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มราคาถูกลง แต่บางอย่างที่พบว่าราคายังไม่ถูกลง เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาด ผักคะน้า หรืออีกหลายรายการ ที่ยังมีปัญหาเรื่องของน้ำและมีเรื่องของฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อว่า โดยสรุปแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นสิ่งแรกคือ ผลพวงจากปัญหาน้ำท่วม บางช่วงที่ราคายังไม่ลดลง ต้องรอการเพาะปลูกเข้ามาทดแทนใหม่ เพื่อปรับให้เกิดความสมดุล ทั้งในส่วนของอุปสงค์และอุปทาน รวมไปถึงเรื่องของฤดูกาล
**เร่ง พณ.จัดขายสินค้าราคาถูก
ส่วนเรื่องของพลังงาน รัฐบาลพยายามที่จะตรึงราคาในหลายส่วน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค แอลพีจีในครัวเรือน จะตรึงไว้ เพื่อให้ประชาชน ซื้อพืชผักที่มีราคาถูกสามารถประกอบอาหารที่บ้านได้ และตนได้เร่งให้กระทรวงพาณิชย์ จัดเวทีจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือก
อย่างไรก็ตาม มาตรการการตรวจสอบราคาสินค้า ต้องดำเนินการต่อไป แต่ที่สำคัญเราอยากเห็นความร่วมมือในทุกกลไกของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่เรื่องของต้นทาง คือ วัตถุดิบ กลางทางที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบต่างๆ จนถึงปลายทาง ก็ขอให้มีการปรับราคาเป็นไปอย่างสมดุล ตามกลไกของตลาด ไม่เอาเปรียบผู้ซื้อมากเกินไป เนื่องจากช่วงนี้ได้รับเสียงบ่นจากประชาชน เพราะเรื่องของฤดูกาล และราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลก รัฐบาลพยายามหาวิธีการในการชะลอให้มากที่สุด เฉพาะกลุ่ม ต้องกราบเรียนว่า บางส่วนมีราคาที่สูงขึ้นจริงๆ และสุดท้ายแล้วต้องดูว่า จะทำอย่างไรที่จะช่วยกัน เพราะช่วงนี้ใกล้เปิดเทอม ซึ่งต้องมีการจ่ายในเรื่องของค่าเทอม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเองรู้สึกเห็นใจ พยายามทำในทุกกลไกที่จะหาแนวทางวิธีการในการช่วยเหลือ
ทั้งนี้ นายกฯยอมรับว่า จากการตรวจสอบราคาสินค้าครั้งนี้ ได้ข้อมูลที่ตรงกับที่กระทรวงพาณิชย์รายงานบ้าง ไม่ตรงบ้าง เช่น ราคาผักที่อาจแพงตามคุณภาพ เราจะไปวัดที่ตัวราคาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าผักสวยมีการคัดเกรด จะมีราคาแพง ส่วนผักที่คละกันราคาจะถูกลง ดังนั้นต้องถือเป็นค่าเฉลี่ย ที่จริงแล้วรัฐบาลไม่ได้มีหน้าที่ หรืออยากจะมาตรวจในแต่ละจุด แต่รัฐบาลต้องทำการวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจต้นทุนของปัญหา ให้เข้าใจแต่ละสภาพส่วน ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อที่จะดูว่า กลไกภาครัฐจะสามารถเข้ามาช่วยเหลือประชาชนในส่วนไหน
เมื่อถามถึง กรณีที่ผลโพลระบุว่า รัฐมนตรีพาณิชย์สอบตกทั้ง 3 คนนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องให้ความเห็นใจกับรัฐมนตรีทุกท่าน บางท่านอาจจะไม่เป็นข่าว แต่ทำงาน ผลโพล ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในความคิดเห็นของประชาชน ขอให้รับฟัง และดูว่าจะทำงานเพิ่มเติมในส่วนนี้อย่างไร ส่วนจะมีผลในการปรับครม.หรือไม่นั้น นายกฯ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม
**อ้างคนมีเงินน้อยเลยโทษของแพง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ความจริงปัญหาสินค้าราคาแพง เกิดจากความรู้สึกของประชาชนว่ามีเงินในกระเป่าน้อยลง เพราะตามสถิติในช่วงไตรมาสที่ 2 ของทุกปี จะเป็นช่วงที่ประชาชนมีเงินในกระเป๋าน้อยที่สุด เนื่องจากมีรายจ่ายมาก อากาศร้อน ค่าไฟแพง ทั้งค่าเทอม ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว จากเดือนเม.ย.-พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดหลายวัน ผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนจะไม่ค่อยเดือดร้อน แต่พวกที่มีรายได้รายวัน จะมีรายได้ลดลง หรือมีรายได้เท่าเดิม ซึ่งต่างกับช่วงไตรมาสที่ 1 โดยเฉพาะในเดือนธ.ค. ที่ได้รับโบนัสปลายปี ทำให้ไม่รู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพง
ทั้งนี้ เท่าที่ตรวจสอบพบว่า สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมีเพียง 2 ประเภท 1. สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และ 2. สินค้าที่วงจรปลูกนาน และต้องอาศัยฤดูกาล เชื่อว่าในไตรมาสที่ 3 ราคาสินค้าจะเริ่มลดลง เพราะพืชผลที่ปลูกหลังน้ำท่วม จะเริ่มมีผลผลิตออกมา
** ค่าเช่าแผงยังแพงกว่าค่าน้ำมัน
เมื่อถามว่า ฝ่ายค้านอ้างว่าเหตุที่สินค้าราคาแพง เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นทุกชนิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หากดูจากข้อมูลจะพบว่า ต้นทุนราคาสินค้าทั้งหมด มาจากวัตถุดิบร้อยละ 60 ส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง แค่ร้อยละ 10 น้อยกว่าค่าเช่าแผงที่ร้อยละ 15 ด้วยซ้ำ
" อีกเรื่องที่อยากชี้แจง คือที่ไปพาดหัวว่า ยิ่งลักษณ์บอกว่าชาวบ้านคิดไปเองว่าของแพง จริงๆแล้วดิฉันบอกว่า เหตุที่รู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพง มาจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ได้บอกว่าชาวบ้านคิดไปเอง ที่สำคัญโดยส่วนตัวเห็นใจประชาชน ไม่เช่นนั้นคงไม่ลงมาตรวจสอบราคาในตลาดสดเช่นนี้" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
**"มาร์ค"ย้ำต้นตออยู่ที่นโยบายพลังงาน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีการตอบโต้ระหว่างรัฐบาล กับฝ่ายค้าน ในปัญหาสินค้าราคาแพงว่า อย่ามาเสียเวลาเถียงเลย ให้รัฐบาลบอกไปเลย มีปัญหาจะแก้อย่างไร หรือถ้ารัฐบาลยืนยันว่าไม่แพงไม่มี ก็ขอให้ยกเลิกทุกโครงการที่ของบประมาณไป และรัฐบาลเองก็น่าจะรู้อยู่แก่ใจ เอาเวลาไปแก้ปัญหาจะดีกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการยอมรับเรื่องค่าพลังงาน และค่าขนส่ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นี่คือหัวใจ และตนชี้มาตลอดว่า ตัวพลังงาน ขนส่ง เป็นตัวกระตุ้นให้ราคาสินค้าขยับขึ้น หากรัฐบาลไม่ทบทวน แต่ทยอยขึ้นไปเรื่อย รัฐบาลต้องตัดสินใจ ที่จะดูแลฐานะประชาชน มากกว่ารัฐวิสาหกิจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีพลังงาน ไม่สำคัญเท่ากับเปลี่ยนนโยบาย แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการทบทวน ก็ขอย้ำว่านายกฯ เองเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของตัวเองในการที่จะทำ การจะปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิง คงไม่ถูกต้อง ต้องดูภาพรวม อยากให้กลับไปตั้งหลักทบทวนนโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องว่า มีการผิดพลาดจนทำให้กลายเป็นวงจรการขึ้นราคาหรือไม่
** จี้นายกฯปรับครม.เศรษฐกิจ
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี คณะรัฐมนตรีทั้ง 11 คน ลงพื้นที่สำรวจราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ตามตลาดสดต่างๆว่า เป็นแค่งานสร้างภาพ เดินสำรวจตลาดแล้วได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ มารายงานนายกฯ ก็น่าเห็นใจน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ไม่ทันคน ได้รับข้อมูลที่บิดเบือน ทำให้ต้องลงทุนไปเดินตลาดด้วยตัวเอง แต่ถ้านายกฯ ยังกล้าบิดเบือนซ้ำ ไม่ยอมรับความจริง ประชาชนคงต้องเป็นผู้เผชิญชะตากรรมต่อไป
" 4 เดือนที่ของแพงขึ้นนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้ทำอะไรเลย มัวแต่เพลินกับชุดประจำชาติของประเทศอื่นอยู่ ดังนั้นวันนี้จึงขอแนะนำว่าให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปปรับครม. เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่ไม่ใช่ปรับเอาคนเผาบ้านเผาเมือง เข้ามาเป็นรัฐมนตรี " น.ส.มัลลิกา กล่าว
***ผู้ปกครอง"จ๊าก"ชุดนร.ขึ้น10-20%
จากการสำรวจร้านจำหน่ายเสื้อผ้านักเรียนย่านบางลำภูของ"ASTVผู้จัดการรายวัน"พบว่าร้านค้าจำหน่ายเสื้อผ้าชุดนักเรียนได้ประกาศปรับขึ้นราคาเสื้อผ้านักเรียนขึ้นอีก 10-20% โดยทางเจ้าจำหน่ายเสื้อผ้านักเรียนให้เหตุผลว่าต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าแรงที่รัฐบาลประกาศให้ปรับขึ้นวันละ 300 บาท ส่งผลให้โรงงานผลิตเสื้อผ้าชุดนักเรียนต้องมีการปรับขึ้นค่าแรง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเสื้อผ้าปรับขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่ผู้จำหน่ายผ้า พนักงานตัดเย็บ และราคาค่าขนส่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการประกาศขึ้นราคาค่าแรงทำให้ต้นทุนปรับขึ้นกว่า 30% หากรัฐจะประกาศห้ามขึ้นราคาชุดนักเรียนคงทำได้ยากเพราะต้นทุนการผลิตของแต่ละร้านนั้นปรับเพิ่มขึ้นทุกร้าน ร้านเล็กร้านใหญ่แม้จะมีต้นทุนและการบริหารจัดการที่แตกต่างกันก็ต้องแบกรับภาระที่เพิ่มขึ้น
"ถึงแม้บางร้านมีการบริการจัดการสั่งซื้อผ้าไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เสื้อผ้านักเรียนปรับขึ้นราคามากเกินไป แต่ก็ต้องมาแบกรับค่าแรงงานเช่น พนักงานขาย วัตถุดิบต่าง ๆ ที่ปรับขึ้นไป จึงจำเป็นต้องปรับตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น "เจ้าของร้านจำหน่ายเสื้อผ้าย่านบางลำภู กล่าว
นอกจากนี้ต้นทุนการปักชุดเคริ่องแบบนักเรียนก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไหมที่นำมาใช้ปักมีการปรับขึ้นราคารวมทั้งค่าแรงการผลิต ทำให้ต้องปรับขึ้นอีกตัวละ 5 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านว่าจะคิดค่าปักตัวละเท่าไหร่ ทั้งนี้การที่เสื้อผ้าชุดนักเรียนปรับขึ้นราคาเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่จำเป็นต้องซื้อชุดนักเรียนแบบประหยัด และซื้อจำนวนน้อยลง ทั้งนี้การจำหน่ายชุดนักเรียนราคานั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเบอร์ของเสื้อผ้า เช่น เสื้อนักเรียนหญิงเบอร์ 38 จำหน่ายในราคา 325 บาท ซึ่งจะเห็นว่ามีราคาสูงกว่าห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กซี เทสโก้โลตัส เนื่องจากคุณภาพของชุดนักเรียนนั้นที่มีความแตกต่างกันในเรื่องคุณภาพ
แหล่งข่าวจากผู้ปกครองที่มาซื้อชุดนักเรียน ในย่านบางลำภู รายหนึ่ง กล่าวว่ามาซื้อชุดนักเรียนที่บางลำภูเป็นประจำ เพราะแถวนี้มีให้เลือกหลากหลายและครบถ้วน ยิ่งใกล้ช่วงเปิดเทอมจะมีผู้ปกครองพาบุตรหลานมาซื้อชุดนักเรียนกันมาก แต่คาดว่าปีนี้จะซื้อกันแบบประหยัดมากขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค แห่ปรับขึ้นทุกชนิดเรียกได้ว่า"แพงทั้งแผ่นดิน" ถึงแม้รัฐบาลพยายามออกมาสร้างภาพด้วยการออกสำรวจตลาดแต่ก็ไม่ได้ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคลดลงแต่อย่างไร ไม่ต้องไม่สำรวจที่ไหนเอาแถวบางลำภูร้านอาหารต่าง ๆ เคยซื้อจานละ 30 บาท/จาน ปัจจุบันปรับขึ้นราคาเป็น 40-45 บาท/จาน ก๊วยเตี๋ยว เคยขายชามละ 30 บาทปัจจุบันปรับขึ้นเป็น 40 บาท ขนมหวานเคยขายถุงละ 20 บาทปรับขึ้นเป็น 30 บาท/ถุง
"รัฐบาลอย่าออกสำรวจตลาดเพื่อสร้างภาพเลย มีที่ไหนแกงขายถุงละ 10 บาทจะมีเฉพาะที่จัดฉากไว้แต่ชีวิตประจำวันมาแถวบางลำภูหาซื้อได้ที่ไหนไม่มีขาย เพราะต้นทุนสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ ถีบตัวสูงขึ้นมากทำให้ผู้บริโภคพากันเดือดร้อนถ้วนหน้า" ผู้ปกครองรายหนึ่ง กล่าวย้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า จากการสำรวจราคาจำหน่ายอุปกรณ์ และเครื่องแบบชุดนักเรียนในช่วงรับเปิดเทอม พบว่า ราคาเครื่องแบบชุดนักเรียนได้ปรับขึ้นมาแล้วเฉลี่ย 10-20 บาท หลังจากต้นทุนการผลิตปรับเพิ่มขึ้นจากค่าผ้า ด้าย รวมถึงค่าไฟฟ้า และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทที่มีผลตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ระบุว่า เครื่องแบบนักเรียนมัธยมเพิ่มเฉลี่ยชุดละ 12.71 บาท จาก 251.41 บาท เป็น 264.12 บาท รองเท้านักเรียนชายเฉลี่ยปรับขึ้นจากคู่ละ 210 บาท เป็น 213 บาท เป็นต้น
**“ยรรยง” จี้“มาร์ก”ปลด “ชวนนท์
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวตอบโต้กรณีพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ปลดออกจากตำแหน่งว่า ขอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พิจารณาปลดนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง เพราะทำหน้าที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะการเสนอข้อมูลสินค้าแพงทั้งแผ่นดิน เพราะที่จริงมีทั้งสินค้าทั้งถูกและแพง
“ผมพร้อมจะเดิมพันด้วยตำแหน่งปลัดของผม ถึงแม้เดิมพันของเค้าจะน้อยกว่า เพราะเค้าไม่ได้เป็น ส.ส. แต่ท้าเลย ถ้ามีข้อมูลว่า พาณิชย์ทำข้อมูลเท็จ หรือผมทำข้อมูลเอาใจการเมืองก็เปิดเผยมา หรือแจ้งต่อสาธาณะชนได้ ”นายยรรยงกล่าว
***ยอมรับกดราคาจานด่วนลงยาก
สำหรับราคาอาหารสำเร็จรูปที่ปรับสูงขึ้น ทั้งที่ต้นทุนอาหารสด และเครื่องประกอบอาหารถูกลง จากการสำรวจเห็นว่าราคาอาหารจานด่วนส่วนใหญ่ยังขาย 30-35 บาท ยกเว้นห้างสรรพสินค้าหรือร้านหรูหราที่ราคาอาจแพงบ้าง แต่ยอมรับว่า การใช้มาตรการไปบังคับเข้มงวดคงทำลำบาก เพราะผู้ค้าส่วนใหญ่เป็นรายย่อย และกระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่นักเลงจะไปบังคับให้ลงได้ทันที
ดังนั้นแนวทางแก้ปัญหาจะเน้นการดูแลกลไกตลาด สร้างทางเลือกอาหารราคาถูกแก่ผู้บริโภค เช่น ผ่านร้านมิตรธงฟ้าที่มี 5 พันกว่าแห่งทั่วประเทศ รวมถึงร้านถูกใจซึ่งมีผู้สมัคร 5.8 พันราย และเปิดให้บริการแล้ว 50 ราย
เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (6 พ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่จ่ายตลาด ที่ตลาดสดพิชัย อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อสำรวจราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค โดยมีนางสาวจามจุรี นิลสุวรรณ หรือ “ป้าตุ๊” แม่บ้านคนสนิท คอยถือเงินสดเดินตามประกบ เพื่อจ่ายเงินตามที่นายกฯชี้ให้ซื้อ
โดยนายกฯเริ่มเดินสำรวจสินค้า อาหาร ตามร้านต่างๆในตลาด อาทิ แกงถุง ผักสด เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลาดสด น้ำมันพืช น้ำตาล ข้าวสาร และผลไม้ต่างๆ โดยนายกฯ ได้เดินสอบถามราคา จากพ่อค้า-แม่ค้า พบว่า ราคาเนื้อหมูแดง หมูบด ซี่โครงหมู ราคาขาย กก.ละ 120 บาท ส่วนราคาหมูสันนอก-สันใน กก.ละ 130 บาท หมูกรอบ กก. ละ 300 บาท
ส่วนแกงถุง ติดป้ายไว้ราคา 10-20 บาท ซึ่งมีปริมาณตามราคา โดยทางพ่อค้า-แม่ค้า อธิบายกับนายกรัฐมนตรีว่า ราคาเนื้อหมูแพงไม่มาก ช่วงนี้ที่แพงเป็นเพราะอากาศร้อน หมูกินอาหารน้อย โตช้า จึงมีผลกระทบ ทำให้ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย โดยรวมช่วงเวลานี้ถือว่าปกติ
ส่วนราคาเนื้อวัว พบว่ามีการติดป้ายขึ้นราคาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. เป็นต้นมา จากราคากก. 170 เป็น กก.ละ 180 บาท ซึ่งพ่อค้า-แม่ค้า ยอมรับว่าราคาแพง เหตุเพราะผลพวงจากภัยน้ำท่วม แม้โรงฆ่า และโรงเลี้ยง เริ่มฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ แต่ราคายังไม่ลด
ส่วนราคาไก่ตัวละ 55 บาท ขณะที่ราคาไข่ไก่ ถือว่ายังแพงอยู่ โดยไข่ขนาดใหญ่สุดอยู่ที่ราคา 10 ฟอง 38-39 บาท แต่ระหว่างที่นายกฯ เดินสำรวจมีร้านหนึ่งคนขายเป็นชายใส่เสื้อแดง และติดป้ายที่กองไข่ขนาดใหญ่สุดที่ราคา 37 บาท โดยมีผู้หญิงคนใส่เสื้อแดงหนึ่งตะโกนป่าวร้องว่า ไข่ถูกๆ ไข่เสื้อแดง
สำหรับราคาผักสดที่นายกฯสอบถาม เช่น ถั่วฝักยาว ที่มีการเสนอข่าวว่าราคาแพงขึ้น พบว่าที่นายกฯ ซื้ออยู่ที่ กก.ละ 60 บาท ซึ่งเป็นถั่วฝักยาวเกรดต่ำ เนื้อพองตัว ส่วนคุณภาพดีอยู่ที่ กก.ละ70-80 บาท แม่ค้าอธิบายว่า ช่วงนี้อากาศร้อน ผักสดหลายชนิดเน่าเสียง่าย แต่มีแนวโน้มราคาจะถูกลง ส่วนมะนาว ตกลูกละ 4 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ที่ลูกละ 6 บาท ทั้งนี้เป็นไปตามปกติที่เดือนเม.ย. มะนาวจะแพง ขณะที่ราคาของชำที่วางขายในแผง ยังเป็นไปตามปกติ เช่น น้ำมันปาล์มขวดละ 42-43 บาท
**วอนพ่อค้า แม่ค้า ช่วยป่าวร้องของไม่แพง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายกฯ เดินจ่ายตลาด ได้มีประชาชนที่มาจ่ายตลาดได้เข้ามาสอบถามนายกฯ เกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม ที่รัฐบาลบอกว่าจะไม่ขึ้นราคา โดยนายกฯ ยืนยันว่า ก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน จะไม่ขึ้นราคา ซึ่งประชาชนคนเดิมแนะนำนายกฯ ว่า ให้รัฐบาลดูแลเรื่องราคาพลังงาน เพราะจะเป็นต้นทุนทำให้สินค้าแพงขึ้น นายกฯ ก็ได้รับปากว่า “ค่ะๆ กำลังดูอยู่” ทั้งนี้นายกฯ ได้พูดคุยกับบรรดาพ่อค้า แม่ค้า ตามร้านต่างๆ พร้อมขอร้องให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ว่า ราคาของไม่ได้แพงอย่างที่เป็นข่าว
** อ้างของแพงตามฤดูกาล-น้ำท่วม
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังจ่ายตลาดว่า วัตถุประสงค์ในการมาตรวจตลาด เพื่อต้องการวิเคราะห์ปัญหาสินค้าราคาแพงว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งพบว่าสินค้าบางรายการมีราคาถูกลง ขณะที่สินค้าบางรายการยังไม่มีการปรับราคาลงมา ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขึ้นราคาอย่างสินค้าที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงที่เกิดปัญหาน้ำท่วม จนกระทั่งส่งผลให้เกิดความเสียหาย และเริ่มมีการปลูกเข้ามาใหม่ มีรอบปลูกที่เร็วขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มราคาถูกลง แต่บางอย่างที่พบว่าราคายังไม่ถูกลง เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาด ผักคะน้า หรืออีกหลายรายการ ที่ยังมีปัญหาเรื่องของน้ำและมีเรื่องของฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อว่า โดยสรุปแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นสิ่งแรกคือ ผลพวงจากปัญหาน้ำท่วม บางช่วงที่ราคายังไม่ลดลง ต้องรอการเพาะปลูกเข้ามาทดแทนใหม่ เพื่อปรับให้เกิดความสมดุล ทั้งในส่วนของอุปสงค์และอุปทาน รวมไปถึงเรื่องของฤดูกาล
**เร่ง พณ.จัดขายสินค้าราคาถูก
ส่วนเรื่องของพลังงาน รัฐบาลพยายามที่จะตรึงราคาในหลายส่วน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค แอลพีจีในครัวเรือน จะตรึงไว้ เพื่อให้ประชาชน ซื้อพืชผักที่มีราคาถูกสามารถประกอบอาหารที่บ้านได้ และตนได้เร่งให้กระทรวงพาณิชย์ จัดเวทีจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือก
อย่างไรก็ตาม มาตรการการตรวจสอบราคาสินค้า ต้องดำเนินการต่อไป แต่ที่สำคัญเราอยากเห็นความร่วมมือในทุกกลไกของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่เรื่องของต้นทาง คือ วัตถุดิบ กลางทางที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบต่างๆ จนถึงปลายทาง ก็ขอให้มีการปรับราคาเป็นไปอย่างสมดุล ตามกลไกของตลาด ไม่เอาเปรียบผู้ซื้อมากเกินไป เนื่องจากช่วงนี้ได้รับเสียงบ่นจากประชาชน เพราะเรื่องของฤดูกาล และราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลก รัฐบาลพยายามหาวิธีการในการชะลอให้มากที่สุด เฉพาะกลุ่ม ต้องกราบเรียนว่า บางส่วนมีราคาที่สูงขึ้นจริงๆ และสุดท้ายแล้วต้องดูว่า จะทำอย่างไรที่จะช่วยกัน เพราะช่วงนี้ใกล้เปิดเทอม ซึ่งต้องมีการจ่ายในเรื่องของค่าเทอม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเป็นจำนวนมาก รัฐบาลเองรู้สึกเห็นใจ พยายามทำในทุกกลไกที่จะหาแนวทางวิธีการในการช่วยเหลือ
ทั้งนี้ นายกฯยอมรับว่า จากการตรวจสอบราคาสินค้าครั้งนี้ ได้ข้อมูลที่ตรงกับที่กระทรวงพาณิชย์รายงานบ้าง ไม่ตรงบ้าง เช่น ราคาผักที่อาจแพงตามคุณภาพ เราจะไปวัดที่ตัวราคาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าผักสวยมีการคัดเกรด จะมีราคาแพง ส่วนผักที่คละกันราคาจะถูกลง ดังนั้นต้องถือเป็นค่าเฉลี่ย ที่จริงแล้วรัฐบาลไม่ได้มีหน้าที่ หรืออยากจะมาตรวจในแต่ละจุด แต่รัฐบาลต้องทำการวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจต้นทุนของปัญหา ให้เข้าใจแต่ละสภาพส่วน ทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อที่จะดูว่า กลไกภาครัฐจะสามารถเข้ามาช่วยเหลือประชาชนในส่วนไหน
เมื่อถามถึง กรณีที่ผลโพลระบุว่า รัฐมนตรีพาณิชย์สอบตกทั้ง 3 คนนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ต้องให้ความเห็นใจกับรัฐมนตรีทุกท่าน บางท่านอาจจะไม่เป็นข่าว แต่ทำงาน ผลโพล ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในความคิดเห็นของประชาชน ขอให้รับฟัง และดูว่าจะทำงานเพิ่มเติมในส่วนนี้อย่างไร ส่วนจะมีผลในการปรับครม.หรือไม่นั้น นายกฯ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม
**อ้างคนมีเงินน้อยเลยโทษของแพง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ความจริงปัญหาสินค้าราคาแพง เกิดจากความรู้สึกของประชาชนว่ามีเงินในกระเป่าน้อยลง เพราะตามสถิติในช่วงไตรมาสที่ 2 ของทุกปี จะเป็นช่วงที่ประชาชนมีเงินในกระเป๋าน้อยที่สุด เนื่องจากมีรายจ่ายมาก อากาศร้อน ค่าไฟแพง ทั้งค่าเทอม ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว จากเดือนเม.ย.-พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่มีวันหยุดหลายวัน ผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนจะไม่ค่อยเดือดร้อน แต่พวกที่มีรายได้รายวัน จะมีรายได้ลดลง หรือมีรายได้เท่าเดิม ซึ่งต่างกับช่วงไตรมาสที่ 1 โดยเฉพาะในเดือนธ.ค. ที่ได้รับโบนัสปลายปี ทำให้ไม่รู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพง
ทั้งนี้ เท่าที่ตรวจสอบพบว่า สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมีเพียง 2 ประเภท 1. สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และ 2. สินค้าที่วงจรปลูกนาน และต้องอาศัยฤดูกาล เชื่อว่าในไตรมาสที่ 3 ราคาสินค้าจะเริ่มลดลง เพราะพืชผลที่ปลูกหลังน้ำท่วม จะเริ่มมีผลผลิตออกมา
** ค่าเช่าแผงยังแพงกว่าค่าน้ำมัน
เมื่อถามว่า ฝ่ายค้านอ้างว่าเหตุที่สินค้าราคาแพง เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นทุกชนิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หากดูจากข้อมูลจะพบว่า ต้นทุนราคาสินค้าทั้งหมด มาจากวัตถุดิบร้อยละ 60 ส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง แค่ร้อยละ 10 น้อยกว่าค่าเช่าแผงที่ร้อยละ 15 ด้วยซ้ำ
" อีกเรื่องที่อยากชี้แจง คือที่ไปพาดหัวว่า ยิ่งลักษณ์บอกว่าชาวบ้านคิดไปเองว่าของแพง จริงๆแล้วดิฉันบอกว่า เหตุที่รู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพง มาจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ได้บอกว่าชาวบ้านคิดไปเอง ที่สำคัญโดยส่วนตัวเห็นใจประชาชน ไม่เช่นนั้นคงไม่ลงมาตรวจสอบราคาในตลาดสดเช่นนี้" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว
**"มาร์ค"ย้ำต้นตออยู่ที่นโยบายพลังงาน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกรณีการตอบโต้ระหว่างรัฐบาล กับฝ่ายค้าน ในปัญหาสินค้าราคาแพงว่า อย่ามาเสียเวลาเถียงเลย ให้รัฐบาลบอกไปเลย มีปัญหาจะแก้อย่างไร หรือถ้ารัฐบาลยืนยันว่าไม่แพงไม่มี ก็ขอให้ยกเลิกทุกโครงการที่ของบประมาณไป และรัฐบาลเองก็น่าจะรู้อยู่แก่ใจ เอาเวลาไปแก้ปัญหาจะดีกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการยอมรับเรื่องค่าพลังงาน และค่าขนส่ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นี่คือหัวใจ และตนชี้มาตลอดว่า ตัวพลังงาน ขนส่ง เป็นตัวกระตุ้นให้ราคาสินค้าขยับขึ้น หากรัฐบาลไม่ทบทวน แต่ทยอยขึ้นไปเรื่อย รัฐบาลต้องตัดสินใจ ที่จะดูแลฐานะประชาชน มากกว่ารัฐวิสาหกิจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีพลังงาน ไม่สำคัญเท่ากับเปลี่ยนนโยบาย แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีการทบทวน ก็ขอย้ำว่านายกฯ เองเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ ต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของตัวเองในการที่จะทำ การจะปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิง คงไม่ถูกต้อง ต้องดูภาพรวม อยากให้กลับไปตั้งหลักทบทวนนโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องว่า มีการผิดพลาดจนทำให้กลายเป็นวงจรการขึ้นราคาหรือไม่
** จี้นายกฯปรับครม.เศรษฐกิจ
น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี คณะรัฐมนตรีทั้ง 11 คน ลงพื้นที่สำรวจราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ตามตลาดสดต่างๆว่า เป็นแค่งานสร้างภาพ เดินสำรวจตลาดแล้วได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ มารายงานนายกฯ ก็น่าเห็นใจน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ไม่ทันคน ได้รับข้อมูลที่บิดเบือน ทำให้ต้องลงทุนไปเดินตลาดด้วยตัวเอง แต่ถ้านายกฯ ยังกล้าบิดเบือนซ้ำ ไม่ยอมรับความจริง ประชาชนคงต้องเป็นผู้เผชิญชะตากรรมต่อไป
" 4 เดือนที่ของแพงขึ้นนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้ทำอะไรเลย มัวแต่เพลินกับชุดประจำชาติของประเทศอื่นอยู่ ดังนั้นวันนี้จึงขอแนะนำว่าให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปปรับครม. เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจ จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่ไม่ใช่ปรับเอาคนเผาบ้านเผาเมือง เข้ามาเป็นรัฐมนตรี " น.ส.มัลลิกา กล่าว
***ผู้ปกครอง"จ๊าก"ชุดนร.ขึ้น10-20%
จากการสำรวจร้านจำหน่ายเสื้อผ้านักเรียนย่านบางลำภูของ"ASTVผู้จัดการรายวัน"พบว่าร้านค้าจำหน่ายเสื้อผ้าชุดนักเรียนได้ประกาศปรับขึ้นราคาเสื้อผ้านักเรียนขึ้นอีก 10-20% โดยทางเจ้าจำหน่ายเสื้อผ้านักเรียนให้เหตุผลว่าต้นทุนการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าแรงที่รัฐบาลประกาศให้ปรับขึ้นวันละ 300 บาท ส่งผลให้โรงงานผลิตเสื้อผ้าชุดนักเรียนต้องมีการปรับขึ้นค่าแรง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเสื้อผ้าปรับขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่ผู้จำหน่ายผ้า พนักงานตัดเย็บ และราคาค่าขนส่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการประกาศขึ้นราคาค่าแรงทำให้ต้นทุนปรับขึ้นกว่า 30% หากรัฐจะประกาศห้ามขึ้นราคาชุดนักเรียนคงทำได้ยากเพราะต้นทุนการผลิตของแต่ละร้านนั้นปรับเพิ่มขึ้นทุกร้าน ร้านเล็กร้านใหญ่แม้จะมีต้นทุนและการบริหารจัดการที่แตกต่างกันก็ต้องแบกรับภาระที่เพิ่มขึ้น
"ถึงแม้บางร้านมีการบริการจัดการสั่งซื้อผ้าไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เสื้อผ้านักเรียนปรับขึ้นราคามากเกินไป แต่ก็ต้องมาแบกรับค่าแรงงานเช่น พนักงานขาย วัตถุดิบต่าง ๆ ที่ปรับขึ้นไป จึงจำเป็นต้องปรับตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น "เจ้าของร้านจำหน่ายเสื้อผ้าย่านบางลำภู กล่าว
นอกจากนี้ต้นทุนการปักชุดเคริ่องแบบนักเรียนก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไหมที่นำมาใช้ปักมีการปรับขึ้นราคารวมทั้งค่าแรงการผลิต ทำให้ต้องปรับขึ้นอีกตัวละ 5 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านว่าจะคิดค่าปักตัวละเท่าไหร่ ทั้งนี้การที่เสื้อผ้าชุดนักเรียนปรับขึ้นราคาเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่จำเป็นต้องซื้อชุดนักเรียนแบบประหยัด และซื้อจำนวนน้อยลง ทั้งนี้การจำหน่ายชุดนักเรียนราคานั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเบอร์ของเสื้อผ้า เช่น เสื้อนักเรียนหญิงเบอร์ 38 จำหน่ายในราคา 325 บาท ซึ่งจะเห็นว่ามีราคาสูงกว่าห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น บิ๊กซี เทสโก้โลตัส เนื่องจากคุณภาพของชุดนักเรียนนั้นที่มีความแตกต่างกันในเรื่องคุณภาพ
แหล่งข่าวจากผู้ปกครองที่มาซื้อชุดนักเรียน ในย่านบางลำภู รายหนึ่ง กล่าวว่ามาซื้อชุดนักเรียนที่บางลำภูเป็นประจำ เพราะแถวนี้มีให้เลือกหลากหลายและครบถ้วน ยิ่งใกล้ช่วงเปิดเทอมจะมีผู้ปกครองพาบุตรหลานมาซื้อชุดนักเรียนกันมาก แต่คาดว่าปีนี้จะซื้อกันแบบประหยัดมากขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค แห่ปรับขึ้นทุกชนิดเรียกได้ว่า"แพงทั้งแผ่นดิน" ถึงแม้รัฐบาลพยายามออกมาสร้างภาพด้วยการออกสำรวจตลาดแต่ก็ไม่ได้ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคลดลงแต่อย่างไร ไม่ต้องไม่สำรวจที่ไหนเอาแถวบางลำภูร้านอาหารต่าง ๆ เคยซื้อจานละ 30 บาท/จาน ปัจจุบันปรับขึ้นราคาเป็น 40-45 บาท/จาน ก๊วยเตี๋ยว เคยขายชามละ 30 บาทปัจจุบันปรับขึ้นเป็น 40 บาท ขนมหวานเคยขายถุงละ 20 บาทปรับขึ้นเป็น 30 บาท/ถุง
"รัฐบาลอย่าออกสำรวจตลาดเพื่อสร้างภาพเลย มีที่ไหนแกงขายถุงละ 10 บาทจะมีเฉพาะที่จัดฉากไว้แต่ชีวิตประจำวันมาแถวบางลำภูหาซื้อได้ที่ไหนไม่มีขาย เพราะต้นทุนสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ ถีบตัวสูงขึ้นมากทำให้ผู้บริโภคพากันเดือดร้อนถ้วนหน้า" ผู้ปกครองรายหนึ่ง กล่าวย้ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า จากการสำรวจราคาจำหน่ายอุปกรณ์ และเครื่องแบบชุดนักเรียนในช่วงรับเปิดเทอม พบว่า ราคาเครื่องแบบชุดนักเรียนได้ปรับขึ้นมาแล้วเฉลี่ย 10-20 บาท หลังจากต้นทุนการผลิตปรับเพิ่มขึ้นจากค่าผ้า ด้าย รวมถึงค่าไฟฟ้า และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทที่มีผลตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ระบุว่า เครื่องแบบนักเรียนมัธยมเพิ่มเฉลี่ยชุดละ 12.71 บาท จาก 251.41 บาท เป็น 264.12 บาท รองเท้านักเรียนชายเฉลี่ยปรับขึ้นจากคู่ละ 210 บาท เป็น 213 บาท เป็นต้น
**“ยรรยง” จี้“มาร์ก”ปลด “ชวนนท์
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวตอบโต้กรณีพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ปลดออกจากตำแหน่งว่า ขอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พิจารณาปลดนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง เพราะทำหน้าที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะการเสนอข้อมูลสินค้าแพงทั้งแผ่นดิน เพราะที่จริงมีทั้งสินค้าทั้งถูกและแพง
“ผมพร้อมจะเดิมพันด้วยตำแหน่งปลัดของผม ถึงแม้เดิมพันของเค้าจะน้อยกว่า เพราะเค้าไม่ได้เป็น ส.ส. แต่ท้าเลย ถ้ามีข้อมูลว่า พาณิชย์ทำข้อมูลเท็จ หรือผมทำข้อมูลเอาใจการเมืองก็เปิดเผยมา หรือแจ้งต่อสาธาณะชนได้ ”นายยรรยงกล่าว
***ยอมรับกดราคาจานด่วนลงยาก
สำหรับราคาอาหารสำเร็จรูปที่ปรับสูงขึ้น ทั้งที่ต้นทุนอาหารสด และเครื่องประกอบอาหารถูกลง จากการสำรวจเห็นว่าราคาอาหารจานด่วนส่วนใหญ่ยังขาย 30-35 บาท ยกเว้นห้างสรรพสินค้าหรือร้านหรูหราที่ราคาอาจแพงบ้าง แต่ยอมรับว่า การใช้มาตรการไปบังคับเข้มงวดคงทำลำบาก เพราะผู้ค้าส่วนใหญ่เป็นรายย่อย และกระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่นักเลงจะไปบังคับให้ลงได้ทันที
ดังนั้นแนวทางแก้ปัญหาจะเน้นการดูแลกลไกตลาด สร้างทางเลือกอาหารราคาถูกแก่ผู้บริโภค เช่น ผ่านร้านมิตรธงฟ้าที่มี 5 พันกว่าแห่งทั่วประเทศ รวมถึงร้านถูกใจซึ่งมีผู้สมัคร 5.8 พันราย และเปิดให้บริการแล้ว 50 ราย